ASTVผู้จัดการรายวัน -"ยิ่งลักษณ์" กำชับเร่งจ่ายเงินให้ถึงมือประชาชนผู้เดือดร้อนเร็วที่สุด พร้อมให้ดูแลเรื่องทุจริต "มาร์ค" อัด"ครม.ปู" นัดพิเศษอนุมัติ 2 หมื่นล้านฟื้นฟูน้ำท่วม โดยใช้วิธีทยอยจ่ายหลายขยัก หวังเลี่ยงถูกตรวจสอบ กทม.เตรียมจัดมหกรรมขายสินค้าราคาถูกเริ่ม 15 ธ.ค.นี้ 4 วัน 4 มุมเมือง พร้อมเปิดสายด่วน เรียกใช้บริการสูบน้ำ หวังให้แห้งหมดก่อน 31 ธ.ค.
นางฐิติมา ฉายแสง โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวานนี้ (13 ธ.ค.) ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เน้นย้ำให้สำนักงบประมาณ เร่งรัดการนำเงินช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัย ชุดแรก 2 หมื่นล้านบาท ให้ถึงมือโดยเร็วที่สุด พร้อมกำชับให้ ครม. ระมัดระวังเรื่องการใช้จ่ายเงิน ไม่ให้มีการทุจริตใดๆ ทุกอย่างต้องถึงมือจริงๆ รวมทั้งขอให้ตรวจสอบความโปร่งใส
นอกจากนี้ ได้สั่งการให้เพิ่มบทบาทของผู้ตรวจราชการ และผู้ช่วยรัฐมนตรี ให้เป็นหูเป็นตาให้กับรัฐมนตรี โดยโครงการต่างๆ ที่ออกไปแล้ว นายกฯ ได้ขอรัฐมนตรีให้ติดตามและประเมินผลด้วย
**สั่งโหมสินค้าโอทอปช่วงปีใหม่
นางฐิติมากล่าวว่า สำหรับเรื่องของสินค้าโอทอปที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ได้สำรวจความเสียหาย และพบว่า กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ประสบปัญหา 1,248 กลุ่ม ใน 62 จังหวัด คิดเป็นมูลค่าความเสียหายทั้งสิ้น 242 ล้านบาท ซึ่งเรื่องนี้ ส่งผลกระทบไปถึงผู้บริโภค เครือข่ายเอสเอ็มอี การขาย การตลาด ความร่วมมือต่างๆ ของโอทอป ครม.จึงเห็นชอบตามให้รณรงค์ทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ เอกชน และประชาชน ให้ความร่วมมือซื้อสินค้าโอทอป
**อนุมัติเกณฑ์ชดเชยเกษตรกร
นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ครม.มีมติเห็นชอบเพิ่มความช่วยเหลือเพิ่มเติมในกรณีพิเศษ ตามที่กระทรวงเกษตรฯ ได้เสนอมา โดยมีหลักเกณฑ์ อัตราการช่วยเหลือในกรณีพิเศษ โดยด้านพืชข้าว อัตราไร่ละ 2,222 บาท พืชไร่ อัตราไร่ละ 3,150 บาท พืชสวนและอื่นๆ อัตราไร่ละ 5,098 บาท ส่วนในกรณีที่พืชสวนและอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ทำให้ชะงักการเจริญเติมโต แต่ไม่ตาย และยังอยู่ในสภาพฟื้นฟูให้กลับมาสู่สภาพเดิมได้ ให้ช่วยเหลือในอัตราไร่ละ 2,549 บาท
ส่วนกรณีพื้นที่การเกษตรถูกดินทับถมได้รับความเสียหาย ให้ช่วยเหลือในอัตราไร่ละ 7,000 บาท แต่รายละไม่เกิน 5 ไร่ ส่วนทางด้านการประมง ปลาทุกชนิดอัตราไร่ละ 4,225 บาท รายละไม่เกิน 5 ไร่ กุ้ง ปู หอย อัตราไร่ละ10,920 บาท รายละไม่เกิน 5 ไร่ กระชังบ่อซีเมนต์และอื่นๆ ในอัตราตารางเมตรละ 315 บาท รายละไม่เกิน 80 ตารางเมตร ในกรณีพื้นที่ที่ได้รับความเสียหาย ที่เกินจากเกณฑ์ความช่วยเหลือ ให้ได้รับความช่วยเหลืออีกครึ่งหนึ่ง ของพื้นที่ส่วนที่เกิน
** จวกรัฐทยอยจ่ายเลี่ยงการตรวจสอบ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ ครม.จะใช้งบกลางถึง2 หมื่นล้านบาท ในการฟื้นฟูน้ำท่วมว่า เป็นไปตามความคาดหมายว่าปัญหาเหล่านี้จะเกิดขึ้น และจะยังเกิดขึ้นต่อเนื่อง เพราะยังมีอีกหลายก้อนที่ต้องมาถกกัน ทำให้ตนอยากตั้งคำถามว่าตกลงระบบการกลั่นกรองเรื่องนี้ มันจะเป็นอย่างไรกันแน่ เพราะเหมือนกับว่าจะต้องมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการต่างๆ ขึ้นมา เพื่อพิจารณากลั่นกรองเรื่องนี้มากกว่าที่จะมาถกกันในครม.ตลอด
"ในช่วงรัฐบาลของตน มีการตั้งงบกลาง ประมาณ 47,000 พันล้าน แต่รัฐบาลยุคนี้มีการเพิ่มขึ้นอีก 60,000 กว่าล้าน และยังไม่รวมอีก 120,000 ล้าน ที่อ้างว่าเป็นงบกลางเพื่อฟื้นฟู แต่รัฐบาลตนได้เสนอเป็นงบกลางปีผ่านสภา มีการเสนอรายละเอียดโครงการ รูปถ่ายของพื้นที่ เพื่อให้สภาตรวจสอบ ดังนั้น จึงกังวลว่า หากรัฐบาลยังใช้วิธีการแบบนี้ จะไม่มีความโปร่งใส และมีการทุจริตทำได้ง่ายกว่า"นายอภิสิทธิ์กล่าว
**กทม.ของบฯครม.เพิ่ม1.3 พันล้าน
แหล่งข่าวจากกทม. แจ้งว่า กทม.เตรียมทำเรื่องเสนอขอเงินสนับสนุนจากครม. ในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยอีกจำนวน 1,371,275,000 ล้านบาท ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมครัวเรือนละ 5,000 บาท จำนวน 274,255 ครัวเรือน ในพื้นที่กรุงเทพฯเพิ่มเติมอีก 12 เขต จากเดิม 30 เขต ได้แก่ 1.ดินแดง 2.ห้วยขวาง 3.พญาไท 4.สวนหลวง 5.บางกะปิ 6.สะพานสูง 7.บึงกุ่ม 8.ประเวศ 9.จอมทอง 10.บางกอกใหญ่ 11.บางขุนเทียน และ12.บางบอน รวมทั้งขอเพิ่มเติมอีก 4 เขต หลังจากเคยดำเนินการไปก่อนหน้านี้ ได้แก่ 1.คลองสามวา 2.คันนายาว 3.บางซื่อ และ 4.สายไหม เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนและแก้ปัญหาค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตของประชาชน
***กทม.เลื่อน5 โครงการปรับปรุงเมือง
นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ รองผู้ว่าฯ กทม. กล่าวถึงความเสียหายจากเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ในกรุงเทพฯ ว่า ล่าสุดสำนักผังเมืองกทม. ได้รายงานสรุปภาพรวมโครงการที่ได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัย โดยมีโครงการที่สำคัญๆ ในกรุงเทพฯ ที่ได้เลื่อนกำหนดการแล้วเสร็จออกไป ได้แก่ 1.โครงการวางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพฯ (ปรับปรุงครั้งที่ 3) ซึ่งเป็นโครงการเดิมต่อเนื่องปีงบประมาณ 2553-2555 และมีกำหนดสิ้นสุดสัญญาในวันที่ 8 มี.ค.2555 โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จช้ากว่าเดิม 30 วัน นอกจากนี้ จำเป็นต้องทบทวนและปรับแผนผังต่างๆ เพิ่มเติม 2.โครงการจ้างที่ปรึกษาประจำเพื่อสำรวจ วางผัง ออกแบบรายละเอียด ประเมินราคา สำหรับงานวางผังพัฒนาและปรับปรุงฟื้นฟูเมือง และส่วนของเมือง เดิมคาดแล้วเสร็จ โดยสิ้นสุดสัญญาภายในวันที่ 17 ธ.ค.นี้ อาจจะล่าช้าออกไป 60 วันเป็นวันที่ 17 ก.พ.2555
3.โครงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมปรับปรุงฟื้นฟูเมืองตามแนวพระราชดำริ "กรุงเทพเมืองสวรรค์" สิ้นสุดสัญญาวันที่ 18 ธ.ค.นี้ 4.โครงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อสำรวจและออกแบบรายละเอียดเพื่อพัฒนาย่านที่อยู่อาศัยเขตประเวศ สะพานสูง ลาดกระบัง และมีนบุรี สัญญาสิ้นสุด 8 ม.ค.2555 และ 5.โครงการบูรณการระบบภูมิสารสนเทศ 3 มิติเพื่อการผังเมือง สิ้นสุดสัญญาวันที่ 1 ธ.ค.ที่ผ่านมา ทั้งนี้ โครงการที่ 3-5 ยังไม่สามารถกำหนดหรือระบุวันเวลาแล้วเสร็จได้
**10โรงเรียนปทุมฯ-นนท์เลื่อนเปิดอีก
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า ได้รับรายงานจำนวนโรงเรียนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม และไม่สามารถเปิดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 ได้ทันวันที่ 13 ธ.ค.2554จึงต้องเลื่อนเปิดเทอมต่อจำนวน 10 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ปทุมธานี เขต 2 จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนวัดโพสพผลเจริญ โรงเรียนวัดลาดสนุ่น โรงเรียนวัดประยูรธรรมาราม และโรงเรียนสังกัด สพท. นนทบุรี เขต 2 จำนวน 7 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนวัดเพรางาย โรงเรียนชุมชนวัดบางโค (แม่นางวิทย์อุปการี) โรงเรียนบ้านคลองพระพิมล โรงเรียนสมบูรณ์ศาสตร์พัฒนา โรงเรียนบ้านดอนตะลุมพุก (เจริญจิตรวิทยา) โรงเรียนวัดคลองเจ้าและโรงเรียนวัดมะสง มิตรภาพที่ 55
**ศธ.เร่งเยียวยาโรงเรียนกว่า2 พันแห่ง
นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงกรณีที่ครม. อนุมัติงบโครงการเตรียมความพร้อมให้นักเรียนและโรงเรียนกว่า 2,000 แห่ง ที่ประสบภัยน้ำท่วมเป็นเงิน 456 ล้านบาท ว่า กระทรวงศึกษาฯ จะนำไปจัดซื้อหนังสือเรียน อุปกรณ์การเรียนต่างๆ ให้กับนักเรียนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ส่วนอีก 2,417 ล้านบาท ที่เสนอขอไปนั้น ครม.ได้ให้ ศธ. สามารถไปทำความตกลงกับทางสำนักงบประมาณได้เลยภายหลังจากที่ศธ. ตรวจสอบแล้วว่ามีโรงเรียนใดที่ได้รับความเสียหายและต้องซ่อมแซมอะไรบ้าง
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ศธ. มีงบสำรองอยู่ จำนวน 100 ล้านบาท ที่ครม.อนุมัติให้มาก่อนนั้น ดังนั้น ในกรณีโรงเรียนที่มีความจำเป็นเร่งด่วนก็จะนำงบในส่วนนี้ไปให้กับทางโรงเรียนใช้ก่อน และในกรณีเร่งด่วนมาก ศธ.ก็จะมอบให้กศน.และอาชีวะฯ ไปซ่อมแซมโรงเรียนให้ก่อนในเบื้องต้น สำหรับโรงเรียนที่อาคารได้รับความเสียหายมาก็จะมอบเงินให้ไปดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง
**ระดับน้ำคลองสายหลักลดลง
วันเดียวกันนี้ เวลา 07.00 น. ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย กรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้รายงานสรุปสถานการณ์น้ำประจำวัน ระดับน้ำที่ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา 1.81เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง (ม.รทก.) ลดลงจากเมื่อวาน7 ซ.ม. น้ำทะเลหนุนสูง วันที่ 13 ธ.ค. เวลา 10.46 น. ระดับ 1.18 ม.รทก. และเวลา 18.34 น. ระดับ 0.94 ม.รทก. ขณะที่การคาดการณ์จากกรมอุทกศาสตร์ เวลา 10.46 น. ระดับ 1.78 ม.รทก.
สำหรับสถานการณ์น้ำทุ่ง ช่วง 24 ชั่วโมง ที่ผ่านมา พบว่า ระดับน้ำคลองหกวาสายล่างด้านนอกเขตกทม. ระดับน้ำลดลง 5 ซม. ดอนเมือง ระดับน้ำลดลง 8 ซม. ส่วนคลองมหาสวัสดิ์ด้านนอกเขตกทม. ระดับน้ำลดลง 3 ซม. สำหรับฝั่งธนบุรี ระดับน้ำลดลงเป็นลำดับ 1-5 ซม. ภาพรวมสถานการณ์น้ำในคลองสายหลักฝั่งพระนคร ลดลง 3-5 ซม.
