กรุงเทพมหานคร ถูกน้ำท่วมมาแล้วเป็นร้อยๆ ครั้งตั้งแต่ พ.ศ. 2325 เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนากรุงเทพมหานครขึ้นเป็นราชธานี แต่ไม่เคยมีครั้งใดที่คนกรุงเทพฯ ได้รับความเดือดร้อนอย่างหนักเท่ากับอุทกภัย พ.ศ. 2554 ภายใต้การบริหารประเทศของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หรือที่สื่อทั้งหลายเรียกเธอว่าปูแดง เนื่องจากว่าถูกอิทธิพลคนเสื้อแดงทั้งระดับบนและระดับล่างบงการ และประเด็นนี้ทำให้เกิดความขัดแย้งกันระหว่างกลุ่มผู้นำพรรคเพื่อไทยระดับสูงกับกลุ่มผู้นำเสื้อแดงระดับล่าง
น้ำท่วมครั้งนี้คนกรุงได้รับความเดือดร้อนร้ายแรงที่สุดกว่าครั้งไหนๆ เพราะวิถีชีวิตสังคมเมืองของคนไทยเปลี่ยนแปลงไปแล้วและซับซ้อนขึ้น และมีระบบสาธารณูปโภคที่ยุ่งยากในการจัดการด้วยเทคโนโลยีสำหรับชุมชนหนึ่ง แต่ขณะที่อีกชุมชนหนึ่งยังคงใช้เทคโนโลยีพื้นฐานซึ่งไม่ซับซ้อนนัก ทำให้เกิดความแตกแยกในความคิดที่จะป้องกันชุมชนของตนเองให้รอดจากน้ำท่วม เกิดช่องว่างของสังคมเมือง เกิดช่องว่างของฐานะ และวิธีคิดในการเอาตัวรอด
การคมนาคมในเมืองหลวงต้องใช้รถยนต์ รถโดยสาร และจักรยานยนต์เป็นหลัก เมื่อน้ำท่วมทำให้การสัญจรในกรุงเทพฯ หลายพื้นที่เป็นอัมพาต
สถาปัตยกรรมและวิศวกรรมโยธา และการก่อสร้างโรงงานบนพื้นราบ เพื่อลดต้นทุนการก่อสร้างและสะดวกในการลำเลียงขนส่งวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูป จึงง่ายต่อการถูกน้ำท่วมจนพังพินาศหมดสิ้นหลายนิคมอุตสาหกรรม
เมื่อการคมนาคมทางบกขาดตอน และการผลิตยุติเพราะขาดวัตถุดิบ ทำให้ระบบธุรกิจตั้งแต่ระดับย่อยไปถึงระดับสูงต้องปิดตัวเองทำให้สินค้าทั้งจำเป็นและไม่จำเป็นขาดตลาด
นิคมอุตสาหกรรมที่ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์รถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ วัตถุดิบการผลิตอาหาร เครื่องดื่ม และเครื่องใช้ในครัวเรือนและสินค้าอื่นๆ ถูกทำลาย หรือต้องปิดโรงงานชั่วคราวเพราะเกรงน้ำท่วม ไม่มีสินค้าส่งออกและอาจจะเสียโอกาสการลงทุนของต่างชาติถาวร
สิ่งปฏิกูลเป็นภัยทางชีวภาพต่อสังคมชุมชนที่ถูกน้ำท่วม และเป็นตัวแปรบ่อนทำลายสภาพจิตใจคนที่ถูกน้ำท่วมได้อย่างร้ายแรงที่สุด เกิดโรคระบาด โรคผิวหนังต่างๆ และภัยจากสัตว์เลื้อยคลานที่มีอันตรายด้วยพิษ ด้วยเขี้ยว และความน่าขยะแขนง
เป็นการยากที่จะบรรยายเป็นคำพูดถึงภัยน้ำท่วมครั้งนี้ได้หมด เพราะมันจุกสมองปัญญาความคิดที่ต้องคิดถึงความเลวร้ายลักษณะต่างๆ และธุรกิจที่ดับสูญทุกขนาดทุน สภาพจิตใจของคน สภาพสัตว์เลี้ยงเลวร้ายมากมายก่ายกองจนสาธยายได้ยากยิ่ง
เชื่อว่าความเจ็บปวดของแต่ละคนที่ได้รับทุกข์ครั้งนี้เกินบรรยาย แต่ทุกคนมีอาการชาในอารมณ์ความรู้สึก ลองถามกลุ่มคนหาเช้ากินค่ำที่ถูกน้ำท่าม จนบ้านพังย่อยยับ รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ถูกน้ำท่วม และโรงงานที่ทำงานต้องปิดตัวเองโดยไม่มีกำหนด เขาจะเป็นอย่างไร
ในหลวงรับสั่งถึงวิธีการรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ทรงใช้เป็นยุทธศาสตร์ป้องกันน้ำท่วมราชธานีได้แก่การเวนคืนที่ดินกันไว้เป็นพื้นที่กักเก็บน้ำไว้ก่อนไม่ท่วมบ้านเรือนตั้งแต่ปี 2538 แต่หามีรัฐบาลใดไม่ที่จะรับแนวพระราชดำริมาพิจารณาอย่างจริงจัง เพราะต่างคนก็คิดว่าไม่ใช่ปัญหาใหญ่ หรือไม่ใช่โครงการใหญ่ที่ต้องใช้เทคโนโลยีราคาแพง มองเห็นว่าการเวนคืนที่ดิน การเช่าที่นาทำแก้มลิง การขุดคลอง การลอกคลอง และการสร้างประตูน้ำตามคลองระบายน้ำออกจากแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งทางทิศตะวันตก ตะวันออกนั้น โกงกินลำบาก ต้องดำเนินการหลายขั้นตอน และติดต่องานหลายช่วง ได้รับผลประโยชน์ไม่เป็นกอบเป็นกำ เพราะมันต้องถูกกระจายในหมู่นักการเมืองท้องถิ่นอีกด้วยทั้งยังมีชาวบ้านเฝ้าดูพฤติกรรม
มีประเด็นน่าสนใจศึกษา โดยในปี พ.ศ. 2510 กรมชลประทานได้รับการสนับสนุนจากองค์การความร่วมมือประเทศญี่ปุ่น หรือไจก้า ให้มีการศึกษาแนวทางป้องกันและแก้ไขน้ำท่วม กทม.ซึ่งเป็นที่รู้กันว่า กทม.มีแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นทางน้ำเดียวที่ธรรมชาติใช้ลำเลียงน้ำเหนือลงสู่อ่าวไทย แต่ไม่เห็นมีใครพูดถึงโครงการนี้ว่าได้ดำเนินการกันอย่างไร
ท่ามกลางข่าวที่ว่ามีนายทหารกลุ่มหนึ่ง ได้ประเมินการบริหารบ้านเมืองของนางสาวยิ่งลักษณ์ ภายใต้ภาวะวิกฤตน้ำท่วมว่าไร้ประสิทธิภาพและไม่มีภาวะผู้นำรวม 12 ข้อ และขณะนี้กระจายอยู่ในกระแสอินเทอร์เน็ต
เป็นเรื่องปกติที่ผู้นำจะต้องถูกวิจารณ์ ถูกประเมิน และต้องยอมรับความจริง ทหารเป็นสถาบันหนึ่งที่มีหน่วยงานการศึกษาระดับสูง และเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นสถาบันของทหารทรงคุณค่า และประสบความสำเร็จในการสร้างยุทธศาสตร์ชาติในระดับประเทศหลายครั้ง เช่น วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร จึงไม่สงสัยเลยว่านักคิด นักยุทธศาสตร์ทหารไม่วิเคราะห์วิกฤตครั้งนี้ ถ้าไม่วิเคราะห์ซิเป็นเรื่องผิดปกติ
ภาระความรับผิดชอบถึงพหุมหภัยที่ทำลายสังคมและคุณค่าชีวิตของคนไทยในขณะนี้ เป็นเรื่องที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ต้องคิด และต้องรับผิดชอบ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในวันที่ 16 กรกฎาคม 2519 ความตอนหนึ่งว่า “การรู้จักรับผิด หรือยอมรับว่าอะไรผิดพลาด เสียหาย และเสียหายเพราะอะไร เพียงใดนั้น มีประโยชน์ ทำให้บุคคลรู้จักพิจารณาตนเอง ยอมรับความผิดของตนเองโดยใจจริง เป็นทางที่จะช่วยแก้ไขความผิดได้”
