ลำปาง - รุมจับพิรุธ สำนักงานจังหวัดลำปาง ตั้งโครงการถลุงงบครึ่งล้านอบรมนักประชาสัมพันธ์มีเงื่อนงำ สื่อลำปางตบเท้าจี้สางข้อเท็จจริงด่วน ขณะที่ผู้เสนอโครงการ ยอมรับเจ้าของโครงการตัวจริง เป็น ขรก.หญิง ที่ขอตัวมาช่วยราชการ แถมยอมรับมีการเปลี่ยนแปลงตัวโครงการจริง ด้านรองผู้ว่าฯรับจะเร่งตรวจสอบให้สังคมรับรู้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็วๆนี้ ผู้สื่อข่าวลำปาง ทั้งสังกัดสื่อในท้องถิ่นและส่วนกลาง กว่า 30 คน ได้เข้าพบนายสุวรรณ กล่าวสุนทร รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางรักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เพื่อเรียกร้องให้ตรวจสอบโครงการอบรมนักประชาสัมพันธ์โครงการมหัศจรรย์งานวัฒนธรรมรำลึกประวัติศาสตร์นครลำปาง ที่พบว่า จังหวัดร่วมกับสื่อมวลชนบางราย และออแกนไนเซอรื ดำเนินงานส่อไปในทางไม่โปร่งใส ล่าสุดรองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ได้รับปากว่า จะเร่งดำเนินการตรวจสอบเรื่องดังกล่าวให้เร็วที่สุด พร้อมกับเรียกได้เชิญนางชุลีวันทน์ สายสิงห์ทอง หัวหน้าสำนักงานจังหวัดลำปาง เข้าชี้แจงถึงที่มาที่ไปของโครงการด้วย
ทั้งนี้ สื่อมวลชนหลายสำนักที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับกับการดำเนินงานไว้หลายประเด็น ดังต่อไปนี้
เริ่มต้นจากการนำเสนอโครงการฯ มีนางชุลีวันทร์ สายสิงห์ทอง หัวหน้าสำนักงานจังหวัดลำปาง เป็นผู้เสนอโครงการ เมื่อวันที่ 9 ก.ย.2554ด้วยงบประมาณ 500,000 บาท นายสุวรรณ กล่าวสุนทร รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เห็นชอบ -นายอธิคม สุพรรณพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นผู้อนุมัติโครงการ ขณะเดียวกันยังมีนายสุวัฒน์ พรมสุวรรณ ปลัดจังหวัดลำปาง รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นผู้ลงนามเห็นชอบด้วย นอกจากนั้นยังมี ดต.หญิงนงเยาว์ อาทิตยานนท์ ช่วยราชการ สนง.ลป. เป็นผู้เสนอ เพื่อเรียนเชิญผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางเป็นประธานเปิดงาน
จากข้อมูลทั้งหมดพบว่า ในวันที่ 9 ก.ย.2554 ตามวาระการปฏิบัติราชการของผู้ว่าราชการ ต้องไปราชการที่กรุงเทพมหานคร โดยมีปลัดจังหวัดลำปาง เป็นผู้รักษาราชการแทน แต่มีลายเซ็นผู้ว่าราชการจังหวัดเซ็นอนุมัติโครงการในวันดังกล่าว ซึ่งก็หมายความว่า ในวันที่9ก.ย.2554จังหวัดลำปาง มีทั้งผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง และผู้รักษาราชการ พร้อมกันสองคน
ในเรื่องดังกล่าวได้รับคำชี้แจงจากนายสง่า บังระดก หัวหน้างานยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัด ว่า ผู้ที่เซ็นเอกสารเซ็นกันคนละวัน วันที่ 9 ก.ย.2554 มีปลัดจังหวัดรักษาราชการ เป็นผู้เซ็นเอกสาร ส่วนผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางน่าจะเซ็นในวันที่10 ก.ย. หลังกลับจากราชการที่กรุงเทพฯ ในวันเสาร์ การระบุวันที่ผู้ว่าราชการเซ็นเอกสารไม่ชัดเจน จะต้องมีการตรวจสอบเอกสารตัวจริงอีกครั้ง