**จัด"มหกรรมสินค้าถูกฯ”15 ธ.ค.นี้
วันเดียวกัน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. เป็นประธานแถลงข่าวโครงการ "มหกรรมสินค้าถูกรวมกันเราทำได้" โดย กทม.ได้จัดทำโครงการจำหน่ายสินค้าราคาถูกจากผู้ผลิตและผู้ประกอบการโดยตรงเพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตน้ำท่วม โดยได้รับความร่วมมือจากผู้ผลิต และผู้ประกอบการต่างๆ อาทิ บริษัทในเครือซีเมนต์ไทย บริษัทในเครือสหพัฒน์พิบูลย์ บริษัทในเครือล็อคซ์เลย์ ดีทแฮม ซีพี สหฟาร์ม เป็นต้น โดยได้ร่วมจัดจำหน่ายสินค้าที่จำเป็นในราคาประหยัดทั้งสินค้าอุปโภค บริโภค เครื่องใช้ไฟฟ้าเฟอร์นิเจอร์ ของแต่งบ้าน วัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง อุปกรณ์ซ่อมแซมบ้านเรือน ซึ่งโครงการดังกล่าวจะลดรายจ่ายประชาชนและรองรับภาระค่าครองชีพในภาวะวิกฤตน้ำท่วมถือเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในอีกแนวทางหนึ่ง
นอกจากนี้ ในงานยังมีการจัดหางาน ซ่อมรถจักรยานยนต์ การฝึกอาชีพ โดยมหกรรมสินค้าถูก รวมกันเราทำได้ จะจัดขึ้นต่อเนื่อง 4 วันใน 4 มุมเมืองสำคัญ ได้แก่ วันที 15-18 ธ.ค.2554 บริเวณการกีฬาแห่งประเทศไทย (หัวหมาก) วันที่ 22-25 ธ.ค.2554 บริเวณสะพานพระราม 8 (ฝั่งธนบุรี) วันที่ 5-8 ม.ค.2555 บริเวณสวนสาธารณะเซ็นทรัลพาร์ค ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพระราม 2 และวันที่ 12-16 ม.ค.2555 บริเวณประตูกรุงเทพฯ กม.25 ถนนพหลโยธิน ตั้งแต่เวลา10.00-22.00น.
**กู้ถนนพุทธมณฑลสาย 3 เสร็จแล้ว
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า การกู้ถนนพหลโยธินและถนนบรมราชชนนีเรียบร้อยแล้ว สามารถใช้สัญจรได้ ซึ่งขณะนี้กทม.กำลังช่วยกู้ถนนบรมราชชนนีฝั่งจังหวัดนครปฐม และถนนพุทธมณฑลสาย 3 ให้แห้งภายในเที่ยงคืนวันที่ 13 ธ.ค. ส่วนปัญหาเรื่องขยะ ยังน่าเป็นห่วง เพราะยังไม่นิ่ง ขยะยังคงมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม ต้องเร่งจัดการให้กทม.ปลอดขยะก่อนสิ้นปีนี้ สำหรับโรงเรียนต่างๆ ได้เปิดเทอมทั้งหมดแล้ว แต่บางโรงเรียนที่เขตคลองสามวาและทวีวัฒนายังมีน้ำท่วมขังอยู่บ้าง กทม.จึงได้สร้างสะพานไม้ให้นักเรียนเดินทางเข้าโรงเรียนได้ ทั้งนี้ อาจต้องมีการเรียนการสอนชดเชย 7 วันต่อสัปดาห์
** เปิดสายด่วนผู้ว่าฯ ช่วยทำน้ำแห้ง
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า ได้เปิดสายด่วนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โทร. 081-933-5999 เพื่อเป็นช่องทางในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมให้หมดจากพื้นที่กรุงเทพฯ ก่อนวันที่ 31 ธ.ค. 2554 ด้วย
**กทม.เล็งแก้น้ำท่วมระยะยาว
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า กทม.จะตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในระยะยาว ซึ่งตนเป็นประธานในการบริหารจัดการ แต่อาจต้องใช้ระยะเวลาในการจัดตั้ง เพราะขณะนี้ยังคงมีปัญหาเรื่องน้ำและขยะ โดยการแก้ไขปัญหาน้ำต้องขอความร่วมมือกับรัฐบาลด้วย เพราะโครงสร้างของระบบระบายน้ำกทม.ที่มีอยู่สร้างขึ้นเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาน้ำท่วมที่เกิดจากการท่วมขังเพราะฝนตกหนักและน้ำล้นตลิ่งเท่านั้น ไม่ได้สร้างเพื่อระบายน้ำจากเหนือลงใต้ ส่วนอุโมงค์ยักษ์ที่จะสร้างขึ้นอีก 3 อุโมงค์ แต่ละอุโมงค์สามารถระบายน้ำได้ 245 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ศักยภาพเพิ่มขึ้นจากอุโมงค์ยักษ์พระราม 9-รามคำแหงที่ 155 ลูกบาศก์ต่อวินาที แต่ก็ยังไม่สามารถพัฒนาระบบระบายน้ำได้
"หากต้องมีการพัฒนาระบบให้สามารถระบายน้ำจากเหนือลงใต้กทม.ต้องหารือร่วมกับรัฐบาล ตนเองมีความวิตกกังวล เพราะกรุงเทพฯ อยู่ปลายน้ำ ปัญหาน้ำที่เกิดขึ้นจึงต้องได้รับการจัดการพื้นที่เหนือกรุงเทพฯอย่างในปีนี้ปัญหาเกิดจากฝนตกหนักแล้วน้ำล้นเขื่อน หากจะแก้ไขปัญหาจึงต้องมีการป้องกันร่วมกัน ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐบาล"
นางฐิติมา ฉายแสง โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวานนี้ (13 ธ.ค.) ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เน้นย้ำให้สำนักงบประมาณ เร่งรัดการนำเงินช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัย ชุดแรก 2 หมื่นล้านบาท ให้ถึงมือโดยเร็วที่สุด พร้อมกำชับให้ ครม. ระมัดระวังเรื่องการใช้จ่ายเงิน ไม่ให้มีการทุจริตใดๆ ทุกอย่างต้องถึงมือจริงๆ รวมทั้งขอให้ตรวจสอบความโปร่งใส
นอกจากนี้ ได้สั่งการให้เพิ่มบทบาทของผู้ตรวจราชการ และผู้ช่วยรัฐมนตรี ให้เป็นหูเป็นตาให้กับรัฐมนตรี โดยโครงการต่างๆ ที่ออกไปแล้ว นายกฯ ได้ขอรัฐมนตรีให้ติดตามและประเมินผลด้วย
**สั่งโหมสินค้าโอทอปช่วงปีใหม่
นางฐิติมากล่าวว่า สำหรับเรื่องของสินค้าโอทอปที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ได้สำรวจความเสียหาย และพบว่า กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ประสบปัญหา 1,248 กลุ่ม ใน 62 จังหวัด คิดเป็นมูลค่าความเสียหายทั้งสิ้น 242 ล้านบาท ซึ่งเรื่องนี้ ส่งผลกระทบไปถึงผู้บริโภค เครือข่ายเอสเอ็มอี การขาย การตลาด ความร่วมมือต่างๆ ของโอทอป ครม.จึงเห็นชอบตามให้รณรงค์ทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ เอกชน และประชาชน ให้ความร่วมมือซื้อสินค้าโอทอป
**อนุมัติเกณฑ์ชดเชยเกษตรกร
นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ครม.มีมติเห็นชอบเพิ่มความช่วยเหลือเพิ่มเติมในกรณีพิเศษ ตามที่กระทรวงเกษตรฯ ได้เสนอมา โดยมีหลักเกณฑ์ อัตราการช่วยเหลือในกรณีพิเศษ โดยด้านพืชข้าว อัตราไร่ละ 2,222 บาท พืชไร่ อัตราไร่ละ 3,150 บาท พืชสวนและอื่นๆ อัตราไร่ละ 5,098 บาท ส่วนในกรณีที่พืชสวนและอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ทำให้ชะงักการเจริญเติมโต แต่ไม่ตาย และยังอยู่ในสภาพฟื้นฟูให้กลับมาสู่สภาพเดิมได้ ให้ช่วยเหลือในอัตราไร่ละ 2,549 บาท
ส่วนกรณีพื้นที่การเกษตรถูกดินทับถมได้รับความเสียหาย ให้ช่วยเหลือในอัตราไร่ละ 7,000 บาท แต่รายละไม่เกิน 5 ไร่ ส่วนทางด้านการประมง ปลาทุกชนิดอัตราไร่ละ 4,225 บาท รายละไม่เกิน 5 ไร่ กุ้ง ปู หอย อัตราไร่ละ10,920 บาท รายละไม่เกิน 5 ไร่ กระชังบ่อซีเมนต์และอื่นๆ ในอัตราตารางเมตรละ 315 บาท รายละไม่เกิน 80 ตารางเมตร ในกรณีพื้นที่ที่ได้รับความเสียหาย ที่เกินจากเกณฑ์ความช่วยเหลือ ให้ได้รับความช่วยเหลืออีกครึ่งหนึ่ง ของพื้นที่ส่วนที่เกิน
** จวกรัฐทยอยจ่ายเลี่ยงการตรวจสอบ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ ครม.จะใช้งบกลางถึง2 หมื่นล้านบาท ในการฟื้นฟูน้ำท่วมว่า เป็นไปตามความคาดหมายว่าปัญหาเหล่านี้จะเกิดขึ้น และจะยังเกิดขึ้นต่อเนื่อง เพราะยังมีอีกหลายก้อนที่ต้องมาถกกัน ทำให้ตนอยากตั้งคำถามว่าตกลงระบบการกลั่นกรองเรื่องนี้ มันจะเป็นอย่างไรกันแน่ เพราะเหมือนกับว่าจะต้องมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการต่างๆ ขึ้นมา เพื่อพิจารณากลั่นกรองเรื่องนี้มากกว่าที่จะมาถกกันในครม.ตลอด
"ในช่วงรัฐบาลของตน มีการตั้งงบกลาง ประมาณ 47,000 พันล้าน แต่รัฐบาลยุคนี้มีการเพิ่มขึ้นอีก 60,000 กว่าล้าน และยังไม่รวมอีก 120,000 ล้าน ที่อ้างว่าเป็นงบกลางเพื่อฟื้นฟู แต่รัฐบาลตนได้เสนอเป็นงบกลางปีผ่านสภา มีการเสนอรายละเอียดโครงการ รูปถ่ายของพื้นที่ เพื่อให้สภาตรวจสอบ ดังนั้น จึงกังวลว่า หากรัฐบาลยังใช้วิธีการแบบนี้ จะไม่มีความโปร่งใส และมีการทุจริตทำได้ง่ายกว่า"นายอภิสิทธิ์กล่าว
**กทม.ของบฯครม.เพิ่ม1.3 พันล้าน
แหล่งข่าวจากกทม. แจ้งว่า กทม.เตรียมทำเรื่องเสนอขอเงินสนับสนุนจากครม. ในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยอีกจำนวน 1,371,275,000 ล้านบาท ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมครัวเรือนละ 5,000 บาท จำนวน 274,255 ครัวเรือน ในพื้นที่กรุงเทพฯเพิ่มเติมอีก 12 เขต จากเดิม 30 เขต ได้แก่ 1.ดินแดง 2.ห้วยขวาง 3.พญาไท 4.สวนหลวง 5.บางกะปิ 6.สะพานสูง 7.บึงกุ่ม 8.ประเวศ 9.จอมทอง 10.บางกอกใหญ่ 11.บางขุนเทียน และ12.บางบอน รวมทั้งขอเพิ่มเติมอีก 4 เขต หลังจากเคยดำเนินการไปก่อนหน้านี้ ได้แก่ 1.คลองสามวา 2.คันนายาว 3.บางซื่อ และ 4.สายไหม เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนและแก้ปัญหาค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตของประชาชน
***กทม.เลื่อน5 โครงการปรับปรุงเมือง
นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ รองผู้ว่าฯ กทม. กล่าวถึงความเสียหายจากเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ในกรุงเทพฯ ว่า ล่าสุดสำนักผังเมืองกทม. ได้รายงานสรุปภาพรวมโครงการที่ได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัย โดยมีโครงการที่สำคัญๆ ในกรุงเทพฯ ที่ได้เลื่อนกำหนดการแล้วเสร็จออกไป ได้แก่ 1.โครงการวางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพฯ (ปรับปรุงครั้งที่ 3) ซึ่งเป็นโครงการเดิมต่อเนื่องปีงบประมาณ 2553-2555 และมีกำหนดสิ้นสุดสัญญาในวันที่ 8 มี.ค.2555 โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จช้ากว่าเดิม 30 วัน นอกจากนี้ จำเป็นต้องทบทวนและปรับแผนผังต่างๆ เพิ่มเติม 2.โครงการจ้างที่ปรึกษาประจำเพื่อสำรวจ วางผัง ออกแบบรายละเอียด ประเมินราคา สำหรับงานวางผังพัฒนาและปรับปรุงฟื้นฟูเมือง และส่วนของเมือง เดิมคาดแล้วเสร็จ โดยสิ้นสุดสัญญาภายในวันที่ 17 ธ.ค.นี้ อาจจะล่าช้าออกไป 60 วันเป็นวันที่ 17 ก.พ.2555
3.โครงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมปรับปรุงฟื้นฟูเมืองตามแนวพระราชดำริ "กรุงเทพเมืองสวรรค์" สิ้นสุดสัญญาวันที่ 18 ธ.ค.นี้ 4.โครงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อสำรวจและออกแบบรายละเอียดเพื่อพัฒนาย่านที่อยู่อาศัยเขตประเวศ สะพานสูง ลาดกระบัง และมีนบุรี สัญญาสิ้นสุด 8 ม.ค.2555 และ 5.โครงการบูรณการระบบภูมิสารสนเทศ 3 มิติเพื่อการผังเมือง สิ้นสุดสัญญาวันที่ 1 ธ.ค.ที่ผ่านมา ทั้งนี้ โครงการที่ 3-5 ยังไม่สามารถกำหนดหรือระบุวันเวลาแล้วเสร็จได้
**10โรงเรียนปทุมฯ-นนท์เลื่อนเปิดอีก
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า ได้รับรายงานจำนวนโรงเรียนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม และไม่สามารถเปิดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 ได้ทันวันที่ 13 ธ.ค.2554จึงต้องเลื่อนเปิดเทอมต่อจำนวน 10 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ปทุมธานี เขต 2 จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนวัดโพสพผลเจริญ โรงเรียนวัดลาดสนุ่น โรงเรียนวัดประยูรธรรมาราม และโรงเรียนสังกัด สพท. นนทบุรี เขต 2 จำนวน 7 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนวัดเพรางาย โรงเรียนชุมชนวัดบางโค (แม่นางวิทย์อุปการี) โรงเรียนบ้านคลองพระพิมล โรงเรียนสมบูรณ์ศาสตร์พัฒนา โรงเรียนบ้านดอนตะลุมพุก (เจริญจิตรวิทยา) โรงเรียนวัดคลองเจ้าและโรงเรียนวัดมะสง มิตรภาพที่ 55
**ศธ.เร่งเยียวยาโรงเรียนกว่า2 พันแห่ง
นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงกรณีที่ครม. อนุมัติงบโครงการเตรียมความพร้อมให้นักเรียนและโรงเรียนกว่า 2,000 แห่ง ที่ประสบภัยน้ำท่วมเป็นเงิน 456 ล้านบาท ว่า กระทรวงศึกษาฯ จะนำไปจัดซื้อหนังสือเรียน อุปกรณ์การเรียนต่างๆ ให้กับนักเรียนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ส่วนอีก 2,417 ล้านบาท ที่เสนอขอไปนั้น ครม.ได้ให้ ศธ. สามารถไปทำความตกลงกับทางสำนักงบประมาณได้เลยภายหลังจากที่ศธ. ตรวจสอบแล้วว่ามีโรงเรียนใดที่ได้รับความเสียหายและต้องซ่อมแซมอะไรบ้าง
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ศธ. มีงบสำรองอยู่ จำนวน 100 ล้านบาท ที่ครม.อนุมัติให้มาก่อนนั้น ดังนั้น ในกรณีโรงเรียนที่มีความจำเป็นเร่งด่วนก็จะนำงบในส่วนนี้ไปให้กับทางโรงเรียนใช้ก่อน และในกรณีเร่งด่วนมาก ศธ.ก็จะมอบให้กศน.และอาชีวะฯ ไปซ่อมแซมโรงเรียนให้ก่อนในเบื้องต้น สำหรับโรงเรียนที่อาคารได้รับความเสียหายมาก็จะมอบเงินให้ไปดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง
**ระดับน้ำคลองสายหลักลดลง
วันเดียวกันนี้ เวลา 07.00 น. ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย กรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้รายงานสรุปสถานการณ์น้ำประจำวัน ระดับน้ำที่ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา 1.81เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง (ม.รทก.) ลดลงจากเมื่อวาน7 ซ.ม. น้ำทะเลหนุนสูง วันที่ 13 ธ.ค. เวลา 10.46 น. ระดับ 1.18 ม.รทก. และเวลา 18.34 น. ระดับ 0.94 ม.รทก. ขณะที่การคาดการณ์จากกรมอุทกศาสตร์ เวลา 10.46 น. ระดับ 1.78 ม.รทก.
สำหรับสถานการณ์น้ำทุ่ง ช่วง 24 ชั่วโมง ที่ผ่านมา พบว่า ระดับน้ำคลองหกวาสายล่างด้านนอกเขตกทม. ระดับน้ำลดลง 5 ซม. ดอนเมือง ระดับน้ำลดลง 8 ซม. ส่วนคลองมหาสวัสดิ์ด้านนอกเขตกทม. ระดับน้ำลดลง 3 ซม. สำหรับฝั่งธนบุรี ระดับน้ำลดลงเป็นลำดับ 1-5 ซม. ภาพรวมสถานการณ์น้ำในคลองสายหลักฝั่งพระนคร ลดลง 3-5 ซม.