และ ดร.ครรชิต มาลัยวงศ์ ราชบัณฑิต สรุปว่า “จิตสำนึก และความรับผิดชอบ คือความกล้าหาญที่จะต้องตอบคำถามที่ว่าบทบาทของเรา การกระทำของเรา อำนาจการควบคุมของเรา ความคิดอ่านของเรา ความเชื่อของเรา เป็นอย่างไรกับเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ และทำอย่างไรจึงจะเปลี่ยนแปลงสถานการณ์นี้ได้ด้วยตัวเรา”
ในประวัติศาสตร์การเมืองไทยก็มีอย่างน้อย 3 วาระ ที่นายกรัฐมนตรีลาออกครั้งแรกใน พ.ศ. 2487 จอมพล ป.พิบูลสงคราม ลาออก เพราะแพ้คะแนนเสียงในสภาผู้แทนราษฎรเกี่ยวกับ พ.ร.บ.ย้ายเมืองหลวงไปจังหวัดเพชรบูรณ์ และการสร้างศูนย์พุทธศาสนาที่จังหวัดสระบุรี
ครั้งที่สองเมื่อ พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 15 ลาออกจากตำแหน่งใน พ.ศ. 2523 เพราะการตัดสินใจขึ้นราคาน้ำมันตามราคาตลาดโลกที่พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการปฏิวัติโค่นอำนาจพระมหากษัตริย์ โมฮัมเม็ด เรซา ปาลรวี โดย อะยาโตล่า รูฮัลล่า โคโมนี ทำให้อิหร่านลดการผลิตน้ำมันดิบจาก 6 ล้านบาร์เรลต่อวัน เหลือแค่ 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน
ครั้งที่สาม เมื่อ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรี คนที่ 22 ต้องยอมลาออกทั้งๆ ที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่ง เพราะไม่สามารถบริหารนโยบายการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย ทำให้เกิดวิกฤตการเงินเอเชีย พ.ศ. 2540 เรียกว่าสีลมซินโดรม เมื่อปัญญาชนชั้นกลางขับไล่ โดยใช้ถนนสีลมเป็นปราการประท้วงเรียกร้องให้ลาออก เพราะขาดความรู้ สติปัญญา และไหวพริบปฏิภาณต่อสู้กับพลังกองทุนของนายจอร์จ โซรอส แต่รัฐบาลโง่เอาเงินคงคลังไปอุ้มเงินบาทที่ถูกโจมตีทั้งในประเทศและนอกประเทศ โดยเฉพาะพ่อค้าเงินสิงคโปร์กว้านซื้อเก็บเงินบาทและเงินดอลลาร์จนเกิดภาวะขาดแคลนเงินสองตระกูลนี้ในตลาดเงินที่กรุงเทพฯ จนทำให้รัฐบาลเอาคงคลังไล่ซื้อเงินสองตระกูลนี้
แต่เหตุการณ์ทั้ง 3 กรณีการลาออกของนายกรัฐมนตรีไทยในอดีตนั้น เป็นเรื่องการเมืองภายในประเทศ เป็นเรื่องที่รัฐบาลไทยไม่สามารถควบคุมการผลิตน้ำมันดิบของโลกได้ และเป็นความเขลาเบาปัญญาของนักยุทธศาสตร์การเงินไทย ที่ไม่รู้เล่ห์กลของนักค้าเงินต่างชาติ
ทั้งสามเหตุการณ์ประชาชนทั่วไปเดือดร้อนน้อยมาก เพราะคนทั่วไปสามารถลดต้นทุนการกินอยู่ได้ สามารถประหยัดการใช้พลังงานน้ำมันได้ การล่มจมของเศรษฐีและชนชั้นกลางไม่ใช่ความเดือดร้อนของคนระดับล่างซึ่งสามารถประหยัดและไม่ฟุ่มเฟือยอยู่แล้ว แต่ถามว่าวิกฤตน้ำท่วมครั้งนี้คนไทยหลายจังหวัด โดยเฉพาะพระนครศรีอยุธยา นครสวรรค์ และ กทม.ได้รับทุกข์กรรมทั้งร่างกายและจิตใจ และวิกฤตนี้ไม่จางหายไปง่ายๆ นางสาวยิ่งลักษณ์ ควรมีใจพิจารณาให้ดีๆ ว่าควรทำอย่างไร ถึงจะเยียวยาจิตใจคนไทยได้
คนไทยไม่ใช่ญี่ปุ่นที่จะต้องฆ่าตัวตาย เช่น กรณี ยูคิโอะ มิชิมา นักเขียนเลือดบูชิโด จะทำรัฐประหารเพื่อสถาปนาความยิ่งใหญ่ให้กับญี่ปุ่นอีกครั้งใน พ.ศ. 2518 แต่ไม่สำเร็จ เลยประกอบพิธีฆ่าตัวตายแบบซามูไร มิชิมาเคยมาเมืองไทยและชอบเมืองไทย เคยเขียนเรื่องวัดอรุณฯ เป็นนวนิยายกึ่งท่องเที่ยว แต่คนไทยมีวัฒนธรรมและวิธีอื่นๆ ที่เรียบง่ายกว่านี้นายกรัฐมนตรีปูแดงควรแสดงจิตสำนึกความรับผิดชอบ
น้ำท่วมครั้งนี้คนกรุงได้รับความเดือดร้อนร้ายแรงที่สุดกว่าครั้งไหนๆ เพราะวิถีชีวิตสังคมเมืองของคนไทยเปลี่ยนแปลงไปแล้วและซับซ้อนขึ้น และมีระบบสาธารณูปโภคที่ยุ่งยากในการจัดการด้วยเทคโนโลยีสำหรับชุมชนหนึ่ง แต่ขณะที่อีกชุมชนหนึ่งยังคงใช้เทคโนโลยีพื้นฐานซึ่งไม่ซับซ้อนนัก ทำให้เกิดความแตกแยกในความคิดที่จะป้องกันชุมชนของตนเองให้รอดจากน้ำท่วม เกิดช่องว่างของสังคมเมือง เกิดช่องว่างของฐานะ และวิธีคิดในการเอาตัวรอด
การคมนาคมในเมืองหลวงต้องใช้รถยนต์ รถโดยสาร และจักรยานยนต์เป็นหลัก เมื่อน้ำท่วมทำให้การสัญจรในกรุงเทพฯ หลายพื้นที่เป็นอัมพาต
สถาปัตยกรรมและวิศวกรรมโยธา และการก่อสร้างโรงงานบนพื้นราบ เพื่อลดต้นทุนการก่อสร้างและสะดวกในการลำเลียงขนส่งวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูป จึงง่ายต่อการถูกน้ำท่วมจนพังพินาศหมดสิ้นหลายนิคมอุตสาหกรรม
เมื่อการคมนาคมทางบกขาดตอน และการผลิตยุติเพราะขาดวัตถุดิบ ทำให้ระบบธุรกิจตั้งแต่ระดับย่อยไปถึงระดับสูงต้องปิดตัวเองทำให้สินค้าทั้งจำเป็นและไม่จำเป็นขาดตลาด
นิคมอุตสาหกรรมที่ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์รถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ วัตถุดิบการผลิตอาหาร เครื่องดื่ม และเครื่องใช้ในครัวเรือนและสินค้าอื่นๆ ถูกทำลาย หรือต้องปิดโรงงานชั่วคราวเพราะเกรงน้ำท่วม ไม่มีสินค้าส่งออกและอาจจะเสียโอกาสการลงทุนของต่างชาติถาวร
สิ่งปฏิกูลเป็นภัยทางชีวภาพต่อสังคมชุมชนที่ถูกน้ำท่วม และเป็นตัวแปรบ่อนทำลายสภาพจิตใจคนที่ถูกน้ำท่วมได้อย่างร้ายแรงที่สุด เกิดโรคระบาด โรคผิวหนังต่างๆ และภัยจากสัตว์เลื้อยคลานที่มีอันตรายด้วยพิษ ด้วยเขี้ยว และความน่าขยะแขนง
เป็นการยากที่จะบรรยายเป็นคำพูดถึงภัยน้ำท่วมครั้งนี้ได้หมด เพราะมันจุกสมองปัญญาความคิดที่ต้องคิดถึงความเลวร้ายลักษณะต่างๆ และธุรกิจที่ดับสูญทุกขนาดทุน สภาพจิตใจของคน สภาพสัตว์เลี้ยงเลวร้ายมากมายก่ายกองจนสาธยายได้ยากยิ่ง
เชื่อว่าความเจ็บปวดของแต่ละคนที่ได้รับทุกข์ครั้งนี้เกินบรรยาย แต่ทุกคนมีอาการชาในอารมณ์ความรู้สึก ลองถามกลุ่มคนหาเช้ากินค่ำที่ถูกน้ำท่าม จนบ้านพังย่อยยับ รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ถูกน้ำท่วม และโรงงานที่ทำงานต้องปิดตัวเองโดยไม่มีกำหนด เขาจะเป็นอย่างไร
ในหลวงรับสั่งถึงวิธีการรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ทรงใช้เป็นยุทธศาสตร์ป้องกันน้ำท่วมราชธานีได้แก่การเวนคืนที่ดินกันไว้เป็นพื้นที่กักเก็บน้ำไว้ก่อนไม่ท่วมบ้านเรือนตั้งแต่ปี 2538 แต่หามีรัฐบาลใดไม่ที่จะรับแนวพระราชดำริมาพิจารณาอย่างจริงจัง เพราะต่างคนก็คิดว่าไม่ใช่ปัญหาใหญ่ หรือไม่ใช่โครงการใหญ่ที่ต้องใช้เทคโนโลยีราคาแพง มองเห็นว่าการเวนคืนที่ดิน การเช่าที่นาทำแก้มลิง การขุดคลอง การลอกคลอง และการสร้างประตูน้ำตามคลองระบายน้ำออกจากแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งทางทิศตะวันตก ตะวันออกนั้น โกงกินลำบาก ต้องดำเนินการหลายขั้นตอน และติดต่องานหลายช่วง ได้รับผลประโยชน์ไม่เป็นกอบเป็นกำ เพราะมันต้องถูกกระจายในหมู่นักการเมืองท้องถิ่นอีกด้วยทั้งยังมีชาวบ้านเฝ้าดูพฤติกรรม
มีประเด็นน่าสนใจศึกษา โดยในปี พ.ศ. 2510 กรมชลประทานได้รับการสนับสนุนจากองค์การความร่วมมือประเทศญี่ปุ่น หรือไจก้า ให้มีการศึกษาแนวทางป้องกันและแก้ไขน้ำท่วม กทม.ซึ่งเป็นที่รู้กันว่า กทม.มีแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นทางน้ำเดียวที่ธรรมชาติใช้ลำเลียงน้ำเหนือลงสู่อ่าวไทย แต่ไม่เห็นมีใครพูดถึงโครงการนี้ว่าได้ดำเนินการกันอย่างไร
ท่ามกลางข่าวที่ว่ามีนายทหารกลุ่มหนึ่ง ได้ประเมินการบริหารบ้านเมืองของนางสาวยิ่งลักษณ์ ภายใต้ภาวะวิกฤตน้ำท่วมว่าไร้ประสิทธิภาพและไม่มีภาวะผู้นำรวม 12 ข้อ และขณะนี้กระจายอยู่ในกระแสอินเทอร์เน็ต
เป็นเรื่องปกติที่ผู้นำจะต้องถูกวิจารณ์ ถูกประเมิน และต้องยอมรับความจริง ทหารเป็นสถาบันหนึ่งที่มีหน่วยงานการศึกษาระดับสูง และเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นสถาบันของทหารทรงคุณค่า และประสบความสำเร็จในการสร้างยุทธศาสตร์ชาติในระดับประเทศหลายครั้ง เช่น วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร จึงไม่สงสัยเลยว่านักคิด นักยุทธศาสตร์ทหารไม่วิเคราะห์วิกฤตครั้งนี้ ถ้าไม่วิเคราะห์ซิเป็นเรื่องผิดปกติ
ภาระความรับผิดชอบถึงพหุมหภัยที่ทำลายสังคมและคุณค่าชีวิตของคนไทยในขณะนี้ เป็นเรื่องที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ต้องคิด และต้องรับผิดชอบ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในวันที่ 16 กรกฎาคม 2519 ความตอนหนึ่งว่า “การรู้จักรับผิด หรือยอมรับว่าอะไรผิดพลาด เสียหาย และเสียหายเพราะอะไร เพียงใดนั้น มีประโยชน์ ทำให้บุคคลรู้จักพิจารณาตนเอง ยอมรับความผิดของตนเองโดยใจจริง เป็นทางที่จะช่วยแก้ไขความผิดได้”
และ ดร.ครรชิต มาลัยวงศ์ ราชบัณฑิต สรุปว่า “จิตสำนึก และความรับผิดชอบ คือความกล้าหาญที่จะต้องตอบคำถามที่ว่าบทบาทของเรา การกระทำของเรา อำนาจการควบคุมของเรา ความคิดอ่านของเรา ความเชื่อของเรา เป็นอย่างไรกับเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ และทำอย่างไรจึงจะเปลี่ยนแปลงสถานการณ์นี้ได้ด้วยตัวเรา”
ในประวัติศาสตร์การเมืองไทยก็มีอย่างน้อย 3 วาระ ที่นายกรัฐมนตรีลาออกครั้งแรกใน พ.ศ. 2487 จอมพล ป.พิบูลสงคราม ลาออก เพราะแพ้คะแนนเสียงในสภาผู้แทนราษฎรเกี่ยวกับ พ.ร.บ.ย้ายเมืองหลวงไปจังหวัดเพชรบูรณ์ และการสร้างศูนย์พุทธศาสนาที่จังหวัดสระบุรี
ครั้งที่สองเมื่อ พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 15 ลาออกจากตำแหน่งใน พ.ศ. 2523 เพราะการตัดสินใจขึ้นราคาน้ำมันตามราคาตลาดโลกที่พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการปฏิวัติโค่นอำนาจพระมหากษัตริย์ โมฮัมเม็ด เรซา ปาลรวี โดย อะยาโตล่า รูฮัลล่า โคโมนี ทำให้อิหร่านลดการผลิตน้ำมันดิบจาก 6 ล้านบาร์เรลต่อวัน เหลือแค่ 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน
ครั้งที่สาม เมื่อ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรี คนที่ 22 ต้องยอมลาออกทั้งๆ ที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่ง เพราะไม่สามารถบริหารนโยบายการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย ทำให้เกิดวิกฤตการเงินเอเชีย พ.ศ. 2540 เรียกว่าสีลมซินโดรม เมื่อปัญญาชนชั้นกลางขับไล่ โดยใช้ถนนสีลมเป็นปราการประท้วงเรียกร้องให้ลาออก เพราะขาดความรู้ สติปัญญา และไหวพริบปฏิภาณต่อสู้กับพลังกองทุนของนายจอร์จ โซรอส แต่รัฐบาลโง่เอาเงินคงคลังไปอุ้มเงินบาทที่ถูกโจมตีทั้งในประเทศและนอกประเทศ โดยเฉพาะพ่อค้าเงินสิงคโปร์กว้านซื้อเก็บเงินบาทและเงินดอลลาร์จนเกิดภาวะขาดแคลนเงินสองตระกูลนี้ในตลาดเงินที่กรุงเทพฯ จนทำให้รัฐบาลเอาคงคลังไล่ซื้อเงินสองตระกูลนี้
แต่เหตุการณ์ทั้ง 3 กรณีการลาออกของนายกรัฐมนตรีไทยในอดีตนั้น เป็นเรื่องการเมืองภายในประเทศ เป็นเรื่องที่รัฐบาลไทยไม่สามารถควบคุมการผลิตน้ำมันดิบของโลกได้ และเป็นความเขลาเบาปัญญาของนักยุทธศาสตร์การเงินไทย ที่ไม่รู้เล่ห์กลของนักค้าเงินต่างชาติ
ทั้งสามเหตุการณ์ประชาชนทั่วไปเดือดร้อนน้อยมาก เพราะคนทั่วไปสามารถลดต้นทุนการกินอยู่ได้ สามารถประหยัดการใช้พลังงานน้ำมันได้ การล่มจมของเศรษฐีและชนชั้นกลางไม่ใช่ความเดือดร้อนของคนระดับล่างซึ่งสามารถประหยัดและไม่ฟุ่มเฟือยอยู่แล้ว แต่ถามว่าวิกฤตน้ำท่วมครั้งนี้คนไทยหลายจังหวัด โดยเฉพาะพระนครศรีอยุธยา นครสวรรค์ และ กทม.ได้รับทุกข์กรรมทั้งร่างกายและจิตใจ และวิกฤตนี้ไม่จางหายไปง่ายๆ นางสาวยิ่งลักษณ์ ควรมีใจพิจารณาให้ดีๆ ว่าควรทำอย่างไร ถึงจะเยียวยาจิตใจคนไทยได้
คนไทยไม่ใช่ญี่ปุ่นที่จะต้องฆ่าตัวตาย เช่น กรณี ยูคิโอะ มิชิมา นักเขียนเลือดบูชิโด จะทำรัฐประหารเพื่อสถาปนาความยิ่งใหญ่ให้กับญี่ปุ่นอีกครั้งใน พ.ศ. 2518 แต่ไม่สำเร็จ เลยประกอบพิธีฆ่าตัวตายแบบซามูไร มิชิมาเคยมาเมืองไทยและชอบเมืองไทย เคยเขียนเรื่องวัดอรุณฯ เป็นนวนิยายกึ่งท่องเที่ยว แต่คนไทยมีวัฒนธรรมและวิธีอื่นๆ ที่เรียบง่ายกว่านี้นายกรัฐมนตรีปูแดงควรแสดงจิตสำนึกความรับผิดชอบ