กทม.จัดงาน “มหกรรมสินค้าถูก รวมกันเราทำได้” 4 มุมเมือง 15 ธ.ค.2554 - 15 ม.ค.2555 “สุขุมพันธุ์” ระบุ กู้ถนนพุทธมณฑลสาย 3 เสร็จเที่ยง ย้ำ ถนนและขยะต้องเสร็จทันก่อนปีใหม่ แต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในระยะยาวต้องใช้เวลาและความร่วมมือจากจังหวัดต้นน้ำอื่นๆ
วันนี้ (13 ธ.ค.) เวลา 11.00 น. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นประธานแถลงข่าวโครงการ “มหกรรมสินค้าถูก รวมกันเราทำได้” โดย กทม.ได้จัดทำโครงการจำหน่ายสินค้าราคาถูกจากผู้ผลิตและผู้ประกอบการโดย ตรงเพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตน้ำท่วม โดยได้รับความร่วมมือจากผู้ผลิต และผู้ประกอบการต่างๆ อาทิ บริษัทในเครือซิเมนต์ไทย บริษัทในเครือสหพัฒนพิบูล บริษัทในเครือล็อกซเล่ย์ ดีทแฮล์ม ซีพี สหฟาร์ม เป็นต้น โดยได้ร่วมจัดจำหน่ายสินค้าที่จำเป็นในราคาประหยัดทั้งสินค้าอุปโภค บริโภค เครื่องใช้ไฟฟ้าเฟอร์นิเจอร์ ของแต่งบ้าน วัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง อุปกรณ์ซ่อมแซมบ้านเรือน ซึ่งโครงการดังกล่าวจะลดรายจ่ายประชาชนและรองรับภาระค่าครองชีพในภาวะวิกฤต น้ำท่วมถือเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในอีกแนวทางหนึ่ง นอกจากนี้ ในงานยังมีการจัดหางาน ซ่อมรถจักรยานยนต์ การฝึกอาชีพโดยมหกรรมสินค้าถูก รวมกันเราทำได้ จะจัดขึ้นต่อเนื่อง 4 วันใน 4 มุมเมืองสำคัญ ได้แก่ วันที 15-18 ธ.ค.2554 บริเวณการกีฬาแห่งประเทศไทย (หัวหมาก) วันที่ 22-25 ธ.ค.2554 บริเวณสะพานพระราม 8 (ฝั่งธนบุรี) วันที่ 5-8 ม.ค.2555 บริเวณสวนสาธารณะเซ็นทรัลพาร์ค ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพระราม 2 และวันที่ 12-16 ม.ค.2555 บริเวณประตูกรุงเทพฯ กม.25 ถนนพหลโยธิน ตั้งแต่เวลา 10.00-22.00 น.
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า ตนเองหวังว่าโครงการนี้จะช่วยแบ่งเบาภาระประชาชนจึงอยากให้ประชาชนได้ใช้บริการ เพราะราคาต่ำกว่าราคาตลาด ส่วนการจัดเก็บขยะ กทม.ได้ว่าจ้างอาสาสมัครเพิ่มเติมใน 1 เดือนที่ผ่านมา และ กทม. มีนโยบายที่จะเช่ารถบรรทุก รถตักขยะ เพิ่มเติม แต่ติดปัญหารถขาดแคลน เพราะเป็นฤดูกาลใช้รถจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม กทม.ต้องหารถมาเพิ่มให้ได้ เพราะยังมีหลายหมู่บ้านและชุมชน ที่ยังมีขยะตกค้าง อีกทั้งขยะน้ำท่วมก็มีมากขึ้นภายหลังจากที่ประชาชนกลับเข้าที่พักอาศัยและนำ ขยะที่ไม่สามารถใช้การได้นำมาทิ้งเพิ่มเติม เช่น เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวอีกว่า ขณะนี้การกู้ถนนพหลโยธินและถนนบรมราชชนนีเรียบร้อยแล้ว สามารถใช้สัญจรได้ ซึ่งขณะนี้ กทม.กำลังช่วยกู้ถนนบรมราชชนนีฝั่งจังหวัดนครปฐม และยังมีถนนพุทธมณฑลสาย 3 ให้แห้งภายในเที่ยงคืนนี้ คาดว่าเรื่องน้ำจะแห้งทัน 31 ธันวาคมแน่นอน แต่ตนห่วงเรื่องขยะ เพราะยังไม่นิ่ง ขยะยังคงมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม ต้องเร่งจัดการให้ กทม.ปลอดขยะก่อนสิ้นปีนี้ ส่วนวันนี้โรงเรียนต่างๆ ได้เปิดเทอมทั้งหมดแล้ว แต่ที่บางโรงเรียนที่เขตคลองสามวา และทวีวัฒนา ยังมีน้ำท่วมขังอยู่บ้าง กทม.จึงได้สร้างสะพานไม้ให้นักเรียนเดินทางเข้าโรงเรียนได้ ทั้งนี้ อาจต้องมี การเรียนการสอนชดเชย 7 วันต่อสัปดาห์
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวด้วยว่า กทม.จะตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในระยะยาว ซึ่งตนเป็นประธานในการบริหารจัดการ แต่อาจต้องใช้ระยะเวลาในการจัดตั้ง เพราะขณะนี้ยังคงมีปัญหาเรื่องน้ำและขยะ ทั้งนี้การแก้ไขปัญหาน้ำต้องขอความร่วมมือกับรัฐบาลด้วย เพราะโครงสร้างของระบบระบายน้ำ กทม.ที่มีอยู่สร้างขึ้นเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาน้ำท่วมที่เกิดจากการท่วมขัง เพราะฝนตกหนักและน้ำล้นตลิ่งเท่านั้นไม่ได้สร้างเพื่อระบายน้ำ จากเหนือลงใต้ ส่วนอุโมงค์ยักษ์ที่จะสร้างขึ้นอีก 3 อุโมงค์ แต่ละอุโมงค์สามารถระบายน้ำได้ 245 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีศักยภาพเพิ่มขึ้นจากอุโมงค์ยักษ์พระราม 9-รามคำแหงที่ 155 ลูกบาศก์ต่อวินาที แต่ก็ยังไม่สามารถพัฒนาระบบระบายน้ำได้ ดังนั้นหากต้องมีการพัฒนาระบบให้สามารถระบายน้ำจากเหนือลงใต้ กทม.ต้องหารือร่วมกับรัฐบาล ตนเองมีความวิตกกังวล เพราะกรุงเทพฯ อยู่ปลายน้ำ ปัญหาน้ำที่เกิดขึ้นจึงต้องได้รับการจัดการพื้นที่เหนือกรุงเทพฯ อย่างในปีนี้ปัญหาเกิดจากฝนตกหนักแล้วน้ำล้นเขื่อน หากจะแก้ไขปัญหาจึงต้องมีการป้องกันร่วมกัน ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐบาล
วันนี้ (13 ธ.ค.) เวลา 11.00 น. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นประธานแถลงข่าวโครงการ “มหกรรมสินค้าถูก รวมกันเราทำได้” โดย กทม.ได้จัดทำโครงการจำหน่ายสินค้าราคาถูกจากผู้ผลิตและผู้ประกอบการโดย ตรงเพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตน้ำท่วม โดยได้รับความร่วมมือจากผู้ผลิต และผู้ประกอบการต่างๆ อาทิ บริษัทในเครือซิเมนต์ไทย บริษัทในเครือสหพัฒนพิบูล บริษัทในเครือล็อกซเล่ย์ ดีทแฮล์ม ซีพี สหฟาร์ม เป็นต้น โดยได้ร่วมจัดจำหน่ายสินค้าที่จำเป็นในราคาประหยัดทั้งสินค้าอุปโภค บริโภค เครื่องใช้ไฟฟ้าเฟอร์นิเจอร์ ของแต่งบ้าน วัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง อุปกรณ์ซ่อมแซมบ้านเรือน ซึ่งโครงการดังกล่าวจะลดรายจ่ายประชาชนและรองรับภาระค่าครองชีพในภาวะวิกฤต น้ำท่วมถือเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในอีกแนวทางหนึ่ง นอกจากนี้ ในงานยังมีการจัดหางาน ซ่อมรถจักรยานยนต์ การฝึกอาชีพโดยมหกรรมสินค้าถูก รวมกันเราทำได้ จะจัดขึ้นต่อเนื่อง 4 วันใน 4 มุมเมืองสำคัญ ได้แก่ วันที 15-18 ธ.ค.2554 บริเวณการกีฬาแห่งประเทศไทย (หัวหมาก) วันที่ 22-25 ธ.ค.2554 บริเวณสะพานพระราม 8 (ฝั่งธนบุรี) วันที่ 5-8 ม.ค.2555 บริเวณสวนสาธารณะเซ็นทรัลพาร์ค ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพระราม 2 และวันที่ 12-16 ม.ค.2555 บริเวณประตูกรุงเทพฯ กม.25 ถนนพหลโยธิน ตั้งแต่เวลา 10.00-22.00 น.
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า ตนเองหวังว่าโครงการนี้จะช่วยแบ่งเบาภาระประชาชนจึงอยากให้ประชาชนได้ใช้บริการ เพราะราคาต่ำกว่าราคาตลาด ส่วนการจัดเก็บขยะ กทม.ได้ว่าจ้างอาสาสมัครเพิ่มเติมใน 1 เดือนที่ผ่านมา และ กทม. มีนโยบายที่จะเช่ารถบรรทุก รถตักขยะ เพิ่มเติม แต่ติดปัญหารถขาดแคลน เพราะเป็นฤดูกาลใช้รถจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม กทม.ต้องหารถมาเพิ่มให้ได้ เพราะยังมีหลายหมู่บ้านและชุมชน ที่ยังมีขยะตกค้าง อีกทั้งขยะน้ำท่วมก็มีมากขึ้นภายหลังจากที่ประชาชนกลับเข้าที่พักอาศัยและนำ ขยะที่ไม่สามารถใช้การได้นำมาทิ้งเพิ่มเติม เช่น เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวอีกว่า ขณะนี้การกู้ถนนพหลโยธินและถนนบรมราชชนนีเรียบร้อยแล้ว สามารถใช้สัญจรได้ ซึ่งขณะนี้ กทม.กำลังช่วยกู้ถนนบรมราชชนนีฝั่งจังหวัดนครปฐม และยังมีถนนพุทธมณฑลสาย 3 ให้แห้งภายในเที่ยงคืนนี้ คาดว่าเรื่องน้ำจะแห้งทัน 31 ธันวาคมแน่นอน แต่ตนห่วงเรื่องขยะ เพราะยังไม่นิ่ง ขยะยังคงมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม ต้องเร่งจัดการให้ กทม.ปลอดขยะก่อนสิ้นปีนี้ ส่วนวันนี้โรงเรียนต่างๆ ได้เปิดเทอมทั้งหมดแล้ว แต่ที่บางโรงเรียนที่เขตคลองสามวา และทวีวัฒนา ยังมีน้ำท่วมขังอยู่บ้าง กทม.จึงได้สร้างสะพานไม้ให้นักเรียนเดินทางเข้าโรงเรียนได้ ทั้งนี้ อาจต้องมี การเรียนการสอนชดเชย 7 วันต่อสัปดาห์
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวด้วยว่า กทม.จะตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในระยะยาว ซึ่งตนเป็นประธานในการบริหารจัดการ แต่อาจต้องใช้ระยะเวลาในการจัดตั้ง เพราะขณะนี้ยังคงมีปัญหาเรื่องน้ำและขยะ ทั้งนี้การแก้ไขปัญหาน้ำต้องขอความร่วมมือกับรัฐบาลด้วย เพราะโครงสร้างของระบบระบายน้ำ กทม.ที่มีอยู่สร้างขึ้นเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาน้ำท่วมที่เกิดจากการท่วมขัง เพราะฝนตกหนักและน้ำล้นตลิ่งเท่านั้นไม่ได้สร้างเพื่อระบายน้ำ จากเหนือลงใต้ ส่วนอุโมงค์ยักษ์ที่จะสร้างขึ้นอีก 3 อุโมงค์ แต่ละอุโมงค์สามารถระบายน้ำได้ 245 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีศักยภาพเพิ่มขึ้นจากอุโมงค์ยักษ์พระราม 9-รามคำแหงที่ 155 ลูกบาศก์ต่อวินาที แต่ก็ยังไม่สามารถพัฒนาระบบระบายน้ำได้ ดังนั้นหากต้องมีการพัฒนาระบบให้สามารถระบายน้ำจากเหนือลงใต้ กทม.ต้องหารือร่วมกับรัฐบาล ตนเองมีความวิตกกังวล เพราะกรุงเทพฯ อยู่ปลายน้ำ ปัญหาน้ำที่เกิดขึ้นจึงต้องได้รับการจัดการพื้นที่เหนือกรุงเทพฯ อย่างในปีนี้ปัญหาเกิดจากฝนตกหนักแล้วน้ำล้นเขื่อน หากจะแก้ไขปัญหาจึงต้องมีการป้องกันร่วมกัน ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐบาล