เอเจนซีส์ – แม้จีดีพีเบอร์ลินและปารีสยังพอเป็นความหวังให้ยูโรโซน แต่สถานการณ์ของฝรั่งเศสถือว่าล่อแหลมอย่างยิ่ง นอกจากนั้น ยังมีสัญญาณชัดเจนขึ้นว่ายุโรปกำลังเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ขณะที่อิตาลีและกรีซกำลังแข่งกับเวลาเร่งจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่
ยูโรสแตท หรือหน่วยงานด้านสถิติของสหภาพยุโรป(อียู) รายงานเมื่อวันอังคาร (15) ว่า ไตรมาสที่ผ่านมา (ก.ค.-ก.ย.2011) เศรษฐกิจทั่วทั้งยูโรโซนขยายตัว 0.2% อันเป็นผลจากการที่ผู้บริโภคเมืองเบียร์กลับมาใช้จ่ายอีกครั้ง ขณะที่เศรษฐกิจเยอรมนีเองและเศรษฐกิจฝรั่งเศสเติบโต 0.5% และ 0.4% ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์หลายคนเชื่อว่า ยูโรโซนที่ประกอบด้วยสมาชิก 17 ชาติอาจเข้าสู่ภาวะถดถอยแล้ว พร้อมตั้งข้อสังเกตว่ามาตรการรัดเข็มขัดเพื่อจัดการกับปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะ กำลังบ่อนทำลายการเติบโต และการเติบโตที่ลดลงก็ฉุดให้รายได้จากการจัดเก็บภาษีขาดหายไปด้วย
โฮเวิร์ด อาร์เชอร์ นักวิเคราะห์จากไอเอชเอส โกลบัล อินไซต์ในลอนดอน ระบุว่ามีความเป็นไปได้สูงที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของยูโรโซนในไตรมาสปัจจุบัน รวมทั้งช่วง 3 เดือนแรกของปีหน้า จะอยู่ในสภาพหดตัวราว 0.25% โดยที่เศรษฐกิจตลอดปี 2012 ก็จะแทบหยุดนิ่ง
ย้อนกลับไปเมื่อวันจันทร์ (13) องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาเศรษฐกิจ (โออีซีดี) หน่วยงานคลังสมองของพวกชาติพัฒนาแล้วของโลก ได้ออกมาเตือนว่าขณะนี้มีสัญญาณชัดเจนขึ้นว่าเศรษฐกิจของชาติสมาชิกส่วนใหญ่ ตลอดจนประเทศชั้นนำทั่วโลกกำลังชะลอตัว
ก่อนหน้านั้นไม่กี่วัน คณะกรรมาธิการอียูระบุว่า ยุโรปอาจกลับสู่ภาวะถดถอยในปีหน้าเนื่องจาก ‘วงจรอุบาทว์’ จากหนี้ภาคสาธารณะสูงลิ่ว ภาคธนาคารมีฐานะอ่อนแอ และการใช้จ่ายก็ทรุด ขณะที่ มาริโอ ดรากี ประธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) คนใหม่ คาดว่ายูโรโซนจะเข้าสู่ภาวะถดถอยอ่อนๆ ตั้งแต่ปลายปีนี้
อีกหนึ่งสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงคือ รายงานการวิเคราะห์ระบบการเงินของจีนที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เผยแพร่ออกมาเมื่อวันอังคาร ซึ่งเตือนว่าประเทศเศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลกกำลังเผชิญความเสี่ยงจากหนี้เสีย การปล่อยกู้ภาคเอกชนที่ไม่สามารถควบคุมได้ และราคาอสังหาริมทรัพย์ตกฮวบ
ทอม โรเจอร์ส ที่ปรึกษาอาวุโสด้านเศรษฐกิจของเอิร์นสต์ แอนด์ ยัง ยูโรโซน ฟอร์แคสต์ (อีอีเอฟ) ชี้ว่าข้อมูลล่าสุดตอกย้ำมุมมองที่ว่า ยูโรโซนกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอยและต้องการการดำเนินการที่เด็ดขาดเพื่อฟื้นความเชื่อมั่นและป้องกันการชะลอตัวรุนแรงในปีหน้า
คริส วิลเลียมสัน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ มาร์กิต ในลอนดอน ฟันธงว่าอิตาลีจะเป็นชาติใหญ่สุดในยูโรโซนรายแรกที่ได้ลิ้มรสภาวะถดถอยอีกครั้ง
ล่าสุด ฝรั่งเศสกลายเป็นสมาชิกยูโรโซนที่ตกอยู่ภายใต้ความกดดัน หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะ 10 ปีขยับไปอยู่ที่ 3.683% เมื่อวันอังคาร สูงกว่าต้นทุนการกู้ยืมของเบอร์ลินกว่า 2 เท่า แม้ทั้งสองประเทศมีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ที่ AAA เท่ากันก็ตาม กระตุ้นความกังวลว่า ชาติเศรษฐกิจอันดับ 2 ของยูโรโซนอาจถูกดูดเข้าสู่วังวนวิกฤตหนี้
แม้มีกลุ่มคลังสมองในบรัสเซลส์เตือนว่า สถานการณ์เศรษฐกิจแดนน้ำหอมกำลังส่งสัญญาณเตือนภัย แต่ขุนคลังฟรังซัวส์ บาโรแอง ยืนยันว่างบประมาณของฝรั่งเศสยังสอดคล้องกับเป้าหมายการขาดดุลปี 2012 แม้เศรษฐกิจอาจชะลอตัวเกินคาด พร้อมยืนยันว่าปารีสไม่ได้จัดทำมาตรการรัดเข็มขัดรอบ 3 หลังจากประกาศแผนสองสำหรับระยะเวลา 3 เดือนไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
ที่โรม เมื่อวันอังคาร อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะ 10 ปีของอิตาลีไต่ทะลุ 7% ซึ่งเป็นระดับที่เคยทำให้กรีซและโปรตุเกสถูกบังคับให้รับความช่วยเหลือจากต่างชาติ โดยอิตาลีนั้นมีกำหนดไถ่ถอนพันธบัตรราว 200,000 ล้านยูโร (273,000 ล้านดอลลาร์) ภายในปลายเดือนเมษายนปีหน้า
คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ที่นำโดยนายกรัฐมนตรีมาริโอ มอนติ และคาดว่าจะประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ และนักการเมืองนั้น มีภารกิจเร่งด่วนในการเร่งแผนปฏิรูประบบบำนาญ ตลาดแรงงาน และกฎระเบียบด้านธุรกิจ เพื่อฟื้นสถานะการคลังที่ยั่งยืน
ส่วนสถานการณ์ของกรีซ ยูโรสแตทรายงานว่าอัตราเติบโตไตรมาส 3 ติดลบถึง 5.2% ตอกย้ำภารกิจยากเย็นแสนเข็ญสำหรับลูคัส ปาปาเดมอส นายกรัฐมนตรีใหม่ถอดด้าม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่รัฐบาลแห่งชาติเสียงแตกเป็นที่เรียบร้อยเกี่ยวกับมาตรการหั่นงบประมาณครั้งใหญ่เพื่อรับเงินกู้ก้อนใหม่ 8,000 ล้านยูโร ก่อนจะต้องล้มละลายและน่าจะทำให้กรีซต้องถอนตัวจากยูโรโซน
ทั้งนี้ ความอยู่รอดของยูโรโซนกำลังตกอยู่ในความเสี่ยง และสหภาพยุโรป (อียู) มีเวลาจนถึงซัมมิตวันที่ 9 เดือนหน้าในการเสนอกลยุทธ์ที่เด็ดขาดและน่าเชื่อถือกว่าที่มีอยู่ ซึ่งรวมถึงการสนับสนุนทางการเงินก้อนใหญ่ในบางรูปแบบ
ยูโรสแตท หรือหน่วยงานด้านสถิติของสหภาพยุโรป(อียู) รายงานเมื่อวันอังคาร (15) ว่า ไตรมาสที่ผ่านมา (ก.ค.-ก.ย.2011) เศรษฐกิจทั่วทั้งยูโรโซนขยายตัว 0.2% อันเป็นผลจากการที่ผู้บริโภคเมืองเบียร์กลับมาใช้จ่ายอีกครั้ง ขณะที่เศรษฐกิจเยอรมนีเองและเศรษฐกิจฝรั่งเศสเติบโต 0.5% และ 0.4% ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์หลายคนเชื่อว่า ยูโรโซนที่ประกอบด้วยสมาชิก 17 ชาติอาจเข้าสู่ภาวะถดถอยแล้ว พร้อมตั้งข้อสังเกตว่ามาตรการรัดเข็มขัดเพื่อจัดการกับปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะ กำลังบ่อนทำลายการเติบโต และการเติบโตที่ลดลงก็ฉุดให้รายได้จากการจัดเก็บภาษีขาดหายไปด้วย
โฮเวิร์ด อาร์เชอร์ นักวิเคราะห์จากไอเอชเอส โกลบัล อินไซต์ในลอนดอน ระบุว่ามีความเป็นไปได้สูงที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของยูโรโซนในไตรมาสปัจจุบัน รวมทั้งช่วง 3 เดือนแรกของปีหน้า จะอยู่ในสภาพหดตัวราว 0.25% โดยที่เศรษฐกิจตลอดปี 2012 ก็จะแทบหยุดนิ่ง
ย้อนกลับไปเมื่อวันจันทร์ (13) องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาเศรษฐกิจ (โออีซีดี) หน่วยงานคลังสมองของพวกชาติพัฒนาแล้วของโลก ได้ออกมาเตือนว่าขณะนี้มีสัญญาณชัดเจนขึ้นว่าเศรษฐกิจของชาติสมาชิกส่วนใหญ่ ตลอดจนประเทศชั้นนำทั่วโลกกำลังชะลอตัว
ก่อนหน้านั้นไม่กี่วัน คณะกรรมาธิการอียูระบุว่า ยุโรปอาจกลับสู่ภาวะถดถอยในปีหน้าเนื่องจาก ‘วงจรอุบาทว์’ จากหนี้ภาคสาธารณะสูงลิ่ว ภาคธนาคารมีฐานะอ่อนแอ และการใช้จ่ายก็ทรุด ขณะที่ มาริโอ ดรากี ประธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) คนใหม่ คาดว่ายูโรโซนจะเข้าสู่ภาวะถดถอยอ่อนๆ ตั้งแต่ปลายปีนี้
อีกหนึ่งสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงคือ รายงานการวิเคราะห์ระบบการเงินของจีนที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เผยแพร่ออกมาเมื่อวันอังคาร ซึ่งเตือนว่าประเทศเศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลกกำลังเผชิญความเสี่ยงจากหนี้เสีย การปล่อยกู้ภาคเอกชนที่ไม่สามารถควบคุมได้ และราคาอสังหาริมทรัพย์ตกฮวบ
ทอม โรเจอร์ส ที่ปรึกษาอาวุโสด้านเศรษฐกิจของเอิร์นสต์ แอนด์ ยัง ยูโรโซน ฟอร์แคสต์ (อีอีเอฟ) ชี้ว่าข้อมูลล่าสุดตอกย้ำมุมมองที่ว่า ยูโรโซนกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอยและต้องการการดำเนินการที่เด็ดขาดเพื่อฟื้นความเชื่อมั่นและป้องกันการชะลอตัวรุนแรงในปีหน้า
คริส วิลเลียมสัน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ มาร์กิต ในลอนดอน ฟันธงว่าอิตาลีจะเป็นชาติใหญ่สุดในยูโรโซนรายแรกที่ได้ลิ้มรสภาวะถดถอยอีกครั้ง
ล่าสุด ฝรั่งเศสกลายเป็นสมาชิกยูโรโซนที่ตกอยู่ภายใต้ความกดดัน หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะ 10 ปีขยับไปอยู่ที่ 3.683% เมื่อวันอังคาร สูงกว่าต้นทุนการกู้ยืมของเบอร์ลินกว่า 2 เท่า แม้ทั้งสองประเทศมีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ที่ AAA เท่ากันก็ตาม กระตุ้นความกังวลว่า ชาติเศรษฐกิจอันดับ 2 ของยูโรโซนอาจถูกดูดเข้าสู่วังวนวิกฤตหนี้
แม้มีกลุ่มคลังสมองในบรัสเซลส์เตือนว่า สถานการณ์เศรษฐกิจแดนน้ำหอมกำลังส่งสัญญาณเตือนภัย แต่ขุนคลังฟรังซัวส์ บาโรแอง ยืนยันว่างบประมาณของฝรั่งเศสยังสอดคล้องกับเป้าหมายการขาดดุลปี 2012 แม้เศรษฐกิจอาจชะลอตัวเกินคาด พร้อมยืนยันว่าปารีสไม่ได้จัดทำมาตรการรัดเข็มขัดรอบ 3 หลังจากประกาศแผนสองสำหรับระยะเวลา 3 เดือนไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
ที่โรม เมื่อวันอังคาร อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะ 10 ปีของอิตาลีไต่ทะลุ 7% ซึ่งเป็นระดับที่เคยทำให้กรีซและโปรตุเกสถูกบังคับให้รับความช่วยเหลือจากต่างชาติ โดยอิตาลีนั้นมีกำหนดไถ่ถอนพันธบัตรราว 200,000 ล้านยูโร (273,000 ล้านดอลลาร์) ภายในปลายเดือนเมษายนปีหน้า
คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ที่นำโดยนายกรัฐมนตรีมาริโอ มอนติ และคาดว่าจะประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ และนักการเมืองนั้น มีภารกิจเร่งด่วนในการเร่งแผนปฏิรูประบบบำนาญ ตลาดแรงงาน และกฎระเบียบด้านธุรกิจ เพื่อฟื้นสถานะการคลังที่ยั่งยืน
ส่วนสถานการณ์ของกรีซ ยูโรสแตทรายงานว่าอัตราเติบโตไตรมาส 3 ติดลบถึง 5.2% ตอกย้ำภารกิจยากเย็นแสนเข็ญสำหรับลูคัส ปาปาเดมอส นายกรัฐมนตรีใหม่ถอดด้าม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่รัฐบาลแห่งชาติเสียงแตกเป็นที่เรียบร้อยเกี่ยวกับมาตรการหั่นงบประมาณครั้งใหญ่เพื่อรับเงินกู้ก้อนใหม่ 8,000 ล้านยูโร ก่อนจะต้องล้มละลายและน่าจะทำให้กรีซต้องถอนตัวจากยูโรโซน
ทั้งนี้ ความอยู่รอดของยูโรโซนกำลังตกอยู่ในความเสี่ยง และสหภาพยุโรป (อียู) มีเวลาจนถึงซัมมิตวันที่ 9 เดือนหน้าในการเสนอกลยุทธ์ที่เด็ดขาดและน่าเชื่อถือกว่าที่มีอยู่ ซึ่งรวมถึงการสนับสนุนทางการเงินก้อนใหญ่ในบางรูปแบบ