ASTVผู้จัดการรายวัน-"ยิ่งลักษณ์" ถกครม.นัดพิเศษวาง 5 หลักการ เร่งเยียวยาประชาชนผู้ประสบอุทกภัย อัดฉีดก้อนแรก 2 หมื่นล้าน ถึงมือประชาชนภายใน 3 วัน ส่วนอีก 2 หมื่นล้าน ให้รอ เดือน ก.พ.55 กำชับต้องไม่ซ้ำซ้อน จี้ผวจ. เร่งจ่ายเงินเยียวยาครัวละ 5 พัน พร้อมเร่งซ่อมถนนสายหลักโดยเร็ว สั่งสภาพัฒน์ฯ-สำนักงบฯ สำรวจหั่นโครงการไม่จำเป็น ขณะที่กระทรวงศึกษาฯ ถูกเบรกหลังขอเบิกจ่ายงบสูงถึง 2,417 ล้านบาท ให้ไปเสนอมาใหม่
วานนี้ (12 ธ.ค.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีนัดพิเศษว่า สืบเนื่องจากงบประมาณ ที่เราตั้งไว้สำหรับการฟื้นฟูฯหลังน้ำท่วม ผ่านคณะรัฐมนตรีไปแล้ว เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้นกว่า 6 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะอยู่ในงบประมาณ 1.2 แสนล้านบาท แต่ขณะนี้เราต้องใช้งบประมาณไปพลางก่อน เพื่อให้เกิดการจัดสรรการใช้งบประมาณตามความจำเป็นเร่งด่วน ระหว่างที่รองบประมาณที่จะได้รับการอนุมัติจากรัฐสภา ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ จึงนัดหารือกัน เพื่อซักซ้อม และหารือถึงความซ้ำซ้อนต่างๆ และเพื่อให้เกิดการใช้งบประมาณนั้นอย่างเต็มที่ ที่สำคัญการพิจารณาการฟื้นฟูครั้งนี้ อย่างแรกเราให้ความสำคัญ การเร่งเยียวยาให้กับพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะเงิน 5,000 บาท รวมถึงการเยียวยาพื้นที่เกษตรกรรมที่เสียหายต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็นเรื่องเร่งด่วน ที่เหลือจะเป็นงบประมาณที่จะเน้นการดูแลฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐาน ที่ชำรุด ใช้งานไม่ได้ เราจะซ่อมแซมให้กลับสู่สภาพเดิม
นอกจากนี้ จะมีส่วนอื่นที่มาดูในการส่งเสริม ที่จะเน้นการกระตุ้นเศรษฐกิจ การแก้ปัญหา และบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน
เมื่อถามว่า มีการตัดงบประมาณอะไรออกไปหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า หลักการ ไม่ได้ตัด แต่ต้องมีการบริหารจัดการเรื่องการใช้งบประมาณอย่างเร่งด่วน ก้อนแรกที่จัดสรรงบประมาณเลย คือ วงเงิน กว่า 2 หมื่นล้านบาท หลังจากนั้นอีกส่วนหนึ่ง จะทยอยให้เบิกจ่ายหลังจากงบประมาณผ่าน ยังมีอีกส่วนที่อยากให้ดู คือก้อนสุดท้ายของ 2 หมื่นล้านบาทนั้น ดูให้แน่ใจ ไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนในหน่วยงาน เพราะก่อนที่จะมีการตั้งคณะกรรมการฟื้นฟู เยียวยา หลังน้ำท่วม จะมีการของบฯ จาก 2 ส่วน คือ งบฯ จากกระทรวง และงบจากผู้ว่าฯ ซึ่งต้องมาบริหารจัดการ ซึ่งบางส่วนสามารถเป็นงบท้องถิ่น บางส่วนจะเป็นงบฯ ที่จะเอาไปใช้งบปกติของกระทรวงได้
ดังนั้น จึงต้องพิจารณาให้แน่ใจว่า การใช้เงินทุกบาททุกสตางค์ เป็นไปอย่างตรงวัตถุประสงค์ ที่สำคัญจะมีกระบวนการต่างๆ ที่จะดูแลให้ถึงมือประชาชนโดยเร็ว
เมื่อถามว่า มีโครงการซ้ำซ้อนกันมากหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ไม่มาก รายละเอียดจะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปหารือ ที่สำคัญเราได้ตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) แล้ว ดังนั้นในส่วนโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นตัวรวมใหญ่ๆ อาจจะต้องมาประสานกับ กยน. เพื่อให้แน่ใจว่า เส้นทางต่างๆ ที่เราทำ ไม่ได้บล็อก เช่น เส้นทางต่างๆ ที่เราพิจารณาว่าขวางทางน้ำหรือไม่ ซึ่งอันนี้จะอยู่ในส่วนของ 2 หมื่นล้านบาท ส่วนหลังที่ต้องมีการประสานงานบูรณาการทุกส่วน เพื่อให้เกิดความแน่ใจ ไม่ซ้ำซ้อน และไม่เป็นอุปสรรคของการบริหารจัดการน้ำอย่างถาวร
เมื่อถามว่า จะทำอย่างไรให้เกิดความโปร่งใสในการใช้งบประมาณ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ครม.เห็นชอบ ให้เน้นย้ำผู้ว่าราชการจังหวัด ต้องดูแลความโปร่งใสของการใช้งบประมาณอย่างเต็มที่ ครม. มีกลไก 2 ส่วน คือ
1. ให้ครม.แต่ละคนรับผิดชอบรายจังหวัด จะไปทำงานร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อให้แน่ใจว่าการใช้งบประมาณเป็นไปอย่างโปร่งใส ไปถึงมือประชาชน
2. ภายใต้ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เราจะตั้งคณะผู้ตรวจของทุกกระทรวงลงไปตรวจงานซ้ำอีกเสริมกับ ครม.
เมื่อถามว่าหลักเกณฑ์ในการอนุมัติงบประมาณ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า มองความเดือดร้อนประชาชนเป็นหลัก โดยเฉพาะเร่งการเยียวยา 5,000 บาท ใช้งบตามความจำเป็นเร่งด่วน หรือการที่จะทำอย่างไรให้ฟื้นฟูกลับสู่สภาพเดิม ใช้งบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจ เน้นกลไกการจ้างงานในชุมชนให้มากขึ้น และการทำงานให้มีกลไกการทำงานและตรวจสอบอย่างครบถ้วน
**เร่งฟื้นฟูโครงสร้าง 3 ด้าน
นางฐิติมา ฉายแสง โฆษกสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรีนัดพิเศษ ในวันนี้ ว่า ที่ประชุมครม. ได้มีการหารือถึงผลการพิจารณาค่าใช้จ่ายฟื้นฟูเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่สำนักงบประมาณและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เสนอมา คือเห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณฟื้นฟู เยียวยา จากสถานการณ์อุทกภัย ซึ่งดำเนินการได้ทันทีภายในเดือนม.ค. 2555 เป็นเงิน จำนวน20,110 ล้านบาท จากงบประมาณที่ขอมา จำนวน 60,983 ล้านบาท เพื่อฟื้นฟูใน 3 โครงสร้าง คือ 1. ด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและความเป็นอยู่ของประชาชน 2. ด้านฟื้นฟูคุณภาพชีวิต และ 3. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ขณะเดียวกันยังเหลือเงินที่จะสามารถดำเนินการได้ตามงบประมาณพรางก่อนอีก 2 หมื่นกว่าล้านบาท ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ ได้มีการหารือกันเพื่อหาแนวทางว่า แต่ละจังหวัดที่นำเสนอมา โดยมีรัฐมนตรีกำกับดูแล จะต้องดูข้อมูลให้ชัดเจนตามหลักเกณฑ์ ทั้งนี้งบประมาณ 20,110 ล้านบาท จะลงไปทันที ภายใน 3 วัน แต่ในระยะเวลา 3 วันนั้น ทางส่วนราชการต้องส่งคำขอจัดสรรไปยังสำนักงบประมาณก่อน เพราะถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ
นางฐิติมา กล่าวด้วยว่า ที่ประชุมได้เปิดวีดีโอคอนฟอเร้นท์ ซึ่ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้กล่าวขอบคุณที่รัฐมนตรีต่างๆให้ความร่วมมือ และยังพูดถึงเรื่องอยากให้ทุกคนได้รู้ถึงบทบาทหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดเอง เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด ต้องเร่งตรวจสอบความเสียหายทั้ง เรื่องเงินช่วยเหลือ 5,000 บาท หรือความเสียหายด้านอื่นๆให้ครบถ้วน โดยเรื่องเงินชดเชย 5,000บาท ผู้ว่าราชการจังหวัดวางกลไกผ่านบัญชีเงินให้เรียบร้อย ที่สามารถตรวจสอบได้ชัดเจนซึ่งต้องกลั่นกรองโครงการต่างๆ และลดความซ้ำซ้อน
ดังนั้นงบปกติใด ถ้าไปใช้งบท้องถิ่นได้ ก็ให้ไปใช้งบในส่วนนั้น แต่ทั้งหมดนี้ผู้ว่าราชการจังหวัด ต้องกระตุ้นเศรษฐกิจด้วย โดยต้องมีการจ้างงานแก่ประชาชน ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ร่วมกับรัฐมนตรีที่ดูแลให้ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จัดการตรวจสอบเพื่อความโปร่งใส ทั้งนี้ หากเป็นโครงการที่จำเป็นต้องมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องเข้าที่ประชุมระดับจังหวัด และรายงานให้ผู้ตรวจ และรัฐมนตรีทราบ และส่งมายังคณะกรรมการ เพื่อให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย (กฟย.) ที่มี นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย เป็นประธาน เพราะหากมีการเปลี่ยนแปลง นายยงยุทธ ต้องรับทราบทุกเรื่อง
** ให้ใช้งบเร่งด่วนได้ 9 โครงการ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โครงการที่จะใช้งบเร่งด่วนในการดำเนินการ มีทั้งสิ้น 9 โครงการ ประกอบด้วย
1. การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุกทกภัยครัวเรือนละ 5 พันบาท ใน 62 จังหวัดและ เขตกรุงเทพมหานคร 2,635,110 ครัวเรือน เป็นเงิน 13,175.55 ล้านบาท
2. โครงการฟื้นฟูคุณภาพชีวิตตามข้อเสนอของจังหวัด 314.5 ล้านบาท
3. โครงการเตรียมความพร้อมให้นักเรียน และโรงเรียน 2,006 แห่ง เป็นเงิน 456 ล้านบาท
4.โครงการช่วยเหลือประชาชนด้านสาธารณสุขในพื้นที่ประสบอุทกภัยร้ายแรง 9 จังหวัด เป็นเงิน 121.9 ล้านบาท
5.โครงการป้องกันและบรรเทาปัญหาเลิกจ้าง 100,000 ราย เป็นเงิน 606 ล้านบาท
6.โครงการจัดศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix it center) เป็นเงิน 17.8 ล้านบาท
7. โครงการฟื้นฟูบูรณะโบราณสถาน 296 แห่ง เป็นเงิน 1,382.6 ล้านบาท
8.โครงการฟื้นฟูเร่งด่วนทางสายหลักและโครงข่ายสำคัญ 708 สายทาง เป็นเงิน 1,813.8ล้านบาท
และ 9. โครงการฟื้นฟูทางหลวงชนบทอันเนื่องมาจากอุทกภัย 11 สายทาง เป็นเงิน139.8 ล้านบาท
** เน้นการทำงานที่ไม่ซ้ำซ้อน
น.ส.อนุตตมา อมรวิวัฒน์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ครม.นัดพิเศษ ยังได้มีการหารือถึงเกี่ยวกับกองทุนหมู่บ้านหรือ SML และเรื่องการกลั่นกรองโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูเยียวยาน้ำท่วมโดย มีการเน้นย้ำที่จะไม่ให้ทำงานซ้ำซ้อนกัน
ดังนั้นเพื่อลดความซ้ำซ้อนของโครงการต่างๆ จึงมีการกำหนดว่า บางส่วนที่อาจใช้ งบปกติ หรืองบปกครองท้องถิ่นได้ ก็ให้ใช้เช่นเดียวกับบางส่วนที่อาจใช้งบกองทุนหมู่บ้านที่เรียกว่า SML ก็ได้ ซึ่งวันนี้ SML เป็นหนึ่งในมติที่รัฐบาลให้ความสำคัญ โดยแบ่งเป็น 2 ประเด็น ที่มีการหยิบยกขึ้นมาพูดคุยในครม. โดยเรื่องแรก จะเป็นเรื่องประเภทของโครงการ และเรื่องที่สอง จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับจำนวนเงินช่วยเหลือ ที่จะแบ่งออกเป็น 300,000 บาท, 400,000 บาท,และ 500,000 บาท โดยการจ่ายจำนวนเงิน จะดูจากจำนวนประชากรของแต่ละหมู่บ้าน ซึ่งประเด็นแรก นายกิติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ ได้มีการชี้แจงถึงเรื่องกองทุน SMLหรือ สำนักงานชุมชนพอเพียง
ทั้งนี้ อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ของรัฐบาลชุดก่อนๆ เนื่องจากอาจจะมีการส่งเสริม หรือไม่ส่งเสริมการดำเนินการบางประเภทก็ได้ และอาจจะมีโปรเจกต์ อยู่บางโปรเจกต์ ที่มีการอนุมัติค้างอยู่ ที่เรียกว่ากันติดปากว่า อนุมัติค้างท่อ ซึ่งจะอยู่ระหว่างช่วงรอยต่อโดยในขณะนี้กำลังมีการพิจารณาอนุมัติกันอยู่ และคาดว่าถ้าเหตุการณ์น้ำท่วมผ่านไปแล้ว ก็จะมีการพิจารณาอนุมัติต่อไป
ส่วน ประเด็นที่สอง ในอนาคตรัฐบาลจะให้คณะกรรมการชุมชนพอเพียงต่างๆ ดูแลเกี่ยวกับ เรื่องโครงการในพระราชดำริเท่านั้นอย่างแท้จริง และจะจัดตั้งกองทุน SML ขึ้นมาใหม่
ทั้งนี้ งบประมาณก็จะมีเท่าเดิม คือประมาณ 6,000 กว่าล้าน และประเด็นที่สองจะเป็นประเด็นเกี่ยวกับการให้เงินช่วยเหลือที่มีจำนวน 300,000 บาท , 400,000 บาท, และ500,000 บาท ซึ่งในขณะนี้พื้นที่ต่างๆ ในแต่ละจังหวัดก็มีข่ายออกมาว่า อาจจะแบ่งเป็น S1,S2,S3 หรือM1,M2,M3,L1,L2,L3 โดย เรื่องนี้นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย ได้ชี้แจงแล้วว่า เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องเป็นเรื่องที่ผิดอุดมการณ์ ที่มีมาแต่เดิมของกองทุนหมู่บ้าน โดยอาจส่งผลให้ประชาชนสับสน และยากต่อการปฎิบัติงาน
น.ส.อนุตตมา กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ประเด็นที่สอง นายยงยุทธ ได้ชี้แจงว่า โครงการนี้จะไม่ทำแบบรัฐบาลชุดก่อนๆ ที่อาจมีการล็อบบี้กัน ในเรื่องการใช้เงินให้เป็นไปตามความต้องการของคนบางกลุ่ม อย่างไรก็ตามโครงการSML ต้องการจะให้การใช้เงินเป็นไปตามความต้องการของประชาคมโดยประชาชนในหมู่ บ้านอย่างแท้จริง
ทั้งนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้สรุปหลังจากมีการถกกันเรื่อง SML ว่า จะมอบหมายให้ นายยงยุทธ คุยกับผู้ว่าราชการจังหวัด และ ส.ส.ทุกคน เกี่ยวกับวิธีการดำเนินงานของกองทุน SML ซึ่งจะมีการทำในอนาคตหลังจากที่มีการอนุมัติงบประมาณเรียบร้อย ถึงมือประชาชนแล้ว ซึ่งในขณะนี้กองทุนยังไม่ได้เริ่มขึ้น ดังนั้นการฟื้นฟูงบประมาณน้ำท่วมอะไรที่ไม่เร่งด่วน ก็อาจอยู่ในงบตัวนี้
ส่วนในเรื่องของ SML จะมีการแบ่งขนาดดังนี้ คือ ขนาด S ประชากรจะไม่เกิน 500 คน งบประมาณที่ได้รับคือ 300,000 บาท,ขนาด M คือประชากรตั้งแต่ 500 - 1,00 คน งบประมาณที่ได้รับคือ 400,000 บาท, ขนาด L ประชากรตั้งแต่ 1,001 คนขึ้นไป โดยจะได้งบประมาณอยู่ที่ 500,000 บาท
