สราวุธ เบญจกุล
รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม
เมื่อมีคดีสำคัญเกิดขึ้น ทุกคนในสังคมต่างจับตามองว่าผลของคดีจะเป็นอย่างไร ศาลจะพิพากษาลงโทษผู้กระทำความผิดอย่างไร หลายครั้งเมื่อเสร็จสิ้นการพิจารณาคดีแล้วศาลไม่ได้พิพากษาลงโทษจำคุกผู้กระทำความผิดโดยทันที แต่ศาลได้มีคำพิพากษาให้รอการลงโทษ หรือรอการกำหนดโทษผู้กระทำความผิดไว้ก่อน ทำให้เกิดความสงสัยว่าการรอการลงโทษคืออะไร แตกต่างกับการรอการกำหนดโทษหรือไม่ และมีหลักเกณฑ์การนำมาใช้และพิจารณาอย่างไร
ทั้งนี้ การพิจารณาพิพากษาลงโทษผู้กระทำความผิดในคดีอาญา กฎหมายกำหนดให้ศาลต้องใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวง อย่าพิพากษาลงโทษจนกว่าจะแน่ใจว่ามีการกระทำผิดจริงและจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดนั้น โดยการกำหนดโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ และศาลจะลงโทษนอกเหนือไปจากที่บัญญัติไว้ไม่ได้ แต่เนื่องจากคดีแต่ละคดีมีข้อเท็จจริงที่แตกต่างกัน ประกอบกับความประพฤติและมูลเหตุชักจูงใจของผู้กระทำความผิดแต่ละคนก็มีลักษณะที่แตกต่างกันไป ทำให้ศาลไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยเท่ากันในทุกกรณี
การรอการลงโทษและการรอการกำหนดโทษจึงเป็นกระบวนการที่กฎหมายให้โอกาสผู้กระทำความผิดกลับตัวก่อนที่จะได้รับโทษจำคุกจริงๆ โดยให้ผู้กระทำความผิดมีโอกาสกลับตัวเป็นคนดี อันจะเป็นประโยชน์แก่สังคมส่วนรวมมากกว่าที่จะลงโทษจำคุกผู้กระทำผิด
การรอการลงโทษและการรอการกำหนดโทษเป็นวิธีการลงโทษผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 56 ในความผิดที่ไม่ร้ายแรงมากนัก กล่าวคือมีโทษจำคุกระยะสั้น คือ ไม่เกิน 3 ปี และผู้นั้นไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน หรือเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ ประกอบกับมีเหตุผลสมควรที่แสดงว่าผู้นั้นอาจกลับตัวเป็นพลเมืองดีได้ ศาลจะพิพากษาว่าผู้นั้นมีความผิดแต่รอการกำหนดโทษไว้ คือ ยังไม่กำหนดโทษว่า จะให้จำคุกเป็นเวลาเท่าใดโดยให้รอไปก่อน หรือ กำหนดโทษแต่รอการลงโทษไว้ คือ มีการกำหนดโทษไว้แล้วแต่ยังไม่มีการลงโทษ แล้วปล่อยตัวไปเพื่อให้โอกาสผู้นั้นกลับตัวภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนดแต่ต้องไม่เกิน 5 ปีนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา โดยจะกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของผู้นั้นเพื่อให้หลาบจำด้วยหรือไม่ก็ได้
เงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของผู้กระทำความผิดนั้น ศาลอาจกำหนดข้อเดียวหรือหลายข้อ เช่น ให้ไปรายงานตัวต่อเจ้าพนักงานที่ศาลระบุไว้เป็นครั้งคราว เพื่อเจ้าพนักงานจะได้สอบถาม แนะนำ ช่วยเหลือหรือตักเตือนตามที่เห็นสมควรในเรื่องความประพฤติและการประกอบอาชีพ หรือจัดให้กระทำกิจกรรมบริการสังคม หรือสาธารณประโยชน์ตามที่เจ้าพนักงานและผู้กระทำความผิดเห็นสมควร ให้ฝึกหัดหรือทำงานอาชีพอันเป็นกิจจะลักษณะ ให้ละเว้นการคบหาสมาคมหรือการประพฤติใดอันอาจนำไปสู่การกระทำความผิดในทำนองเดียวกันอีก ให้ไปรับการบำบัดรักษาการติดยาเสพติดให้โทษ ความบกพร่องทางร่างกายหรือจิตใจ หรือความเจ็บป่วยอย่างอื่น ณ สถานที่และตามระยะเวลาที่ศาลกำหนด หรือเงื่อนไขอื่น ๆ ตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดเพื่อแก้ไข ฟื้นฟูหรือป้องกันมิให้ผู้กระทำความผิดกระทำหรือมีโอกาสกระทำความผิดขึ้นอีก
ทั้งนี้ ศาลต้องคำนึงถึงลักษณะของผู้กระทำความผิดประกอบด้วย คือ อายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา เช่น เป็นผู้มีความประพฤติอยู่ในศีลธรรมอันดี กระทำความผิดเพราะโง่เขลาเบาปัญญา รู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือหลงเข้าใจว่าไม่เป็นความผิด เป็นต้น
การศึกษาอบรม เช่น ผู้กระทำความผิดอยู่ระหว่างศึกษาและหมายความรวมถึงระดับการศึกษาของผู้กระทำความผิด ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1385/2530 ที่ศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยโดยไม่รอการลงโทษ ซึ่งจำเลยอ้างว่าเป็นนิติศาสตร์บัณฑิต และกำลังศึกษาอยู่ในสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ศาลเห็นว่า จำเลยเป็นคนมีความรู้ แต่ก็มิได้คำนึงถึงความสูญเสียของส่วนรวม ในการใช้ให้บุคคลอื่นกระทำผิด ด้วยการนำรถบรรทุก ซึ่งมีน้ำหนักรถยนต์และน้ำหนักบรรทุกรวมกันเกินกว่าที่ทางการกำหนดถึง 6,100 กิโลกรัม มาวิ่งบนทางหลวงแผ่นดิน
สุขภาพของผู้กระทำความผิด ถ้าต้องรับโทษอาจเป็นอันตรายร้ายแรงต่อผู้กระทำผิด ภาวะแห่งจิต หมายถึง ผู้มีจิตบกพร่อง เช่น จำเลยมีลักษณะบกพร่องทางจิต อยากได้ของคนอื่นประกอบกับจำเลยได้นำเงินมาคืนผู้เสียหายจนครบถ้วนแล้วและผู้เสียหายไม่ติดใจดำเนินคดี สมควรรอการลงโทษจำเลยเพื่อให้จำเลยกลับตัวเป็นพลเมืองดี (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 994/2525)
นิสัย หมายถึง ความประพฤติจนเคยชิน อาชีพและสิ่งแวดล้อม เช่น แม้จำเลยจะมีอาชีพเป็นหลักแหล่งและไม่เคยกระทำความผิดมาก่อนก็ตาม แต่เป็นเจ้ามือสลากกินรวบขนาดใหญ่ แสดงว่าไม่เกรงกลัวกฎหมายบ้านเมือง จึงไม่มีเหตุสมควรรอการลงโทษ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2572/2540)
สภาพความผิด เช่น เสพเมทแอมเฟตามีนขณะขับรถบรรทุก เป็นอันตรายแก่ประชาชนทั่วไปที่ใช้ถนน แม้ไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนก็ไม่สมควรรอการลงโทษเพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่าง (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7683/2544) หรือ กรณีที่เคยถูกลงโทษหรือรอการลงโทษมาแล้วและยังกระทำความผิดอาญาซ้ำอีก แสดงว่าไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายและไม่เข็ดหลาบจึงไม่ควรรอการลงโทษ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 743/2479 และ 2008/2541)
เหตุอื่นอันควรปรานีเช่น การลงโทษจำคุกจำเลยในข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างพี่น้อง ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมส่วมรวม โดยเฉพาะความสัมพันธ์ฉันพี่น้อง จึงควรรอการลงโทษให้กลับตัว (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1665/2543)
หากภายในเวลาที่ศาลกำหนดผู้กระทำความผิดไม่ได้กระทำความผิดขึ้นอีก ก็ถือว่าผู้นั้นได้กระทำความผิดตามที่ศาลพิพากษาแต่ไม่ถูกลงโทษ โดยถือว่าพ้นจากการที่กำหนดโทษหรือการที่จะลงโทษที่รอไว้เป็นเด็ดขาด ไม่ถือว่าเคยรับโทษจำคุกมาเลย
แต่หากผู้กระทำความผิดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังที่ศาลกำหนด ศาลอาจเรียกตัวผู้กระทำความผิดมาตักเตือนให้ปฏิบัติตามเงื่อนไข หรือในคดีที่รอการกำหนดโทษศาลจะกำหนดโทษที่รอไว้ แล้วลงโทษผู้กระทำความผิด หรือในคดีที่รอการลงโทษศาลอาจเห็นสมควรให้ลงโทษซึ่งรอไว้เสียก็ได้
ดังนั้น การพิพากษาลงโทษจำคุกผู้กระทำความผิด อาจไม่ใช่เพียงวิธีการเดียวในการป้องกันหรือปราบปรามการกระทำความผิดได้เสมอไป ศาลจึงต้องใช้ดุลพินิจพิจารณาถึงความแตกต่างในตัวบุคคล และข้อเท็จจริงประกอบการกระทำของผู้กระทำความผิดแต่ละคนว่าสมควรที่จะลงโทษจำคุกบุคคลนั้นหรือไม่ หรือจะพิจารณาใช้วิธีการอื่น เช่น การรอการลงโทษหรือการรอการกำหนดโทษซึ่งเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่เปิดโอกาสให้ผู้กระทำความผิดสามารถกลับตัวเป็นพลเมืองดี และประพฤติตนให้เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมได้
รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม
เมื่อมีคดีสำคัญเกิดขึ้น ทุกคนในสังคมต่างจับตามองว่าผลของคดีจะเป็นอย่างไร ศาลจะพิพากษาลงโทษผู้กระทำความผิดอย่างไร หลายครั้งเมื่อเสร็จสิ้นการพิจารณาคดีแล้วศาลไม่ได้พิพากษาลงโทษจำคุกผู้กระทำความผิดโดยทันที แต่ศาลได้มีคำพิพากษาให้รอการลงโทษ หรือรอการกำหนดโทษผู้กระทำความผิดไว้ก่อน ทำให้เกิดความสงสัยว่าการรอการลงโทษคืออะไร แตกต่างกับการรอการกำหนดโทษหรือไม่ และมีหลักเกณฑ์การนำมาใช้และพิจารณาอย่างไร
ทั้งนี้ การพิจารณาพิพากษาลงโทษผู้กระทำความผิดในคดีอาญา กฎหมายกำหนดให้ศาลต้องใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวง อย่าพิพากษาลงโทษจนกว่าจะแน่ใจว่ามีการกระทำผิดจริงและจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดนั้น โดยการกำหนดโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ และศาลจะลงโทษนอกเหนือไปจากที่บัญญัติไว้ไม่ได้ แต่เนื่องจากคดีแต่ละคดีมีข้อเท็จจริงที่แตกต่างกัน ประกอบกับความประพฤติและมูลเหตุชักจูงใจของผู้กระทำความผิดแต่ละคนก็มีลักษณะที่แตกต่างกันไป ทำให้ศาลไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยเท่ากันในทุกกรณี
การรอการลงโทษและการรอการกำหนดโทษจึงเป็นกระบวนการที่กฎหมายให้โอกาสผู้กระทำความผิดกลับตัวก่อนที่จะได้รับโทษจำคุกจริงๆ โดยให้ผู้กระทำความผิดมีโอกาสกลับตัวเป็นคนดี อันจะเป็นประโยชน์แก่สังคมส่วนรวมมากกว่าที่จะลงโทษจำคุกผู้กระทำผิด
การรอการลงโทษและการรอการกำหนดโทษเป็นวิธีการลงโทษผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 56 ในความผิดที่ไม่ร้ายแรงมากนัก กล่าวคือมีโทษจำคุกระยะสั้น คือ ไม่เกิน 3 ปี และผู้นั้นไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน หรือเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ ประกอบกับมีเหตุผลสมควรที่แสดงว่าผู้นั้นอาจกลับตัวเป็นพลเมืองดีได้ ศาลจะพิพากษาว่าผู้นั้นมีความผิดแต่รอการกำหนดโทษไว้ คือ ยังไม่กำหนดโทษว่า จะให้จำคุกเป็นเวลาเท่าใดโดยให้รอไปก่อน หรือ กำหนดโทษแต่รอการลงโทษไว้ คือ มีการกำหนดโทษไว้แล้วแต่ยังไม่มีการลงโทษ แล้วปล่อยตัวไปเพื่อให้โอกาสผู้นั้นกลับตัวภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนดแต่ต้องไม่เกิน 5 ปีนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา โดยจะกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของผู้นั้นเพื่อให้หลาบจำด้วยหรือไม่ก็ได้
เงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของผู้กระทำความผิดนั้น ศาลอาจกำหนดข้อเดียวหรือหลายข้อ เช่น ให้ไปรายงานตัวต่อเจ้าพนักงานที่ศาลระบุไว้เป็นครั้งคราว เพื่อเจ้าพนักงานจะได้สอบถาม แนะนำ ช่วยเหลือหรือตักเตือนตามที่เห็นสมควรในเรื่องความประพฤติและการประกอบอาชีพ หรือจัดให้กระทำกิจกรรมบริการสังคม หรือสาธารณประโยชน์ตามที่เจ้าพนักงานและผู้กระทำความผิดเห็นสมควร ให้ฝึกหัดหรือทำงานอาชีพอันเป็นกิจจะลักษณะ ให้ละเว้นการคบหาสมาคมหรือการประพฤติใดอันอาจนำไปสู่การกระทำความผิดในทำนองเดียวกันอีก ให้ไปรับการบำบัดรักษาการติดยาเสพติดให้โทษ ความบกพร่องทางร่างกายหรือจิตใจ หรือความเจ็บป่วยอย่างอื่น ณ สถานที่และตามระยะเวลาที่ศาลกำหนด หรือเงื่อนไขอื่น ๆ ตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดเพื่อแก้ไข ฟื้นฟูหรือป้องกันมิให้ผู้กระทำความผิดกระทำหรือมีโอกาสกระทำความผิดขึ้นอีก
ทั้งนี้ ศาลต้องคำนึงถึงลักษณะของผู้กระทำความผิดประกอบด้วย คือ อายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา เช่น เป็นผู้มีความประพฤติอยู่ในศีลธรรมอันดี กระทำความผิดเพราะโง่เขลาเบาปัญญา รู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือหลงเข้าใจว่าไม่เป็นความผิด เป็นต้น
การศึกษาอบรม เช่น ผู้กระทำความผิดอยู่ระหว่างศึกษาและหมายความรวมถึงระดับการศึกษาของผู้กระทำความผิด ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1385/2530 ที่ศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยโดยไม่รอการลงโทษ ซึ่งจำเลยอ้างว่าเป็นนิติศาสตร์บัณฑิต และกำลังศึกษาอยู่ในสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ศาลเห็นว่า จำเลยเป็นคนมีความรู้ แต่ก็มิได้คำนึงถึงความสูญเสียของส่วนรวม ในการใช้ให้บุคคลอื่นกระทำผิด ด้วยการนำรถบรรทุก ซึ่งมีน้ำหนักรถยนต์และน้ำหนักบรรทุกรวมกันเกินกว่าที่ทางการกำหนดถึง 6,100 กิโลกรัม มาวิ่งบนทางหลวงแผ่นดิน
สุขภาพของผู้กระทำความผิด ถ้าต้องรับโทษอาจเป็นอันตรายร้ายแรงต่อผู้กระทำผิด ภาวะแห่งจิต หมายถึง ผู้มีจิตบกพร่อง เช่น จำเลยมีลักษณะบกพร่องทางจิต อยากได้ของคนอื่นประกอบกับจำเลยได้นำเงินมาคืนผู้เสียหายจนครบถ้วนแล้วและผู้เสียหายไม่ติดใจดำเนินคดี สมควรรอการลงโทษจำเลยเพื่อให้จำเลยกลับตัวเป็นพลเมืองดี (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 994/2525)
นิสัย หมายถึง ความประพฤติจนเคยชิน อาชีพและสิ่งแวดล้อม เช่น แม้จำเลยจะมีอาชีพเป็นหลักแหล่งและไม่เคยกระทำความผิดมาก่อนก็ตาม แต่เป็นเจ้ามือสลากกินรวบขนาดใหญ่ แสดงว่าไม่เกรงกลัวกฎหมายบ้านเมือง จึงไม่มีเหตุสมควรรอการลงโทษ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2572/2540)
สภาพความผิด เช่น เสพเมทแอมเฟตามีนขณะขับรถบรรทุก เป็นอันตรายแก่ประชาชนทั่วไปที่ใช้ถนน แม้ไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนก็ไม่สมควรรอการลงโทษเพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่าง (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7683/2544) หรือ กรณีที่เคยถูกลงโทษหรือรอการลงโทษมาแล้วและยังกระทำความผิดอาญาซ้ำอีก แสดงว่าไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายและไม่เข็ดหลาบจึงไม่ควรรอการลงโทษ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 743/2479 และ 2008/2541)
เหตุอื่นอันควรปรานีเช่น การลงโทษจำคุกจำเลยในข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างพี่น้อง ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมส่วมรวม โดยเฉพาะความสัมพันธ์ฉันพี่น้อง จึงควรรอการลงโทษให้กลับตัว (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1665/2543)
หากภายในเวลาที่ศาลกำหนดผู้กระทำความผิดไม่ได้กระทำความผิดขึ้นอีก ก็ถือว่าผู้นั้นได้กระทำความผิดตามที่ศาลพิพากษาแต่ไม่ถูกลงโทษ โดยถือว่าพ้นจากการที่กำหนดโทษหรือการที่จะลงโทษที่รอไว้เป็นเด็ดขาด ไม่ถือว่าเคยรับโทษจำคุกมาเลย
แต่หากผู้กระทำความผิดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังที่ศาลกำหนด ศาลอาจเรียกตัวผู้กระทำความผิดมาตักเตือนให้ปฏิบัติตามเงื่อนไข หรือในคดีที่รอการกำหนดโทษศาลจะกำหนดโทษที่รอไว้ แล้วลงโทษผู้กระทำความผิด หรือในคดีที่รอการลงโทษศาลอาจเห็นสมควรให้ลงโทษซึ่งรอไว้เสียก็ได้
ดังนั้น การพิพากษาลงโทษจำคุกผู้กระทำความผิด อาจไม่ใช่เพียงวิธีการเดียวในการป้องกันหรือปราบปรามการกระทำความผิดได้เสมอไป ศาลจึงต้องใช้ดุลพินิจพิจารณาถึงความแตกต่างในตัวบุคคล และข้อเท็จจริงประกอบการกระทำของผู้กระทำความผิดแต่ละคนว่าสมควรที่จะลงโทษจำคุกบุคคลนั้นหรือไม่ หรือจะพิจารณาใช้วิธีการอื่น เช่น การรอการลงโทษหรือการรอการกำหนดโทษซึ่งเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่เปิดโอกาสให้ผู้กระทำความผิดสามารถกลับตัวเป็นพลเมืองดี และประพฤติตนให้เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมได้