วานนี้ (3 พ.ย.) นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศ เปิดเผยว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ลงนามในหนังสือส่งถึงประธานรัฐสภา เพื่อขอให้เปิดประชุมร่วมรัฐสภาในวันที่ 11 พ.ย.นี้ ตามที่ประชุมครม. ที่ให้เปิดการอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 179 ต่อกรณีการปฏิบัติตามคำสั่งมาตรการคุ้มครองชั่วคราว ของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือศาลโลก เมื่อวันที่ 18 ก.ค. ซึ่งศาลโลกกำหนดให้ประเทศไทย และกัมพูชา ส่งรายงานการปฏิบัติตามคำสั่งภายในวันที่ 21 พ.ย.นี้ ดังนั้น จึงต้องเร่งให้มีการพิจารณา
อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติตามคำสั่งของศาลโลก โดยเฉพาะข้อ 1. ที่ให้ถอนทหารออกจากเขตปลอดทหาร 17.8 ตร.กม. ตามที่ศาลโลกกำหนดนั้น ทางทหารในฐานะผู้ปฏิบัติ มีความกังวลว่า การถอนทหารออกจากพื้นที่พิพาท อาจทำให้คนบางกลุ่มออกมากล่าวหาว่าเป็นต้นเหตุให้ประเทศสูญเสียอธิปไตย และนำไปสู่การยื่นฟ้องดำเนินคดี ฐานละเว้นปฏิบัติหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่มิชอบตามกฎหมาย อาญามาตรา 157 ได้
ดังนั้นที่ประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) จึงมีความเห็นมายังรัฐบาล ขอให้เปิดประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อขอความเห็นชอบรองรับการปฏิบัติดังกล่าว เพื่อป้องกันการฟ้องร้องที่จะมีขึ้นได้ในอนาคต
นายสุรพงษ์ กล่าวว่า การปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวไม่กังวลว่าจะถูกฝ่ายค้านหยิบยกมาโจมตีเพราะ สมช.ได้เสนอเรื่องดังกล่าวเข้าที่ประชุมครม. ยุคที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกฯ ซึ่งก็ได้ผ่านความเห็นชอบมาแล้ว รัฐบาลพรรคเพื่อไทย เพียงแต่ดำเนินการสานต่อตามที่กองทัพ และ สมช.เสนอเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม แม้ตนเองในฐานะ รมว.ต่างประเทศ จะต้องเดินทางไปประชุมเอเปก ที่ฮาวาย ล่วงหน้า ตั้งแต่วันที่ 9 พ.ย. ทำให้ไม่สามารถร่วมประชุม และชี้แจงเรื่องดังกล่าวด้วยตัวเองได้ แต่จะมี พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รองนายกฯฝ่ายความมั่นคง พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมว.กลาโหม และพล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี เลขาสมช. เป็นผู้ชี้แจงต่อรัฐสภา โดยมีการซักซ้อมทำความเข้าใจ และเตรียมพร้อมแล้ว
สำหรับกรณีที่มี ส.ว.เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญมาตรา 179 ขอเปิดประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อหารือการแก้ไขและเยียวยาปัญหาน้ำท่วมนั้น คาดว่าจะมีการเสนอต่อที่ประชุม ครม.วันที่ 8 พ.ย.นี้ หาก ครม.เห็นชอบ นายกฯ ก็จะลงนามในหนังสือถึงประธานรัฐสภา เพื่อขอเปิดประชุมในวันที่ 11 พ.ย. โดยพิจารณาต่อจากวาระการปฏิบัติตามคำสั่งมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลกในคราวเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติตามคำสั่งของศาลโลก โดยเฉพาะข้อ 1. ที่ให้ถอนทหารออกจากเขตปลอดทหาร 17.8 ตร.กม. ตามที่ศาลโลกกำหนดนั้น ทางทหารในฐานะผู้ปฏิบัติ มีความกังวลว่า การถอนทหารออกจากพื้นที่พิพาท อาจทำให้คนบางกลุ่มออกมากล่าวหาว่าเป็นต้นเหตุให้ประเทศสูญเสียอธิปไตย และนำไปสู่การยื่นฟ้องดำเนินคดี ฐานละเว้นปฏิบัติหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่มิชอบตามกฎหมาย อาญามาตรา 157 ได้
ดังนั้นที่ประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) จึงมีความเห็นมายังรัฐบาล ขอให้เปิดประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อขอความเห็นชอบรองรับการปฏิบัติดังกล่าว เพื่อป้องกันการฟ้องร้องที่จะมีขึ้นได้ในอนาคต
นายสุรพงษ์ กล่าวว่า การปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวไม่กังวลว่าจะถูกฝ่ายค้านหยิบยกมาโจมตีเพราะ สมช.ได้เสนอเรื่องดังกล่าวเข้าที่ประชุมครม. ยุคที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกฯ ซึ่งก็ได้ผ่านความเห็นชอบมาแล้ว รัฐบาลพรรคเพื่อไทย เพียงแต่ดำเนินการสานต่อตามที่กองทัพ และ สมช.เสนอเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม แม้ตนเองในฐานะ รมว.ต่างประเทศ จะต้องเดินทางไปประชุมเอเปก ที่ฮาวาย ล่วงหน้า ตั้งแต่วันที่ 9 พ.ย. ทำให้ไม่สามารถร่วมประชุม และชี้แจงเรื่องดังกล่าวด้วยตัวเองได้ แต่จะมี พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รองนายกฯฝ่ายความมั่นคง พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมว.กลาโหม และพล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี เลขาสมช. เป็นผู้ชี้แจงต่อรัฐสภา โดยมีการซักซ้อมทำความเข้าใจ และเตรียมพร้อมแล้ว
สำหรับกรณีที่มี ส.ว.เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญมาตรา 179 ขอเปิดประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อหารือการแก้ไขและเยียวยาปัญหาน้ำท่วมนั้น คาดว่าจะมีการเสนอต่อที่ประชุม ครม.วันที่ 8 พ.ย.นี้ หาก ครม.เห็นชอบ นายกฯ ก็จะลงนามในหนังสือถึงประธานรัฐสภา เพื่อขอเปิดประชุมในวันที่ 11 พ.ย. โดยพิจารณาต่อจากวาระการปฏิบัติตามคำสั่งมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลกในคราวเดียวกัน