สสปน.ร่วมผู้ประกอบการไมซ์ ชง 4 ข้อเสนอต่อรัฐบาล เพื่อรับมือเปิดเสรีอาเซียน แนะจัดชั้นธุรกิจอ่อนไหว พร้อมใช้มาตรการอินเซนทีฟด้านภาษีเฉพาะผู้ประกอบการไทยเป็นโล่กำบัง คู่ไปกับพัฒนาบุคคลากรดีกว่ามาเถียงกันเรื่องค่าแรง 300 บาท ยัน สสปน. มาไกลเกินกว่าจะซุกอยู่ใต้ปีกกระทรวงการท่องเที่ยว
นายอรรคพล สรสุชาติ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ(องค์การมหาชน) หรือ สสปน.เปิดเผยว่า ขณะนี้ สสปน.เตรียมผลักดันข้อเสนอต่อรัฐบาลในประเด็นการเตรียมความพร้อมรับความร่วมมือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) สำหรับอุตสาหกรรมไมซ์ ซึ่งมีทั้งหมด 4 แนวทาง โดยเป็นข้อสรุปที่ได้ภายหลังการร่วมหารือกับภาคเอกชนในอุตสาหกรรมไมซ์ เช่น
1.ผลกระทบด้านดำเนินธุรกิจ จากการแข่งขันที่รุนแรง โดยเฉพาะต้นทุนบริการ จึงเสนอให้ไมซ์จัดอยู่ในกลุ่มสินค้าและบริการที่มีความอ่อนไหวสูง หรือสงวนสิทธิ์ใช้มาตรการอุดหนุนให้แก่ไมซ์ไทยเท่านั้น 2.ควรมีข้อบังคับอนุญาตให้แรงงานต่างชาติเข้ามาทำงานในไทยในบางกลุ่มเท่านั้น ป้องกันปัญหาเคลื่อนย้ายแรงงาน ที่จะกระทบต่อแรงงานไทย3.รัฐเอื้อประโยชน์เรื่องกฎระเบียบต่อไมซ์ไทย 4.พัฒนาศักยภาพแรงงานไทย โดยเฉพาะภาษา เพื่อยกมาตรฐานไมซ์สู่ระดับสากล
ทั้งนี้ ภาคอุตสาหกรรมที่ควรผลักดันให้เข้าอยู่ในกลุ่มธุรกิจที่มีความอ่อนไหวสูง เช่น ธุรกิจขนส่ง ธุรกิจบริการจัดการในพื้นที่จุดหมาย (destination management) ธุรกิจเทคโนโลยีสื่อสาร เพราะเชื่อว่า หากไทยเปิดเสรีคราวเดียวทั้งหมด จะเสียเปรียบชาวต่างชาติทันที
ส่วนนโยบายที่ควรเร่งทำคู่ขนานกันไป ได้แก่ การพัฒนาศักยภาพเพื่อการแข่งขัน เช่น พัฒนาบุคคลากร ส่งเสริมกิจกรรมที่เพิ่มคุณภาพแรงงานมากกว่าสนใจประเด็นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน อย่างที่ถกเถียงกันอยู่ทุกวันนี้ เพราะหลักการเปิดเสรีอาเซียน ประเด็นหลักคือการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือ (skilled labour) ซึ่งหากไทยยังไม่พร้อม จะเสียเปรียบมาก ซึ่งประเด็นนี้ สสปน.จะแนะนำให้รัฐบาลใช้มาตรการภาษี สร้างแรงจูงใจ ให้แก่ผู้ประกอบการที่มีนโยบายพัฒนาฝีมือแรงงานของตัวเอง ด้วยการลดหย่อยหรือเว้นภาษีให้แก่บริษัท
อย่างไรก็ตาม หากให้ประเมินการเติบโตของธุรกิจไมซ์ ในขณะนี้ คาดว่าจะเติบโตได้มีละ 20-25% หากเหตุการณ์ปกติ ขณะที่แผน 5 ปี ที่ สสปน.จัดทำ พร้อมเสนอรัฐบาลในวันที่ 29 ก.ค.54 มีเป้าหมายว่าในปี 2559 ซึ่งสิ้นสุดแผน ไทยจะมีนักท่องเที่ยวกลุ่มไมซ์ เดินทางเข้าประเทศ อยู่ที่ 1 ล้านคน สร้างรายได้ 1 แสนล้านบาท เพิ่มจากปีนี้ ซึ่งตั้งเป้ารายได้ไว้ที่ 7.2 แสนคน รายได้ 5.7 หมื่นล้านบาท
โดยปัจจัยที่สนับสนุนการเติบโดนับจากนี้ไปมี 2 ประเด็น ได้แก่ การเข้าร่วมเออีซี และการเตรียมตัวเป็นเจ้าภาพเวิลด์เอ็กซโป 2020 โดยรัฐบาลควรให้ข้อมูลเชิงลึกแก่เอกชน ในเรื่องการเจรจาต่อรองระดับอาเซียนที่เกิดขึ้น เพื่อให้ธุรกิจนำไปปรับใช้กับนโยบาย และการกำหนดแผนการตลาด
นายอรรคพล กล่าวถึงกรณีมีข่าวจะดึง สสปน.ไปสังกัดในกระทรวงการท่องเที่ยวว่า เป็นสิ่งที่ไม่เห็นด้วย เพราะวันนี้ การทำงานของ สสปน.เราพัฒนามาไกลมากแล้ว ผลักดันให้อุตสาหกรรมไมซ์เติบโตได้ต่อเนื่อง แถมยังเป็นต้นแบบให้หลายประเทศไปปรับใช้ เพราะมีรูปแบบการทำงานที่รวดเร็ว คล่องตัว จึงไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องไปอยู่ในการดูแลของกระทรวงการท่องเที่ยว
นายอรรคพล สรสุชาติ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ(องค์การมหาชน) หรือ สสปน.เปิดเผยว่า ขณะนี้ สสปน.เตรียมผลักดันข้อเสนอต่อรัฐบาลในประเด็นการเตรียมความพร้อมรับความร่วมมือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) สำหรับอุตสาหกรรมไมซ์ ซึ่งมีทั้งหมด 4 แนวทาง โดยเป็นข้อสรุปที่ได้ภายหลังการร่วมหารือกับภาคเอกชนในอุตสาหกรรมไมซ์ เช่น
1.ผลกระทบด้านดำเนินธุรกิจ จากการแข่งขันที่รุนแรง โดยเฉพาะต้นทุนบริการ จึงเสนอให้ไมซ์จัดอยู่ในกลุ่มสินค้าและบริการที่มีความอ่อนไหวสูง หรือสงวนสิทธิ์ใช้มาตรการอุดหนุนให้แก่ไมซ์ไทยเท่านั้น 2.ควรมีข้อบังคับอนุญาตให้แรงงานต่างชาติเข้ามาทำงานในไทยในบางกลุ่มเท่านั้น ป้องกันปัญหาเคลื่อนย้ายแรงงาน ที่จะกระทบต่อแรงงานไทย3.รัฐเอื้อประโยชน์เรื่องกฎระเบียบต่อไมซ์ไทย 4.พัฒนาศักยภาพแรงงานไทย โดยเฉพาะภาษา เพื่อยกมาตรฐานไมซ์สู่ระดับสากล
ทั้งนี้ ภาคอุตสาหกรรมที่ควรผลักดันให้เข้าอยู่ในกลุ่มธุรกิจที่มีความอ่อนไหวสูง เช่น ธุรกิจขนส่ง ธุรกิจบริการจัดการในพื้นที่จุดหมาย (destination management) ธุรกิจเทคโนโลยีสื่อสาร เพราะเชื่อว่า หากไทยเปิดเสรีคราวเดียวทั้งหมด จะเสียเปรียบชาวต่างชาติทันที
ส่วนนโยบายที่ควรเร่งทำคู่ขนานกันไป ได้แก่ การพัฒนาศักยภาพเพื่อการแข่งขัน เช่น พัฒนาบุคคลากร ส่งเสริมกิจกรรมที่เพิ่มคุณภาพแรงงานมากกว่าสนใจประเด็นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน อย่างที่ถกเถียงกันอยู่ทุกวันนี้ เพราะหลักการเปิดเสรีอาเซียน ประเด็นหลักคือการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือ (skilled labour) ซึ่งหากไทยยังไม่พร้อม จะเสียเปรียบมาก ซึ่งประเด็นนี้ สสปน.จะแนะนำให้รัฐบาลใช้มาตรการภาษี สร้างแรงจูงใจ ให้แก่ผู้ประกอบการที่มีนโยบายพัฒนาฝีมือแรงงานของตัวเอง ด้วยการลดหย่อยหรือเว้นภาษีให้แก่บริษัท
อย่างไรก็ตาม หากให้ประเมินการเติบโตของธุรกิจไมซ์ ในขณะนี้ คาดว่าจะเติบโตได้มีละ 20-25% หากเหตุการณ์ปกติ ขณะที่แผน 5 ปี ที่ สสปน.จัดทำ พร้อมเสนอรัฐบาลในวันที่ 29 ก.ค.54 มีเป้าหมายว่าในปี 2559 ซึ่งสิ้นสุดแผน ไทยจะมีนักท่องเที่ยวกลุ่มไมซ์ เดินทางเข้าประเทศ อยู่ที่ 1 ล้านคน สร้างรายได้ 1 แสนล้านบาท เพิ่มจากปีนี้ ซึ่งตั้งเป้ารายได้ไว้ที่ 7.2 แสนคน รายได้ 5.7 หมื่นล้านบาท
โดยปัจจัยที่สนับสนุนการเติบโดนับจากนี้ไปมี 2 ประเด็น ได้แก่ การเข้าร่วมเออีซี และการเตรียมตัวเป็นเจ้าภาพเวิลด์เอ็กซโป 2020 โดยรัฐบาลควรให้ข้อมูลเชิงลึกแก่เอกชน ในเรื่องการเจรจาต่อรองระดับอาเซียนที่เกิดขึ้น เพื่อให้ธุรกิจนำไปปรับใช้กับนโยบาย และการกำหนดแผนการตลาด
นายอรรคพล กล่าวถึงกรณีมีข่าวจะดึง สสปน.ไปสังกัดในกระทรวงการท่องเที่ยวว่า เป็นสิ่งที่ไม่เห็นด้วย เพราะวันนี้ การทำงานของ สสปน.เราพัฒนามาไกลมากแล้ว ผลักดันให้อุตสาหกรรมไมซ์เติบโตได้ต่อเนื่อง แถมยังเป็นต้นแบบให้หลายประเทศไปปรับใช้ เพราะมีรูปแบบการทำงานที่รวดเร็ว คล่องตัว จึงไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องไปอยู่ในการดูแลของกระทรวงการท่องเที่ยว