วานนี้(16 พ.ย.)น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เชิญนายสุเมธ ตันติเวชกุล
เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ในฐานะที่ปรึกษาคณะกรรมการยุทธศาตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการ
ทรัพยากรน้ำ(กยน.) พร้อมด้วยนายวีระพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการยุทธศาตร์เพื่อการฟื้นฟู
และสร้างอนาคตประเทศ(กยอ.)เข้าหารือเพื่อขอคำแนะนำ เพราะขณะนี้ต่างประเทศพร้อมให้ความช่วย
เหลือ
นายสุเมธ กล่าวว่า มีการแบ่งงานหลักๆเป็น 4 ส่วนเป็นทีมงาน ที่ตนเป็นเพียงที่ปรึกษากยน
.เพื่อชี้แนะ โดยเฉพาะโครงการพระราชดำริเกี่ยวกับเรื่องน้ำของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็มีอยู่
จำนวนมาก เช่น การปลูกป่าฟื้นฟูป่าก็ต้องเริ่มทำตั้งแต่ทางเหนือลงมา แต่ขณะนี้กยน.ยังไม่เริ่มทำงาน
อะไร แต่อาจจะมีการประชุมในส่วนกยน.ในสัปดาห์หน้า
ด้าน นายรอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร เปิด
เผยว่า การทำงานในสัปดาห์หน้าจะเร่งในเรื่องของการฟื้นฟูและการสำรวจเส้นทาง Flood way และ
ระบบการระบายน้ำ ขณะนี้มีปัญหาเรื่อง Flood way ที่ใช้การได้เพียงร้อยละ 40 โดยจะเร่งดำเนินการให้
ใช้ได้ร้อยละ 80
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขานุการ กยอ.กล่าวว่า กำลังศึกษาแผนการลงทุนป้องกันระยะ
ยาวจากต่างประเทศมาปรับใช้ในระยะ 50-100 ปี เช่นการสร้างทางFlood wayโดยอาจสร้างถนนใน
พื้นที่ลุ่มทางการเกษตร เหมือนกับเส้นทางมอเตอร์เวย์ ซึ่งในฤดูแล้งจะเปิดถนนให้รถวิ่ง แต่ในฤดูฝน
จะปิดถนนเป็นช่องระบายน้ำ หรืออาจมีทางรถไฟควบคู่กับมอเตอร์เวย์ด้วย
สำหรับพื้นที่เสี่ยงต่อน้ำท่วมขังอาจต้องพิจารณาออกพระราชกฤษฎีกาย้ายชุมชนไปอยู่ที่
ปลอดภัย ซึ่งยังไม่ได้มีข้อสรุป เพราะหากชาวบ้านยังต้องการอยู่ที่เดิมก็ต้องยอมรับกับปัญหาน้ำท่วม
ส่วนนิคมอุตสาหกรรมหากเปลี่ยนพื้นที่คงลำบาก จึงต้องหาทางช่วยเหลือให้กลับมาผลิตสินค้าได้
เหมือนเดิม ทดแทนรายได้ที่หายไปในช่วงน้ำท่วม แต่รัฐบาลคงต้องออกมาตรการจูงใจให้ไปตั้งนิคม
ตามแนวเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก ตะวันตก หรือเส้นทางหมายเลข 9 ผ่านพม่า ไทย ลาวและ
เวียดนาม ซึ่งจะใกล้เส้นทางขนส่ง และปลอดภัยจากน้ำท่วม ซึ่งหากยังอยู่ที่เดิมก็อาจได้รับการสนับ
สนุนจากภาครัฐน้อยลง
รวมถึงต้องกลับไปดูผังเมืองการระบายน้ำ และผังการใช้ที่ดินใหม่ทั้งหมดโดยแก้กฎหมาย
หรือร่างกฎหมายใหม่ คาดว่าในช่วงปีแรกจะเร่งร่างพิมพ์เขียวฟื้นฟูประเทศให้เสร็จ จากนั้นในช่วง 5-6
ปีข้างหน้าจะเดินหน้าโครงสร้างพื้นฐาน แม้จะเปลี่ยนรัฐบาลก็ต้องเดินหน้าต่อไป
เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ในฐานะที่ปรึกษาคณะกรรมการยุทธศาตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการ
ทรัพยากรน้ำ(กยน.) พร้อมด้วยนายวีระพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการยุทธศาตร์เพื่อการฟื้นฟู
และสร้างอนาคตประเทศ(กยอ.)เข้าหารือเพื่อขอคำแนะนำ เพราะขณะนี้ต่างประเทศพร้อมให้ความช่วย
เหลือ
นายสุเมธ กล่าวว่า มีการแบ่งงานหลักๆเป็น 4 ส่วนเป็นทีมงาน ที่ตนเป็นเพียงที่ปรึกษากยน
.เพื่อชี้แนะ โดยเฉพาะโครงการพระราชดำริเกี่ยวกับเรื่องน้ำของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็มีอยู่
จำนวนมาก เช่น การปลูกป่าฟื้นฟูป่าก็ต้องเริ่มทำตั้งแต่ทางเหนือลงมา แต่ขณะนี้กยน.ยังไม่เริ่มทำงาน
อะไร แต่อาจจะมีการประชุมในส่วนกยน.ในสัปดาห์หน้า
ด้าน นายรอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร เปิด
เผยว่า การทำงานในสัปดาห์หน้าจะเร่งในเรื่องของการฟื้นฟูและการสำรวจเส้นทาง Flood way และ
ระบบการระบายน้ำ ขณะนี้มีปัญหาเรื่อง Flood way ที่ใช้การได้เพียงร้อยละ 40 โดยจะเร่งดำเนินการให้
ใช้ได้ร้อยละ 80
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขานุการ กยอ.กล่าวว่า กำลังศึกษาแผนการลงทุนป้องกันระยะ
ยาวจากต่างประเทศมาปรับใช้ในระยะ 50-100 ปี เช่นการสร้างทางFlood wayโดยอาจสร้างถนนใน
พื้นที่ลุ่มทางการเกษตร เหมือนกับเส้นทางมอเตอร์เวย์ ซึ่งในฤดูแล้งจะเปิดถนนให้รถวิ่ง แต่ในฤดูฝน
จะปิดถนนเป็นช่องระบายน้ำ หรืออาจมีทางรถไฟควบคู่กับมอเตอร์เวย์ด้วย
สำหรับพื้นที่เสี่ยงต่อน้ำท่วมขังอาจต้องพิจารณาออกพระราชกฤษฎีกาย้ายชุมชนไปอยู่ที่
ปลอดภัย ซึ่งยังไม่ได้มีข้อสรุป เพราะหากชาวบ้านยังต้องการอยู่ที่เดิมก็ต้องยอมรับกับปัญหาน้ำท่วม
ส่วนนิคมอุตสาหกรรมหากเปลี่ยนพื้นที่คงลำบาก จึงต้องหาทางช่วยเหลือให้กลับมาผลิตสินค้าได้
เหมือนเดิม ทดแทนรายได้ที่หายไปในช่วงน้ำท่วม แต่รัฐบาลคงต้องออกมาตรการจูงใจให้ไปตั้งนิคม
ตามแนวเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก ตะวันตก หรือเส้นทางหมายเลข 9 ผ่านพม่า ไทย ลาวและ
เวียดนาม ซึ่งจะใกล้เส้นทางขนส่ง และปลอดภัยจากน้ำท่วม ซึ่งหากยังอยู่ที่เดิมก็อาจได้รับการสนับ
สนุนจากภาครัฐน้อยลง
รวมถึงต้องกลับไปดูผังเมืองการระบายน้ำ และผังการใช้ที่ดินใหม่ทั้งหมดโดยแก้กฎหมาย
หรือร่างกฎหมายใหม่ คาดว่าในช่วงปีแรกจะเร่งร่างพิมพ์เขียวฟื้นฟูประเทศให้เสร็จ จากนั้นในช่วง 5-6
ปีข้างหน้าจะเดินหน้าโครงสร้างพื้นฐาน แม้จะเปลี่ยนรัฐบาลก็ต้องเดินหน้าต่อไป