ASTVผู้จัดการรายวัน- ททท.ประเมินความเสียหาย น้ำท่วมกระทบท่องเที่ยวถึงพ.ย.สูญกว่า 1.6 หมื่นล้านบาท ขณะที่ สสปน. ครวญ น้ำท่วมกระทบไมซ์สูญ 3 พันล้านบาท แถมยังโดยหั่นงบ คาดปีหน้าทำได้แค่ทรงตัว
วานนี้(26 ต.ค.54) การประชุมคณะกรรมการบริหาร(บอร์ด)การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย นายสุรพล เศวตเศรนี ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ ททท. เปิดเผยว่า ได้จัดทำตัวเลขประมาณการณ์ความเสียหายของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอันเกิดจากสถานการณ์น้ำท่วม โดยแบ่งเป็น 3 สมมุติฐาน ใน 3 ระยะๆ คือ 1 เดือน 2 เดือน และ 3 เริ่มจากเดือน ต.ค. ,พ.ย. และ ธ.ค.โดยในสิ้นเดือน ต.ค. นี้ ประเมินว่าตลาดโดเมสติก จะสูญเสียรายได้ 1,010 ล้านบาท ตลาดอินบาวนด์ซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ จะหายไป 7 หมื่นคน สูญรายได้ราว 2,700 ล้านบาท
ถึงเดือน พ.ย.สูญรายได้กว่า 1.6 หมื่นลบ.
หากสถานการณ์ยืดเยื้อไปถึงสิ้นเดือน พ.ย. จะเข้าสู่สมมุติฐานที่ สอง โดยจะนับความเสียหายรวมตั้งแต่กลางเดือน ก.ย.-สิ้นเดือนพ.ย. จะสูญเสียรายได้รวม กว่า 1.6 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นสูญเสียจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 2 แสนคน คิดเป็นมูลค่า 8.5 พันล้านบาท ส่วนตลาดโดเมสติก จะมีนักท่องเที่ยวหายไป รวม 3 ล้านคน คิดเป็นมูลค่า 7.6 พันล้านบาท ส่วนสมมุติฐานที่ 3
คือกรณีสถานการณ์น้ำท่วมยังยืดเยื้อไปถึงเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นไฮซีซั่นที่มีนักท่องเที่ยวสูงสุด หากไปถึงเช่นนั้น ความเสียหายกว่า 2.5 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นตลาดในประเทศ 1.35 หมื่นล้านบาท จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวได้ กว่า 6.9 ล้านคน ตลาดต่างประเทศ จำนวนนักท่องเที่ยวหายไปกว่า 3 แสนคน คิดเป็นเงินกว่า 1.2 หมื่นล้านบาท
อย่างไรก็ตามมีรายงานแจ้งว่า จำนวนต่างชาติที่เดินทางผ่านสนามบินสุวรรณภูมิ เทียบกับวันเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงต่อเนื่อง โดยวันที่ 22 ต.ค.54 ลดลงจากปี 53 ราว 3% ส่วนวันที่ 24 ต.ค.ลดลงจากปีก่อนราว 10% ส่วนภาพรวม วันที่ 1-24 ต.ค.54 จำนวนต่างชาติที่ด่านสุวรรณภูมิยังเพิ่มกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนราว 13.9% ส่วนภาพรวมตลอดปี 2554 คาดว่า จะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติรวม 19.1-19.2ล้านคน รายได้ 737,000 ล้านบาท เพิ่ม 23% ลดลงเล็กน้อยจากแนวโน้มที่คาดว่าจะได้ 19.5 ล้านคน แต่ก็ยังเป็นตัวเลขที่มากกว่า ที่ตั้งเป้าหมายว่าจะได้ 19.5 ล้านคน รายได้ 746,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 26% จากปีก่อน
ไมซ์สูญ 3 พันล้านบาท
ทางด้านนายอรรคพล สรสุชาติ ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ(องค์การมหาชน) หรือ สสปน. กล่าวว่า จากสถานการณ์อุทกภัย ส่งผลให้ธุรกิจไมซ์ ได้รับผลกระทบ เสียโอกาสสร้างรายได้รวม3,000 ล้านบาท จากจำนวนผู้เดินทางกลุ่มไมซ์ ที่คาดว่าจะหายไปราว 1 แสนคน
“ความเสียหายที่เกิดขึ้นมาจากการเลื่อนจัดงาน 14 งาน จึงสูญเสียรายได้กว่า 2.97 พันล้านบาท จากจำนวนผู้เดินทางกว่า 9.64 หมื่นคน”
ปรับลดเป้าปีหน้าขอแค่ทรงตัว
อย่างไรก็ตาม จากปัจจัยลบดังกล่าวประกอบกับปัจจัยลบอื่นๆ เช่น วิกฤตหนี้ในกลุ่มประเทศยุโรป เศรษฐกิจชะลอตัวในอเมริกา ปัญหาเงินเฟ้อในประเทศจีน การคาดการณ์แนวโน้มชะลอการเติบโตทางเศรษฐกิจของ จีดีพี ปีนี้ และการปรับลดงบประมาณของสสปน. ประจำปีงบประมาณ 2555 อีกกว่า 23% ทำให้ สสปน. ตัดสินใจปรับลดการประมาณการณ์เป้าหมายในปีงบประมาณ 2555จากที่คาดว่าจะเติบโตจากปีนี้ 10-15% เป็นคงตัวเลขจำนวนและรายได้เท่ากับปีงบประมาณ 2554 คือ 7.2 แสนคน รายได้ 5.76 หมื่นล้านบาท
ผลจากการปรับลดงบประมาณ มีผลให้ สสปน. ได้รับจัดสรรในปี 2555 เพียง 570 ล้านบาท สสปน.จึงจำเป็นต้องปรับแผนปฎิบัติการณ์ เพราะเงินส่วนหนึ่งต้องนำไปใช้ฟื้นฟูอุตสาหกรรมไมซ์ภายหลังน้ำลด ดังนั้นในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ(ต.ค.-ธ.ค.) จะงดเว้นออกงานโรดโชว์ทั้งหมด ราว 4 งาน แต่จะยังคงเข้าร่วมงานเทรดขนาดใหญ่ และงานที่จัดโดย BIE เพื่อสร้างโอกาสในการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดงานเวิลด์เอ็กโปร์ 2020 ส่วนการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ประชาชนในประเทศ คงต้องชะลอออกไปก่อน
วานนี้(26 ต.ค.54) การประชุมคณะกรรมการบริหาร(บอร์ด)การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย นายสุรพล เศวตเศรนี ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ ททท. เปิดเผยว่า ได้จัดทำตัวเลขประมาณการณ์ความเสียหายของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอันเกิดจากสถานการณ์น้ำท่วม โดยแบ่งเป็น 3 สมมุติฐาน ใน 3 ระยะๆ คือ 1 เดือน 2 เดือน และ 3 เริ่มจากเดือน ต.ค. ,พ.ย. และ ธ.ค.โดยในสิ้นเดือน ต.ค. นี้ ประเมินว่าตลาดโดเมสติก จะสูญเสียรายได้ 1,010 ล้านบาท ตลาดอินบาวนด์ซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ จะหายไป 7 หมื่นคน สูญรายได้ราว 2,700 ล้านบาท
ถึงเดือน พ.ย.สูญรายได้กว่า 1.6 หมื่นลบ.
หากสถานการณ์ยืดเยื้อไปถึงสิ้นเดือน พ.ย. จะเข้าสู่สมมุติฐานที่ สอง โดยจะนับความเสียหายรวมตั้งแต่กลางเดือน ก.ย.-สิ้นเดือนพ.ย. จะสูญเสียรายได้รวม กว่า 1.6 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นสูญเสียจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 2 แสนคน คิดเป็นมูลค่า 8.5 พันล้านบาท ส่วนตลาดโดเมสติก จะมีนักท่องเที่ยวหายไป รวม 3 ล้านคน คิดเป็นมูลค่า 7.6 พันล้านบาท ส่วนสมมุติฐานที่ 3
คือกรณีสถานการณ์น้ำท่วมยังยืดเยื้อไปถึงเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นไฮซีซั่นที่มีนักท่องเที่ยวสูงสุด หากไปถึงเช่นนั้น ความเสียหายกว่า 2.5 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นตลาดในประเทศ 1.35 หมื่นล้านบาท จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวได้ กว่า 6.9 ล้านคน ตลาดต่างประเทศ จำนวนนักท่องเที่ยวหายไปกว่า 3 แสนคน คิดเป็นเงินกว่า 1.2 หมื่นล้านบาท
อย่างไรก็ตามมีรายงานแจ้งว่า จำนวนต่างชาติที่เดินทางผ่านสนามบินสุวรรณภูมิ เทียบกับวันเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงต่อเนื่อง โดยวันที่ 22 ต.ค.54 ลดลงจากปี 53 ราว 3% ส่วนวันที่ 24 ต.ค.ลดลงจากปีก่อนราว 10% ส่วนภาพรวม วันที่ 1-24 ต.ค.54 จำนวนต่างชาติที่ด่านสุวรรณภูมิยังเพิ่มกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนราว 13.9% ส่วนภาพรวมตลอดปี 2554 คาดว่า จะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติรวม 19.1-19.2ล้านคน รายได้ 737,000 ล้านบาท เพิ่ม 23% ลดลงเล็กน้อยจากแนวโน้มที่คาดว่าจะได้ 19.5 ล้านคน แต่ก็ยังเป็นตัวเลขที่มากกว่า ที่ตั้งเป้าหมายว่าจะได้ 19.5 ล้านคน รายได้ 746,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 26% จากปีก่อน
ไมซ์สูญ 3 พันล้านบาท
ทางด้านนายอรรคพล สรสุชาติ ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ(องค์การมหาชน) หรือ สสปน. กล่าวว่า จากสถานการณ์อุทกภัย ส่งผลให้ธุรกิจไมซ์ ได้รับผลกระทบ เสียโอกาสสร้างรายได้รวม3,000 ล้านบาท จากจำนวนผู้เดินทางกลุ่มไมซ์ ที่คาดว่าจะหายไปราว 1 แสนคน
“ความเสียหายที่เกิดขึ้นมาจากการเลื่อนจัดงาน 14 งาน จึงสูญเสียรายได้กว่า 2.97 พันล้านบาท จากจำนวนผู้เดินทางกว่า 9.64 หมื่นคน”
ปรับลดเป้าปีหน้าขอแค่ทรงตัว
อย่างไรก็ตาม จากปัจจัยลบดังกล่าวประกอบกับปัจจัยลบอื่นๆ เช่น วิกฤตหนี้ในกลุ่มประเทศยุโรป เศรษฐกิจชะลอตัวในอเมริกา ปัญหาเงินเฟ้อในประเทศจีน การคาดการณ์แนวโน้มชะลอการเติบโตทางเศรษฐกิจของ จีดีพี ปีนี้ และการปรับลดงบประมาณของสสปน. ประจำปีงบประมาณ 2555 อีกกว่า 23% ทำให้ สสปน. ตัดสินใจปรับลดการประมาณการณ์เป้าหมายในปีงบประมาณ 2555จากที่คาดว่าจะเติบโตจากปีนี้ 10-15% เป็นคงตัวเลขจำนวนและรายได้เท่ากับปีงบประมาณ 2554 คือ 7.2 แสนคน รายได้ 5.76 หมื่นล้านบาท
ผลจากการปรับลดงบประมาณ มีผลให้ สสปน. ได้รับจัดสรรในปี 2555 เพียง 570 ล้านบาท สสปน.จึงจำเป็นต้องปรับแผนปฎิบัติการณ์ เพราะเงินส่วนหนึ่งต้องนำไปใช้ฟื้นฟูอุตสาหกรรมไมซ์ภายหลังน้ำลด ดังนั้นในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ(ต.ค.-ธ.ค.) จะงดเว้นออกงานโรดโชว์ทั้งหมด ราว 4 งาน แต่จะยังคงเข้าร่วมงานเทรดขนาดใหญ่ และงานที่จัดโดย BIE เพื่อสร้างโอกาสในการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดงานเวิลด์เอ็กโปร์ 2020 ส่วนการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ประชาชนในประเทศ คงต้องชะลอออกไปก่อน