นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงปัญหาที่รัฐบาลกำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าล้มเหลวในการบริการจัดการปัญหาอุทกภัย ว่า เชื่อว่ารัฐบาลทำงานเต็มที่แล้ว วันนี้ทุกคนต้องมีน้ำใจ เฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุขกัน เพราะแม้ว่าจะไม่ถูกน้ำท่วม แต่ทุกคนก็ได้รับผลกระทบเหมือนกันหมด ทั้งทางตรงทางอ้อม
อย่างไรก็ตาม ก็ยังเกิดภาพที่ดีจากความร่วมมือร่วมใจของคนไทยทุกคน ดังนั้นยิ่งเราผลักดันน้ำลงทะเลเร็ว ก็จะยิ่งลดความเสียหาย แต่หากน้ำท่วมขังนาน ก็ยิ่งเพิ่มความทุกข์และความเสียหาย ฉะนั้นการทำงานที่มีเอกภาพเท่านั้น จะคลี่คลายสถานการณ์ได้
นายสุวัจน์ กล่าวว่า เราต้องเร่งฟื้นฟูโรงงานอุตสาหกรรมให้เดินสายการผลิตให้ได้ เพราะเริ่มได้เร็วเท่าไร ก็จะฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจได้เร็วขึ้น สินค้าเกิดการหมุนเวียน คนจะมีงานทำ ซึ่งรัฐต้องทำงานหลายอย่างควบคู่กันไป ทั้งการช่วยเหลือประชาชน และเร่งรัดออกมาตรการกอบกู้ฟื้นฟูควบคู่กันไป ที่สำคัญต้องมีมาตรการที่ชัดเจนว่า จะมีแนวทางบริหารจัดการน้ำให้เป็นระบบ และไม่ให้เกิดน้ำท่วมขึ้นอีก ด้วยการกำหนดเป็นแผนแม่บท ว่าจะใช้งบประมาณจำนวนเท่าใด ต้องช่วยฟื้นฟู และเข้าไปช่วยเหลือประชาชน ตรงนี้ต้องมองวิกฤตให้เป็นโอกาส
"ที่น่าเป็นห่วงคือ ผลกระทบหลังจากที่น้ำลดแล้ว ทั้งเรื่องภาวะเศรษฐกิจ การว่างงาน การลงทุนที่ถดถอยลง ทำให้นักลงทุนไม่มั่นใจ และคิดในเรื่องการย้ายฐานการผลิตต่างๆ เราต้องทำงานกันอย่างหนัก ต้องมีภาพที่ร่วมมือกัน โดยภาพที่คนไทยร่วมมือกัน จะเป็นภาพที่ทำให้คนต่างประเทศมีความมั่นใจในประเทศไทย" นายสุวัจน์ กล่าว
เมื่อถามว่าเป็นห่วงเสถียรภาพของรัฐบาล โดยเฉพาะปัญหาภาวะผู้นำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในขณะนี้หรือไม่ นายสุวัจน์ กล่าวว่า นายกฯ มีความตั้งใจแก้ปัญหา และก็เหนื่อยมาก เพราะเป็นปัญหาใหญ่ ซึ่งทุกฝ่ายจะต้องทุ่มเทและร่วมมือกัน ต้องลดความไม่เข้าใจกัน การเมืองก็ปล่อยให้เป็นเรื่องของการเมือง แต่วันนี้เราต้องชะลอการเมือง และเบาลงกันนิด แล้วไปว่ากันหลังสถานการณ์คลี่คลาย ทุกฝ่ายสามารถให้ความคิดเห็น และนำเสนอแนวทางต่อรัฐบาลได้
สำหรับงบประมาณฟื้นฟูน้ำท่วมที่รัฐบาลตั้งไว้ 9 แสนล้านบาทนั้น จะสูงหรือต่ำอย่างไร ต้องยอมที่จะใช้ หากจะกู้ ก็ต้องกู้ เงินต้องใช้อยู่แล้ว เสียก็ต้องเสีย แต่ต้องฟื้นฟูสิ่งที่เสียไป กลับมาให้ได้ ซึ่งตัวเลขจะเป็นเท่าไร คงชัดเจนหลังน้ำลด ต้องสำรวจตัวเลขที่แน่นอนก่อน
" เงินต้องมีการใช้อยู่แล้ว เพราะความสูญเสียครั้งนี้มหาศาล ทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ เพียงแต่ต้องมีการสำรวจตัวเลขที่แน่นอนอีกครั้ง ถึงเวลาเสียก็ต้องเสีย แต่ต้องกู้สิ่งที่เสียไปกลับคืนมาให้ได้" นายสุวัจน์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้เมื่อเวลา 09.00 น. ที่ผ่านมา นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ แกนนำพรรคชาติพัฒนา และ พล.ต.หญิงพูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ ภริยา พร้อมด้วย นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.อุตสาหกรรม หัวหน้าพรรคชาติพัฒนา และนายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ร่วมกันเปิดเปิดศูนย์กระจายความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล ภายใต้ชื่อ “ครัวโคราช ร่วมใจช่วยภัยน้ำท่วม” ซึ่งเป็นความร่วมมือของชาว จ.นครราชสีมา และชมรมเพื่อนสุวัจน์
นายสุวัจน์ ได้กล่าวถึงโครงการความช่วยเหลือของชาวโคราชในครั้งนี้ว่า ได้หารือในหมู่ชาวโคราช ซึ่งเห็นร่วมกันที่จะจัดตั้งครัวโคราช รวมใจ ช่วยภัยน้ำท่วม เพื่อเป็นการตอบแทนคนกทม.และปริมณฑล ที่เคยให้ความช่วยเหลือชาวโคราช เมื่อครั้งประสบอุทกภัยใหญ่ เมื่อช่วงต้นปี 2554 ที่ผ่านมา จึงรวมตัวกัน ทั้งพ่อค้า ประชาชน ในนามชมรม เพื่อนสุวัจน์ ทำอาหารพื้นเมืองบรรจุกล่อง อาทิ ข้าวเหนียวไก่ย่างท่าช้าง ข้าวเหนียวหมูหวานเนื้อเค็ม ผัดหมี่โคราช ขนส่งมาทางรถไฟ โดยได้รับความอนุเคราะห์จากรฟท.ให้ส่งฟรี 1 โบกี้ ในทุกๆวัน โดยจะจัดทำอาหารไว้แจกจ่ายวันละกว่า 12,000 ชุด จัดส่งผ่านทางเหล่าทัพ มูลนิธิต่างๆ และภาคเอกชน ซึ่งผู้ที่ต้องการรับการสนับสนุน สามารถติดต่อได้ที่หมายเลข 0-2241-8276
" หลังจากที่เปิดศูนย์วันแรก เมื่อวันที่ 3 พ.ย. ได้รับเงินบริจาคเบื้องต้นจากหลวงพ่อคูณ เป็นเงิน 99,999 บาท และได้รับบริจาคจากชาวโคราช ในวันแรกรวมกว่า 3 ล้านบาท โดยทางศูนย์จะจัดส่งอาหารมาทุกวัน จนกว่าเหตุการณ์จะคลี่คลาย" นายสุวัจน์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม ก็ยังเกิดภาพที่ดีจากความร่วมมือร่วมใจของคนไทยทุกคน ดังนั้นยิ่งเราผลักดันน้ำลงทะเลเร็ว ก็จะยิ่งลดความเสียหาย แต่หากน้ำท่วมขังนาน ก็ยิ่งเพิ่มความทุกข์และความเสียหาย ฉะนั้นการทำงานที่มีเอกภาพเท่านั้น จะคลี่คลายสถานการณ์ได้
นายสุวัจน์ กล่าวว่า เราต้องเร่งฟื้นฟูโรงงานอุตสาหกรรมให้เดินสายการผลิตให้ได้ เพราะเริ่มได้เร็วเท่าไร ก็จะฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจได้เร็วขึ้น สินค้าเกิดการหมุนเวียน คนจะมีงานทำ ซึ่งรัฐต้องทำงานหลายอย่างควบคู่กันไป ทั้งการช่วยเหลือประชาชน และเร่งรัดออกมาตรการกอบกู้ฟื้นฟูควบคู่กันไป ที่สำคัญต้องมีมาตรการที่ชัดเจนว่า จะมีแนวทางบริหารจัดการน้ำให้เป็นระบบ และไม่ให้เกิดน้ำท่วมขึ้นอีก ด้วยการกำหนดเป็นแผนแม่บท ว่าจะใช้งบประมาณจำนวนเท่าใด ต้องช่วยฟื้นฟู และเข้าไปช่วยเหลือประชาชน ตรงนี้ต้องมองวิกฤตให้เป็นโอกาส
"ที่น่าเป็นห่วงคือ ผลกระทบหลังจากที่น้ำลดแล้ว ทั้งเรื่องภาวะเศรษฐกิจ การว่างงาน การลงทุนที่ถดถอยลง ทำให้นักลงทุนไม่มั่นใจ และคิดในเรื่องการย้ายฐานการผลิตต่างๆ เราต้องทำงานกันอย่างหนัก ต้องมีภาพที่ร่วมมือกัน โดยภาพที่คนไทยร่วมมือกัน จะเป็นภาพที่ทำให้คนต่างประเทศมีความมั่นใจในประเทศไทย" นายสุวัจน์ กล่าว
เมื่อถามว่าเป็นห่วงเสถียรภาพของรัฐบาล โดยเฉพาะปัญหาภาวะผู้นำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในขณะนี้หรือไม่ นายสุวัจน์ กล่าวว่า นายกฯ มีความตั้งใจแก้ปัญหา และก็เหนื่อยมาก เพราะเป็นปัญหาใหญ่ ซึ่งทุกฝ่ายจะต้องทุ่มเทและร่วมมือกัน ต้องลดความไม่เข้าใจกัน การเมืองก็ปล่อยให้เป็นเรื่องของการเมือง แต่วันนี้เราต้องชะลอการเมือง และเบาลงกันนิด แล้วไปว่ากันหลังสถานการณ์คลี่คลาย ทุกฝ่ายสามารถให้ความคิดเห็น และนำเสนอแนวทางต่อรัฐบาลได้
สำหรับงบประมาณฟื้นฟูน้ำท่วมที่รัฐบาลตั้งไว้ 9 แสนล้านบาทนั้น จะสูงหรือต่ำอย่างไร ต้องยอมที่จะใช้ หากจะกู้ ก็ต้องกู้ เงินต้องใช้อยู่แล้ว เสียก็ต้องเสีย แต่ต้องฟื้นฟูสิ่งที่เสียไป กลับมาให้ได้ ซึ่งตัวเลขจะเป็นเท่าไร คงชัดเจนหลังน้ำลด ต้องสำรวจตัวเลขที่แน่นอนก่อน
" เงินต้องมีการใช้อยู่แล้ว เพราะความสูญเสียครั้งนี้มหาศาล ทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ เพียงแต่ต้องมีการสำรวจตัวเลขที่แน่นอนอีกครั้ง ถึงเวลาเสียก็ต้องเสีย แต่ต้องกู้สิ่งที่เสียไปกลับคืนมาให้ได้" นายสุวัจน์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้เมื่อเวลา 09.00 น. ที่ผ่านมา นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ แกนนำพรรคชาติพัฒนา และ พล.ต.หญิงพูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ ภริยา พร้อมด้วย นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.อุตสาหกรรม หัวหน้าพรรคชาติพัฒนา และนายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ร่วมกันเปิดเปิดศูนย์กระจายความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล ภายใต้ชื่อ “ครัวโคราช ร่วมใจช่วยภัยน้ำท่วม” ซึ่งเป็นความร่วมมือของชาว จ.นครราชสีมา และชมรมเพื่อนสุวัจน์
นายสุวัจน์ ได้กล่าวถึงโครงการความช่วยเหลือของชาวโคราชในครั้งนี้ว่า ได้หารือในหมู่ชาวโคราช ซึ่งเห็นร่วมกันที่จะจัดตั้งครัวโคราช รวมใจ ช่วยภัยน้ำท่วม เพื่อเป็นการตอบแทนคนกทม.และปริมณฑล ที่เคยให้ความช่วยเหลือชาวโคราช เมื่อครั้งประสบอุทกภัยใหญ่ เมื่อช่วงต้นปี 2554 ที่ผ่านมา จึงรวมตัวกัน ทั้งพ่อค้า ประชาชน ในนามชมรม เพื่อนสุวัจน์ ทำอาหารพื้นเมืองบรรจุกล่อง อาทิ ข้าวเหนียวไก่ย่างท่าช้าง ข้าวเหนียวหมูหวานเนื้อเค็ม ผัดหมี่โคราช ขนส่งมาทางรถไฟ โดยได้รับความอนุเคราะห์จากรฟท.ให้ส่งฟรี 1 โบกี้ ในทุกๆวัน โดยจะจัดทำอาหารไว้แจกจ่ายวันละกว่า 12,000 ชุด จัดส่งผ่านทางเหล่าทัพ มูลนิธิต่างๆ และภาคเอกชน ซึ่งผู้ที่ต้องการรับการสนับสนุน สามารถติดต่อได้ที่หมายเลข 0-2241-8276
" หลังจากที่เปิดศูนย์วันแรก เมื่อวันที่ 3 พ.ย. ได้รับเงินบริจาคเบื้องต้นจากหลวงพ่อคูณ เป็นเงิน 99,999 บาท และได้รับบริจาคจากชาวโคราช ในวันแรกรวมกว่า 3 ล้านบาท โดยทางศูนย์จะจัดส่งอาหารมาทุกวัน จนกว่าเหตุการณ์จะคลี่คลาย" นายสุวัจน์ กล่าว