เมื่อเวลา 16.00 น. วานนี้ (9 ธ.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการ เพื่อให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย (กฟย.) โดยมีนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย เป็นประธาน ว่า กระทรวงเกษตรฯ ได้มีการพิจารณาถึงการช่วยเหลือเกษตรกรเบื้องต้น ในส่วนของด้านพืช ด้านการประมง และด้านปศุสัตว์ สืบเนื่องมาจากมติ ครม.เมื่อวันที่ 25 ส.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งได้มีการอนุมัติหลักการช่วยเหลือดังกล่าว ต่อเกษตรกรไปแล้ว ในวงเงินที่ขอตามความเสียหายในขณะนั้น จำนวน 8 พันล้านบาทเศษ ซึ่งในวันนี้ ได้มีการตรวจสอบพบความเสียหายเพิ่มเติม ดังนั้นจึงมีการขอวงเงินเพิ่มอีก 1.8 พันล้านบาท ซึ่ง กฟย. ก็ได้ทำการอนุมัติ และกสอ. ก็ให้ความเห็นชอบแล้ว ซึ่งวงเงินจำนวนนี้เป็นยอดใหม่ ซึ่งไม่รวมกับยอดเดิม ที่อยู่บนความเสียหายจริง และขึ้นอยู่ตามหลักการพิจารณาเดิม จากนั้นก็จะนำเรื่องดังกล่าว เสนอ ครม.ต่อไป
**พุทธมณฑลเสียหาย 800 ล้าน
นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการฟื้นฟูพุทธมณฑล จ.นครปฐม ว่าในช่วงนี้เป็นการปรึกษาหารือกันในรายละเอียดเพราะพุทธมณฑลเป็นเสมือนแอ่งที่บรรจุน้ำไว้จำนวนมาก หากเราสูบน้ำออกตอนนี้ ก็จะทำให้ชุมชนต่างๆ ที่อยู่บริเวณนั้นได้รับผลกระทบ จึงจะต้องพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบก่อน โดยในวันที่ 11 ธ.ค. จะมีการเข้าไปฟื้นฟูในส่วนที่จะสามารถทำได้ก่อน อย่างไรก็ตาม จุดที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ ต้นไม้สำคัญๆ ซึ่งบางส่วนก็ขุดออกไปบ้างแล้ว ซึ่งเราจะเข้าไปฟื้นฟูให้กลับมาให้ใกล้เคียงกับของเดิมให้มากที่สุด ส่วนตัวเลขความเสียหายเบื้องต้นประมาณ 800 ล้านบาท
** ขอศปภ.อยู่ช่วยแก้น้ำบ่อขยะก่อน
นายนริศ ขำนุรักษ์ ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ ประธานกมธ. ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฏร กล่าวถึง ผลกระทบจากภัยน้ำท่วมที่ผ่านมาว่าน้ำได้ท่วมบ่อขยะขนาดใหญ่กว่า 12 บ่อ ในพื้นที่ 8 จังหวัด คือ พิษณุโลก สุพรรณบุรี อ่างทอง ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี นครสวรรค์ และ พิจิตร โดยยังไม่มีการแก้ไขปัญหา ซึ่งจากการศึกษา และประมาณการ พบว่ามีขยะที่ถูกน้ำท่วมขังในบ่อบขยะดังกล่าว มากกว่า 3 ล้านตัน และทำให้ประชาชนร่วม 10 ล้านคน ได้รับผลกระทบ
ปัญหานี้ ศปภ.ต้องเร่งดำเนินการโดยด่วน เพราะถ้าปล่อยให้ยังอยู่ในสภาพเดิมเช่นนี้ จะมีปัญหาตามมาอีกมากมาย จึงขอเรียกร้องให้ ศปภ. เร่งหาทางแก้ไขปัญหานี้โดยเร่งด่วน ก่อนที่จะยุบไป และขอให้มีการศึกษาหามาตรการป้องกัน และแก้ไขในอนาคตด้วย
**กทม.ใกล้เข้าสู่ภาวะปกติ
นายสัญญา ชีนิมิตร ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ กล่าวว่า ภาพรวมสถานการณ์น้ำในกทม.ขณะนี้ใกล้จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว แม้ว่ายังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ โดยฝั่งพระนคร ในพื้นที่เขตดอนเมือง หลักสี่ สายไหม บางเขน คันนายาว คลองสามวา ส่วนฝั่งธนบุรี ยังคงมีปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่เขต ทวีวัฒนาตลิ่งชัน หนองแขม บางแค ภาษีเจริญ
นายประพัฒน์ ธีระพงศ์ธร ผู้อำนวยการเขตทวีวัฒนา กล่าวว่า ในพื้นที่ทวีวัฒนายังคงมีน้ำท่วมขังอีกประมาณ 70เปอร์เว็นต์ของพื้นที่ คาดว่าจะสามารถระบายน้ำในพื้นที่ให้แห้งได้ภายใน 10 วัน ส่วนถนนบรมราชชนนี ถึงถนนพุทธมณฑลสาย 3 น้ำแห้งเป็นปกติแล้ว
ส่วนช่วงถนนพุทธมณฑลสาย 4 รถเริ่มสัญจรได้ ทั้งนี้ถนนพุทธมณฑลสาย 3 ถึงถนนพุทธมณฑลสาย 4 ยังคงมีน้ำท่วมขังระดับ 20-30 ซม. เป็นช่วงๆ
**หมู่บ้านเศรษฐกิจน้ำเริ่มแห้ง
นางกองกาญจน์ สุบรรณ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการเขตบางแค กล่าวว่าสถานการณ์ในพื้นที่เริ่มคลี่คลายตามลำดับ หมู่บ้านเศรษฐกิจน้ำแห้งแล้ว 80 เปอร์เซ็น ส่วนที่เหลือยังมีระดับน้ำสูง 10-20 ซม. รถเล็กสามารถสัญจรได้ ที่น่าเป็นห่วงคือหมู่บ้านชัชฎาวิลล่า ซึ่งยังคงมีน้ำท่วมขัง ประชาชนยังไม่สามารถย้ายกลับเข้าไปพักอาศัยได้ เนื่องจากหมู่บ้านนี้อยู่ติดกับคลองบางไผ่ ทั้งนี้หมู่บ้านแห่งนี้มีประชาชนอาศัยอยู่กว่า 100 ครัวเรือน ทางสำนักงานเขตกำลังเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่โดยเร็ว
**หมู่บ้านวังทองประท้วงต้องแห้งใน 3วัน
ด้านชาวหมู่บ้านวังทอง เขตดอนเมือง กว่า 100 คน รวมตัวชุมนุมหน้าซอยวิภาวดี 47 เรียกร้องให้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม.เดินทางมารับข้อเรียกร้อง และช่วยสูบน้ำออกจากหมู่บ้านให้แห้งภายใน 3 วัน หลังจากต้องต้องทนใช้ชีวิตอยู่กับน้ำที่ท่วมขังเป็นเวลานาน
ทั้งนี้ ผู้ชุมนุมปิดถนนวิภาวดีรังสิต ฝั่งขาออก 3 ช่องทางจราจร ทำให้รถไม่สามารถสัญจรผ่านได้เป็นเวลา 15 นาที จากนั้น ตำรวจจาก สน.ดอนเมือง เข้าชี้แจง และขอให้ชาวบ้านเปิดช่องทางการจราจร 1 ช่องทาง ซึ่งชาวบ้านยอม เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนผู้ใช้รถ
ขณะเดียวกัน นายสุรชาติ เทียนทอง ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย เดินทางมาพูดคุย โดยยืนยันว่า เดิมทีมีแผนจะนำเครื่องสูบน้ำมาช่วยระบายน้ำอยู่แล้ว และเครื่องสูบน้ำกำลังเดินทางมาจาก จ.นครราชสีมา
