เอเจนซีส์ – ฝรั่งเศส-เยอรมนีเร่งแจงรายละเอียดแผนการปลดชนวนวิกฤตหนี้ยูโรโซน เพื่อรวบรวมการสนับสนุนจากเหล่าผู้นำอนุรักษ์นิยมในยุโรปก่อนซัมมิตอียูจะเริ่มต้นขึ้น โดยมีเดิมพันคือความอยู่รอดของระบบเงินสกุลเดียว ขณะที่ทางด้านเอสแอนด์พีเจ้าเก่าออกมาขู่ซ้ำ หนนี้เป้าหมายอยู่ที่เรทติ้งอียูและแบงก์ใหญ่ในยูโรโซน ส่วนธนาคารกลางยุโรปประกาศลดอัตราดอกเบี้ยลงตามคาดหมาย พร้อมกับมีมาตรการอัดฉีดสภาพคล่องให้บรรดาแบงก์ยุโรป
ปารีสและเบอร์ลินจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนอย่างรวดเร็วสำหรับแผนกู้วิกฤตที่มุ่งแก้ไขสนธิสัญญาลิสบอนของสหภาพยุโรป (อียู) เพื่อยกระดับวินัยงบประมาณเข้มงวดขึ้น
การยกเครื่องกฎการคลังยูโรโซนจะเพิ่มโอกาสที่ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) จะเข้ามารับบทบาทในการแก้วิกฤตหนี้ในเชิงรุกมากขึ้น
ฌอง เลโอเน็ตติ รัฐมนตรีกิจการยุโรปของแดนน้ำหอม ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมสุดยอดอียูที่มีกำหนดเริ่มต้นคืนวันพฤหัสฯ (8) ที่บรัสเซลส์ และสิ้นสุดในวันรุ่งขึ้นว่า ความล้มเหลวอาจหมายถึงการล่มสลายของยูโร
ประธานาธิบดีนิโคลาส์ ซาร์โกซีแห่งฝรั่งเศส และนายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิลของเยอรมนี มีโอกาสระดมการสนับสนุนจากผู้นำอื่นๆ ในการประชุมของบรรดาพรรคการเมืองแนวทางอนุรักษ์นิยมในยุโรป ซึ่งจัดขึ้นในวันพฤหัสฯ ที่เมืองมาร์เซย์ ทางใต้ของฝรั่งเศส
จากนั้น แมร์เคิล, ซาร์โกซี และมาริโอ ดรากี ประธานอีซีบี รวมทั้งเจ้าหน้าที่อาวุโสอีก 3 คนของยูโรโซน จะเจรจากันก่อนที่ซัมมิตจะเริ่มต้นขึ้น โดยหวังว่าจะได้ข้อสรุปแผนการต่อรองสำคัญที่อาจบรรเทาความกดดันที่ถมทับประเทศที่เสี่ยงที่สุดในขณะนี้คือ อิตาลีและสเปนได้
ซาร์โกซีได้กล่าวปราศรัยที่มาร์เซย์โดยเตือนตรงๆ ว่า “ความเสี่ยงที่ยุโรปจะแตกออกเป็นเสี่ยงๆ ไม่เคยใหญ่โตถึงขนาดนี้มาก่อนเลย”
“ผลการวินิจฉัอยออกมาแล้วว่าสกุลเงินยูโร ซึ่งควรที่จะเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดความเชื่อมั่น กลับไม่ได้ให้แรงบันดาลใจดังกล่าว ผลการวินิจฉัยก็คือ เรามีเวลาเพียงสองสามสัปดาห์เท่านั้นสำหรับการตัดสินใจ เพราะเวลากำลังเดินหน้าไปในทางที่เป็นปรปักษ์กับเรา”
“ถ้าหากใน(การประชุมซัมมิต)วันศุกร์นี้ไม่มีข้อตกลงอะไรออกมา ก็จะไม่มีโอกาสครั้งที่สองอีกแล้ว” ซาร์โกซีบอก
ทั้งนี้ หากสมาชิกอียูทั้ง 27 ชาติไม่สนับสนุนสหภาพการคลังด้วยการยอมแก้ไขสนธิสัญญาที่ใช้เวลาเจรจานานถึง 8 ปี ซาร์โกซีและแมร์เคิลจะขอให้สมาชิกยูโรโซน 17 ชาติเดินหน้าเรื่องนี้ตามลำพัง
ในสารที่ส่งถึงเฮอร์มาน ฟาน รอมปุย ประธานคณะมนตรียุโรป ที่มีข้อเสนอแก้วิกฤตของตนเองเช่นกันนั้น แมร์เคิลระบุว่า "แผนการนี้ต้องสะท้อนว่าการใช้เงินสกุลเดียวร่วมกันหมายถึงการแบ่งปันความรับผิดชอบสำหรับยูโรโซนโดยรวม”
