ASTVผู้จัดการรายวัน-นักลงทุนจี้รัฐบาลทบทวนแผนบริหารจัดการน้ำใหม่ต้องหาช่องทางระบายน้ำเพิ่มเช่นทำแม่น้ำเจ้าพระยา 2 เพื่อแก้ไขที่ต้นเหตุ เพราะหากให้นิคมฯ ทำคันกั้นถาวรฝ่ายเดียวจะการันตีว่าน้ำไม่มีมากได้อย่างไร วอนรัฐช่วยลงทุนสร้างแนวคันกันน้ำรอบนิคมฯ เหตุใช้เงินสูงแถมไม่ก่อให้เกิดรายได้
นายสง่า ลิมธงชัย ที่ปรึกษาอาวุโส บริษัท เซาท์อีสท์เอเชียเทคโนโลยี่ จำกัด (SEATEC) ในฐานะที่ปรึกษาผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (ไฮเทค) เปิดเผยภายหลังการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อฟื้นฟูนิคมฯ หลังน้ำลดว่า การวางแผนสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมถาวรของนิคมฯ และเขตประกอบการรวม 7 แห่งที่ประสบปัญหาน้ำท่วม เป็นเพียงการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุเท่านั้น เนื่องจากหากระดับปริมาณน้ำมีสูงอีกในอนาคต ภาพรวมเศรษฐกิจก็จะได้รับผลกระทบเช่นเดิม ดังนั้น การแก้ไขจะต้องควบคู่ไปกับการวางแผนบริหารจัดการน้ำที่รัฐบาลจะต้องปรับปรุงใหม่ โดยเอกชนส่วนใหญ่เห็นว่าช่องทางระบายน้ำควรจะมีเพิ่มขึ้นจากเดิมที่น้ำภาคเหนือจะไหลลงมารวมกันที่เจ้าพระยา แม่น้ำบางปะกง และท่าจีนเท่านั้น
“ถ้าเรามีระบบการบริหารจัดการที่ดีน้ำจะไม่ท่วม แต่ละนิคมฯ มาสร้างเขื่อนรอบให้แข็งแรง ไม่ใช่คำตอบทั้งหมด เพราะถ้าน้ำมา ประชาชน เกษตรกรเดือดร้อนก็ไม่ได้ช่วยอะไร รัฐต้องปรับบทบาทเรื่องนี้ใหม่ จะต้องมีทาระบายน้ำ คือ แม่น้ำเจ้าพระยา 2 เพิ่มเข้ามาเป็นทางระบายเพิ่มอีกสายหนึ่ง”นายสง่ากล่าว
สำหรับนิคมฯ ไฮเทคนั้น มีแผนที่จะลงทุนสร้างคันกั้นน้ำถาวรที่เป็นคอนกรีตล้อมรอบความยาว 11 กิโลเมตร โดยจะลงทุนประมาณ 240 ล้านบาทเพื่อสร้างความมั่นใจต่อนักลงทุนในระยะยาว ส่วนการสูบน้ำออกจากนิคมฯ เมื่อน้ำภายนอกลดลงจากคันกั้นดินลงประมาณ 50 เซนติเมตร ซึ่งขณะนี้ลดลงแล้ว 30 เซนติเมตร คาดว่าเร็วสุดจะสูบได้ วันที่ 11 พ.ย.นี้ หลังจากนั้นจะมีการทำความสะอาด วางระบบสาธารณูปโภคให้พร้อมช่วงวันที่ 1-15 ธ.ค.และหลังจากนั้นก็คาดว่าโรงงานจะทยอยเปิดการผลิตได้ช่วงปลายธ.ค.-ม.ค.2555 แต่รายใดที่เครื่องจักรเสียหายหนักต้องนำเข้าอาจใช้เวลานาน 3-6 เดือน
นายทวิช เตชะนาวากุล กรรมการผู้จัดการบริษัท ไทยอินดัสเตรียล เอสเตท จำกัด ผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า(ไฮเทค) กล่าวถึงแผนฟื้นฟูสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมไฮเทคที่ถูกน้ำท่วมว่า คาดว่าต้องใช้เงินในการวางระบบป้องกันน้ำท่วมไร่ละ 100,000 บาท ซึ่งในส่วนของนิคมฯ ไฮเทคมีพื้นที่ประมาณ 2,400 ไร่ ก็คาดว่าจะต้องใช้เงินประมาณ 240 ล้านบาท
รวมทั้งแต่ละนิคมฯ จะต้องลงทุนทำแนวคันกั้นน้ำรอบพื้นที่นิคมฯ ให้ได้มาตรฐาน ซึ่งต้องลงทุนกิโลเมตรละ 25-35 ล้านบาท หรือต้องใช้เงินลงทุนประมาณ 250-350 ล้านบาท
“การที่จะให้เอกชนไปกู้เงินจากรัฐบาลมาใช้ลงทุนฟื้นฟูนิคมนนั้นก็ต้องใช้เวลานาน เพราะมีหลายขั้นตอน ดังนั้น รัฐควรจัดวงเงินหรือสินเชื่อให้ดีกว่า เพราะการลงทุนสร้างแนวคันกั้นน้ำรอบพื้นที่นิคมฯใหม่เป็นการลงทุนที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้”นายทวิช กล่าว
นางอรรชกา สีบุญเรือง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวว่า ขณะนี้ ยังไม่มีนักลงทุนรายใดระบุว่าจะถอนการลงทุนออกไป ซึ่งภายในสัปดาห์นี้จะมีการประชุมบอร์ดบีโอไอที่มีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ ซึ่งได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้เป็นประธาน เพื่อที่จะพิจารณามาตรการช่วยเหลือนักลงทุนที่ประสบปัญหาน้ำท่วมตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ผ่านมา รวมถึงอาจมีการพิจารณาการลงทุนที่ค้างอยู่ราว 200-300 กิจการ
นายสง่า ลิมธงชัย ที่ปรึกษาอาวุโส บริษัท เซาท์อีสท์เอเชียเทคโนโลยี่ จำกัด (SEATEC) ในฐานะที่ปรึกษาผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (ไฮเทค) เปิดเผยภายหลังการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อฟื้นฟูนิคมฯ หลังน้ำลดว่า การวางแผนสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมถาวรของนิคมฯ และเขตประกอบการรวม 7 แห่งที่ประสบปัญหาน้ำท่วม เป็นเพียงการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุเท่านั้น เนื่องจากหากระดับปริมาณน้ำมีสูงอีกในอนาคต ภาพรวมเศรษฐกิจก็จะได้รับผลกระทบเช่นเดิม ดังนั้น การแก้ไขจะต้องควบคู่ไปกับการวางแผนบริหารจัดการน้ำที่รัฐบาลจะต้องปรับปรุงใหม่ โดยเอกชนส่วนใหญ่เห็นว่าช่องทางระบายน้ำควรจะมีเพิ่มขึ้นจากเดิมที่น้ำภาคเหนือจะไหลลงมารวมกันที่เจ้าพระยา แม่น้ำบางปะกง และท่าจีนเท่านั้น
“ถ้าเรามีระบบการบริหารจัดการที่ดีน้ำจะไม่ท่วม แต่ละนิคมฯ มาสร้างเขื่อนรอบให้แข็งแรง ไม่ใช่คำตอบทั้งหมด เพราะถ้าน้ำมา ประชาชน เกษตรกรเดือดร้อนก็ไม่ได้ช่วยอะไร รัฐต้องปรับบทบาทเรื่องนี้ใหม่ จะต้องมีทาระบายน้ำ คือ แม่น้ำเจ้าพระยา 2 เพิ่มเข้ามาเป็นทางระบายเพิ่มอีกสายหนึ่ง”นายสง่ากล่าว
สำหรับนิคมฯ ไฮเทคนั้น มีแผนที่จะลงทุนสร้างคันกั้นน้ำถาวรที่เป็นคอนกรีตล้อมรอบความยาว 11 กิโลเมตร โดยจะลงทุนประมาณ 240 ล้านบาทเพื่อสร้างความมั่นใจต่อนักลงทุนในระยะยาว ส่วนการสูบน้ำออกจากนิคมฯ เมื่อน้ำภายนอกลดลงจากคันกั้นดินลงประมาณ 50 เซนติเมตร ซึ่งขณะนี้ลดลงแล้ว 30 เซนติเมตร คาดว่าเร็วสุดจะสูบได้ วันที่ 11 พ.ย.นี้ หลังจากนั้นจะมีการทำความสะอาด วางระบบสาธารณูปโภคให้พร้อมช่วงวันที่ 1-15 ธ.ค.และหลังจากนั้นก็คาดว่าโรงงานจะทยอยเปิดการผลิตได้ช่วงปลายธ.ค.-ม.ค.2555 แต่รายใดที่เครื่องจักรเสียหายหนักต้องนำเข้าอาจใช้เวลานาน 3-6 เดือน
นายทวิช เตชะนาวากุล กรรมการผู้จัดการบริษัท ไทยอินดัสเตรียล เอสเตท จำกัด ผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า(ไฮเทค) กล่าวถึงแผนฟื้นฟูสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมไฮเทคที่ถูกน้ำท่วมว่า คาดว่าต้องใช้เงินในการวางระบบป้องกันน้ำท่วมไร่ละ 100,000 บาท ซึ่งในส่วนของนิคมฯ ไฮเทคมีพื้นที่ประมาณ 2,400 ไร่ ก็คาดว่าจะต้องใช้เงินประมาณ 240 ล้านบาท
รวมทั้งแต่ละนิคมฯ จะต้องลงทุนทำแนวคันกั้นน้ำรอบพื้นที่นิคมฯ ให้ได้มาตรฐาน ซึ่งต้องลงทุนกิโลเมตรละ 25-35 ล้านบาท หรือต้องใช้เงินลงทุนประมาณ 250-350 ล้านบาท
“การที่จะให้เอกชนไปกู้เงินจากรัฐบาลมาใช้ลงทุนฟื้นฟูนิคมนนั้นก็ต้องใช้เวลานาน เพราะมีหลายขั้นตอน ดังนั้น รัฐควรจัดวงเงินหรือสินเชื่อให้ดีกว่า เพราะการลงทุนสร้างแนวคันกั้นน้ำรอบพื้นที่นิคมฯใหม่เป็นการลงทุนที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้”นายทวิช กล่าว
นางอรรชกา สีบุญเรือง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวว่า ขณะนี้ ยังไม่มีนักลงทุนรายใดระบุว่าจะถอนการลงทุนออกไป ซึ่งภายในสัปดาห์นี้จะมีการประชุมบอร์ดบีโอไอที่มีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ ซึ่งได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้เป็นประธาน เพื่อที่จะพิจารณามาตรการช่วยเหลือนักลงทุนที่ประสบปัญหาน้ำท่วมตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ผ่านมา รวมถึงอาจมีการพิจารณาการลงทุนที่ค้างอยู่ราว 200-300 กิจการ