ด้านม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม. กล่าวว่า กรณีที่ประชาชนหมู่บ้านวังทอง ออกมาเรียกร้องให้มีการเร่งรายน้ำออกจากพื้นที่นั้น หมู่บ้านวังทอง อยู่ในพื้นที่ จ.ปทุมธานี กทม. ต้องเร่งระบายน้ำที่ถนนพหลโยธินตอนบนก่อน จึงจะสามารถให้ความช่วยเหลือได้
**อีก 3 วันถ.บรมราชชนนีแห้งตลอดสาย
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ได้เดินทางไปยังถนนบรมราชนนี เขตทวีวัฒนา เพื่อตรวจการกู้ถนนบรมราชชนนี ซึ่งเจ้าหน้าที่สำนักการระบายน้ำ (สนน.) กำลังดำเนินการวางกระสอบทรายเป็นบล็อก ตั้งแต่บริเวณคลองควาย ถึงคลองทวีวัฒนา เพื่อสูบน้ำจากถนนเข้ามา แล้วจึงเร่งผันน้ำผ่านท่อระบายน้ำลงคลองทวีวัฒนา โดย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า บริเวณถนนพุทธมณฑลสาย 2 ฝั่งขาออก ในช่วงน้ำท่วม พบว่ามีระดับน้ำท่วมขังสูงมาก จนทำให้การระบายน้ำทำได้ช้า เนื่องจากต้องให้คลองต่างๆ ที่เป็นเส้นทางรับน้ำ ลดลงก่อน จึงจะสามารถระบายน้ำออกจากพื้นที่ได้
ทั้งนี้บริเวณดังกล่าวมีคลองทวีวัฒนาเป็นเส้นทางรับน้ำหลัก เมื่อระดับน้ำในคลองทวีวัฒนาลดลงแล้ว กทม.จึงระดมเครื่องสูบน้ำ และได้สร้างแนวบล็อกน้ำ และพื้นที่แก้มลิงรวมทั้งขุดลอกคูระบายน้ำริมถนนเพื่อให้น้ำไหลลงคลองทวีวัฒนาได้สะดวกซึ่งจะส่งผลให้ถนนบรมราชชนนีแห้งโดยเร็วที่สุด ทั้งนี้ถนนบรมราชชนนีฝั่งขาออกจะแห้งแล้ว และจะเร่งดำเนินการในฝั่งขาเข้าต่อทันที คาดว่าใน 2-3 วัน ถนนบรมราชชนนีตลอดสายทั้ง 2 ฝั่งจะแห้ง
**ฟื้นฟูบ้านเสียหายรุนแรงหลังละ2หมื่น
นางทยา ทีปสุวรรณ รองผู้ว่าฯกทม. เป็นประธานการประชุมหาแนวทางการฟื้นฟูและซ่อมแซมอาคารบ้านเรือน ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่กทม. โดยเฉพาะการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารบ้านเรือน ในชุมชนต่างๆ ที่ได้รับความเสียหายรุนแรงจากอุทกภัย ในพื้นที่ 5 เขต ได้แก่ ดอนเมือง หลักสี่ สายไหม บางแค และทวีวัฒนา โดยบริษัท โอสถสภาได้สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการเขตละ 2 ล้านบาท รวมทั้งหมด 10 ล้านบาท กองทัพบกและสำนักงานอาชีวศึกษาสนับสนุนกำลังคนในการดำเนินการ ตั้งเป้าซ่อมแซมบ้านเรือนประชาชนได้ 500 หลังคาเรือน ในงบประมาณ 20,000 บาท ต่อหลังคาเรือน เช่น ซ่อมแซมประตูและบันได เปลี่ยนหน้าต่าง ทาสีอาคารกับรั้ว ทำความสะอาดบ้านเรือน
