วันรัฐธรรมนูญ คือวันของลัทธิเผด็จการรัฐธรรมนูญ จึงมีแนวคิด (concept) ออกมาเป็น “วันพระราชทานรัฐธรรมนูญ” อันนี้เป็นแนวคิดของคณะราษฎร ซึ่งเป็นเจ้าของลัทธิเผด็จการรัฐธรรมนูญ ยาวนาน 79 ปี
คณะราษฎร มีความเข้าใจผิดอย่างร้ายแรงต่อชาติ คือ ร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญเพื่อให้เป็นระบอบประชาธิปไตยหรือร่างเพื่อสร้างระบอบประชาธิปไตยหรือรัฐประหารสร้างรัฐธรรมนูญ ซึ่งผิดซ้ำซากมาแล้ว
มีประเทศเดียวในโลกที่เห็นผิดเช่นนี้ เห็นผิดอย่าง...เกินที่จะกล่าว การเอากฎหมายไปสร้างระบอบฯ เป็นความโง่งมงายที่เอากฎหมายคือเครื่องมืออย่างหนึ่งหรือข้อบังคับอย่างหนึ่งไปสร้างระบอบฯ พวกลัทธิเผด็จการรัฐธรรมนูญ จึงเชิดชูสัญลักษณ์รัฐธรรมนูญอย่างมีความสุข ขลัง ว่านี่คือระบอบประชาธิปไตย พวกเขาเป็นคนหลงผิดว่ารัฐธรรมนูญ คือระบอบประชาธิปไตย
จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นหนึ่งในคณะราษฎร ที่หลอกประชาชนมากที่สุดคนหนึ่ง ดูได้จากรัฐธรรมนูญฉบับที่ 5 จู่ๆ ก็บัญญัติขึ้นมาลอยๆ ในมาตรา 2 ความว่า“ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” ก่อนหน้านั้น รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 1-4 ไม่ได้บัญญัติไว้ ประชาชนต้องการประชาธิปไตย แต่ผู้ปกครองยัดเยียดรัฐธรรมนูญให้
หากพวกเราได้ฉุกคิด ระบอบประชาธิปไตยมันจะเกิดขึ้นจากตัวอักษรเพียงแค่นี้เองหรือ ขณะเดียวกันก่อนหน้านี้ คณะราษฎรเองก็ไม่ได้รณรงค์เรื่อง “ระบอบประชาธิปไตย” แต่รณรงค์เรื่อง “รัฐธรรมนูญ” เพราะความมุ่งหมายอันสูงสุดในการยึดอำนาจของคณะราษฎร คือ “ธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน” คณะราษฎร ฉลองรัฐธรรมนูญกันทุกปี ระยะหลังการฉลองรัฐธรรมนูญ ค่อยๆ หมดความสำคัญลง จะยังมีอยู่บ้างก็เป็นไปอย่างเสียไม่ได้ของรัฐพิธี
ความขัดแย้งของ สมเด็จพระปกเกล้าฯ กับคณะราษฎร ขัดแย้งกันเพราะเห็นไม่ตรงกัน สมเด็จพระปกเกล้าฯ มุ่งหวังที่ต้องการจะสถาปนาหลักการปกครองแบบประชาธิปไตย ดังพระราชหัตถเลขาสำคัญตอนหนึ่งว่า ...
“ข้าพเจ้าก็ได้พยายามตักเตือนและโต้เถียงกับคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญอยู่ตลอดเวลาว่าควรถือหลัก Democracy อันแท้จริงจึงจะถูก ถ้ามิฉะนั้นจะเกิดทำให้มีความไม่พอใจขึ้นแก่ประชาชน ซึ่งส่วนมากต้องการให้มีการปกครองแบบ Democracy อันแท้ มิฉะนั้น ก็เป็นการเสียเวลาและเป็นการเสี่ยงภัยให้แก่ประเทศโดยใช่ที่”
เห็นชัดว่า ความต่างกันของ สมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงต้องการสถาปนาหลัก Democracy ให้สำเร็จก่อน ซึ่งก็คือหลักการปกครองแบบประชาธิปไตย ให้เกิดมีขึ้นมาก่อน จากนั้นจึงนำไปทดลองใช้ระดับเทศบาลก่อนเพื่อให้ประชาชนได้มีปัญญารู้เข้าใจจากการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เมื่อขยายเทศบาลไปทั่วประเทศแล้วจึงรู้ว่ามีหลักที่ดีแล้ว จึงร่างรัฐธรรมนูญรักษา คุ้มครองสะท้อน ความเป็นหลักการปกครองแบบประชาธิปไตยไว้ หรือเรียกว่า รักษา คุ้มครอง สะท้อน ระบอบประชาธิปไตย ไว้นั้นเอง
แนวคิดอย่างนี้เป็นแนวคิดที่ถูกต้องประชาชนไม่ถูกหลอก เพราะประชาชนต้องการระบอบประชาธิปไตย พระเจ้าแผ่นดินก็พระราชทานหลักการปกครองแบบประชาธิปไตยให้จริงๆ หรือพระราชทานระบอบประชาธิปไตยให้กับประชาชนจริงๆ พระองค์ได้แต่คิด และทรงเตรียมการไว้แล้ว แต่ก็ถูกยึดอำนาจเสียก่อน
คิดง่ายๆ รัฐธรรมนูญ คือกฎหมาย กฎหมายย่อมสะท้อนในสิ่งที่เป็นอยู่ รัฐธรรมนูญดุจดังกระจก กระจกสะท้อนหน้าใคร ก็เป็นหน้าคนนั้น สะท้อนทักษิณ ก็เป็นทักษิณ สะท้อนปู ก็เป็นปู จะเป็น “อั้ม” เป็นไปไม่ได้
เมื่อระบอบประชาธิปไตยยังไม่มี ยังไม่ได้รับการสถาปนา รัฐธรรมนูญก็ย่อมสะท้อนระบอบเผด็จการเดิมๆ นั่นเอง นัยหนึ่ง เมื่อ “หลักการร่วมโดยธรรม” หรือ “ระบอบร่วมโดยธรรม” หรือ “จุดมุ่งหมายร่วมโดยธรรม” หรือ “หลักเอกภาพร่วมโดยธรรม” หรือ “หลักความมั่นคงร่วมโดยธรรม” ของปวงชนในชาติยังไม่มี มีแต่กฎหมาย ซึ่งเป็นเพียงวิธีการ หรือเครื่องมือของรัฐบาลนั้นๆ ที่ใช้กฎหมายมากดหัวประชาชน แย่งชิงทรัพย์สมบัติของชาติ ไปเป็นของตนและพวกพ้อง รุ่นแล้ว รุ่นเล่านั่นเอง
ตัวแทนลัทธิเผด็จการรัฐธรรมนูญในปัจจุบัน คือ พรรคเพื่อไทย ประชาไทย แกนนำเสื้อแดง นิติราษฎร์ คอมมิวนิสต์ ฝ่ายขวาก็ประชาธิปัตย์ เป็นต้น พวกเขาคิดได้แค่ร่างหรือไม่ก็แก้ไขรัฐธรรมนูญและรัฐประหาร เพียงเท่านี้
เราจะเปิดเผยพิสูจน์ด้วยปัญญา ว่าพวกเขาหลงผิด นำพาประชาชนไปหลงผิด ทำร้ายชาติ ดังนี้
เราจะเข้าหาสิ่งใดหรือเข้าถึงสิ่งใดนั้น สิ่งนั้นจะต้องมีอยู่ก่อนแล้วหรือเกิดขึ้นแล้ว เช่น เราเข้าถึงสภาวะนิพพาน (สันติ) ได้ เพราะสภาวะนี้มีอยู่ก่อนแล้ว ดำรงอยู่จริง เป็นแก่นแท้ของชีวิต ส่วนการปรุงแต่งเป็นปรากฏการณ์ เกิดแล้วก็ดับไป เราเข้าหาพระพุทธศาสนาได้ พระพุทธศาสนามีอยู่ก่อนแล้วเราไปวัดพระแก้วได้เพราะวัดพระแก้วมีอยู่ก่อนแล้วเราจะเข้ามหาวิทยาลัยเพราะมหาวิทยาลัย มีอยู่ก่อนแล้ว ...หากเราจะเข้าสู่ เข้าถึงหลักการปกครองฯ หรือระบอบฯ ได้หลักการปกครองหรือระบอบฯนั้น จะต้องมีอยู่ก่อน มีอยู่จริงๆ แล้ว
