ASTVผู้จัดการรายวัน - คลังเสนอครม.วันนี้ลดอากรขาเข้าสำหรับอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมมีผลย้อนหลังถึง 23 ต.ค.จนกว่าจะสามารถกลับมาเดินสายการผลิตได้ตามเดิม ระบุอุตสาหกรรมรถยนต์ได้รับอานิสงส์มาก พร้อมเดินหน้าปฏิรูปโครงสร้างภาษี เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.)เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังจะนำเรื่องเสนอในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)วันที่ 29 พฤศจิกายน เพื่อยกเว้นอากรขาเข้าชิ้นส่วนอุปกรณ์ เพื่อใช้ในการผลิต สำหรับผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัยช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยจะให้มีผลย้อนหลังถึงวันที่ 23 ตุลาคม และมีผลไปจนกว่าจะสามารถกลับเริ่มการผลิตได้เป็นปกติ ซึ่งและควบคุมจำนวนชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่จะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าจะต้องเท่ากับจำนวนที่ผลิตได้จริงในปีก่อนเท่านั้น ไม่สามารถนำเข้ามาเกินจำนวนได้
ทั้งนี้สศค.ยังจะเดินหน้าปรับโครงสร้างภาษี ทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สิทธิประโยชน์จากการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ)และภาษีที่จะส่งเสริมการลงทุนทั้งในและต่างประเทศมากขึ้น โดยนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.คลังได้มอบนโยบายให้ปี 2555 เป็นปีแห่งการลงทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสำหรับผู้ประกอบการขยายกลางและย่อม(เอสเอ็มอี) ซึ่งไม่ใช่มาตรการเฉพาะกิจ แต่เป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศระยะยาว ดังนั้นจึงให้สศค.ไปดูว่ายังมีอะไรที่เป็นปัญหาและอุปสรรการลงทุนหรือไม่ เพราะที่ผ่านมาสัดส่วนการลงทุนของไทยต่ำมาก เพิ่มขึ้นเพียงไตรมาสละ 7-8% เท่านั้น ทั้งที่การจะผลักดันให้เศรษฐกิจไทยก้าวข้ามไปเป็นประเทศที่พัฒนาจะต้องมีการลงทุนเพิ่มขึ้น 15% ต่อไตรมาส
“ที่ผ่านมาการลงทุนของไทยยังน้อย ดูจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องสำหรับประเทศที่อยู่ในกลุ่มรายได้ต่อหัวในระดับปานกลาง การลงทุนต้องเพิ่มมากขึ้นกว่านี้ โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐาน จึงให้ไปดูว่ายังมีปัญหาอุปสรรคอย่างไรบ้าง รวมถึงการที่คนไทยออกไปลงทุนในต่างประเทศด้วยที่ยังน้อยมาก ทำอย่างไรที่จะส่งเสริมและผลักดันให้คนไทยออกไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น เหมือนกับสิงคโปร์ จึงให้ระดมความคิดเห็นและเสนอเป็นมาตรการออกจาก จากช่วงที่ผ่านมาเน้นไปที่มาตรการเยียวยาและช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมเป็นหลัก”นายสมชัยกล่าว
อย่างไรก็ตามในส่วนของการส่งเสริมการลงทุนของบีโอไอนั้น ยังต้องเดินหน้าตามกรอบของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนอยู่แล้ว ในการปรับลดสิทธิประโยชน์ต่างๆลง ไม่ใช่การยกเลิกสิทธิประโยชน์ไปเลย แต่จะผ่อนผันสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องประสบปัญหาขาดทุนจากผลกระทบน้ำท่วมออกไปอีก 2 ปี เพื่อเป็นการฟื้นฟูและเยียวยาผู้ประกอบการไปก่อน แต่รายละเอียดก็คงต้องหารือกับทางบีโอไอก่อน
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.)เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังจะนำเรื่องเสนอในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)วันที่ 29 พฤศจิกายน เพื่อยกเว้นอากรขาเข้าชิ้นส่วนอุปกรณ์ เพื่อใช้ในการผลิต สำหรับผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัยช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยจะให้มีผลย้อนหลังถึงวันที่ 23 ตุลาคม และมีผลไปจนกว่าจะสามารถกลับเริ่มการผลิตได้เป็นปกติ ซึ่งและควบคุมจำนวนชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่จะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าจะต้องเท่ากับจำนวนที่ผลิตได้จริงในปีก่อนเท่านั้น ไม่สามารถนำเข้ามาเกินจำนวนได้
ทั้งนี้สศค.ยังจะเดินหน้าปรับโครงสร้างภาษี ทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สิทธิประโยชน์จากการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ)และภาษีที่จะส่งเสริมการลงทุนทั้งในและต่างประเทศมากขึ้น โดยนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.คลังได้มอบนโยบายให้ปี 2555 เป็นปีแห่งการลงทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสำหรับผู้ประกอบการขยายกลางและย่อม(เอสเอ็มอี) ซึ่งไม่ใช่มาตรการเฉพาะกิจ แต่เป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศระยะยาว ดังนั้นจึงให้สศค.ไปดูว่ายังมีอะไรที่เป็นปัญหาและอุปสรรการลงทุนหรือไม่ เพราะที่ผ่านมาสัดส่วนการลงทุนของไทยต่ำมาก เพิ่มขึ้นเพียงไตรมาสละ 7-8% เท่านั้น ทั้งที่การจะผลักดันให้เศรษฐกิจไทยก้าวข้ามไปเป็นประเทศที่พัฒนาจะต้องมีการลงทุนเพิ่มขึ้น 15% ต่อไตรมาส
“ที่ผ่านมาการลงทุนของไทยยังน้อย ดูจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องสำหรับประเทศที่อยู่ในกลุ่มรายได้ต่อหัวในระดับปานกลาง การลงทุนต้องเพิ่มมากขึ้นกว่านี้ โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐาน จึงให้ไปดูว่ายังมีปัญหาอุปสรรคอย่างไรบ้าง รวมถึงการที่คนไทยออกไปลงทุนในต่างประเทศด้วยที่ยังน้อยมาก ทำอย่างไรที่จะส่งเสริมและผลักดันให้คนไทยออกไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น เหมือนกับสิงคโปร์ จึงให้ระดมความคิดเห็นและเสนอเป็นมาตรการออกจาก จากช่วงที่ผ่านมาเน้นไปที่มาตรการเยียวยาและช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมเป็นหลัก”นายสมชัยกล่าว
อย่างไรก็ตามในส่วนของการส่งเสริมการลงทุนของบีโอไอนั้น ยังต้องเดินหน้าตามกรอบของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนอยู่แล้ว ในการปรับลดสิทธิประโยชน์ต่างๆลง ไม่ใช่การยกเลิกสิทธิประโยชน์ไปเลย แต่จะผ่อนผันสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องประสบปัญหาขาดทุนจากผลกระทบน้ำท่วมออกไปอีก 2 ปี เพื่อเป็นการฟื้นฟูและเยียวยาผู้ประกอบการไปก่อน แต่รายละเอียดก็คงต้องหารือกับทางบีโอไอก่อน