ทั้งนี้ เบื้องต้นที่ประชุมเห็นควรให้แต่ละเขตคัดเลือกบ้านเรือนที่เข้าข่ายได้รับความช่วยเหลือ อาทิ ประสบอุทกภัยรุนแรง เป็นบ้านชั้นเดียว ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ให้ความร่วมมือกับสำนักงานเขต หรือภาครัฐในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ และเป็นแบบอย่างที่ดีในชุมชน ซึ่งถือเป็นรางวัลที่มอบให้สำหรับผู้ที่กระทำความดี
นอกจากนี้กรุงเทพมหานครจะจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในการบูรณะฟื้นฟูพื้นที่สาธารณะในชุมชนของตนเอง เพื่อแสดงออกถึงความสามัคคี ความร่วมมือ และการช่วยเหลือตนเองของชุมชนด้วย
**พุทธมณฑลเสียหาย 800 ล้าน
นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการฟื้นฟูพุทธมณฑล จ.นครปฐม ว่าในช่วงนี้เป็นการปรึกษาหารือกันในรายละเอียดเพราะพุทธมณฑลเป็นเสมือนแอ่งที่บรรจุน้ำไว้จำนวนมาก หากเราสูบน้ำออกตอนนี้ ก็จะทำให้ชุมชนต่างๆ ที่อยู่บริเวณนั้นได้รับผลกระทบ จึงจะต้องพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบก่อน โดยในวันที่ 11 ธ.ค. จะมีการเข้าไปฟื้นฟูในส่วนที่จะสามารถทำได้ก่อน อย่างไรก็ตาม จุดที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ ต้นไม้สำคัญๆ ซึ่งบางส่วนก็ขุดออกไปบ้างแล้ว ซึ่งเราจะเข้าไปฟื้นฟูให้กลับมาให้ใกล้เคียงกับของเดิมให้มากที่สุด ส่วนตัวเลขความเสียหายเบื้องต้นประมาณ 800 ล้านบาท
** ขอศปภ.อยู่ช่วยแก้น้ำบ่อขยะก่อน
นายนริศ ขำนุรักษ์ ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ ประธานกมธ. ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฏร กล่าวถึง ผลกระทบจากภัยน้ำท่วมที่ผ่านมาว่าน้ำได้ท่วมบ่อขยะขนาดใหญ่กว่า 12 บ่อ ในพื้นที่ 8 จังหวัด คือ พิษณุโลก สุพรรณบุรี อ่างทอง ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี นครสวรรค์ และ พิจิตร โดยยังไม่มีการแก้ไขปัญหา ซึ่งจากการศึกษา และประมาณการ พบว่ามีขยะที่ถูกน้ำท่วมขังในบ่อบขยะดังกล่าว มากกว่า 3 ล้านตัน และทำให้ประชาชนร่วม 10 ล้านคน ได้รับผลกระทบ
ปัญหานี้ ศปภ.ต้องเร่งดำเนินการโดยด่วน เพราะถ้าปล่อยให้ยังอยู่ในสภาพเดิมเช่นนี้ จะมีปัญหาตามมาอีกมากมาย จึงขอเรียกร้องให้ ศปภ. เร่งหาทางแก้ไขปัญหานี้โดยเร่งด่วน ก่อนที่จะยุบไป และขอให้มีการศึกษาหามาตรการป้องกัน และแก้ไขในอนาคตด้วย
**กทม.ใกล้เข้าสู่ภาวะปกติ
นายสัญญา ชีนิมิตร ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ กล่าวว่า ภาพรวมสถานการณ์น้ำในกทม.ขณะนี้ใกล้จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว แม้ว่ายังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ โดยฝั่งพระนคร ในพื้นที่เขตดอนเมือง หลักสี่ สายไหม บางเขน คันนายาว คลองสามวา ส่วนฝั่งธนบุรี ยังคงมีปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่เขต ทวีวัฒนาตลิ่งชัน หนองแขม บางแค ภาษีเจริญ
นายประพัฒน์ ธีระพงศ์ธร ผู้อำนวยการเขตทวีวัฒนา กล่าวว่า ในพื้นที่ทวีวัฒนายังคงมีน้ำท่วมขังอีกประมาณ 70เปอร์เว็นต์ของพื้นที่ คาดว่าจะสามารถระบายน้ำในพื้นที่ให้แห้งได้ภายใน 10 วัน ส่วนถนนบรมราชชนนี ถึงถนนพุทธมณฑลสาย 3 น้ำแห้งเป็นปกติแล้ว
ส่วนช่วงถนนพุทธมณฑลสาย 4 รถเริ่มสัญจรได้ ทั้งนี้ถนนพุทธมณฑลสาย 3 ถึงถนนพุทธมณฑลสาย 4 ยังคงมีน้ำท่วมขังระดับ 20-30 ซม. เป็นช่วงๆ
**หมู่บ้านเศรษฐกิจน้ำเริ่มแห้ง
นางกองกาญจน์ สุบรรณ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการเขตบางแค กล่าวว่าสถานการณ์ในพื้นที่เริ่มคลี่คลายตามลำดับ หมู่บ้านเศรษฐกิจน้ำแห้งแล้ว 80 เปอร์เซ็น ส่วนที่เหลือยังมีระดับน้ำสูง 10-20 ซม. รถเล็กสามารถสัญจรได้ ที่น่าเป็นห่วงคือหมู่บ้านชัชฎาวิลล่า ซึ่งยังคงมีน้ำท่วมขัง ประชาชนยังไม่สามารถย้ายกลับเข้าไปพักอาศัยได้ เนื่องจากหมู่บ้านนี้อยู่ติดกับคลองบางไผ่ ทั้งนี้หมู่บ้านแห่งนี้มีประชาชนอาศัยอยู่กว่า 100 ครัวเรือน ทางสำนักงานเขตกำลังเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่โดยเร็ว
**หมู่บ้านวังทองประท้วงต้องแห้งใน 3วัน
ด้านชาวหมู่บ้านวังทอง เขตดอนเมือง กว่า 100 คน รวมตัวชุมนุมหน้าซอยวิภาวดี 47 เรียกร้องให้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม.เดินทางมารับข้อเรียกร้อง และช่วยสูบน้ำออกจากหมู่บ้านให้แห้งภายใน 3 วัน หลังจากต้องต้องทนใช้ชีวิตอยู่กับน้ำที่ท่วมขังเป็นเวลานาน
ทั้งนี้ ผู้ชุมนุมปิดถนนวิภาวดีรังสิต ฝั่งขาออก 3 ช่องทางจราจร ทำให้รถไม่สามารถสัญจรผ่านได้เป็นเวลา 15 นาที จากนั้น ตำรวจจาก สน.ดอนเมือง เข้าชี้แจง และขอให้ชาวบ้านเปิดช่องทางการจราจร 1 ช่องทาง ซึ่งชาวบ้านยอม เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนผู้ใช้รถ
ขณะเดียวกัน นายสุรชาติ เทียนทอง ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย เดินทางมาพูดคุย โดยยืนยันว่า เดิมทีมีแผนจะนำเครื่องสูบน้ำมาช่วยระบายน้ำอยู่แล้ว และเครื่องสูบน้ำกำลังเดินทางมาจาก จ.นครราชสีมา
ด้านม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม. กล่าวว่า กรณีที่ประชาชนหมู่บ้านวังทอง ออกมาเรียกร้องให้มีการเร่งรายน้ำออกจากพื้นที่นั้น หมู่บ้านวังทอง อยู่ในพื้นที่ จ.ปทุมธานี กทม. ต้องเร่งระบายน้ำที่ถนนพหลโยธินตอนบนก่อน จึงจะสามารถให้ความช่วยเหลือได้
**อีก 3 วันถ.บรมราชชนนีแห้งตลอดสาย
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ได้เดินทางไปยังถนนบรมราชนนี เขตทวีวัฒนา เพื่อตรวจการกู้ถนนบรมราชชนนี ซึ่งเจ้าหน้าที่สำนักการระบายน้ำ (สนน.) กำลังดำเนินการวางกระสอบทรายเป็นบล็อก ตั้งแต่บริเวณคลองควาย ถึงคลองทวีวัฒนา เพื่อสูบน้ำจากถนนเข้ามา แล้วจึงเร่งผันน้ำผ่านท่อระบายน้ำลงคลองทวีวัฒนา โดย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า บริเวณถนนพุทธมณฑลสาย 2 ฝั่งขาออก ในช่วงน้ำท่วม พบว่ามีระดับน้ำท่วมขังสูงมาก จนทำให้การระบายน้ำทำได้ช้า เนื่องจากต้องให้คลองต่างๆ ที่เป็นเส้นทางรับน้ำ ลดลงก่อน จึงจะสามารถระบายน้ำออกจากพื้นที่ได้
ทั้งนี้บริเวณดังกล่าวมีคลองทวีวัฒนาเป็นเส้นทางรับน้ำหลัก เมื่อระดับน้ำในคลองทวีวัฒนาลดลงแล้ว กทม.จึงระดมเครื่องสูบน้ำ และได้สร้างแนวบล็อกน้ำ และพื้นที่แก้มลิงรวมทั้งขุดลอกคูระบายน้ำริมถนนเพื่อให้น้ำไหลลงคลองทวีวัฒนาได้สะดวกซึ่งจะส่งผลให้ถนนบรมราชชนนีแห้งโดยเร็วที่สุด ทั้งนี้ถนนบรมราชชนนีฝั่งขาออกจะแห้งแล้ว และจะเร่งดำเนินการในฝั่งขาเข้าต่อทันที คาดว่าใน 2-3 วัน ถนนบรมราชชนนีตลอดสายทั้ง 2 ฝั่งจะแห้ง
**ฟื้นฟูบ้านเสียหายรุนแรงหลังละ2หมื่น
นางทยา ทีปสุวรรณ รองผู้ว่าฯกทม. เป็นประธานการประชุมหาแนวทางการฟื้นฟูและซ่อมแซมอาคารบ้านเรือน ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่กทม. โดยเฉพาะการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารบ้านเรือน ในชุมชนต่างๆ ที่ได้รับความเสียหายรุนแรงจากอุทกภัย ในพื้นที่ 5 เขต ได้แก่ ดอนเมือง หลักสี่ สายไหม บางแค และทวีวัฒนา โดยบริษัท โอสถสภาได้สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการเขตละ 2 ล้านบาท รวมทั้งหมด 10 ล้านบาท กองทัพบกและสำนักงานอาชีวศึกษาสนับสนุนกำลังคนในการดำเนินการ ตั้งเป้าซ่อมแซมบ้านเรือนประชาชนได้ 500 หลังคาเรือน ในงบประมาณ 20,000 บาท ต่อหลังคาเรือน เช่น ซ่อมแซมประตูและบันได เปลี่ยนหน้าต่าง ทาสีอาคารกับรั้ว ทำความสะอาดบ้านเรือน
ทั้งนี้ เบื้องต้นที่ประชุมเห็นควรให้แต่ละเขตคัดเลือกบ้านเรือนที่เข้าข่ายได้รับความช่วยเหลือ อาทิ ประสบอุทกภัยรุนแรง เป็นบ้านชั้นเดียว ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ให้ความร่วมมือกับสำนักงานเขต หรือภาครัฐในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ และเป็นแบบอย่างที่ดีในชุมชน ซึ่งถือเป็นรางวัลที่มอบให้สำหรับผู้ที่กระทำความดี
นอกจากนี้กรุงเทพมหานครจะจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในการบูรณะฟื้นฟูพื้นที่สาธารณะในชุมชนของตนเอง เพื่อแสดงออกถึงความสามัคคี ความร่วมมือ และการช่วยเหลือตนเองของชุมชนด้วย