แต่.. ในเมื่อไม่มีระบอบฯ หรือหลักการปกครองฯ อยู่จริง ปวงชนในแผ่นดินก็ถูกหลอก แสดงว่าผู้ปกครองด้อยปัญญารุ่นแล้วรุ่นเล่า เมื่อไม่มีระบอบฯ ที่แท้จริง ประชาชนจึงแตกแยกไปอยู่ภายใต้ร่มธงของพรรคการเมืองเน่าๆ ของนักการเมืองเน่าๆ หรืออยู่ภายใต้บุคคลเน่าๆ
ในทางที่ถูกต้องปวงชนในชาติทุกสาขาอาชีพจะต้องขึ้นตรงหรืออยู่ใต้ร่มธงระบอบฯ หรือหลักการปกครองโดยธรรม คือหลักการปกครองธรรมาธิปไตย ปวงชนถือธรรมเป็นใหญ่ มีธรรมคุ้มครองแก่ผู้ปฏิบัติธรรม
... นัยอันสำคัญก็คือ จุดมุ่งหมายต้องมาก่อนวิธีการไปสู่จุดมุ่งหมายเสมอฉันใด หลักการปกครองโดยธรรม จะต้องมาก่อนวิธีการปกครองคือรัฐธรรมนูญ ฉันนั้น “อย่ามัวหลงผิดตามกระแสอยู่เลย” มาร่วมมือกันให้มี “วันพระราชทานหลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9” จึงจะถูกต้องเพื่อความยิ่งใหญ่ของชาติ
คณะราษฎร มีความเข้าใจผิดอย่างร้ายแรงต่อชาติ คือ ร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญเพื่อให้เป็นระบอบประชาธิปไตยหรือร่างเพื่อสร้างระบอบประชาธิปไตยหรือรัฐประหารสร้างรัฐธรรมนูญ ซึ่งผิดซ้ำซากมาแล้ว
มีประเทศเดียวในโลกที่เห็นผิดเช่นนี้ เห็นผิดอย่าง...เกินที่จะกล่าว การเอากฎหมายไปสร้างระบอบฯ เป็นความโง่งมงายที่เอากฎหมายคือเครื่องมืออย่างหนึ่งหรือข้อบังคับอย่างหนึ่งไปสร้างระบอบฯ พวกลัทธิเผด็จการรัฐธรรมนูญ จึงเชิดชูสัญลักษณ์รัฐธรรมนูญอย่างมีความสุข ขลัง ว่านี่คือระบอบประชาธิปไตย พวกเขาเป็นคนหลงผิดว่ารัฐธรรมนูญ คือระบอบประชาธิปไตย
จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นหนึ่งในคณะราษฎร ที่หลอกประชาชนมากที่สุดคนหนึ่ง ดูได้จากรัฐธรรมนูญฉบับที่ 5 จู่ๆ ก็บัญญัติขึ้นมาลอยๆ ในมาตรา 2 ความว่า“ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” ก่อนหน้านั้น รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 1-4 ไม่ได้บัญญัติไว้ ประชาชนต้องการประชาธิปไตย แต่ผู้ปกครองยัดเยียดรัฐธรรมนูญให้
หากพวกเราได้ฉุกคิด ระบอบประชาธิปไตยมันจะเกิดขึ้นจากตัวอักษรเพียงแค่นี้เองหรือ ขณะเดียวกันก่อนหน้านี้ คณะราษฎรเองก็ไม่ได้รณรงค์เรื่อง “ระบอบประชาธิปไตย” แต่รณรงค์เรื่อง “รัฐธรรมนูญ” เพราะความมุ่งหมายอันสูงสุดในการยึดอำนาจของคณะราษฎร คือ “ธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน” คณะราษฎร ฉลองรัฐธรรมนูญกันทุกปี ระยะหลังการฉลองรัฐธรรมนูญ ค่อยๆ หมดความสำคัญลง จะยังมีอยู่บ้างก็เป็นไปอย่างเสียไม่ได้ของรัฐพิธี
ความขัดแย้งของ สมเด็จพระปกเกล้าฯ กับคณะราษฎร ขัดแย้งกันเพราะเห็นไม่ตรงกัน สมเด็จพระปกเกล้าฯ มุ่งหวังที่ต้องการจะสถาปนาหลักการปกครองแบบประชาธิปไตย ดังพระราชหัตถเลขาสำคัญตอนหนึ่งว่า ...
