ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - นครหาดใหญ่มั่นใจแผนป้องกัน“ปลอดน้ำท่วม”เตรียมสวนสาธารณะจอดรถ 40,000 คัน อบจ.สงขลา เตรียมงบกลางเพื่ออุทกภัย 30 ล้านบาท ด้านผู้ว่าฯนราธิวาสมั่นใจแผนการป้องกันและแก้ปัญหาการเกิดอุทกภัยในพื้นที่จะทำให้สามารถดูแลควบคุมสถานการณ์ได้ แม้ปีนี้จะมีปริมาณน้ำเพิ่มสูงขึ้นกว่าทุกปี
นายไพร พัฒโน นายกเทศมนตรีเทศบาลนครหาดใหญ่ เปิดเผยว่า ภาคใต้ฝั่งตะวันออกเป็นช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีฝนตกชุกและหนาแน่น ทน.หาดใหญ่ที่มีข้อจำกัดในด้านภูมิศาสตร์และศักยภาพหวั่นจะเกิดน้ำท่วม จึงได้มีแผนเตรียมการป้องกันและ ให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยไว้อย่างดีแล้ว และแผนฟื้นฟูโดยเอาเหตุการณ์น้ำท่วมปี 2553 กำหนดเป็นแผนยุทธศาสตร์
“แผนอพยพประชาชนมีบ้านพี่เลี้ยง 140 หลังรองรับประชาชนได้ 10,000 คนโรงเรียนเทศบาล 1-5 รวมบ้านพักครูรองรับประชาชนได้ 50,000 คน สวนสาธารณะเทศบาลซึ่งพื้นที่สูงไว้จอดรถยนต์และจักรยานยนต์ได้ 40,000 คัน และได้แบ่งพื้นที่ความรับผิดชอบ 6 เขต มีเจ้าหน้าที่เครื่องจักรกลไว้ 6 ชุด”นายไพร กล่าวและว่า
ตนยังเชื่อมั่นจากมาตรการป้องกันน้ำท่วมเทศบาลนครหาดใหญ่ที่อยู่ในขณะนี้ ทั้งแก้มลิงและพนังกั้นน้ำ สามารถป้องกันเมืองรอดพ้นน้ำท่วมได้ ยกเว้นเกิดพายุและฝนเหมือนกับปี 2553 ที่มีปริมาณน้ำมากกว่าปกติเกินรับมือ แต่ก็มีมาตรการช่วยเหลือประชาชนไว้อย่างดีแล้ว ขอให้ประชาชนที่ได้รับคู่มือรับมือน้ำท่วมเทศบาลที่แจกจ่ายไปแล้วประมาณ 20,000 กว่าเล่มอ่านรายละเอียด
ด้านนายอุทิศ ชูช่วย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) สงขลา เปิดเผยว่า แผนรับมืออุทกภัยของ อบจ.มีเรือท้องแบน 25 ลำ งบกลางเพื่ออุทกภัย 30 ล้านบาท เครื่องจักรกล 3 ชุด รถบรรทุก 10 ตัน และเตรียมศูนย์อพยพที่หอประชุมศรีเกียรติ์พัฒน์ รองรับประชาชน 300 คน
ผู้ว่าฯนราฯมั่นใจแผนรับมือน้ำท่วม
ด้านนายธนน เวชกรกานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส เปิดเผยว่า ปีนี้ จ.นราธิวาสมีมาตรการรับมืออุทกภัยที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะนี้ เนื่องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ออกไปประชุมเพื่อวางแผนกำหนดมาตรการการป้องกันและแก้ปัญหาร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่เกิดน้ำท่วมซ้ำซาก อย่างไรก็ตาม จากการติดตามระดับน้ำใน 3 ลุ่มน้ำหลักพบว่าระดับในแม่น้ำโก-ลกยังต่ำกว่าตลิ่ง 3 เมตรระดับในแม่น้ำสายบุรีต่ำกว่าตลิ่ง 9 เมตร และแม่น้ำบางนรา ต่ำกว่าตลิ่ง 3 เมตร จึงยังสามารถรองรับปริมาณน้ำฝนที่จะเพิ่มสูงขึ้นในช่วงปลายเดือนตุลาคมนี้ได้
