นายกัลกุล ดำรงปิยวุฒิ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ GUNKUL เปิดเผยว่า บริษัทตั้งเป้ารายได้ปี 55 ไว้ที่ราว 4,000 ล้านบาท บวกกับรายได้ที่จะรับรู้จากงานในมือ ( Backlog ) ที่ประเทศพม่าอีกกว่า 1,500 ล้านบาท ขณะรายได้รวมปีนี้อยู่ที่ 3,500 ล้านบาท ซึ่งในส่วนนี้เป็นรายได้จากบริษัทในพม่าประมาณ 1,300 ล้านบาท
ขณะที่แผนงานปี 55 GUNKUL จะลุยพลังงานทดแทนเต็มสูบ โดยขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างเตรียมจัดตั้งบริษัทร่วมทุนใหม่เพื่อก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมในประเทศพม่า ซึ่งได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจเบื้องต้น ( MOU ) ขนาด 1 พันเมกะวัตต์ เบื้องต้นคาดว่าจะแบ่งเป็น 5 เฟส เฟสละประมาณ 200 เมกกะวัตต์ มูลค่าโครงการประมาณ 6 หมื่นล้านบาท ซึ่งโครงการนี้จะได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากธนาคารไทยพาณิชย์
" ผมคาดสุดท้ายแล้ว GUNKUL คงจะถือหุ้นในบริษัทร่วมทุนใหม่ประมาณ 20% เนื่องจากบริษัทฯจะเปิดให้หน่วยงานการไฟฟ้าของไทยเข้ามาถือหุ้นไม่เกิน 25% และรัฐบาลพม่าถือหุ้น 10% ที่หลือจะเปิดให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาร่วมทุนด้วยไม่ว่าจะเป็นสถาบันการเงินหรือแม้แต่นักลงทุนจากเกาหลีและญี่ปุ่น "
โดยโครงการนี้จะครอบคลุมพื้นที่ 3 รัฐของพม่าคือตะนินตายี คะยินและมอญ ซึ่ง GUNKUL คาดว่าจะเริ่มที่รัฐตะ
นินตายีก่อน คาดว่าใช้เงินลงทุนปีแรกไม่เกิน 100 ล้านบาท โดยบริษัทฯจะใช้ระยะเวลาศึกษาความเป็นไปได้ 6 เดือน ก่อนจะติดตั้งกังหันลมในอีก 6 เดือนหลังจากนั้นและหากเป็นไปตามแผนที่กำหนดจะทำให้สามารถขายไฟฟ้าและรับรู้รายได้เข้ามาในปี 58 ซึ่ง GUNKUL จะรับรู้รายได้จากบริษัทลูกในพม่าถึง 50% ของรายได้รวม
สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ขณะนี้อยู่ระหว่างสรรหาผู้ร่วมลงทุน ซึ่งเท่าที่สนใจมีอยู่ 3 ราย และเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของไทยด้วย คาดสรุปผลปลายเดือนธันวาคมนี้ และคาดว่าจะได้เงินจากผู้ร่วมทุนครั้งนี้ 2 พันล้านบาท โดยจะเปิดทางให้เข้ามาร่วมถือหุ้น 50% ในบริษัท จี พาวเวอร์ ซอร์ซ จำกัด ที่ดำเนินงานผลิตไฟฟ้าอยู่ 26 เมกะวัตต์ มูลค่าโครงการ 3 พันล้านบาท ซึ่งโครงการนี้จะเริ่มขายไฟฟ้าได้เดือนกุมภาพันธ์ 55 และรับรู้รายได้เข้ามาทันที คาดมีรายได้ปีละ 1,500 ล้านบาท และหลังจากที่บริษัทหาผู้ร่วมทุนได้แล้วจะทำให้อัตราหนี้สินต่อทุน(D/E RATIO ) ลดเหลือ 1.7 เท่า จากเดิมที่มี 4 เท่า ซึ่งหลังจากโครงการนี้แล้วเสร็จ ก็จะเดินหน้าในส่วนของ บริษัท กันกุล พาวเวอร์ เจน ขนาด 31 เมกะวัตต์จะเริ่มเดินหน้าได้เมื่อโครงการ จี พาวเวอร์ ซอร์ซ แล้วเสร็จ
นาย Zeya Thura Mon ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ZEYA & ASSOCIATES ซึ่งเป็นสำนักงานตัวแทนขายของ GUNKUL กล่าวว่าเขาเชื่อว่าเศรษฐกิจของพม่าจะยังสามารถเติบโตได้เรื่อย ๆ โดยเฉพาะหากมีนักลงทุนจากเวียดนามและสหรัฐเข้ามาทำธุรกิจในพม่าได้ ก็จะทำให้เศรษฐกิจเติบโตได้ในระดับสูง อันจะส่งผลให้บริษัทมีรายได้เพิ่มขึ้นแบบเกินคาด
ขณะที่แผนงานปี 55 GUNKUL จะลุยพลังงานทดแทนเต็มสูบ โดยขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างเตรียมจัดตั้งบริษัทร่วมทุนใหม่เพื่อก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมในประเทศพม่า ซึ่งได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจเบื้องต้น ( MOU ) ขนาด 1 พันเมกะวัตต์ เบื้องต้นคาดว่าจะแบ่งเป็น 5 เฟส เฟสละประมาณ 200 เมกกะวัตต์ มูลค่าโครงการประมาณ 6 หมื่นล้านบาท ซึ่งโครงการนี้จะได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากธนาคารไทยพาณิชย์
" ผมคาดสุดท้ายแล้ว GUNKUL คงจะถือหุ้นในบริษัทร่วมทุนใหม่ประมาณ 20% เนื่องจากบริษัทฯจะเปิดให้หน่วยงานการไฟฟ้าของไทยเข้ามาถือหุ้นไม่เกิน 25% และรัฐบาลพม่าถือหุ้น 10% ที่หลือจะเปิดให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาร่วมทุนด้วยไม่ว่าจะเป็นสถาบันการเงินหรือแม้แต่นักลงทุนจากเกาหลีและญี่ปุ่น "
โดยโครงการนี้จะครอบคลุมพื้นที่ 3 รัฐของพม่าคือตะนินตายี คะยินและมอญ ซึ่ง GUNKUL คาดว่าจะเริ่มที่รัฐตะ
นินตายีก่อน คาดว่าใช้เงินลงทุนปีแรกไม่เกิน 100 ล้านบาท โดยบริษัทฯจะใช้ระยะเวลาศึกษาความเป็นไปได้ 6 เดือน ก่อนจะติดตั้งกังหันลมในอีก 6 เดือนหลังจากนั้นและหากเป็นไปตามแผนที่กำหนดจะทำให้สามารถขายไฟฟ้าและรับรู้รายได้เข้ามาในปี 58 ซึ่ง GUNKUL จะรับรู้รายได้จากบริษัทลูกในพม่าถึง 50% ของรายได้รวม
สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ขณะนี้อยู่ระหว่างสรรหาผู้ร่วมลงทุน ซึ่งเท่าที่สนใจมีอยู่ 3 ราย และเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของไทยด้วย คาดสรุปผลปลายเดือนธันวาคมนี้ และคาดว่าจะได้เงินจากผู้ร่วมทุนครั้งนี้ 2 พันล้านบาท โดยจะเปิดทางให้เข้ามาร่วมถือหุ้น 50% ในบริษัท จี พาวเวอร์ ซอร์ซ จำกัด ที่ดำเนินงานผลิตไฟฟ้าอยู่ 26 เมกะวัตต์ มูลค่าโครงการ 3 พันล้านบาท ซึ่งโครงการนี้จะเริ่มขายไฟฟ้าได้เดือนกุมภาพันธ์ 55 และรับรู้รายได้เข้ามาทันที คาดมีรายได้ปีละ 1,500 ล้านบาท และหลังจากที่บริษัทหาผู้ร่วมทุนได้แล้วจะทำให้อัตราหนี้สินต่อทุน(D/E RATIO ) ลดเหลือ 1.7 เท่า จากเดิมที่มี 4 เท่า ซึ่งหลังจากโครงการนี้แล้วเสร็จ ก็จะเดินหน้าในส่วนของ บริษัท กันกุล พาวเวอร์ เจน ขนาด 31 เมกะวัตต์จะเริ่มเดินหน้าได้เมื่อโครงการ จี พาวเวอร์ ซอร์ซ แล้วเสร็จ
นาย Zeya Thura Mon ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ZEYA & ASSOCIATES ซึ่งเป็นสำนักงานตัวแทนขายของ GUNKUL กล่าวว่าเขาเชื่อว่าเศรษฐกิจของพม่าจะยังสามารถเติบโตได้เรื่อย ๆ โดยเฉพาะหากมีนักลงทุนจากเวียดนามและสหรัฐเข้ามาทำธุรกิจในพม่าได้ ก็จะทำให้เศรษฐกิจเติบโตได้ในระดับสูง อันจะส่งผลให้บริษัทมีรายได้เพิ่มขึ้นแบบเกินคาด