รอยเตอร์ – คาดการตัดสินใจช็อกโลกของผู้นำกรีซ จะทำให้การลงทุนทั่วโลกหยุดนิ่งอย่างน้อย 10 สัปดาห์ เพียงพอที่จะทำให้เศรษฐกิจโลกกลับสู่ภาวะถดถอยภายในฤดูหนาวนี้
สำหรับนักลงทุนทั่วโลกจำนวนมาก คงยากที่จะดูเบาผลกระทบจากการตัดสินใจสุดเซอร์ไพรส์ในคืนฮัลโลวีนของนายกรัฐมนตรีจอร์จ ปาปันเดรอู ในการเปิดโอกาสให้ชาวกรีกร่วมตัดสินใจว่าจะยอมรับข้อตกลงช่วยเหลือล่าสุดจากสหภาพยุโรป (อียู) หรือไม่
ก่อนหน้านี้ พวกผู้จัดการด้านการเงินเริ่มหารือแนวโน้มที่วิกฤตยูโรโซนอาจจะมีทางออก แต่ตอนนี้ความหวังที่จะเห็นการฟื้นตัวส่งท้ายปีหรือตลาดโลกฟื้นเสถียรภาพกลับริบหรี่ลง
หนึ่งในประเด็นสำคัญสำหรับเศรษฐกิจโลกในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาคือ ข้อมูลความเชื่อมั่นภาคธุรกิจและครัวเรือนในประเทศต่างๆ ที่ต่างติดลบนั้น เป็นการมองแง่ร้ายเกินไปหรือไม่ ตลอดจนมีการให้ความสำคัญกับตลาดที่ผันผวนมากกว่าข้อมูลเศรษฐกิจที่แท้จริงซึ่งเริ่มดีขึ้นหรือเปล่า โดยเฉพาะเศรษฐกิจแดนอินทรี
ตลาดการเงินที่กลับมามีเสถียรภาพช่วงสั้นๆ เมื่อปลายเดือนที่แล้วบ่งชี้ว่า นโยบายการแก้ปัญหายูโรอย่างยั่งยืน กำลังได้รับการยอมรับมากขึ้น
ทว่า เมื่อการประกาศแผนการลงประชามติของกรีซ ก็กระตุ้นให้แบงก์และกองทุนภาครัฐกลับมากังวลอีกครั้ง และดึงยุโรปกลับสู่ความไร้ความแน่นอนด้านนโยบายในระยะเวลาอย่างน้อย 2-3 เดือน กิจกรรมเศรษฐกิจที่แท้จริงอาจกลับเสื่อมถอยลงใหม่
ที่ร้ายคือจังหวะเวลา โดยที่เมื่อวันจันทร์ (31 พ.ย.) องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) เพิ่งออกมาเตือนว่าแนวโน้มอัตราว่างงานทั่วโลกอาจทำสถิติสูงสุดอีกครั้ง
สัญญาณทางการเงินของยุโรปที่ส่วนใหญ่พุ่งทะยานหลังผู้นำอียูซึ่งประชุมกันตั้งแต่วันพุธ(26ต.ค.)จนล่วงเลยเข้าสู่วันพฤหัสบดี(27ต.ค.) ผ่านข้อตกลงลดหนี้กรีซ 50% รวมทั้งแผนเพิ่มทุนธนาคารและขยายกองทุนฟื้นเสถียรภาพการเงิน บัดนี้กลับตาลปัตร
เฉพาะวันอังคาร (1) วันเดียว หุ้นกลุ่มแบงก์ในยูโรโซนดิ่งลง 7% จากระดับเมื่อสิบวันก่อนหน้า ราวกับมาตรการแทรกแซงของซัมมิตอียูไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนยูโรถอยหลังกลับไปเมื่อเกือบ 1 เดือนที่ผ่านมา และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอิตาลีระยะ 10 ปีทำลายสถิติในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ของยูโร
ปรากฏการณ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในยุโรปเท่านั้น แม้มีข้อมูลเศรษฐกิจน่าประทับใจออกมาต่อเนื่องหลายสัปดาห์ หุ้นสหรัฐฯ กลับลดลงกว่า 5% สู่ระดับต่ำสุดในรอบ 10 วัน นับจากผู้นำกรีซประกาศแผนทำประชามติ บ่งชี้ชัดเจนว่าตลาดมองการรอลงประชามติที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างเร็วที่สุดกลางเดือนมกราคมปีหน้า ว่าเป็นตัวการทำให้แผนการฟื้นเสถียรภาพทั้งหมดเมื่อสัปดาห์ที่แล้วหยุดชะงัก
แอนเดรียส์ ยูเทอร์แมนน์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุนทั่วโลกของอาร์ซีเอ็ม บริษัทที่จัดการสินทรัพย์มูลค่าถึง 150,000 ล้านดอลลาร์ ชี้ว่าความไม่แน่นอนเกี่ยวกับผลการลงประชามติ รวมถึงอนาคตของยูโรโซนโดยรวม อาจทำให้ตลาดสินทรัพย์มีความเสี่ยงมากขึ้น
ปัญหาใหญ่กว่านั้นสำหรับนักลงทุนจำนวนมากคือ ไม่ว่าผลการลงประชามติจะออกมาเช่นใด อาจไม่สามารถทำให้สภาพตลาดกลับคืนสู่ระดับเดียวกับช่วงก่อนซัมมิตอียู แต่กลับนำไปสู่ปัญหาใหม่ที่ไม่อาจคาดเดาได้
หากชาวกรีกไม่ยอมรับแผนการช่วยเหลือ ก็เกือบจะแน่นอนว่าจะทำให้เอเธนส์ผิดนัดชำระหนี้อย่างไร้ระบบระเบียบ เนื่องจากรัฐบาลขาดความชอบธรรมในการดำเนินมาตรการรัดเข็มขัดเข้มงวดซึ่งเป็นเงื่อนไขในการขอรับเงินช่วยเหลือ
การผิดนัดชำระหนี้ของกรีซที่จะตามมาด้วยการล้มละลาย จะทำให้มีเสียงเรียกร้องมากขึ้นจากภายนอกและภายในให้กรีซออกจากยูโรโซน กระตุ้นความกลัวและการคาดการณ์ว่าจะมีอีกหลายชาติที่มีปัญหาการเงินรุนแรงต้องถูกขับออกจากระบบเงินสกุลเดียวเช่นกัน
ฟิตช์เตือนเมื่อวันอังคาร (1) ว่าการที่เอเธนส์ปฏิเสธโปรแกรมของอียู-กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) จะทำให้กรีซมีความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้และออกจากยูโรโซนมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลรุนแรงต่อเสถียรภาพการเงินและความอยู่รอดของยูโรโซน และเป็นจุดเริ่มต้นของวงจรอุบาทว์
ผลลัพธ์อีกประการที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือ โอกาสที่ยูโรโซนจะดึงดูดนักลงทุนใหม่ โดยเฉพาะจีน บราซิล หรือรัสเซีย มาร่วมลงทุนในกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (อีเอฟเอสเอฟ) จะลดทอนลง
กระนั้น แม้ชาวกรีกโหวต ‘ผ่าน’ แต่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า การตัดสินใจดำเนินการในเรื่องนี้ของปาปันเดรโอกำลังดึงพื่อนบ้านในยุโรปและตลาดการเงินเข้าสู่สถานการณ์เลวร้ายแล้วในขณะนี้
สำหรับนักลงทุนทั่วโลกจำนวนมาก คงยากที่จะดูเบาผลกระทบจากการตัดสินใจสุดเซอร์ไพรส์ในคืนฮัลโลวีนของนายกรัฐมนตรีจอร์จ ปาปันเดรอู ในการเปิดโอกาสให้ชาวกรีกร่วมตัดสินใจว่าจะยอมรับข้อตกลงช่วยเหลือล่าสุดจากสหภาพยุโรป (อียู) หรือไม่
ก่อนหน้านี้ พวกผู้จัดการด้านการเงินเริ่มหารือแนวโน้มที่วิกฤตยูโรโซนอาจจะมีทางออก แต่ตอนนี้ความหวังที่จะเห็นการฟื้นตัวส่งท้ายปีหรือตลาดโลกฟื้นเสถียรภาพกลับริบหรี่ลง
หนึ่งในประเด็นสำคัญสำหรับเศรษฐกิจโลกในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาคือ ข้อมูลความเชื่อมั่นภาคธุรกิจและครัวเรือนในประเทศต่างๆ ที่ต่างติดลบนั้น เป็นการมองแง่ร้ายเกินไปหรือไม่ ตลอดจนมีการให้ความสำคัญกับตลาดที่ผันผวนมากกว่าข้อมูลเศรษฐกิจที่แท้จริงซึ่งเริ่มดีขึ้นหรือเปล่า โดยเฉพาะเศรษฐกิจแดนอินทรี
ตลาดการเงินที่กลับมามีเสถียรภาพช่วงสั้นๆ เมื่อปลายเดือนที่แล้วบ่งชี้ว่า นโยบายการแก้ปัญหายูโรอย่างยั่งยืน กำลังได้รับการยอมรับมากขึ้น
ทว่า เมื่อการประกาศแผนการลงประชามติของกรีซ ก็กระตุ้นให้แบงก์และกองทุนภาครัฐกลับมากังวลอีกครั้ง และดึงยุโรปกลับสู่ความไร้ความแน่นอนด้านนโยบายในระยะเวลาอย่างน้อย 2-3 เดือน กิจกรรมเศรษฐกิจที่แท้จริงอาจกลับเสื่อมถอยลงใหม่
ที่ร้ายคือจังหวะเวลา โดยที่เมื่อวันจันทร์ (31 พ.ย.) องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) เพิ่งออกมาเตือนว่าแนวโน้มอัตราว่างงานทั่วโลกอาจทำสถิติสูงสุดอีกครั้ง
สัญญาณทางการเงินของยุโรปที่ส่วนใหญ่พุ่งทะยานหลังผู้นำอียูซึ่งประชุมกันตั้งแต่วันพุธ(26ต.ค.)จนล่วงเลยเข้าสู่วันพฤหัสบดี(27ต.ค.) ผ่านข้อตกลงลดหนี้กรีซ 50% รวมทั้งแผนเพิ่มทุนธนาคารและขยายกองทุนฟื้นเสถียรภาพการเงิน บัดนี้กลับตาลปัตร
เฉพาะวันอังคาร (1) วันเดียว หุ้นกลุ่มแบงก์ในยูโรโซนดิ่งลง 7% จากระดับเมื่อสิบวันก่อนหน้า ราวกับมาตรการแทรกแซงของซัมมิตอียูไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนยูโรถอยหลังกลับไปเมื่อเกือบ 1 เดือนที่ผ่านมา และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอิตาลีระยะ 10 ปีทำลายสถิติในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ของยูโร
ปรากฏการณ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในยุโรปเท่านั้น แม้มีข้อมูลเศรษฐกิจน่าประทับใจออกมาต่อเนื่องหลายสัปดาห์ หุ้นสหรัฐฯ กลับลดลงกว่า 5% สู่ระดับต่ำสุดในรอบ 10 วัน นับจากผู้นำกรีซประกาศแผนทำประชามติ บ่งชี้ชัดเจนว่าตลาดมองการรอลงประชามติที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างเร็วที่สุดกลางเดือนมกราคมปีหน้า ว่าเป็นตัวการทำให้แผนการฟื้นเสถียรภาพทั้งหมดเมื่อสัปดาห์ที่แล้วหยุดชะงัก
แอนเดรียส์ ยูเทอร์แมนน์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุนทั่วโลกของอาร์ซีเอ็ม บริษัทที่จัดการสินทรัพย์มูลค่าถึง 150,000 ล้านดอลลาร์ ชี้ว่าความไม่แน่นอนเกี่ยวกับผลการลงประชามติ รวมถึงอนาคตของยูโรโซนโดยรวม อาจทำให้ตลาดสินทรัพย์มีความเสี่ยงมากขึ้น
ปัญหาใหญ่กว่านั้นสำหรับนักลงทุนจำนวนมากคือ ไม่ว่าผลการลงประชามติจะออกมาเช่นใด อาจไม่สามารถทำให้สภาพตลาดกลับคืนสู่ระดับเดียวกับช่วงก่อนซัมมิตอียู แต่กลับนำไปสู่ปัญหาใหม่ที่ไม่อาจคาดเดาได้
หากชาวกรีกไม่ยอมรับแผนการช่วยเหลือ ก็เกือบจะแน่นอนว่าจะทำให้เอเธนส์ผิดนัดชำระหนี้อย่างไร้ระบบระเบียบ เนื่องจากรัฐบาลขาดความชอบธรรมในการดำเนินมาตรการรัดเข็มขัดเข้มงวดซึ่งเป็นเงื่อนไขในการขอรับเงินช่วยเหลือ
การผิดนัดชำระหนี้ของกรีซที่จะตามมาด้วยการล้มละลาย จะทำให้มีเสียงเรียกร้องมากขึ้นจากภายนอกและภายในให้กรีซออกจากยูโรโซน กระตุ้นความกลัวและการคาดการณ์ว่าจะมีอีกหลายชาติที่มีปัญหาการเงินรุนแรงต้องถูกขับออกจากระบบเงินสกุลเดียวเช่นกัน
ฟิตช์เตือนเมื่อวันอังคาร (1) ว่าการที่เอเธนส์ปฏิเสธโปรแกรมของอียู-กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) จะทำให้กรีซมีความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้และออกจากยูโรโซนมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลรุนแรงต่อเสถียรภาพการเงินและความอยู่รอดของยูโรโซน และเป็นจุดเริ่มต้นของวงจรอุบาทว์
ผลลัพธ์อีกประการที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือ โอกาสที่ยูโรโซนจะดึงดูดนักลงทุนใหม่ โดยเฉพาะจีน บราซิล หรือรัสเซีย มาร่วมลงทุนในกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (อีเอฟเอสเอฟ) จะลดทอนลง
กระนั้น แม้ชาวกรีกโหวต ‘ผ่าน’ แต่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า การตัดสินใจดำเนินการในเรื่องนี้ของปาปันเดรโอกำลังดึงพื่อนบ้านในยุโรปและตลาดการเงินเข้าสู่สถานการณ์เลวร้ายแล้วในขณะนี้