ส่วนบริเวณพื้นที่ลาดเชิงเขา ใน อ.ศรีสาคร และ อ.สุคิริน ยังห่วงการเกิดดินสไลด์และดินถล่มซึ่งอาจสร้างความเสียหายให้แก่บ้านเรือนราษฎร จึงได้กำชับให้กำนันผู้ใหญ่บ้านและหน่วยกู้ภัยในพื้นที่เสี่ยงซักซ้อมแผนเผชิญเหตุและการอพยพราษฎรไปอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาในภาวะฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพพร้อมกันนี้ได้ชี้แจงต่อประชาชนในกรณีที่ได้เกิดความตื่นตระหนกว่าการเกิดอุทกภัยในพื้นที่จะอยู่ในภาวะวิกฤตเช่นเดียวกับที่เกิดในหลายจังหวัดของประเทศโดยระบุว่าพื้นที่ จ.นราธิวาส มีทั้งทะเลและภูเขาอีกทั้งอยู่ไม่ห่างไกลจากพื้นที่เกิดน้ำท่วมซ้ำซาก ทำให้น้ำที่เข้าท่วมในพื้นที่แม้จะมากกว่าทุกปีที่ผ่านมาแต่ก็จะท่วมขังในระยะเวลาอันสั้นเนื่องจากจะไหลออกสู่ทะเลอย่างรวดเร็วยืนยันว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกระดับพร้อมดูแลพื้นที่จากการเกิดอุทกภัยได้เต็มระบบ
“สุราษฏร์ฯ-สมุย”พร้อมรับมืออุทกภัย
ทางด้านนายวงศศิริ พรหมชนะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า ความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน และคาดว่าจะแผ่ลงมามีผลกระทบต่ออ่าวไทยและภาคใต้ โดยจะทำให้บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนเพิ่มมากขึ้น และอาจมีฝนหนักหลายพื้นที่ ด้วยเหตุนี้ทางจังหวัดฯจึงได้ประกาศแจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยที่ราบลุ่ม ที่ลาดเชิงเขา ใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ให้ระมัดระวังอุทกภัย น้ำท่วมฉับพลัน ดินโคลนถล่ม น้ำป่าไหลหลากและคลื่นลมแรงระหว่างวันที่ 26 ต.ค.ถึงวันที่ 2 พ.ย.นี้
ด้านนายประเสริฐ จิตมุ่ง นายอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เผยว่า ในช่วงปลายเดือน ต.ค.และพ.ย.นี้มีความเป็นไปได้สูงที่เกาะสมุยจะมีปริมาณฝนค่อนข้างมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากบางพื้นที่ได้รวมทั้งคลื่นลมจะมีกำลังแรงขึ้นด้วย จึงได้สั่งการให้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการในแต่ละตำบลขึ้น
โดยศูนย์ปฏิบัติการนี้จะมีหัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ของอำเภอ และเทศบาล ไปประจำอยู่ทุกจุด ทั้ง 7 จุดใน 7 ตำบลของ อ.เกาะสมุย เพื่อที่จะได้เข้าไปแก้ไขปัญหาเมื่อได้รับแจ้งความเดือดร้อนของประชาชน นอกจากนี้ บริเวณพื้นที่เฉวงซึ่งเป็นสถานท่องเที่ยวที่สำคัญสวยงามและขึ้นชื่อของเกาะสมุยนั้นได้มีการซ้อมแผน การอพยพเคลื่อนย้ายผู้ประสบอุทกภัยเอาไว้แล้ว
อย่างไรก็ตาม จากเหตุการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่อำเภอเกาะสมุยในช่วงระหว่างปลายเดือนมีนาคม ถึงต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมานั้น ทำให้ประชาชนรวมถึงนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวต่างๆได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก เหตุนี้จึงได้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ เอกชน เพื่อให้มีการทำงานให้สอดคล้องกันและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถรับมือสถานการณ์อุทกภัยที่อาจเกิดขึ้นได้
นายไพร พัฒโน นายกเทศมนตรีเทศบาลนครหาดใหญ่ เปิดเผยว่า ภาคใต้ฝั่งตะวันออกเป็นช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีฝนตกชุกและหนาแน่น ทน.หาดใหญ่ที่มีข้อจำกัดในด้านภูมิศาสตร์และศักยภาพหวั่นจะเกิดน้ำท่วม จึงได้มีแผนเตรียมการป้องกันและ ให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยไว้อย่างดีแล้ว และแผนฟื้นฟูโดยเอาเหตุการณ์น้ำท่วมปี 2553 กำหนดเป็นแผนยุทธศาสตร์
“แผนอพยพประชาชนมีบ้านพี่เลี้ยง 140 หลังรองรับประชาชนได้ 10,000 คนโรงเรียนเทศบาล 1-5 รวมบ้านพักครูรองรับประชาชนได้ 50,000 คน สวนสาธารณะเทศบาลซึ่งพื้นที่สูงไว้จอดรถยนต์และจักรยานยนต์ได้ 40,000 คัน และได้แบ่งพื้นที่ความรับผิดชอบ 6 เขต มีเจ้าหน้าที่เครื่องจักรกลไว้ 6 ชุด”นายไพร กล่าวและว่า
ตนยังเชื่อมั่นจากมาตรการป้องกันน้ำท่วมเทศบาลนครหาดใหญ่ที่อยู่ในขณะนี้ ทั้งแก้มลิงและพนังกั้นน้ำ สามารถป้องกันเมืองรอดพ้นน้ำท่วมได้ ยกเว้นเกิดพายุและฝนเหมือนกับปี 2553 ที่มีปริมาณน้ำมากกว่าปกติเกินรับมือ แต่ก็มีมาตรการช่วยเหลือประชาชนไว้อย่างดีแล้ว ขอให้ประชาชนที่ได้รับคู่มือรับมือน้ำท่วมเทศบาลที่แจกจ่ายไปแล้วประมาณ 20,000 กว่าเล่มอ่านรายละเอียด
ด้านนายอุทิศ ชูช่วย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) สงขลา เปิดเผยว่า แผนรับมืออุทกภัยของ อบจ.มีเรือท้องแบน 25 ลำ งบกลางเพื่ออุทกภัย 30 ล้านบาท เครื่องจักรกล 3 ชุด รถบรรทุก 10 ตัน และเตรียมศูนย์อพยพที่หอประชุมศรีเกียรติ์พัฒน์ รองรับประชาชน 300 คน
ผู้ว่าฯนราฯมั่นใจแผนรับมือน้ำท่วม
ด้านนายธนน เวชกรกานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส เปิดเผยว่า ปีนี้ จ.นราธิวาสมีมาตรการรับมืออุทกภัยที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะนี้ เนื่องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ออกไปประชุมเพื่อวางแผนกำหนดมาตรการการป้องกันและแก้ปัญหาร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่เกิดน้ำท่วมซ้ำซาก อย่างไรก็ตาม จากการติดตามระดับน้ำใน 3 ลุ่มน้ำหลักพบว่าระดับในแม่น้ำโก-ลกยังต่ำกว่าตลิ่ง 3 เมตรระดับในแม่น้ำสายบุรีต่ำกว่าตลิ่ง 9 เมตร และแม่น้ำบางนรา ต่ำกว่าตลิ่ง 3 เมตร จึงยังสามารถรองรับปริมาณน้ำฝนที่จะเพิ่มสูงขึ้นในช่วงปลายเดือนตุลาคมนี้ได้
ส่วนบริเวณพื้นที่ลาดเชิงเขา ใน อ.ศรีสาคร และ อ.สุคิริน ยังห่วงการเกิดดินสไลด์และดินถล่มซึ่งอาจสร้างความเสียหายให้แก่บ้านเรือนราษฎร จึงได้กำชับให้กำนันผู้ใหญ่บ้านและหน่วยกู้ภัยในพื้นที่เสี่ยงซักซ้อมแผนเผชิญเหตุและการอพยพราษฎรไปอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาในภาวะฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพพร้อมกันนี้ได้ชี้แจงต่อประชาชนในกรณีที่ได้เกิดความตื่นตระหนกว่าการเกิดอุทกภัยในพื้นที่จะอยู่ในภาวะวิกฤตเช่นเดียวกับที่เกิดในหลายจังหวัดของประเทศโดยระบุว่าพื้นที่ จ.นราธิวาส มีทั้งทะเลและภูเขาอีกทั้งอยู่ไม่ห่างไกลจากพื้นที่เกิดน้ำท่วมซ้ำซาก ทำให้น้ำที่เข้าท่วมในพื้นที่แม้จะมากกว่าทุกปีที่ผ่านมาแต่ก็จะท่วมขังในระยะเวลาอันสั้นเนื่องจากจะไหลออกสู่ทะเลอย่างรวดเร็วยืนยันว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกระดับพร้อมดูแลพื้นที่จากการเกิดอุทกภัยได้เต็มระบบ
“สุราษฏร์ฯ-สมุย”พร้อมรับมืออุทกภัย
ทางด้านนายวงศศิริ พรหมชนะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า ความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน และคาดว่าจะแผ่ลงมามีผลกระทบต่ออ่าวไทยและภาคใต้ โดยจะทำให้บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนเพิ่มมากขึ้น และอาจมีฝนหนักหลายพื้นที่ ด้วยเหตุนี้ทางจังหวัดฯจึงได้ประกาศแจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยที่ราบลุ่ม ที่ลาดเชิงเขา ใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ให้ระมัดระวังอุทกภัย น้ำท่วมฉับพลัน ดินโคลนถล่ม น้ำป่าไหลหลากและคลื่นลมแรงระหว่างวันที่ 26 ต.ค.ถึงวันที่ 2 พ.ย.นี้
ด้านนายประเสริฐ จิตมุ่ง นายอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เผยว่า ในช่วงปลายเดือน ต.ค.และพ.ย.นี้มีความเป็นไปได้สูงที่เกาะสมุยจะมีปริมาณฝนค่อนข้างมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากบางพื้นที่ได้รวมทั้งคลื่นลมจะมีกำลังแรงขึ้นด้วย จึงได้สั่งการให้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการในแต่ละตำบลขึ้น
โดยศูนย์ปฏิบัติการนี้จะมีหัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ของอำเภอ และเทศบาล ไปประจำอยู่ทุกจุด ทั้ง 7 จุดใน 7 ตำบลของ อ.เกาะสมุย เพื่อที่จะได้เข้าไปแก้ไขปัญหาเมื่อได้รับแจ้งความเดือดร้อนของประชาชน นอกจากนี้ บริเวณพื้นที่เฉวงซึ่งเป็นสถานท่องเที่ยวที่สำคัญสวยงามและขึ้นชื่อของเกาะสมุยนั้นได้มีการซ้อมแผน การอพยพเคลื่อนย้ายผู้ประสบอุทกภัยเอาไว้แล้ว
อย่างไรก็ตาม จากเหตุการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่อำเภอเกาะสมุยในช่วงระหว่างปลายเดือนมีนาคม ถึงต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมานั้น ทำให้ประชาชนรวมถึงนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวต่างๆได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก เหตุนี้จึงได้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ เอกชน เพื่อให้มีการทำงานให้สอดคล้องกันและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถรับมือสถานการณ์อุทกภัยที่อาจเกิดขึ้นได้