** รีบดำเนินการให้เส็จก่อนเดือนก.พ.
แหล่งข่าวที่ประชุมครม. เปิดเผยว่าในการประชุมครม.นัดพิเศษครั้งนี้ นายกฯได้เน้นย้ำให้จัดลำดับการใช้งบประมาณจากนี้ไปจนถึงกุมภาพันธ์ให้ดี เพราะผ่านจากเดือนกุมภาพันธ์ไปแล้ว ไม่น่ายาก
" จากวันนี้ถึงเดือนมกราคม เราต้องผ่านความเห็นชอบโดยเร็วที่สุด ถ้าไม่เช่นนั้นประเทศเราจะเสียประโยชน์ แต่ทั้งนี้การบริหารจัดการต้องทำอย่างรอบคอบ ในเวลาอันรวดเร็ว เพื่อให้เราสามารถแก้ไขเยียวยาได้ทันถ่วงที ขอเรียนว่า ก่อนที่เราจะมีคณะกรรมการเพื่อให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย (กฟย.) คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) คณะกรรมการยุทธศาสตร์และสร้างอนาคตประเทศ ( กยอ.) และคณะกรรมการปฎิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ. ) มีคณะทำงานปกติอยู่แล้ว ซึ่งก็มีเรื่องของผู้ว่าราชการจังหวัดเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย จากวันที่เราเข้ามา จากระเบียบบริหารราชการแผ่นดินปกติ จนมาถึง กยน. และ กยอ. จะรวบรวมเป็นเงินก้อนเดียวกัน และทั้งหมดต้องมีการจัดระเบียบไม่ให้ซ้ำซ้อน โดยเฉพาะเมื่อมี กยอ.ก็มีเรื่องของน้ำเข้ามาด้วย สภาพัฒน์ฯและสำนักงบฯ ต้องดูให้ละเอียด ไม่ให้ซ้ำซ้อน จากจุดนี้ไปต้องศึกษาผลกระทบจากน้ำ คุยหลักการให้จบในครม. ถ้า 2 หมื่นล้านแรก พิจารณาเสร็จวันนี้ ถือว่าจบเลย หากโครงการของท่านไม่ซ้ำซ้อน และอยู่ในหลักเกณฑ์ 5 ข้อ ก็ใช้เงินเต็มที่เลย ไม่ต้องรอ เพราะ หลายเรื่องรอไม่ได้ เช่น ถนนขาด ประชาชนสัญจรไม่ได้ ต้องรีบซ่อม ถนนสายหลัก สายรอง หากงบประมาณไม่พอ ก็ซ่อมสายหลักก่อน"
**"วรวัจน์"ถูกเบรกไปทำแผนใช้งบใหม่
แหล่งข่าวเผยว่า ในที่ประชุม นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญากุล รมว.ศึกษาธิการ ได้แจ้งว่ากระทรวงศึกษาฯ มีโครงการที่จะต้องใช้เงิน 2,417 ล้านบาท แต่ไม่เห็นมีอยู่ในวาระเลย ซึ่งทางสภาพัฒน์ ได้ชี้แจงว่างบประมาณดังกล่าว อยู่ในโครงสร้างอยู่แล้ว แต่น่าจะไปรองบประมาณใหม่ที่จะถึงในเดือน ก.พ.55
ส่วนนายกรัฐมนตรี เห็นว่าหากทุกคนยืนยันตัวเลขของตัวเองหมด เงินคงไม่พอ ดังนั้นต้องไปดูว่าโครงการที่จำเป็นเร่งด่วน คืออะไร ทำให้นายวรวัจน์ แย้งขึ้นมาทันที โครงการที่แจ้งมาถือว่าจำเป็นทั้งหมด ทำให้นายกฯ ได้ยืนยันอีกครั้งหนึ่งว่า ถ้าทุกคนเห็นว่างบประมาณ ตนเองสำคัญหมด งบประมาณคงหมด เอาเป็นว่า ขอให้กลับไปดูใหม่ว่า อะไรที่เป็นปัญหาทำให้โรงเรียนเปิดไม่ได้ ให้บอกมา เช่น โรงเรียนเสียหาย ประตูชำรุด ไฟฟ้าไม่ติด ซึ่งมีความจำเป็นที่ต้องซ่อมก่อน แต่ถ้าเป็นเรื่องของสนามฟุตบอล หรือส่วนอื่นที่ไม่จำเป็น ก็ให้รอไปก่อน
**ใช้1.3 หมื่นล้านจ่ายหลังละ 5 พัน
ขณะเดียวกันในส่วนของจำนวนครัวเรือน ที่ได้จะได้รับเงินเยียวยา 5 พันบาท ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย มีจำนวนทั้งสิ้น 2,635,110 ครัวเรือน ใน 62 จังหวัด เป็นเงิน 13,175 ล้านบาท ซึ่งส่วนนี้ไม่มีปัญหาเรื่องของงบประมาณ แต่จะมีปัญหาในเรื่องของเงินเยียวยาจำนวน 2 หมื่นบาท 3 หมื่นบาท หากไม่มีการจัดสรรงบตามตามลำดับความสำคัญของโครงการ โดยไม่มีการปรับลด
อย่างไรก็ตามตัวเลขทั้งหมดยังไม่เป็นยุติ ต้องมีการการไปเกลี่ยงบประมาณก่อน คือ จำนวนงบประมาณ 6 หมื่นล้าบาท ต้องมาคิดกันใหม่ จากนี้ไป 2 หมื่นล้านบาทแรก ที่เห็นชอบวันนี้ จะลงไปในพื้นที่ภายใน 3 วัน
** ฟื้นฟูภาคการเกษตรสูงถึง 1.8 หมื่นล.
ทั้งนี้ งบประมาณเยียวยาทั้งหมดจำนวน 6 หมื่นล้านบาทนั้น 2 หมื่นล้านบาทแรก จะลงพื้นที่ภายใน 3 วัน 2 หมื่นล้านบาทต่อมาจะเริ่มเบิกจ่ายได้ในเดือน ก.พ. 55 และอีก 2 หมื่นล้านบาท จะเป็นโครงการในอนาคต สรุปงบประมาณ 47,340.2 ล้านบาท จ่ายทันที 8,573 ล้านบาท ภายใน 31 ธ.ค.นี้ 8,924.8163 ล้านบาท ภายในเดือนม.ค.55 จ่าย 2,612 ล้านบาท และจะไปจ่ายเดือนก.พ.55 อีก 26,014 ล้านบาท
นอกจากนี้ ในส่วนของกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ นายกฯ ได้แสดงความหนักใจ เนื่องจากต้องมีการใช้งบประมาณจำนวนถึง 18,000 ล้านบาทโดยเฉพาะงบฯที่ต้องใช้ฟื้นฟูไร่นา เนื่องจากเข้าสู่กำลังเข้าสู่ฤดูเพาะปลูกรอบใหม่ หากไม่เร่งมอบเงินส่วนนี้ให้ ก็จะเกิดปัญหา ยังรวมไปถึงงบประมาณในส่วนของเมล็ดพันธุ์พืช พันธุ์ข้าวด้วย
** กำชับผู้ว่าฯเร่งจ่ายครัวละ 5 พัน
จากนั้นนายกฯได้ประชุมร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด66 จังหวัด ผ่านระบบวีดิโอคอนเฟอเรนซ์ โดยนายกฯ ได้เร่งให้ผู้ว่าฯดำเนินการตรวจสอบความเสียหาย เร่งจ่ายเงิน 5 พันบาทไม่ให้ ตกค้าง ให้ ถึงมือด้วยกลไกของภาครัฐ ต้องมีการติดตามตรวจสอบอย่างทั่วถึงว่าประชาชนที่อยู่ในบัญชีทำไมถึงยังไม่มารับเงิน มีตกหล่นหรือไม่ ใช้ระบบระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ GIS เข้าช่วย นอกจากนี้นายกฯ ได้ย้ำหน้าที่ของรัฐมนตรีว่า นอกเหนือจะทำหน้าที่ในแต่ละกระทรวงแล้ว ก็จะต้องดูแลรายจังหวัดตามที่ได้มีคำสั่งมอบหมายก่อนหน้านี้
**กทม.เร่งกำจัดขยะ ฟื้นฟูชุมชน
วานนี้ (12 ธ.ค. ) ม.ร.ว.สุขฺมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม.ได้เดินทางมาเป็นประธานเปิดโครงการ “ปฏิบัติการจัดการขยะเพื่อฟื้นฟูชุมชน กทม. (Big Recycle)” ณ จุดปฏิบัติการคัดแยกขยะ ถนนพุทธมณฑล สาย 1 เขตภาษีเจริญ โดยกทม.ร่วมมือกับสำนักงานเขตฝั่งตะวันตก 6 เขต ได้แก่ เขตภาษีเจริญ เขตบางแค เขตหนองแขม เขตตลิ่งชัน เขตทวีวัฒนา เขตบางพลัด สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มูลนิธิเอสซีจี หน่วยงานภาครัฐและเอกชน สถานศึกษา เครือข่ายชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์ให้เกิดการจัดการขยะอย่างเป็นระบบเพื่อลดภาระในการจัดเก็บและฝังกลบ ซึ่งจะนำไปสู่ระยะเวลาที่สั้นขึ้นของการจัดการขยะตกค้าง
**นำร่องเขตแรกที่ภาษีเจริญได้ผลเกินคาด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับโครงการนี้เริ่มปฏิบัติการที่เขตภาษีเจริญเป็นแห่งแรกเมื่อต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา เพื่อวางระบบการจัดการขยะเฟอร์นิเจอร์ที่เสียหายจากน้ำท่วม โดยมีการออกแบบเส้นทางขนย้ายเพื่อนำไปสู่ลานตากและย่อยสลาย ซึ่งจะดำเนินการโดยอาสาสมัครเยาวชนในชุมชนในการแยกชิ้นส่วนและย่อยสลาย เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรม หรือนำไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตใหม่ผ่านการสนับสนุนของมูลนิธิซีเมนต์ไทยและภาคเอกชนอื่นๆ ซึ่งหลังการดำเนินการเพียง 2 วัน พบว่าสามารถคัดแยกขยะเฟอร์นิเจอร์ไม้ได้มากถึง 20 ตัน และเกิดผลการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้การดำเนินการจัดการขยะตกค้างของพื้นที่ต่างๆ มีประสิทธิภาพรวดเร็วมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือต่อการสร้างวัฒนธรรมของการจัดการขยะอย่างยั่งยืนต่อไป
** เล็งขยายผลแยกขยะในเขตอื่นๆ
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า กทม.ขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่ร่วมเป็นเครือข่ายจัดการขยะในครั้งนี้ เนื่องจากปัญหาขยะหลังน้ำท่วมมีทั้งขยะที่ลอยมาตามน้ำ และขยะที่เกิดจากข้าวของเครื่องใช้ที่ได้รับความเสียหาย โดยในสภาวะปกติกรุงเทพฯ มีขยะรวมกันมากถึง 8,500 ตันต่อวัน ซึ่งก็เต็มขีดความสามารถของระบบการกำจัดขยะแล้ว แต่ในสภาวะหลังน้ำลด ขยะในพื้นที่น้ำท่วม อาจเพิ่มขึ้นกว่า 20 เท่า หรือเท่ากับปริมาณขยะตกค้างกว่า 46,000 ตัน หากใช้ระบบการจัดเก็บแบบปกติและไม่มีความร่วมมือจากภายนอกแล้ว อาจต้องใช้เวลาในการจัดเก็บนานนับเดือนแม้จะเพิ่มรอบและปริมาณรถจัดเก็บแล้วก็ตาม เนื่องจากขยะดังกล่าวมีปริมาณสูงกว่าขีดความสามารถในการจัดเก็บและฝังกลบอยู่มาก แต่ทั้งนี้ ได้มอบนโยบายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งจัดเก็บขยะโดยด่วน ซึ่งตั้งเป้าให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ธ.ค.นี้ อย่างไรก็ตาม หลังจากเริ่มทดลองโครงการปฏิบัติการจัดการขยะเพื่อฟื้นฟูชุมชนในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา สามารถคัดแยกขยะ โดยเฉพาะขยะจากเฟอร์นิเจอร์ไม้ได้มากถึง 20 ตัน ดังนั้นกทม.เตรียมขยายโครงการในพื้นที่ต่าง ๆ ให้ครอบคลุมโดยรอบ เช่น เขตบางแค เขตหนองแขม เขตตลิ่งชัน เขตทวีวัฒนา และเขตบางพลัด เพื่อช่วยสนับสนุนจัดการขยะที่ตกค้างของพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพใช้เวลาให้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่งกทม.จัดการขยะโดยวิธีฝังกลบร้อยละ 90 อีกร้อยละ 10 จะนำขยะแปรรูปเป็นปุ๋ยนำไปใช้ใส่ต้นไม้ในพื้นที่ กทม.ต่อไป
**คาด 7 วัน เข้าสู่ภาวะปกติ
ทั้งนี้ คาดว่าในพื้นที่กรุงเทพฯ มีขยะจากน้ำท่วมถึง 100,000 ตัน โดยเฉลี่ยครัวเรือนละ 0.5 - 1 ตัน กทม.ได้เข้าไปจัดเก็บแล้ว 4.8 หมื่นตัน หลังเหลือค้างอีกกว่า 5 หมื่นตัน เฉพาะที่เขตหลักสี่มีประมาณ 10,000 ตัน เก็บไปแล้วประมาณ 5 พันตัน จึงขอให้เขตเร่งรัดเข้าจัดเก็บในชุมชนหมู่บ้านต่างๆ ให้ได้มากที่สุด เพื่อประชาชนจะได้ไม่ต้องนำขยะมากองด้านนอก โดยจ้างอาสาสมัครชักลากขยะวันละ 300 บาท/คน และนำรถเล็กเข้าไปเก็บในพื้นที่ และประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือให้ประชาชนแยกขยะครัวเรือนปกติ และขยะเฟอร์นิเจอร์หรือวัสดุต่างๆ ที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม เพื่อจะได้รวดเร็วและสะดวกต่อการกำจัดมากยิ่งขึ้น โดยคาดว่าการปรับเปลี่ยนแผนการจัดเก็บได้จะใช้เวลาประมาณ 7 วันเพื่อให้สถานการณ์ขยะกลับสู่สภาวะปกติ
วานนี้ (12 ธ.ค.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีนัดพิเศษว่า สืบเนื่องจากงบประมาณ ที่เราตั้งไว้สำหรับการฟื้นฟูฯหลังน้ำท่วม ผ่านคณะรัฐมนตรีไปแล้ว เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้นกว่า 6 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะอยู่ในงบประมาณ 1.2 แสนล้านบาท แต่ขณะนี้เราต้องใช้งบประมาณไปพลางก่อน เพื่อให้เกิดการจัดสรรการใช้งบประมาณตามความจำเป็นเร่งด่วน ระหว่างที่รองบประมาณที่จะได้รับการอนุมัติจากรัฐสภา ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ จึงนัดหารือกัน เพื่อซักซ้อม และหารือถึงความซ้ำซ้อนต่างๆ และเพื่อให้เกิดการใช้งบประมาณนั้นอย่างเต็มที่ ที่สำคัญการพิจารณาการฟื้นฟูครั้งนี้ อย่างแรกเราให้ความสำคัญ การเร่งเยียวยาให้กับพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะเงิน 5,000 บาท รวมถึงการเยียวยาพื้นที่เกษตรกรรมที่เสียหายต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็นเรื่องเร่งด่วน ที่เหลือจะเป็นงบประมาณที่จะเน้นการดูแลฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐาน ที่ชำรุด ใช้งานไม่ได้ เราจะซ่อมแซมให้กลับสู่สภาพเดิม
นอกจากนี้ จะมีส่วนอื่นที่มาดูในการส่งเสริม ที่จะเน้นการกระตุ้นเศรษฐกิจ การแก้ปัญหา และบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน
เมื่อถามว่า มีการตัดงบประมาณอะไรออกไปหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า หลักการ ไม่ได้ตัด แต่ต้องมีการบริหารจัดการเรื่องการใช้งบประมาณอย่างเร่งด่วน ก้อนแรกที่จัดสรรงบประมาณเลย คือ วงเงิน กว่า 2 หมื่นล้านบาท หลังจากนั้นอีกส่วนหนึ่ง จะทยอยให้เบิกจ่ายหลังจากงบประมาณผ่าน ยังมีอีกส่วนที่อยากให้ดู คือก้อนสุดท้ายของ 2 หมื่นล้านบาทนั้น ดูให้แน่ใจ ไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนในหน่วยงาน เพราะก่อนที่จะมีการตั้งคณะกรรมการฟื้นฟู เยียวยา หลังน้ำท่วม จะมีการของบฯ จาก 2 ส่วน คือ งบฯ จากกระทรวง และงบจากผู้ว่าฯ ซึ่งต้องมาบริหารจัดการ ซึ่งบางส่วนสามารถเป็นงบท้องถิ่น บางส่วนจะเป็นงบฯ ที่จะเอาไปใช้งบปกติของกระทรวงได้
ดังนั้น จึงต้องพิจารณาให้แน่ใจว่า การใช้เงินทุกบาททุกสตางค์ เป็นไปอย่างตรงวัตถุประสงค์ ที่สำคัญจะมีกระบวนการต่างๆ ที่จะดูแลให้ถึงมือประชาชนโดยเร็ว
เมื่อถามว่า มีโครงการซ้ำซ้อนกันมากหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ไม่มาก รายละเอียดจะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปหารือ ที่สำคัญเราได้ตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) แล้ว ดังนั้นในส่วนโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นตัวรวมใหญ่ๆ อาจจะต้องมาประสานกับ กยน. เพื่อให้แน่ใจว่า เส้นทางต่างๆ ที่เราทำ ไม่ได้บล็อก เช่น เส้นทางต่างๆ ที่เราพิจารณาว่าขวางทางน้ำหรือไม่ ซึ่งอันนี้จะอยู่ในส่วนของ 2 หมื่นล้านบาท ส่วนหลังที่ต้องมีการประสานงานบูรณาการทุกส่วน เพื่อให้เกิดความแน่ใจ ไม่ซ้ำซ้อน และไม่เป็นอุปสรรคของการบริหารจัดการน้ำอย่างถาวร
เมื่อถามว่า จะทำอย่างไรให้เกิดความโปร่งใสในการใช้งบประมาณ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ครม.เห็นชอบ ให้เน้นย้ำผู้ว่าราชการจังหวัด ต้องดูแลความโปร่งใสของการใช้งบประมาณอย่างเต็มที่ ครม. มีกลไก 2 ส่วน คือ
1. ให้ครม.แต่ละคนรับผิดชอบรายจังหวัด จะไปทำงานร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อให้แน่ใจว่าการใช้งบประมาณเป็นไปอย่างโปร่งใส ไปถึงมือประชาชน
2. ภายใต้ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เราจะตั้งคณะผู้ตรวจของทุกกระทรวงลงไปตรวจงานซ้ำอีกเสริมกับ ครม.
เมื่อถามว่าหลักเกณฑ์ในการอนุมัติงบประมาณ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า มองความเดือดร้อนประชาชนเป็นหลัก โดยเฉพาะเร่งการเยียวยา 5,000 บาท ใช้งบตามความจำเป็นเร่งด่วน หรือการที่จะทำอย่างไรให้ฟื้นฟูกลับสู่สภาพเดิม ใช้งบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจ เน้นกลไกการจ้างงานในชุมชนให้มากขึ้น และการทำงานให้มีกลไกการทำงานและตรวจสอบอย่างครบถ้วน
**เร่งฟื้นฟูโครงสร้าง 3 ด้าน
นางฐิติมา ฉายแสง โฆษกสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรีนัดพิเศษ ในวันนี้ ว่า ที่ประชุมครม. ได้มีการหารือถึงผลการพิจารณาค่าใช้จ่ายฟื้นฟูเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่สำนักงบประมาณและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เสนอมา คือเห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณฟื้นฟู เยียวยา จากสถานการณ์อุทกภัย ซึ่งดำเนินการได้ทันทีภายในเดือนม.ค. 2555 เป็นเงิน จำนวน20,110 ล้านบาท จากงบประมาณที่ขอมา จำนวน 60,983 ล้านบาท เพื่อฟื้นฟูใน 3 โครงสร้าง คือ 1. ด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและความเป็นอยู่ของประชาชน 2. ด้านฟื้นฟูคุณภาพชีวิต และ 3. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ขณะเดียวกันยังเหลือเงินที่จะสามารถดำเนินการได้ตามงบประมาณพรางก่อนอีก 2 หมื่นกว่าล้านบาท ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ ได้มีการหารือกันเพื่อหาแนวทางว่า แต่ละจังหวัดที่นำเสนอมา โดยมีรัฐมนตรีกำกับดูแล จะต้องดูข้อมูลให้ชัดเจนตามหลักเกณฑ์ ทั้งนี้งบประมาณ 20,110 ล้านบาท จะลงไปทันที ภายใน 3 วัน แต่ในระยะเวลา 3 วันนั้น ทางส่วนราชการต้องส่งคำขอจัดสรรไปยังสำนักงบประมาณก่อน เพราะถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ
นางฐิติมา กล่าวด้วยว่า ที่ประชุมได้เปิดวีดีโอคอนฟอเร้นท์ ซึ่ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้กล่าวขอบคุณที่รัฐมนตรีต่างๆให้ความร่วมมือ และยังพูดถึงเรื่องอยากให้ทุกคนได้รู้ถึงบทบาทหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดเอง เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด ต้องเร่งตรวจสอบความเสียหายทั้ง เรื่องเงินช่วยเหลือ 5,000 บาท หรือความเสียหายด้านอื่นๆให้ครบถ้วน โดยเรื่องเงินชดเชย 5,000บาท ผู้ว่าราชการจังหวัดวางกลไกผ่านบัญชีเงินให้เรียบร้อย ที่สามารถตรวจสอบได้ชัดเจนซึ่งต้องกลั่นกรองโครงการต่างๆ และลดความซ้ำซ้อน
ดังนั้นงบปกติใด ถ้าไปใช้งบท้องถิ่นได้ ก็ให้ไปใช้งบในส่วนนั้น แต่ทั้งหมดนี้ผู้ว่าราชการจังหวัด ต้องกระตุ้นเศรษฐกิจด้วย โดยต้องมีการจ้างงานแก่ประชาชน ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ร่วมกับรัฐมนตรีที่ดูแลให้ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จัดการตรวจสอบเพื่อความโปร่งใส ทั้งนี้ หากเป็นโครงการที่จำเป็นต้องมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องเข้าที่ประชุมระดับจังหวัด และรายงานให้ผู้ตรวจ และรัฐมนตรีทราบ และส่งมายังคณะกรรมการ เพื่อให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย (กฟย.) ที่มี นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย เป็นประธาน เพราะหากมีการเปลี่ยนแปลง นายยงยุทธ ต้องรับทราบทุกเรื่อง
** ให้ใช้งบเร่งด่วนได้ 9 โครงการ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โครงการที่จะใช้งบเร่งด่วนในการดำเนินการ มีทั้งสิ้น 9 โครงการ ประกอบด้วย
1. การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุกทกภัยครัวเรือนละ 5 พันบาท ใน 62 จังหวัดและ เขตกรุงเทพมหานคร 2,635,110 ครัวเรือน เป็นเงิน 13,175.55 ล้านบาท
2. โครงการฟื้นฟูคุณภาพชีวิตตามข้อเสนอของจังหวัด 314.5 ล้านบาท
3. โครงการเตรียมความพร้อมให้นักเรียน และโรงเรียน 2,006 แห่ง เป็นเงิน 456 ล้านบาท
4.โครงการช่วยเหลือประชาชนด้านสาธารณสุขในพื้นที่ประสบอุทกภัยร้ายแรง 9 จังหวัด เป็นเงิน 121.9 ล้านบาท
5.โครงการป้องกันและบรรเทาปัญหาเลิกจ้าง 100,000 ราย เป็นเงิน 606 ล้านบาท
6.โครงการจัดศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix it center) เป็นเงิน 17.8 ล้านบาท
7. โครงการฟื้นฟูบูรณะโบราณสถาน 296 แห่ง เป็นเงิน 1,382.6 ล้านบาท
8.โครงการฟื้นฟูเร่งด่วนทางสายหลักและโครงข่ายสำคัญ 708 สายทาง เป็นเงิน 1,813.8ล้านบาท
และ 9. โครงการฟื้นฟูทางหลวงชนบทอันเนื่องมาจากอุทกภัย 11 สายทาง เป็นเงิน139.8 ล้านบาท
** เน้นการทำงานที่ไม่ซ้ำซ้อน
น.ส.อนุตตมา อมรวิวัฒน์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ครม.นัดพิเศษ ยังได้มีการหารือถึงเกี่ยวกับกองทุนหมู่บ้านหรือ SML และเรื่องการกลั่นกรองโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูเยียวยาน้ำท่วมโดย มีการเน้นย้ำที่จะไม่ให้ทำงานซ้ำซ้อนกัน
ดังนั้นเพื่อลดความซ้ำซ้อนของโครงการต่างๆ จึงมีการกำหนดว่า บางส่วนที่อาจใช้ งบปกติ หรืองบปกครองท้องถิ่นได้ ก็ให้ใช้เช่นเดียวกับบางส่วนที่อาจใช้งบกองทุนหมู่บ้านที่เรียกว่า SML ก็ได้ ซึ่งวันนี้ SML เป็นหนึ่งในมติที่รัฐบาลให้ความสำคัญ โดยแบ่งเป็น 2 ประเด็น ที่มีการหยิบยกขึ้นมาพูดคุยในครม. โดยเรื่องแรก จะเป็นเรื่องประเภทของโครงการ และเรื่องที่สอง จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับจำนวนเงินช่วยเหลือ ที่จะแบ่งออกเป็น 300,000 บาท, 400,000 บาท,และ 500,000 บาท โดยการจ่ายจำนวนเงิน จะดูจากจำนวนประชากรของแต่ละหมู่บ้าน ซึ่งประเด็นแรก นายกิติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ ได้มีการชี้แจงถึงเรื่องกองทุน SMLหรือ สำนักงานชุมชนพอเพียง
ทั้งนี้ อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ของรัฐบาลชุดก่อนๆ เนื่องจากอาจจะมีการส่งเสริม หรือไม่ส่งเสริมการดำเนินการบางประเภทก็ได้ และอาจจะมีโปรเจกต์ อยู่บางโปรเจกต์ ที่มีการอนุมัติค้างอยู่ ที่เรียกว่ากันติดปากว่า อนุมัติค้างท่อ ซึ่งจะอยู่ระหว่างช่วงรอยต่อโดยในขณะนี้กำลังมีการพิจารณาอนุมัติกันอยู่ และคาดว่าถ้าเหตุการณ์น้ำท่วมผ่านไปแล้ว ก็จะมีการพิจารณาอนุมัติต่อไป
ส่วน ประเด็นที่สอง ในอนาคตรัฐบาลจะให้คณะกรรมการชุมชนพอเพียงต่างๆ ดูแลเกี่ยวกับ เรื่องโครงการในพระราชดำริเท่านั้นอย่างแท้จริง และจะจัดตั้งกองทุน SML ขึ้นมาใหม่
ทั้งนี้ งบประมาณก็จะมีเท่าเดิม คือประมาณ 6,000 กว่าล้าน และประเด็นที่สองจะเป็นประเด็นเกี่ยวกับการให้เงินช่วยเหลือที่มีจำนวน 300,000 บาท , 400,000 บาท, และ500,000 บาท ซึ่งในขณะนี้พื้นที่ต่างๆ ในแต่ละจังหวัดก็มีข่ายออกมาว่า อาจจะแบ่งเป็น S1,S2,S3 หรือM1,M2,M3,L1,L2,L3 โดย เรื่องนี้นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย ได้ชี้แจงแล้วว่า เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องเป็นเรื่องที่ผิดอุดมการณ์ ที่มีมาแต่เดิมของกองทุนหมู่บ้าน โดยอาจส่งผลให้ประชาชนสับสน และยากต่อการปฎิบัติงาน
น.ส.อนุตตมา กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ประเด็นที่สอง นายยงยุทธ ได้ชี้แจงว่า โครงการนี้จะไม่ทำแบบรัฐบาลชุดก่อนๆ ที่อาจมีการล็อบบี้กัน ในเรื่องการใช้เงินให้เป็นไปตามความต้องการของคนบางกลุ่ม อย่างไรก็ตามโครงการSML ต้องการจะให้การใช้เงินเป็นไปตามความต้องการของประชาคมโดยประชาชนในหมู่ บ้านอย่างแท้จริง
ทั้งนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้สรุปหลังจากมีการถกกันเรื่อง SML ว่า จะมอบหมายให้ นายยงยุทธ คุยกับผู้ว่าราชการจังหวัด และ ส.ส.ทุกคน เกี่ยวกับวิธีการดำเนินงานของกองทุน SML ซึ่งจะมีการทำในอนาคตหลังจากที่มีการอนุมัติงบประมาณเรียบร้อย ถึงมือประชาชนแล้ว ซึ่งในขณะนี้กองทุนยังไม่ได้เริ่มขึ้น ดังนั้นการฟื้นฟูงบประมาณน้ำท่วมอะไรที่ไม่เร่งด่วน ก็อาจอยู่ในงบตัวนี้
ส่วนในเรื่องของ SML จะมีการแบ่งขนาดดังนี้ คือ ขนาด S ประชากรจะไม่เกิน 500 คน งบประมาณที่ได้รับคือ 300,000 บาท,ขนาด M คือประชากรตั้งแต่ 500 - 1,00 คน งบประมาณที่ได้รับคือ 400,000 บาท, ขนาด L ประชากรตั้งแต่ 1,001 คนขึ้นไป โดยจะได้งบประมาณอยู่ที่ 500,000 บาท
** รีบดำเนินการให้เส็จก่อนเดือนก.พ.
แหล่งข่าวที่ประชุมครม. เปิดเผยว่าในการประชุมครม.นัดพิเศษครั้งนี้ นายกฯได้เน้นย้ำให้จัดลำดับการใช้งบประมาณจากนี้ไปจนถึงกุมภาพันธ์ให้ดี เพราะผ่านจากเดือนกุมภาพันธ์ไปแล้ว ไม่น่ายาก
" จากวันนี้ถึงเดือนมกราคม เราต้องผ่านความเห็นชอบโดยเร็วที่สุด ถ้าไม่เช่นนั้นประเทศเราจะเสียประโยชน์ แต่ทั้งนี้การบริหารจัดการต้องทำอย่างรอบคอบ ในเวลาอันรวดเร็ว เพื่อให้เราสามารถแก้ไขเยียวยาได้ทันถ่วงที ขอเรียนว่า ก่อนที่เราจะมีคณะกรรมการเพื่อให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย (กฟย.) คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) คณะกรรมการยุทธศาสตร์และสร้างอนาคตประเทศ ( กยอ.) และคณะกรรมการปฎิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ. ) มีคณะทำงานปกติอยู่แล้ว ซึ่งก็มีเรื่องของผู้ว่าราชการจังหวัดเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย จากวันที่เราเข้ามา จากระเบียบบริหารราชการแผ่นดินปกติ จนมาถึง กยน. และ กยอ. จะรวบรวมเป็นเงินก้อนเดียวกัน และทั้งหมดต้องมีการจัดระเบียบไม่ให้ซ้ำซ้อน โดยเฉพาะเมื่อมี กยอ.ก็มีเรื่องของน้ำเข้ามาด้วย สภาพัฒน์ฯและสำนักงบฯ ต้องดูให้ละเอียด ไม่ให้ซ้ำซ้อน จากจุดนี้ไปต้องศึกษาผลกระทบจากน้ำ คุยหลักการให้จบในครม. ถ้า 2 หมื่นล้านแรก พิจารณาเสร็จวันนี้ ถือว่าจบเลย หากโครงการของท่านไม่ซ้ำซ้อน และอยู่ในหลักเกณฑ์ 5 ข้อ ก็ใช้เงินเต็มที่เลย ไม่ต้องรอ เพราะ หลายเรื่องรอไม่ได้ เช่น ถนนขาด ประชาชนสัญจรไม่ได้ ต้องรีบซ่อม ถนนสายหลัก สายรอง หากงบประมาณไม่พอ ก็ซ่อมสายหลักก่อน"
**"วรวัจน์"ถูกเบรกไปทำแผนใช้งบใหม่
แหล่งข่าวเผยว่า ในที่ประชุม นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญากุล รมว.ศึกษาธิการ ได้แจ้งว่ากระทรวงศึกษาฯ มีโครงการที่จะต้องใช้เงิน 2,417 ล้านบาท แต่ไม่เห็นมีอยู่ในวาระเลย ซึ่งทางสภาพัฒน์ ได้ชี้แจงว่างบประมาณดังกล่าว อยู่ในโครงสร้างอยู่แล้ว แต่น่าจะไปรองบประมาณใหม่ที่จะถึงในเดือน ก.พ.55
ส่วนนายกรัฐมนตรี เห็นว่าหากทุกคนยืนยันตัวเลขของตัวเองหมด เงินคงไม่พอ ดังนั้นต้องไปดูว่าโครงการที่จำเป็นเร่งด่วน คืออะไร ทำให้นายวรวัจน์ แย้งขึ้นมาทันที โครงการที่แจ้งมาถือว่าจำเป็นทั้งหมด ทำให้นายกฯ ได้ยืนยันอีกครั้งหนึ่งว่า ถ้าทุกคนเห็นว่างบประมาณ ตนเองสำคัญหมด งบประมาณคงหมด เอาเป็นว่า ขอให้กลับไปดูใหม่ว่า อะไรที่เป็นปัญหาทำให้โรงเรียนเปิดไม่ได้ ให้บอกมา เช่น โรงเรียนเสียหาย ประตูชำรุด ไฟฟ้าไม่ติด ซึ่งมีความจำเป็นที่ต้องซ่อมก่อน แต่ถ้าเป็นเรื่องของสนามฟุตบอล หรือส่วนอื่นที่ไม่จำเป็น ก็ให้รอไปก่อน
**ใช้1.3 หมื่นล้านจ่ายหลังละ 5 พัน
ขณะเดียวกันในส่วนของจำนวนครัวเรือน ที่ได้จะได้รับเงินเยียวยา 5 พันบาท ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย มีจำนวนทั้งสิ้น 2,635,110 ครัวเรือน ใน 62 จังหวัด เป็นเงิน 13,175 ล้านบาท ซึ่งส่วนนี้ไม่มีปัญหาเรื่องของงบประมาณ แต่จะมีปัญหาในเรื่องของเงินเยียวยาจำนวน 2 หมื่นบาท 3 หมื่นบาท หากไม่มีการจัดสรรงบตามตามลำดับความสำคัญของโครงการ โดยไม่มีการปรับลด
อย่างไรก็ตามตัวเลขทั้งหมดยังไม่เป็นยุติ ต้องมีการการไปเกลี่ยงบประมาณก่อน คือ จำนวนงบประมาณ 6 หมื่นล้าบาท ต้องมาคิดกันใหม่ จากนี้ไป 2 หมื่นล้านบาทแรก ที่เห็นชอบวันนี้ จะลงไปในพื้นที่ภายใน 3 วัน