นางชุลีวันทน์ ชี้แจงว่า โครงการนี้ใช้งบยุทธศาสตร์จึงไม่สามารถมอบหมายให้สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดดำเนินงานได้ ประกอบกับเป็นใช้เงินจากงบประมาณเหลือจ่ายที่ต้องทำด้วยความเร่งด่วน เนื่องจากหากหมดงบประมาณจะต้องถูกส่งเงินคืนและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจะต้องมีความผิดทางวินัย
อย่างไรก็ตาม เมื่อตรวจสอบต่อไป พบว่า ผู้ที่จะสามารถช่วยด้านประชาสัมพันธ์งานของจังหวัดได้ดีที่สุดคือสื่อมวลชนที่เป็นวิชาชีพและปฏิบัติหน้าที่จริง จึงจะสามารถทำให้การประชาสัมพันธ์ออกสู่สาธารณะชนได้อย่างกว้างขว้าง แต่ที่ดำเนินโครงการกลับมีผู้ที่ทำหน้าที่ดังกล่าวไม่ถึง10 %ของจำนวนผู้เข้าอบรมทั้งหมด200คน
สำหรับเรื่องนี้ นางชุลีวันทน์ ยอมรับว่า ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงการจริง เนื่องจากต้องการเปิดโอกาสให้แก่ประชาชนทั่วไป แต่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงด้านเอกสาร ซึ่งทำให้ผู้สื่อข่าวมองว่าหากเป็นเช่นนั้น ปัญหาที่ต้องการแก้ไขให้ดีขึ้นก็คงไม่มีความหมายและยิ่งไม่มีความจำเป็นต้องใช้เงินถึงห้าแสนมาจัดโครงการนี้
นอกจากนี้นางชุลีวันทน์ ยังยอมรับด้วยว่า โครงการดังกล่าว มีนางนงเยาว์ อาทิตยานนท์ เป็นเจ้าของโครงการที่แท้จริงอีกด้วย ซึ่งนางนงเยาว์ หรือ ดต.หญิงนงเยาว์ อาทิตยานนท์ ได้ระบุในหนังสือขออนุมัติโครงการว่า ช่วยราชการ สำนักงานจังหวัดลำปาง แต่กลับเป็นเจ้าของโครงการเสียเอง
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวได้ขอตรวจสอบการขอตัวมาช่วยราชการของนางนงเยาว์ หรือ ดต.หญิง นงเยาว์ อาทิตยานนท์ แล้วว่ามาช่วยราชการในตำแหน่งไหนและใครเป็นผู้ขอตัวมาช่วยราชการและหน่วยงานที่ขอตัวมีความจำเป็นอย่างไรที่ขอตัวบุคคลดังกล่าวมาช่วยราชการ
ต่อข้อถามที่ว่า สำนักงานจังหวัดลำปาง ไม่ได้มีหน้าที่ในการอบรมนักประชาสัมพันธ์ ผู้สื่อข่าว และการจัดทำบัตรประจำตัวผู้สื่อข่าวที่ออกให้ สังกัดหน่วยงานใด และผู้ที่เข้าอบรมที่มิใช่สื่อวิชาชีพ จะเข้าทำงานด้านประชาสัมพันธ์ตามบัตรประจำตัวที่ออกให้อย่างไร และเกี่ยวข้องกับสำนักงานจังหวัดลำปางอย่างไร
นางชุลีวันทน์ ชี้แจงว่า สำนักงานจังหวัดลำปางไม่มีหน้าที่ออกบัตรผู้สื่อข่าว แต่หน่วยงานที่ส่งมาจะเป็นผู้ออกบัตรประจำตัวของแต่ละหน่วยงานเอง สำนักงานฯเพียงแต่จะจัดทำทำเนียบเพื่อติดต่อประสานงานเท่านั้น
ส่วนประเด็นที่ว่าจากปัญหาด้านประชาสัมพันธ์ที่ผ่านมาตามผลการสำรวจการจัดโครงการจะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างไร เมื่อผู้ที่จะทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ไม่ใช่ผู้สื่อข่าวหรือนักประชาสัมพันธ์วิชาชีพ ในประเด็นนี้ไม่ได้รับคำชี้แจงแต่อย่างใด
นอกจากนี้ยังพบอีกว่าการเชิญผู้ที่เข้าร่วมการอบรม ได้ดำเนินงานอย่างเร่งด่วน โดยทำเป็นหนังสือด่วนที่สุด ลงวันที่9ก.ย.2554 ที่ ลป 0016.3/ว 3727 ขณะเดียวกันยังพบว่า บางหน่วยงานได้รับหนังสือดังกล่าว ลงวันที่10ก.ย.2554 เลขที่ออกหนังสือแต่เลขเดียวกัน แต่ทว่าวันที่10 ก.ย.2554 ตรงกับวันหยุดราชการคือวันเสาร์ และบางหน่วยยังมีการลงรับหนังสือก่อนวันออกหนังสือคือวันที่9ก.ย.2554อีกต่างหาก ซึ่งทำให้เห็นได้ว่าแม้แต่หนังสือเชิญก็ยังพบความผิดปกติหลายอย่างที่ส่อไปในทางที่ไม่ถูกต้องอีกด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็วๆนี้ ผู้สื่อข่าวลำปาง ทั้งสังกัดสื่อในท้องถิ่นและส่วนกลาง กว่า 30 คน ได้เข้าพบนายสุวรรณ กล่าวสุนทร รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางรักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เพื่อเรียกร้องให้ตรวจสอบโครงการอบรมนักประชาสัมพันธ์โครงการมหัศจรรย์งานวัฒนธรรมรำลึกประวัติศาสตร์นครลำปาง ที่พบว่า จังหวัดร่วมกับสื่อมวลชนบางราย และออแกนไนเซอรื ดำเนินงานส่อไปในทางไม่โปร่งใส ล่าสุดรองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ได้รับปากว่า จะเร่งดำเนินการตรวจสอบเรื่องดังกล่าวให้เร็วที่สุด พร้อมกับเรียกได้เชิญนางชุลีวันทน์ สายสิงห์ทอง หัวหน้าสำนักงานจังหวัดลำปาง เข้าชี้แจงถึงที่มาที่ไปของโครงการด้วย
ทั้งนี้ สื่อมวลชนหลายสำนักที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับกับการดำเนินงานไว้หลายประเด็น ดังต่อไปนี้
เริ่มต้นจากการนำเสนอโครงการฯ มีนางชุลีวันทร์ สายสิงห์ทอง หัวหน้าสำนักงานจังหวัดลำปาง เป็นผู้เสนอโครงการ เมื่อวันที่ 9 ก.ย.2554ด้วยงบประมาณ 500,000 บาท นายสุวรรณ กล่าวสุนทร รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เห็นชอบ -นายอธิคม สุพรรณพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นผู้อนุมัติโครงการ ขณะเดียวกันยังมีนายสุวัฒน์ พรมสุวรรณ ปลัดจังหวัดลำปาง รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นผู้ลงนามเห็นชอบด้วย นอกจากนั้นยังมี ดต.หญิงนงเยาว์ อาทิตยานนท์ ช่วยราชการ สนง.ลป. เป็นผู้เสนอ เพื่อเรียนเชิญผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางเป็นประธานเปิดงาน
จากข้อมูลทั้งหมดพบว่า ในวันที่ 9 ก.ย.2554 ตามวาระการปฏิบัติราชการของผู้ว่าราชการ ต้องไปราชการที่กรุงเทพมหานคร โดยมีปลัดจังหวัดลำปาง เป็นผู้รักษาราชการแทน แต่มีลายเซ็นผู้ว่าราชการจังหวัดเซ็นอนุมัติโครงการในวันดังกล่าว ซึ่งก็หมายความว่า ในวันที่9ก.ย.2554จังหวัดลำปาง มีทั้งผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง และผู้รักษาราชการ พร้อมกันสองคน
ในเรื่องดังกล่าวได้รับคำชี้แจงจากนายสง่า บังระดก หัวหน้างานยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัด ว่า ผู้ที่เซ็นเอกสารเซ็นกันคนละวัน วันที่ 9 ก.ย.2554 มีปลัดจังหวัดรักษาราชการ เป็นผู้เซ็นเอกสาร ส่วนผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางน่าจะเซ็นในวันที่10 ก.ย. หลังกลับจากราชการที่กรุงเทพฯ ในวันเสาร์ การระบุวันที่ผู้ว่าราชการเซ็นเอกสารไม่ชัดเจน จะต้องมีการตรวจสอบเอกสารตัวจริงอีกครั้ง
นางชุลีวันทน์ ชี้แจงว่า โครงการนี้ใช้งบยุทธศาสตร์จึงไม่สามารถมอบหมายให้สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดดำเนินงานได้ ประกอบกับเป็นใช้เงินจากงบประมาณเหลือจ่ายที่ต้องทำด้วยความเร่งด่วน เนื่องจากหากหมดงบประมาณจะต้องถูกส่งเงินคืนและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจะต้องมีความผิดทางวินัย