เยอรมนี-ฝรั่งเศสต้องการแก้ไขสนธิสัญญาอียูเพื่อให้มีการลงโทษโดยอัตโนมัติต่อประเทศที่ขาดดุลงบประมาณเกิน 3% ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) และมีหนี้รวมเกิน 60% ของจีดีพี โดยที่จะสามารถละเว้นมาตรการลงโทษนี้ได้หากสมาชิกยูโรโซน 3 ใน 4 คัดค้าน
นอกจากนี้ เหล่าผู้นำยังต้องหาทางขยายศักยภาพของกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (อีเอฟเอสเอฟ) ที่เดิมทีมีทุนทั้งสิ้น 440,000 ล้านยูโร และขณะนี้เหลืออยู่ 250,000 ล้านยูโรหลังจากมาตรการช่วยเหลือสมาชิกหลายชาติก่อนหน้านี้
ดรากี ประธานอีซีบีนั้นระบุว่า ต้องการเห็น “ข้อตกลงทางการคลัง” ระหว่างสมาชิกยูโร ก่อนที่จะส่งสัญญาณว่า อีซีบีจะดำเนินการในลักษณะเดียวกับธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ในการเป็นผู้ปล่อยกู้แหล่งสุดท้าย
ทั้งนี้ อีซีบีซึ่งประชุมด้านนโยบายการเงินในวันพฤหัสฯที่แฟรงเฟิร์ต มีมติให้ตัดลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงมาอีก 0.25% นับเป็นการหั่นลงต่อเนื่องกันเป็นเดือนที่สอง ทำให้มาอยู่ในระดับ 1.0% ซึ่งต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ โดยเหตุผลสำคัญคือวิกฤตหนี้สาธารณะของยูโรโซนนั่นเอง ทำให้เวลานี้เกิดความกังวลกันว่ายุโรปจะต้องเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ขณะที่ความเสี่ยงทางด้านอัตราเงินเฟ้อมีความน่าห่วงน้อยลงมาก
หลังการประชุมอีซีบีคราวนี้ ดรากี ยังประกาศปฏิบัติการที่ไม่เคยทำมาก่อน เพื่อให้ความสนับสนุนบรรดาธนาคารยุโรปที่กำลังขาดแคลนสภาพคล่อง โดยที่อีซีบีจะอัดฉีดสภาพคล่องที่มีกำหนดระยะเวลา 3 ปี ตลอดจนผ่อนปรนกฎเกณฑ์ด้านหลักทรัพย์ค้ำประกัน
วันเดียวกัน ทิโมธี ไกธ์เนอร์ รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ มีนัดหารือกับซาร์โคซีและดรากี ตลอดจนเจ้าหน้าที่ระดับสูงคนอื่นๆ ของอียู ระหว่างการเดินทางเยือนยุโรปซึ่งบ่งชี้ชัดเจนว่า อเมริกากังวลมากกับวิกฤตหนี้ยูโรโซน โดยเมื่อคืนวันพุธ ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ได้โทรศัพท์หารือด่วนกับแมร์เคิล
สถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงถูกตอกย้ำหนักหน่วงอีกครั้งจากการที่สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ส (เอสแอนด์พี) ออกมาประกาศเมื่อวันพุธ (7) ว่าจะทบทวนและอาจลดอันดับความน่าเชื่อถือของอียูที่ขณะนี้อยู่ที่ AAA รวมทั้งลดเรตติ้งธนาคารใหญ่หลายแห่งในยูโรโซน อาทิ บีเอ็นพี ปาริบาส์ ของฝรั่งเศส, ดอยช์ แบงก์ ของเยอรมนี จากเมื่อไม่กี่วันก่อนที่บริษัทจัดอันดับชั้นนำของโลกแห่งนี้เพิ่งขู่ว่า อาจต้องลดเรตติ้ง 15 ชาติยูโรโซน ไม่เว้นแม้แต่สมาชิกชั้นนำอย่างเยอรมนีและฝรั่งเศส หากซัมมิตปลายสัปดาห์นี้ไร้มาตรการแก้วิกฤตที่เด็ดขาดและเป็นรูปธรรม
นอกจากนี้ เมื่อวันพุธ เจ้าหน้าที่จี 20 และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ยังออกมาปฏิเสธรายงานข่าวที่ว่า จี 20 กำลังเตรียมวงเงินสินเชื่อ 600,000 ล้านดอลลาร์เพื่อให้ไอเอ็มเอฟสนับสนุนยุโรป
ปารีสและเบอร์ลินจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนอย่างรวดเร็วสำหรับแผนกู้วิกฤตที่มุ่งแก้ไขสนธิสัญญาลิสบอนของสหภาพยุโรป (อียู) เพื่อยกระดับวินัยงบประมาณเข้มงวดขึ้น
การยกเครื่องกฎการคลังยูโรโซนจะเพิ่มโอกาสที่ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) จะเข้ามารับบทบาทในการแก้วิกฤตหนี้ในเชิงรุกมากขึ้น
ฌอง เลโอเน็ตติ รัฐมนตรีกิจการยุโรปของแดนน้ำหอม ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมสุดยอดอียูที่มีกำหนดเริ่มต้นคืนวันพฤหัสฯ (8) ที่บรัสเซลส์ และสิ้นสุดในวันรุ่งขึ้นว่า ความล้มเหลวอาจหมายถึงการล่มสลายของยูโร
ประธานาธิบดีนิโคลาส์ ซาร์โกซีแห่งฝรั่งเศส และนายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิลของเยอรมนี มีโอกาสระดมการสนับสนุนจากผู้นำอื่นๆ ในการประชุมของบรรดาพรรคการเมืองแนวทางอนุรักษ์นิยมในยุโรป ซึ่งจัดขึ้นในวันพฤหัสฯ ที่เมืองมาร์เซย์ ทางใต้ของฝรั่งเศส
จากนั้น แมร์เคิล, ซาร์โกซี และมาริโอ ดรากี ประธานอีซีบี รวมทั้งเจ้าหน้าที่อาวุโสอีก 3 คนของยูโรโซน จะเจรจากันก่อนที่ซัมมิตจะเริ่มต้นขึ้น โดยหวังว่าจะได้ข้อสรุปแผนการต่อรองสำคัญที่อาจบรรเทาความกดดันที่ถมทับประเทศที่เสี่ยงที่สุดในขณะนี้คือ อิตาลีและสเปนได้
ซาร์โกซีได้กล่าวปราศรัยที่มาร์เซย์โดยเตือนตรงๆ ว่า “ความเสี่ยงที่ยุโรปจะแตกออกเป็นเสี่ยงๆ ไม่เคยใหญ่โตถึงขนาดนี้มาก่อนเลย”
“ผลการวินิจฉัอยออกมาแล้วว่าสกุลเงินยูโร ซึ่งควรที่จะเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดความเชื่อมั่น กลับไม่ได้ให้แรงบันดาลใจดังกล่าว ผลการวินิจฉัยก็คือ เรามีเวลาเพียงสองสามสัปดาห์เท่านั้นสำหรับการตัดสินใจ เพราะเวลากำลังเดินหน้าไปในทางที่เป็นปรปักษ์กับเรา”
“ถ้าหากใน(การประชุมซัมมิต)วันศุกร์นี้ไม่มีข้อตกลงอะไรออกมา ก็จะไม่มีโอกาสครั้งที่สองอีกแล้ว” ซาร์โกซีบอก
ทั้งนี้ หากสมาชิกอียูทั้ง 27 ชาติไม่สนับสนุนสหภาพการคลังด้วยการยอมแก้ไขสนธิสัญญาที่ใช้เวลาเจรจานานถึง 8 ปี ซาร์โกซีและแมร์เคิลจะขอให้สมาชิกยูโรโซน 17 ชาติเดินหน้าเรื่องนี้ตามลำพัง
ในสารที่ส่งถึงเฮอร์มาน ฟาน รอมปุย ประธานคณะมนตรียุโรป ที่มีข้อเสนอแก้วิกฤตของตนเองเช่นกันนั้น แมร์เคิลระบุว่า "แผนการนี้ต้องสะท้อนว่าการใช้เงินสกุลเดียวร่วมกันหมายถึงการแบ่งปันความรับผิดชอบสำหรับยูโรโซนโดยรวม”
เยอรมนี-ฝรั่งเศสต้องการแก้ไขสนธิสัญญาอียูเพื่อให้มีการลงโทษโดยอัตโนมัติต่อประเทศที่ขาดดุลงบประมาณเกิน 3% ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) และมีหนี้รวมเกิน 60% ของจีดีพี โดยที่จะสามารถละเว้นมาตรการลงโทษนี้ได้หากสมาชิกยูโรโซน 3 ใน 4 คัดค้าน
นอกจากนี้ เหล่าผู้นำยังต้องหาทางขยายศักยภาพของกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (อีเอฟเอสเอฟ) ที่เดิมทีมีทุนทั้งสิ้น 440,000 ล้านยูโร และขณะนี้เหลืออยู่ 250,000 ล้านยูโรหลังจากมาตรการช่วยเหลือสมาชิกหลายชาติก่อนหน้านี้
ดรากี ประธานอีซีบีนั้นระบุว่า ต้องการเห็น “ข้อตกลงทางการคลัง” ระหว่างสมาชิกยูโร ก่อนที่จะส่งสัญญาณว่า อีซีบีจะดำเนินการในลักษณะเดียวกับธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ในการเป็นผู้ปล่อยกู้แหล่งสุดท้าย
ทั้งนี้ อีซีบีซึ่งประชุมด้านนโยบายการเงินในวันพฤหัสฯที่แฟรงเฟิร์ต มีมติให้ตัดลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงมาอีก 0.25% นับเป็นการหั่นลงต่อเนื่องกันเป็นเดือนที่สอง ทำให้มาอยู่ในระดับ 1.0% ซึ่งต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ โดยเหตุผลสำคัญคือวิกฤตหนี้สาธารณะของยูโรโซนนั่นเอง ทำให้เวลานี้เกิดความกังวลกันว่ายุโรปจะต้องเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ขณะที่ความเสี่ยงทางด้านอัตราเงินเฟ้อมีความน่าห่วงน้อยลงมาก
หลังการประชุมอีซีบีคราวนี้ ดรากี ยังประกาศปฏิบัติการที่ไม่เคยทำมาก่อน เพื่อให้ความสนับสนุนบรรดาธนาคารยุโรปที่กำลังขาดแคลนสภาพคล่อง โดยที่อีซีบีจะอัดฉีดสภาพคล่องที่มีกำหนดระยะเวลา 3 ปี ตลอดจนผ่อนปรนกฎเกณฑ์ด้านหลักทรัพย์ค้ำประกัน
วันเดียวกัน ทิโมธี ไกธ์เนอร์ รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ มีนัดหารือกับซาร์โคซีและดรากี ตลอดจนเจ้าหน้าที่ระดับสูงคนอื่นๆ ของอียู ระหว่างการเดินทางเยือนยุโรปซึ่งบ่งชี้ชัดเจนว่า อเมริกากังวลมากกับวิกฤตหนี้ยูโรโซน โดยเมื่อคืนวันพุธ ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ได้โทรศัพท์หารือด่วนกับแมร์เคิล
สถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงถูกตอกย้ำหนักหน่วงอีกครั้งจากการที่สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ส (เอสแอนด์พี) ออกมาประกาศเมื่อวันพุธ (7) ว่าจะทบทวนและอาจลดอันดับความน่าเชื่อถือของอียูที่ขณะนี้อยู่ที่ AAA รวมทั้งลดเรตติ้งธนาคารใหญ่หลายแห่งในยูโรโซน อาทิ บีเอ็นพี ปาริบาส์ ของฝรั่งเศส, ดอยช์ แบงก์ ของเยอรมนี จากเมื่อไม่กี่วันก่อนที่บริษัทจัดอันดับชั้นนำของโลกแห่งนี้เพิ่งขู่ว่า อาจต้องลดเรตติ้ง 15 ชาติยูโรโซน ไม่เว้นแม้แต่สมาชิกชั้นนำอย่างเยอรมนีและฝรั่งเศส หากซัมมิตปลายสัปดาห์นี้ไร้มาตรการแก้วิกฤตที่เด็ดขาดและเป็นรูปธรรม
นอกจากนี้ เมื่อวันพุธ เจ้าหน้าที่จี 20 และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ยังออกมาปฏิเสธรายงานข่าวที่ว่า จี 20 กำลังเตรียมวงเงินสินเชื่อ 600,000 ล้านดอลลาร์เพื่อให้ไอเอ็มเอฟสนับสนุนยุโรป