** ฟื้นฟูภาคการเกษตรสูงถึง 1.8 หมื่นล.
ทั้งนี้ งบประมาณเยียวยาทั้งหมดจำนวน 6 หมื่นล้านบาทนั้น 2 หมื่นล้านบาทแรก จะลงพื้นที่ภายใน 3 วัน 2 หมื่นล้านบาทต่อมาจะเริ่มเบิกจ่ายได้ในเดือน ก.พ. 55 และอีก 2 หมื่นล้านบาท จะเป็นโครงการในอนาคต สรุปงบประมาณ 47,340.2 ล้านบาท จ่ายทันที 8,573 ล้านบาท ภายใน 31 ธ.ค.นี้ 8,924.8163 ล้านบาท ภายในเดือนม.ค.55 จ่าย 2,612 ล้านบาท และจะไปจ่ายเดือนก.พ.55 อีก 26,014 ล้านบาท
นอกจากนี้ ในส่วนของกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ นายกฯ ได้แสดงความหนักใจ เนื่องจากต้องมีการใช้งบประมาณจำนวนถึง 18,000 ล้านบาทโดยเฉพาะงบฯที่ต้องใช้ฟื้นฟูไร่นา เนื่องจากเข้าสู่กำลังเข้าสู่ฤดูเพาะปลูกรอบใหม่ หากไม่เร่งมอบเงินส่วนนี้ให้ ก็จะเกิดปัญหา ยังรวมไปถึงงบประมาณในส่วนของเมล็ดพันธุ์พืช พันธุ์ข้าวด้วย
** กำชับผู้ว่าฯเร่งจ่ายครัวละ 5 พัน
จากนั้นนายกฯได้ประชุมร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด66 จังหวัด ผ่านระบบวีดิโอคอนเฟอเรนซ์ โดยนายกฯ ได้เร่งให้ผู้ว่าฯดำเนินการตรวจสอบความเสียหาย เร่งจ่ายเงิน 5 พันบาทไม่ให้ ตกค้าง ให้ ถึงมือด้วยกลไกของภาครัฐ ต้องมีการติดตามตรวจสอบอย่างทั่วถึงว่าประชาชนที่อยู่ในบัญชีทำไมถึงยังไม่มารับเงิน มีตกหล่นหรือไม่ ใช้ระบบระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ GIS เข้าช่วย นอกจากนี้นายกฯ ได้ย้ำหน้าที่ของรัฐมนตรีว่า นอกเหนือจะทำหน้าที่ในแต่ละกระทรวงแล้ว ก็จะต้องดูแลรายจังหวัดตามที่ได้มีคำสั่งมอบหมายก่อนหน้านี้
**กทม.เร่งกำจัดขยะ ฟื้นฟูชุมชน
วานนี้ (12 ธ.ค. ) ม.ร.ว.สุขฺมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม.ได้เดินทางมาเป็นประธานเปิดโครงการ “ปฏิบัติการจัดการขยะเพื่อฟื้นฟูชุมชน กทม. (Big Recycle)” ณ จุดปฏิบัติการคัดแยกขยะ ถนนพุทธมณฑล สาย 1 เขตภาษีเจริญ โดยกทม.ร่วมมือกับสำนักงานเขตฝั่งตะวันตก 6 เขต ได้แก่ เขตภาษีเจริญ เขตบางแค เขตหนองแขม เขตตลิ่งชัน เขตทวีวัฒนา เขตบางพลัด สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มูลนิธิเอสซีจี หน่วยงานภาครัฐและเอกชน สถานศึกษา เครือข่ายชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์ให้เกิดการจัดการขยะอย่างเป็นระบบเพื่อลดภาระในการจัดเก็บและฝังกลบ ซึ่งจะนำไปสู่ระยะเวลาที่สั้นขึ้นของการจัดการขยะตกค้าง
**นำร่องเขตแรกที่ภาษีเจริญได้ผลเกินคาด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับโครงการนี้เริ่มปฏิบัติการที่เขตภาษีเจริญเป็นแห่งแรกเมื่อต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา เพื่อวางระบบการจัดการขยะเฟอร์นิเจอร์ที่เสียหายจากน้ำท่วม โดยมีการออกแบบเส้นทางขนย้ายเพื่อนำไปสู่ลานตากและย่อยสลาย ซึ่งจะดำเนินการโดยอาสาสมัครเยาวชนในชุมชนในการแยกชิ้นส่วนและย่อยสลาย เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรม หรือนำไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตใหม่ผ่านการสนับสนุนของมูลนิธิซีเมนต์ไทยและภาคเอกชนอื่นๆ ซึ่งหลังการดำเนินการเพียง 2 วัน พบว่าสามารถคัดแยกขยะเฟอร์นิเจอร์ไม้ได้มากถึง 20 ตัน และเกิดผลการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้การดำเนินการจัดการขยะตกค้างของพื้นที่ต่างๆ มีประสิทธิภาพรวดเร็วมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือต่อการสร้างวัฒนธรรมของการจัดการขยะอย่างยั่งยืนต่อไป
** เล็งขยายผลแยกขยะในเขตอื่นๆ
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า กทม.ขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่ร่วมเป็นเครือข่ายจัดการขยะในครั้งนี้ เนื่องจากปัญหาขยะหลังน้ำท่วมมีทั้งขยะที่ลอยมาตามน้ำ และขยะที่เกิดจากข้าวของเครื่องใช้ที่ได้รับความเสียหาย โดยในสภาวะปกติกรุงเทพฯ มีขยะรวมกันมากถึง 8,500 ตันต่อวัน ซึ่งก็เต็มขีดความสามารถของระบบการกำจัดขยะแล้ว แต่ในสภาวะหลังน้ำลด ขยะในพื้นที่น้ำท่วม อาจเพิ่มขึ้นกว่า 20 เท่า หรือเท่ากับปริมาณขยะตกค้างกว่า 46,000 ตัน หากใช้ระบบการจัดเก็บแบบปกติและไม่มีความร่วมมือจากภายนอกแล้ว อาจต้องใช้เวลาในการจัดเก็บนานนับเดือนแม้จะเพิ่มรอบและปริมาณรถจัดเก็บแล้วก็ตาม เนื่องจากขยะดังกล่าวมีปริมาณสูงกว่าขีดความสามารถในการจัดเก็บและฝังกลบอยู่มาก แต่ทั้งนี้ ได้มอบนโยบายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งจัดเก็บขยะโดยด่วน ซึ่งตั้งเป้าให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ธ.ค.นี้ อย่างไรก็ตาม หลังจากเริ่มทดลองโครงการปฏิบัติการจัดการขยะเพื่อฟื้นฟูชุมชนในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา สามารถคัดแยกขยะ โดยเฉพาะขยะจากเฟอร์นิเจอร์ไม้ได้มากถึง 20 ตัน ดังนั้นกทม.เตรียมขยายโครงการในพื้นที่ต่าง ๆ ให้ครอบคลุมโดยรอบ เช่น เขตบางแค เขตหนองแขม เขตตลิ่งชัน เขตทวีวัฒนา และเขตบางพลัด เพื่อช่วยสนับสนุนจัดการขยะที่ตกค้างของพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพใช้เวลาให้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่งกทม.จัดการขยะโดยวิธีฝังกลบร้อยละ 90 อีกร้อยละ 10 จะนำขยะแปรรูปเป็นปุ๋ยนำไปใช้ใส่ต้นไม้ในพื้นที่ กทม.ต่อไป
**คาด 7 วัน เข้าสู่ภาวะปกติ
ทั้งนี้ คาดว่าในพื้นที่กรุงเทพฯ มีขยะจากน้ำท่วมถึง 100,000 ตัน โดยเฉลี่ยครัวเรือนละ 0.5 - 1 ตัน กทม.ได้เข้าไปจัดเก็บแล้ว 4.8 หมื่นตัน หลังเหลือค้างอีกกว่า 5 หมื่นตัน เฉพาะที่เขตหลักสี่มีประมาณ 10,000 ตัน เก็บไปแล้วประมาณ 5 พันตัน จึงขอให้เขตเร่งรัดเข้าจัดเก็บในชุมชนหมู่บ้านต่างๆ ให้ได้มากที่สุด เพื่อประชาชนจะได้ไม่ต้องนำขยะมากองด้านนอก โดยจ้างอาสาสมัครชักลากขยะวันละ 300 บาท/คน และนำรถเล็กเข้าไปเก็บในพื้นที่ และประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือให้ประชาชนแยกขยะครัวเรือนปกติ และขยะเฟอร์นิเจอร์หรือวัสดุต่างๆ ที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม เพื่อจะได้รวดเร็วและสะดวกต่อการกำจัดมากยิ่งขึ้น โดยคาดว่าการปรับเปลี่ยนแผนการจัดเก็บได้จะใช้เวลาประมาณ 7 วันเพื่อให้สถานการณ์ขยะกลับสู่สภาวะปกติ