อย่างไรก็ตาม เมื่อตรวจสอบต่อไป พบว่า ผู้ที่จะสามารถช่วยด้านประชาสัมพันธ์งานของจังหวัดได้ดีที่สุดคือสื่อมวลชนที่เป็นวิชาชีพและปฏิบัติหน้าที่จริง จึงจะสามารถทำให้การประชาสัมพันธ์ออกสู่สาธารณะชนได้อย่างกว้างขว้าง แต่ที่ดำเนินโครงการกลับมีผู้ที่ทำหน้าที่ดังกล่าวไม่ถึง10 %ของจำนวนผู้เข้าอบรมทั้งหมด200คน
สำหรับเรื่องนี้ นางชุลีวันทน์ ยอมรับว่า ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงการจริง เนื่องจากต้องการเปิดโอกาสให้แก่ประชาชนทั่วไป แต่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงด้านเอกสาร ซึ่งทำให้ผู้สื่อข่าวมองว่าหากเป็นเช่นนั้น ปัญหาที่ต้องการแก้ไขให้ดีขึ้นก็คงไม่มีความหมายและยิ่งไม่มีความจำเป็นต้องใช้เงินถึงห้าแสนมาจัดโครงการนี้
นอกจากนี้นางชุลีวันทน์ ยังยอมรับด้วยว่า โครงการดังกล่าว มีนางนงเยาว์ อาทิตยานนท์ เป็นเจ้าของโครงการที่แท้จริงอีกด้วย ซึ่งนางนงเยาว์ หรือ ดต.หญิงนงเยาว์ อาทิตยานนท์ ได้ระบุในหนังสือขออนุมัติโครงการว่า ช่วยราชการ สำนักงานจังหวัดลำปาง แต่กลับเป็นเจ้าของโครงการเสียเอง
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวได้ขอตรวจสอบการขอตัวมาช่วยราชการของนางนงเยาว์ หรือ ดต.หญิง นงเยาว์ อาทิตยานนท์ แล้วว่ามาช่วยราชการในตำแหน่งไหนและใครเป็นผู้ขอตัวมาช่วยราชการและหน่วยงานที่ขอตัวมีความจำเป็นอย่างไรที่ขอตัวบุคคลดังกล่าวมาช่วยราชการ
ต่อข้อถามที่ว่า สำนักงานจังหวัดลำปาง ไม่ได้มีหน้าที่ในการอบรมนักประชาสัมพันธ์ ผู้สื่อข่าว และการจัดทำบัตรประจำตัวผู้สื่อข่าวที่ออกให้ สังกัดหน่วยงานใด และผู้ที่เข้าอบรมที่มิใช่สื่อวิชาชีพ จะเข้าทำงานด้านประชาสัมพันธ์ตามบัตรประจำตัวที่ออกให้อย่างไร และเกี่ยวข้องกับสำนักงานจังหวัดลำปางอย่างไร
นางชุลีวันทน์ ชี้แจงว่า สำนักงานจังหวัดลำปางไม่มีหน้าที่ออกบัตรผู้สื่อข่าว แต่หน่วยงานที่ส่งมาจะเป็นผู้ออกบัตรประจำตัวของแต่ละหน่วยงานเอง สำนักงานฯเพียงแต่จะจัดทำทำเนียบเพื่อติดต่อประสานงานเท่านั้น
ส่วนประเด็นที่ว่าจากปัญหาด้านประชาสัมพันธ์ที่ผ่านมาตามผลการสำรวจการจัดโครงการจะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างไร เมื่อผู้ที่จะทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ไม่ใช่ผู้สื่อข่าวหรือนักประชาสัมพันธ์วิชาชีพ ในประเด็นนี้ไม่ได้รับคำชี้แจงแต่อย่างใด
นอกจากนี้ยังพบอีกว่าการเชิญผู้ที่เข้าร่วมการอบรม ได้ดำเนินงานอย่างเร่งด่วน โดยทำเป็นหนังสือด่วนที่สุด ลงวันที่9ก.ย.2554 ที่ ลป 0016.3/ว 3727 ขณะเดียวกันยังพบว่า บางหน่วยงานได้รับหนังสือดังกล่าว ลงวันที่10ก.ย.2554 เลขที่ออกหนังสือแต่เลขเดียวกัน แต่ทว่าวันที่10 ก.ย.2554 ตรงกับวันหยุดราชการคือวันเสาร์ และบางหน่วยยังมีการลงรับหนังสือก่อนวันออกหนังสือคือวันที่9ก.ย.2554อีกต่างหาก ซึ่งทำให้เห็นได้ว่าแม้แต่หนังสือเชิญก็ยังพบความผิดปกติหลายอย่างที่ส่อไปในทางที่ไม่ถูกต้องอีกด้วย