**จัด"มหกรรมสินค้าถูกฯ”15 ธ.ค.นี้
วันเดียวกัน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. เป็นประธานแถลงข่าวโครงการ "มหกรรมสินค้าถูกรวมกันเราทำได้" โดย กทม.ได้จัดทำโครงการจำหน่ายสินค้าราคาถูกจากผู้ผลิตและผู้ประกอบการโดยตรงเพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตน้ำท่วม โดยได้รับความร่วมมือจากผู้ผลิต และผู้ประกอบการต่างๆ อาทิ บริษัทในเครือซีเมนต์ไทย บริษัทในเครือสหพัฒน์พิบูลย์ บริษัทในเครือล็อคซ์เลย์ ดีทแฮม ซีพี สหฟาร์ม เป็นต้น โดยได้ร่วมจัดจำหน่ายสินค้าที่จำเป็นในราคาประหยัดทั้งสินค้าอุปโภค บริโภค เครื่องใช้ไฟฟ้าเฟอร์นิเจอร์ ของแต่งบ้าน วัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง อุปกรณ์ซ่อมแซมบ้านเรือน ซึ่งโครงการดังกล่าวจะลดรายจ่ายประชาชนและรองรับภาระค่าครองชีพในภาวะวิกฤตน้ำท่วมถือเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในอีกแนวทางหนึ่ง
นอกจากนี้ ในงานยังมีการจัดหางาน ซ่อมรถจักรยานยนต์ การฝึกอาชีพ โดยมหกรรมสินค้าถูก รวมกันเราทำได้ จะจัดขึ้นต่อเนื่อง 4 วันใน 4 มุมเมืองสำคัญ ได้แก่ วันที 15-18 ธ.ค.2554 บริเวณการกีฬาแห่งประเทศไทย (หัวหมาก) วันที่ 22-25 ธ.ค.2554 บริเวณสะพานพระราม 8 (ฝั่งธนบุรี) วันที่ 5-8 ม.ค.2555 บริเวณสวนสาธารณะเซ็นทรัลพาร์ค ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพระราม 2 และวันที่ 12-16 ม.ค.2555 บริเวณประตูกรุงเทพฯ กม.25 ถนนพหลโยธิน ตั้งแต่เวลา10.00-22.00น.
**กู้ถนนพุทธมณฑลสาย 3 เสร็จแล้ว
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า การกู้ถนนพหลโยธินและถนนบรมราชชนนีเรียบร้อยแล้ว สามารถใช้สัญจรได้ ซึ่งขณะนี้กทม.กำลังช่วยกู้ถนนบรมราชชนนีฝั่งจังหวัดนครปฐม และถนนพุทธมณฑลสาย 3 ให้แห้งภายในเที่ยงคืนวันที่ 13 ธ.ค. ส่วนปัญหาเรื่องขยะ ยังน่าเป็นห่วง เพราะยังไม่นิ่ง ขยะยังคงมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม ต้องเร่งจัดการให้กทม.ปลอดขยะก่อนสิ้นปีนี้ สำหรับโรงเรียนต่างๆ ได้เปิดเทอมทั้งหมดแล้ว แต่บางโรงเรียนที่เขตคลองสามวาและทวีวัฒนายังมีน้ำท่วมขังอยู่บ้าง กทม.จึงได้สร้างสะพานไม้ให้นักเรียนเดินทางเข้าโรงเรียนได้ ทั้งนี้ อาจต้องมีการเรียนการสอนชดเชย 7 วันต่อสัปดาห์
** เปิดสายด่วนผู้ว่าฯ ช่วยทำน้ำแห้ง
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า ได้เปิดสายด่วนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โทร. 081-933-5999 เพื่อเป็นช่องทางในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมให้หมดจากพื้นที่กรุงเทพฯ ก่อนวันที่ 31 ธ.ค. 2554 ด้วย
**กทม.เล็งแก้น้ำท่วมระยะยาว
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า กทม.จะตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในระยะยาว ซึ่งตนเป็นประธานในการบริหารจัดการ แต่อาจต้องใช้ระยะเวลาในการจัดตั้ง เพราะขณะนี้ยังคงมีปัญหาเรื่องน้ำและขยะ โดยการแก้ไขปัญหาน้ำต้องขอความร่วมมือกับรัฐบาลด้วย เพราะโครงสร้างของระบบระบายน้ำกทม.ที่มีอยู่สร้างขึ้นเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาน้ำท่วมที่เกิดจากการท่วมขังเพราะฝนตกหนักและน้ำล้นตลิ่งเท่านั้น ไม่ได้สร้างเพื่อระบายน้ำจากเหนือลงใต้ ส่วนอุโมงค์ยักษ์ที่จะสร้างขึ้นอีก 3 อุโมงค์ แต่ละอุโมงค์สามารถระบายน้ำได้ 245 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ศักยภาพเพิ่มขึ้นจากอุโมงค์ยักษ์พระราม 9-รามคำแหงที่ 155 ลูกบาศก์ต่อวินาที แต่ก็ยังไม่สามารถพัฒนาระบบระบายน้ำได้
"หากต้องมีการพัฒนาระบบให้สามารถระบายน้ำจากเหนือลงใต้กทม.ต้องหารือร่วมกับรัฐบาล ตนเองมีความวิตกกังวล เพราะกรุงเทพฯ อยู่ปลายน้ำ ปัญหาน้ำที่เกิดขึ้นจึงต้องได้รับการจัดการพื้นที่เหนือกรุงเทพฯอย่างในปีนี้ปัญหาเกิดจากฝนตกหนักแล้วน้ำล้นเขื่อน หากจะแก้ไขปัญหาจึงต้องมีการป้องกันร่วมกัน ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐบาล"