ASTV ผู้จัดการรายวัน – โบรกฯมองวิกฤตน้ำท่วมสร้างความเสียหายหลายแสนล้านบาท จีดีพีหด โตไม่ถึง4% แน่ หลังหลายกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีโรงงานตั้งอยู่ในนิคมหรือพื้นที่น้ำท่วมโดยเฉพาะอุตฯชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนรถยนต์โดนหนัก ด้านแบงก์ก็ส่อหนี้เอ็นพีแอลขยับเพิ่ม ล่าสุดหลายโบรกฯเตรียมปรับเป้าผลกำไรบริษัทจดทะเบียนใหม่ พร้อมแนะนำจับตาต่างประเทศโดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐฯ และจีน อย่างใกล้ชิด แถมมองวัสดุก่อสร้าง –ค้าปลีก – อาหารได้รับอานิสงส์รอบนี้มากสุด
จากสถานการณ์น้ำท่วมที่รุนแรงมากอีกครั้งของประเทศไทย ส่งผลให้ในหลายจังหวัดได้รับผลกระทบในเรื่องดังกล่าว รวมถึงทำเลที่ตั้งโรงงานเพื่อการผลิตของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)หลายแห่งได้รับผลกระทบด้วย ขณะเดียวกันบางบริษัทได้รับอานิสงส์จากเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน
นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด เปิดเผยว่า บล.ทิส โก้อยู่ระหว่างการปรับประมาณการของบริษัทจดทะเบียนรวมในไตรมาส4/54 เนื่องจาก ผลกระทบน้ำท่วม แต่เชื่อว่าผลกระทบต่อกำไรสุทธิรวมของบริษัทจดทะเบียนในปีนี้ไม่มาก ซึ่งปัจจุบันมองว่ากำไรสุทธิบจ.ปีนี้จะโต 30% จากปีก่อน แต่เชื่อว่าจะไม่มีผลกระทบต่อกำไรบจ.ปี 2555 เนื่องจาก จะสามารถชดเชยกับการที่ได้รับสิทธิประโยชน์เรื่องภาษีนิติบุคคลที่จะลดจาก 30% เหลือ 23 % ในปีหน้า
ส่วนในเรื่องมูลค่าความเสียหายของน้ำท่วมต่อเศรษฐกิจนั้นคาดว่าจะมีมูลค่า 1 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 0.1% ของจีดีพี ทางบล.ทิสโก้คาดว่าจีดีพีปีนี้จะโต กว่า 3% จากเดิมที่คาดว่าจะโต 4%
ล่าสุด บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซียพลัส ออกบทวิเคราะห์ว่า ขณะนี้ฝ่ายวิจัยกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาปรับประมาณการกำไรบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ปีนี้ โดยเฉพาะในงวดไตรมาส 4 ปีนี้ ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมเต็มๆ โดยมีแนวโน้มที่จะปรับประมาณการกำไรกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบหนัก 8 กลุ่ม แต่ก็มีกลุ่มที่ไม่ได้รับผลกระทบและจะได้รับประโยชน์หลังน้ำท่วมลดลง คือ กลุ่มเกษตร-อาหาร กลุ่มศูนย์การค้า กลุ่มขนส่งทางบก กลุ่มวัสดุก่อสร้าง และกลุ่มค้าปลีก เป็นต้น
สำหรับ 8 กลุ่มที่ได้รับผลกระทบ ประกอบด้วย 1.กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งบมจ. สวนอุตสาหกรรมโรจนะ (ROJANA) และบมจ. ไทคอน อินดัสเทรียล คอนเน็คชั่น (TICON) รับผลกระทบเต็มๆ ขณะที่บมจ. นวนคร (TICON) กำลังลุ้นว่าจะโดนหรือไม่ 2.กลุ่มยานยนต์ ผลกระทบจากการหยุดผลิตของค่ายรถฮอนด้า รวมถึงการขาดแคลนชิ้นส่วน จะกระทบต่อแนวโน้มยอดขายทุกบริษัท 3.กลุ่มวินาศภัย การเบิกจ่ายสินไหมจะเพิ่มสูงมาก กระทบบมจ. กรุงเทพประกันภัย และ บมจ. ไทยรับประกันภัยต่อ 4. กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
5.กลุ่มธนาคารพาณิชย์ การเติบโตของสินเชื่อจะหดตัวตาม จีดีพี และอาจจะต้องเจอปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงการผ่อนผันหรือการยืดระยะเวลาชำระหนี้ โดยธนาคารที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ กลุ่มที่เน้นสินเชื่อรายย่อย เช่นทิสโก้ กรุงศรีอยุธยา แลนด์แอนด์เฮ้าส์แบงก์ ทหารไทย เกียรตินาคิน และธนชาต ขณะที่ธนาคารขนาดใหญ่ ได้รับผลกระทบน้อยกว่า 6.กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง โครงการก่อสร้างที่ต้องล่าช้าลง กระทบต่อทุกบริษัท
7.กลุ่มพัฒนาที่อยู่อาศัย คาดว่าจะเกิดการชะลอตัวของการตัดสินใจซื้อบ้าน เพื่อพิจารณาทำเลที่ตั้งโครงการที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งจะทำให้แผนการรับรู้รายได้จากการโอนต้องเลื่อนออกไป เช่น บมจ. พฤกษา เรียลเอสเตท และ 8.กลุ่มท่องเที่ยว เช่นหุ้นโรงแรมอย่าง บมจ. ดิ เอราวัณ กรุ๊ป เป็นต้น
นางสาววชิราลักษณ์ แสงเลิศสิลปชัยผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล.ทรีนิตี้ กล่าวว่า กลุ่มอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้นมาในสัปดาห์ก่อนเป็นฝั่งธุรกิจที่เกี่ยวกับ Commodity เนื่องจากสถานการณ์ภายในประเทศยังคงได้รับความเสียหายประเมินค่าไม่ได้กับกลุ่มที่เกี่ยวกับนิคมอุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิกส์ และยานยนต์ ซึ่งได้รับผลกระทบจากนิคมอุตสาหกรรมในอยุธยาถูกน้ำท่วม ซึ่งโรงงานต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงได้แก่ ROJNA, TICON, AH, HANA, KCE, SVI, SMT ซึ่งอยู่ในพื้นที่เสี่ยง และบางรายถูกผลกระทบจากน้ำท่วมเข้าถึงโรงงานไปแล้ว คาดว่างานนี้จะทำให้ เกิดการสูญเสียอย่างมาก เมื่อประเมินความเสียหายแล้วคงอยู่หลักหลายแสนล้านบาท ทำให้เชื่อว่าความเสียหายของตัวผู้ประกอบการโรงงาน เกิดมากกว่าตัวนิคมเอง และผลกระทบจะเกิดเป็นลูกโซ่ ในการขาดชิ้นส่วนการผลิตสำหรับอุตสาหกรรมใหญ่ เช่นยานยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ระดับนานาชาติต่อไป
สำหรับแนวโน้มในสัปดาห์นี้ (17-21 ต.ค. 54) เป็นสัปดาห์ที่ยังมีสถานการณ์พิเศษเกี่ยวกับการเฝ้าระวังภาวะน้ำท่วมในประเทศ คาดว่าดัชนีจะซื้อขายในกรอบกว้างคล้ายสัปดาห์ก่อน ๆ นอกจากนี้ ยังกังวลการต่อภาวะเงินไหลกลับไปถือสินทรัพย์สกุลเงินเหรียญสหรัฐฯ หลังจากที่ปัญหาวิกฤติในยุโรปยังอยู่ในภาวะเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย ทางจีนเริ่มน่าเป็นห่วงว่าการเติบโตเศรษฐกิจยัง ภาวะเกินดุลลดลง ยอดส่งออกโตน้อยกว่ายอดนำเข้าแสดงถึงภาวะการค้าของจีนไม่ได้สดใสมาก โดยคาดคาดการณ์กรอบดัชนีสัปดาห์นี้(17-21ต.ค.) จะอยู่ที่ 923-960 จุด และเลือกหุ้น DCC, CPF, BCP, TPIPL
ฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ บล.กิมเอ็ง ระบุว่า สถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ในครั้งนี้ ถือว่ารุนแรง เบื้องต้นคาดว่าความเสียหายต่อเศรษฐกิจไม่น่าจะต่ำกว่า 1 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ 0.5-1.0% ของ GDP และคาดว่าน่าจะส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ด้วยเช่นกัน
ส่วนกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง มองว่า ภาวะน้ำท่วมจะเป็นประเด็นที่กดดันกลุ่มรับเหมาก่อสร้างโดยเฉพาะกลุ่มงาน civil ก่อสร้างในขณะที่นี้ โดยผลกระทบระยะสั้น เช่น การชะลองานก่อสร้างในพื้นที่เสี่ยงต่อน้ำท่วม เช่น รถไฟฟ้าสายสีม่วง บริเวณ บางใหญ่ สะพานพระนั่งเกล้า (STEC / CK) ซึ่งความเสี่ยงในอนาคตต่อระดับน้ำที่เพิ่มขึ้นจะทำให้งานก่อสร้างชะลอตัว บริษัทในกลุ่มนี้ คือ CK STEC ITD
ขณะที่ ผลกระทบระยะยาว คือ หลังน้ำลดคาดว่าราคาวัสดุก่อสร้างจะเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้ต้นทุนรับเหมาสูงและกระทบต่อระดับอัตราการทำกำไรขั้นต้นที่ลดลง ประกอบกับอาจจะทำให้แรงงานขาดแคลนมากขึ้นและค่าจ้างสูงขึ้น แนะนำให้หลีกเลี่ยงการลงทุนออกไปก่อน
**วัสดุก่อสร้าง –ค้าปลีก – อาหารได้รับอานิสงส์
ทั้งนี้ บล.เอเชียพลัส ประเมินว่าจากเหตุการ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้ น่าจะส่งผลทางบวกให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆเช่นกัน ได้แก่กลุ่มวัสดุก่อสร้าง ให้น้ำหนักเท่าตลาด โดยเป็นเพียงส่วนน้อยที่เป็นผู้ได้ประโยชน์ เนื่องจากคาดว่าภายหลังน้ำท่วมจะต้องมีการฟื้นฟู ซ่อมแซมทรัพย์สิน หรือถนนหนทาง ทำให้มีความต้องการใช้วัสดุก่อสร้างเพิ่มมากขึ้น เป็นบวกต่อ SCC, SCCC, TPIPL, DCC, TASCO, DRT ด้านกลุ่มค้าปลีก (มากกว่าตลาด) นับว่าเป็นผู้ได้ประโยชน์มากสุดในสถานการณ์นี้ อย่างไรก็ตามคาดว่าผลบวกจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระยะเวลาของน้ำท่วม กล่าวคือ หากเกิดไม่นานจะได้ผลบวกมาก เนื่องจากประชาชนกักตุนสินค้า บวกกับผู้ประกอบการทุกรายต่างได้ทำประกันภัยป้องกันความเสี่ยงไว้ แต่หากกินเวลานานอาจกระทบให้มีการปิดสาขาเพิ่มขึ้น โดยกลุ่มที่มีสาขากระจายไปในพื้นที่มีน้ำท่วม ได้แก่ ROBINS และ CPALL แม้ได้ประโยชน์จากสาขาส่วนใหญ่ที่มีการซื้อสินค้ากักตัว แต่ขณะนี้มีจำนวนสาขาที่ถูกปิดมากขึ้นถึง 70 สาขาแล้ว จึงน่าจะเป็นผู้ที่เสียประโยชน์บ้าง
สำหรับกลุ่มที่ได้ประโยชน์คือ BIGC, MAKRO เนื่องจากจำหน่ายสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพ การที่มีกำลังซื้อเพิ่มในช่วงนี้เพื่อกักตุนสินค้าไว้บริโภค หรือเพื่อบริจาค น่าจะได้รับประโยชน์เต็มที่ และสุดท้ายคือ HMPRO คาดว่าน่าจะได้ประโยชน์เมื่อน้ำลด คาดว่ายอดขายสินค้าจะเพิ่มขึ้น ด้วยความต้องการที่จะซ่อมแซมและฟื้นฟูบ้าน หลังได้รับความเสียหายจากภัยน้ำท่วม
จากสถานการณ์น้ำท่วมที่รุนแรงมากอีกครั้งของประเทศไทย ส่งผลให้ในหลายจังหวัดได้รับผลกระทบในเรื่องดังกล่าว รวมถึงทำเลที่ตั้งโรงงานเพื่อการผลิตของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)หลายแห่งได้รับผลกระทบด้วย ขณะเดียวกันบางบริษัทได้รับอานิสงส์จากเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน
นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด เปิดเผยว่า บล.ทิส โก้อยู่ระหว่างการปรับประมาณการของบริษัทจดทะเบียนรวมในไตรมาส4/54 เนื่องจาก ผลกระทบน้ำท่วม แต่เชื่อว่าผลกระทบต่อกำไรสุทธิรวมของบริษัทจดทะเบียนในปีนี้ไม่มาก ซึ่งปัจจุบันมองว่ากำไรสุทธิบจ.ปีนี้จะโต 30% จากปีก่อน แต่เชื่อว่าจะไม่มีผลกระทบต่อกำไรบจ.ปี 2555 เนื่องจาก จะสามารถชดเชยกับการที่ได้รับสิทธิประโยชน์เรื่องภาษีนิติบุคคลที่จะลดจาก 30% เหลือ 23 % ในปีหน้า
ส่วนในเรื่องมูลค่าความเสียหายของน้ำท่วมต่อเศรษฐกิจนั้นคาดว่าจะมีมูลค่า 1 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 0.1% ของจีดีพี ทางบล.ทิสโก้คาดว่าจีดีพีปีนี้จะโต กว่า 3% จากเดิมที่คาดว่าจะโต 4%
ล่าสุด บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซียพลัส ออกบทวิเคราะห์ว่า ขณะนี้ฝ่ายวิจัยกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาปรับประมาณการกำไรบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ปีนี้ โดยเฉพาะในงวดไตรมาส 4 ปีนี้ ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมเต็มๆ โดยมีแนวโน้มที่จะปรับประมาณการกำไรกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบหนัก 8 กลุ่ม แต่ก็มีกลุ่มที่ไม่ได้รับผลกระทบและจะได้รับประโยชน์หลังน้ำท่วมลดลง คือ กลุ่มเกษตร-อาหาร กลุ่มศูนย์การค้า กลุ่มขนส่งทางบก กลุ่มวัสดุก่อสร้าง และกลุ่มค้าปลีก เป็นต้น
สำหรับ 8 กลุ่มที่ได้รับผลกระทบ ประกอบด้วย 1.กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งบมจ. สวนอุตสาหกรรมโรจนะ (ROJANA) และบมจ. ไทคอน อินดัสเทรียล คอนเน็คชั่น (TICON) รับผลกระทบเต็มๆ ขณะที่บมจ. นวนคร (TICON) กำลังลุ้นว่าจะโดนหรือไม่ 2.กลุ่มยานยนต์ ผลกระทบจากการหยุดผลิตของค่ายรถฮอนด้า รวมถึงการขาดแคลนชิ้นส่วน จะกระทบต่อแนวโน้มยอดขายทุกบริษัท 3.กลุ่มวินาศภัย การเบิกจ่ายสินไหมจะเพิ่มสูงมาก กระทบบมจ. กรุงเทพประกันภัย และ บมจ. ไทยรับประกันภัยต่อ 4. กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
5.กลุ่มธนาคารพาณิชย์ การเติบโตของสินเชื่อจะหดตัวตาม จีดีพี และอาจจะต้องเจอปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงการผ่อนผันหรือการยืดระยะเวลาชำระหนี้ โดยธนาคารที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ กลุ่มที่เน้นสินเชื่อรายย่อย เช่นทิสโก้ กรุงศรีอยุธยา แลนด์แอนด์เฮ้าส์แบงก์ ทหารไทย เกียรตินาคิน และธนชาต ขณะที่ธนาคารขนาดใหญ่ ได้รับผลกระทบน้อยกว่า 6.กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง โครงการก่อสร้างที่ต้องล่าช้าลง กระทบต่อทุกบริษัท
7.กลุ่มพัฒนาที่อยู่อาศัย คาดว่าจะเกิดการชะลอตัวของการตัดสินใจซื้อบ้าน เพื่อพิจารณาทำเลที่ตั้งโครงการที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งจะทำให้แผนการรับรู้รายได้จากการโอนต้องเลื่อนออกไป เช่น บมจ. พฤกษา เรียลเอสเตท และ 8.กลุ่มท่องเที่ยว เช่นหุ้นโรงแรมอย่าง บมจ. ดิ เอราวัณ กรุ๊ป เป็นต้น
นางสาววชิราลักษณ์ แสงเลิศสิลปชัยผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล.ทรีนิตี้ กล่าวว่า กลุ่มอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้นมาในสัปดาห์ก่อนเป็นฝั่งธุรกิจที่เกี่ยวกับ Commodity เนื่องจากสถานการณ์ภายในประเทศยังคงได้รับความเสียหายประเมินค่าไม่ได้กับกลุ่มที่เกี่ยวกับนิคมอุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิกส์ และยานยนต์ ซึ่งได้รับผลกระทบจากนิคมอุตสาหกรรมในอยุธยาถูกน้ำท่วม ซึ่งโรงงานต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงได้แก่ ROJNA, TICON, AH, HANA, KCE, SVI, SMT ซึ่งอยู่ในพื้นที่เสี่ยง และบางรายถูกผลกระทบจากน้ำท่วมเข้าถึงโรงงานไปแล้ว คาดว่างานนี้จะทำให้ เกิดการสูญเสียอย่างมาก เมื่อประเมินความเสียหายแล้วคงอยู่หลักหลายแสนล้านบาท ทำให้เชื่อว่าความเสียหายของตัวผู้ประกอบการโรงงาน เกิดมากกว่าตัวนิคมเอง และผลกระทบจะเกิดเป็นลูกโซ่ ในการขาดชิ้นส่วนการผลิตสำหรับอุตสาหกรรมใหญ่ เช่นยานยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ระดับนานาชาติต่อไป
สำหรับแนวโน้มในสัปดาห์นี้ (17-21 ต.ค. 54) เป็นสัปดาห์ที่ยังมีสถานการณ์พิเศษเกี่ยวกับการเฝ้าระวังภาวะน้ำท่วมในประเทศ คาดว่าดัชนีจะซื้อขายในกรอบกว้างคล้ายสัปดาห์ก่อน ๆ นอกจากนี้ ยังกังวลการต่อภาวะเงินไหลกลับไปถือสินทรัพย์สกุลเงินเหรียญสหรัฐฯ หลังจากที่ปัญหาวิกฤติในยุโรปยังอยู่ในภาวะเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย ทางจีนเริ่มน่าเป็นห่วงว่าการเติบโตเศรษฐกิจยัง ภาวะเกินดุลลดลง ยอดส่งออกโตน้อยกว่ายอดนำเข้าแสดงถึงภาวะการค้าของจีนไม่ได้สดใสมาก โดยคาดคาดการณ์กรอบดัชนีสัปดาห์นี้(17-21ต.ค.) จะอยู่ที่ 923-960 จุด และเลือกหุ้น DCC, CPF, BCP, TPIPL
ฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ บล.กิมเอ็ง ระบุว่า สถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ในครั้งนี้ ถือว่ารุนแรง เบื้องต้นคาดว่าความเสียหายต่อเศรษฐกิจไม่น่าจะต่ำกว่า 1 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ 0.5-1.0% ของ GDP และคาดว่าน่าจะส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ด้วยเช่นกัน
ส่วนกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง มองว่า ภาวะน้ำท่วมจะเป็นประเด็นที่กดดันกลุ่มรับเหมาก่อสร้างโดยเฉพาะกลุ่มงาน civil ก่อสร้างในขณะที่นี้ โดยผลกระทบระยะสั้น เช่น การชะลองานก่อสร้างในพื้นที่เสี่ยงต่อน้ำท่วม เช่น รถไฟฟ้าสายสีม่วง บริเวณ บางใหญ่ สะพานพระนั่งเกล้า (STEC / CK) ซึ่งความเสี่ยงในอนาคตต่อระดับน้ำที่เพิ่มขึ้นจะทำให้งานก่อสร้างชะลอตัว บริษัทในกลุ่มนี้ คือ CK STEC ITD
ขณะที่ ผลกระทบระยะยาว คือ หลังน้ำลดคาดว่าราคาวัสดุก่อสร้างจะเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้ต้นทุนรับเหมาสูงและกระทบต่อระดับอัตราการทำกำไรขั้นต้นที่ลดลง ประกอบกับอาจจะทำให้แรงงานขาดแคลนมากขึ้นและค่าจ้างสูงขึ้น แนะนำให้หลีกเลี่ยงการลงทุนออกไปก่อน
**วัสดุก่อสร้าง –ค้าปลีก – อาหารได้รับอานิสงส์
ทั้งนี้ บล.เอเชียพลัส ประเมินว่าจากเหตุการ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้ น่าจะส่งผลทางบวกให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆเช่นกัน ได้แก่กลุ่มวัสดุก่อสร้าง ให้น้ำหนักเท่าตลาด โดยเป็นเพียงส่วนน้อยที่เป็นผู้ได้ประโยชน์ เนื่องจากคาดว่าภายหลังน้ำท่วมจะต้องมีการฟื้นฟู ซ่อมแซมทรัพย์สิน หรือถนนหนทาง ทำให้มีความต้องการใช้วัสดุก่อสร้างเพิ่มมากขึ้น เป็นบวกต่อ SCC, SCCC, TPIPL, DCC, TASCO, DRT ด้านกลุ่มค้าปลีก (มากกว่าตลาด) นับว่าเป็นผู้ได้ประโยชน์มากสุดในสถานการณ์นี้ อย่างไรก็ตามคาดว่าผลบวกจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระยะเวลาของน้ำท่วม กล่าวคือ หากเกิดไม่นานจะได้ผลบวกมาก เนื่องจากประชาชนกักตุนสินค้า บวกกับผู้ประกอบการทุกรายต่างได้ทำประกันภัยป้องกันความเสี่ยงไว้ แต่หากกินเวลานานอาจกระทบให้มีการปิดสาขาเพิ่มขึ้น โดยกลุ่มที่มีสาขากระจายไปในพื้นที่มีน้ำท่วม ได้แก่ ROBINS และ CPALL แม้ได้ประโยชน์จากสาขาส่วนใหญ่ที่มีการซื้อสินค้ากักตัว แต่ขณะนี้มีจำนวนสาขาที่ถูกปิดมากขึ้นถึง 70 สาขาแล้ว จึงน่าจะเป็นผู้ที่เสียประโยชน์บ้าง
สำหรับกลุ่มที่ได้ประโยชน์คือ BIGC, MAKRO เนื่องจากจำหน่ายสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพ การที่มีกำลังซื้อเพิ่มในช่วงนี้เพื่อกักตุนสินค้าไว้บริโภค หรือเพื่อบริจาค น่าจะได้รับประโยชน์เต็มที่ และสุดท้ายคือ HMPRO คาดว่าน่าจะได้ประโยชน์เมื่อน้ำลด คาดว่ายอดขายสินค้าจะเพิ่มขึ้น ด้วยความต้องการที่จะซ่อมแซมและฟื้นฟูบ้าน หลังได้รับความเสียหายจากภัยน้ำท่วม