“ข้าพเจ้าก็ได้พยายามตักเตือนและโต้เถียงกับคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญอยู่ตลอดเวลาว่าควรถือหลัก Democracy อันแท้จริงจึงจะถูก ถ้ามิฉะนั้นจะเกิดทำให้มีความไม่พอใจขึ้นแก่ประชาชน ซึ่งส่วนมากต้องการให้มีการปกครองแบบ Democracy อันแท้ มิฉะนั้น ก็เป็นการเสียเวลาและเป็นการเสี่ยงภัยให้แก่ประเทศโดยใช่ที่”
เห็นชัดว่า ความต่างกันของ สมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงต้องการสถาปนาหลัก Democracy ให้สำเร็จก่อน ซึ่งก็คือหลักการปกครองแบบประชาธิปไตย ให้เกิดมีขึ้นมาก่อน จากนั้นจึงนำไปทดลองใช้ระดับเทศบาลก่อนเพื่อให้ประชาชนได้มีปัญญารู้เข้าใจจากการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เมื่อขยายเทศบาลไปทั่วประเทศแล้วจึงรู้ว่ามีหลักที่ดีแล้ว จึงร่างรัฐธรรมนูญรักษา คุ้มครองสะท้อน ความเป็นหลักการปกครองแบบประชาธิปไตยไว้ หรือเรียกว่า รักษา คุ้มครอง สะท้อน ระบอบประชาธิปไตย ไว้นั้นเอง
แนวคิดอย่างนี้เป็นแนวคิดที่ถูกต้องประชาชนไม่ถูกหลอก เพราะประชาชนต้องการระบอบประชาธิปไตย พระเจ้าแผ่นดินก็พระราชทานหลักการปกครองแบบประชาธิปไตยให้จริงๆ หรือพระราชทานระบอบประชาธิปไตยให้กับประชาชนจริงๆ พระองค์ได้แต่คิด และทรงเตรียมการไว้แล้ว แต่ก็ถูกยึดอำนาจเสียก่อน
คิดง่ายๆ รัฐธรรมนูญ คือกฎหมาย กฎหมายย่อมสะท้อนในสิ่งที่เป็นอยู่ รัฐธรรมนูญดุจดังกระจก กระจกสะท้อนหน้าใคร ก็เป็นหน้าคนนั้น สะท้อนทักษิณ ก็เป็นทักษิณ สะท้อนปู ก็เป็นปู จะเป็น “อั้ม” เป็นไปไม่ได้
เมื่อระบอบประชาธิปไตยยังไม่มี ยังไม่ได้รับการสถาปนา รัฐธรรมนูญก็ย่อมสะท้อนระบอบเผด็จการเดิมๆ นั่นเอง นัยหนึ่ง เมื่อ “หลักการร่วมโดยธรรม” หรือ “ระบอบร่วมโดยธรรม” หรือ “จุดมุ่งหมายร่วมโดยธรรม” หรือ “หลักเอกภาพร่วมโดยธรรม” หรือ “หลักความมั่นคงร่วมโดยธรรม” ของปวงชนในชาติยังไม่มี มีแต่กฎหมาย ซึ่งเป็นเพียงวิธีการ หรือเครื่องมือของรัฐบาลนั้นๆ ที่ใช้กฎหมายมากดหัวประชาชน แย่งชิงทรัพย์สมบัติของชาติ ไปเป็นของตนและพวกพ้อง รุ่นแล้ว รุ่นเล่านั่นเอง
ตัวแทนลัทธิเผด็จการรัฐธรรมนูญในปัจจุบัน คือ พรรคเพื่อไทย ประชาไทย แกนนำเสื้อแดง นิติราษฎร์ คอมมิวนิสต์ ฝ่ายขวาก็ประชาธิปัตย์ เป็นต้น พวกเขาคิดได้แค่ร่างหรือไม่ก็แก้ไขรัฐธรรมนูญและรัฐประหาร เพียงเท่านี้
เราจะเปิดเผยพิสูจน์ด้วยปัญญา ว่าพวกเขาหลงผิด นำพาประชาชนไปหลงผิด ทำร้ายชาติ ดังนี้
เราจะเข้าหาสิ่งใดหรือเข้าถึงสิ่งใดนั้น สิ่งนั้นจะต้องมีอยู่ก่อนแล้วหรือเกิดขึ้นแล้ว เช่น เราเข้าถึงสภาวะนิพพาน (สันติ) ได้ เพราะสภาวะนี้มีอยู่ก่อนแล้ว ดำรงอยู่จริง เป็นแก่นแท้ของชีวิต ส่วนการปรุงแต่งเป็นปรากฏการณ์ เกิดแล้วก็ดับไป เราเข้าหาพระพุทธศาสนาได้ พระพุทธศาสนามีอยู่ก่อนแล้วเราไปวัดพระแก้วได้เพราะวัดพระแก้วมีอยู่ก่อนแล้วเราจะเข้ามหาวิทยาลัยเพราะมหาวิทยาลัย มีอยู่ก่อนแล้ว ...หากเราจะเข้าสู่ เข้าถึงหลักการปกครองฯ หรือระบอบฯ ได้หลักการปกครองหรือระบอบฯนั้น จะต้องมีอยู่ก่อน มีอยู่จริงๆ แล้ว
แต่.. ในเมื่อไม่มีระบอบฯ หรือหลักการปกครองฯ อยู่จริง ปวงชนในแผ่นดินก็ถูกหลอก แสดงว่าผู้ปกครองด้อยปัญญารุ่นแล้วรุ่นเล่า เมื่อไม่มีระบอบฯ ที่แท้จริง ประชาชนจึงแตกแยกไปอยู่ภายใต้ร่มธงของพรรคการเมืองเน่าๆ ของนักการเมืองเน่าๆ หรืออยู่ภายใต้บุคคลเน่าๆ
ในทางที่ถูกต้องปวงชนในชาติทุกสาขาอาชีพจะต้องขึ้นตรงหรืออยู่ใต้ร่มธงระบอบฯ หรือหลักการปกครองโดยธรรม คือหลักการปกครองธรรมาธิปไตย ปวงชนถือธรรมเป็นใหญ่ มีธรรมคุ้มครองแก่ผู้ปฏิบัติธรรม
... นัยอันสำคัญก็คือ จุดมุ่งหมายต้องมาก่อนวิธีการไปสู่จุดมุ่งหมายเสมอฉันใด หลักการปกครองโดยธรรม จะต้องมาก่อนวิธีการปกครองคือรัฐธรรมนูญ ฉันนั้น “อย่ามัวหลงผิดตามกระแสอยู่เลย” มาร่วมมือกันให้มี “วันพระราชทานหลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9” จึงจะถูกต้องเพื่อความยิ่งใหญ่ของชาติ