วันที่ 10 ตุลาคม ปีนี้ ครบรอบร้อยปีของการปฏิวัติซินไฮ่ ที่นำไปสู่การสิ้นสุดของการปกครองในระบอบศักดินาจีน ที่ดำเนินมาเนิ่นนานกว่าสองพันปี ตั้งแต่สมัยฉินสื่อหวงตี้ (จิ๋นซีฮ่องเต้) (ก่อน ค.ศ. 221-206) คนจีนทั่วโลกพากันจัดงานรำลึกกันในรูปแบบต่างๆ กันอย่างต่อเนื่องตลอดเดือนตุลาคม และมาถึงจุดสูงสุดเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พรรคและรัฐบาลจีนที่กรุงปักกิ่งได้จัดงานรำลึกอย่างเป็นทางการ โดยเน้นถึงคุณูปการของผู้นำการปฏิวัติ คือ ดร.ซุนยัดเซ็น หรือ ดร.ซุนจงซัน ในการชูคำขวัญ “เจิ้นซิงจงหัว” หรือ “สร้างความรุ่งเรืองให้แก่ประเทศจีน” นับตั้งแต่วันแรกของการก่อตั้งขบวนการปฏิวัติในปลายศตวรรษที่ 19
ปณิธานของ ดร.ซุน กำลังได้รับการตอบสนอง จากการนำประเทศจีนไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองแบบใหม่ของผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีนรุ่นใหม่
ประธานาธิบดีหูจิ่นเทา ได้กล่าวในพิธีรำลึกที่จัดขึ้น ณ มหาศาลาประชาชน (เหรินหมินต้าฮุ่ยถัง) เมื่อเช้าวันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม ว่า การปฏิวัติซินไฮ่ ที่นำโดย ดร.ซุนยัดเซ็น คือจุดเริ่มต้นของการ “เจิ้นซิงจงหัว” และชาวพรรคคอมมิวนิสต์จีน ได้ถือเป็นภารกิจสานต่อมาโดยตลอด พร้อมกับยกย่อง ดร.ซุนยัดเซ็นว่า เป็นวีรชนที่ยิ่งใหญ่ของประชาชาติจีน
ในทางประวัติศาสตร์ การปฏิวัติซินไฮ่เป็นความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ของคนจีน ในการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของจีน ให้สอดคล้องกับกระแสคลื่นการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกเพื่อการยืนยงอยู่ต่อไปของประชาชาติจีน (จงหัวหมินจู๋) เมื่อสามารถโค่นล้มระบอบการปกครองแบบศักดินาได้สำเร็จ อันเป็นการเปิดประตูประวัติศาสตร์ให้แก่ประเทศจีน ก้าวไปสู่ยุคใหม่ ซึ่งเป็นความปรารถนาร่วมกันของชาวจีนโดยรวม ที่ได้สั่งสมมาเรื่อยๆ ตั้งแต่จีนพ่ายแพ้อังกฤษในสงครามฝิ่น และพ่ายแพ้ต่อฝรั่งเศส รัสเซีย และญี่ปุ่นในสงครามน้อยใหญ่ ใน “ทุกๆ ครั้ง” ที่มีกรณีพิพาทกัน จนต้องสูญเสียดินแดนและอำนาจอธิปไตยไปมากมายมหาศาล โดยที่อำนาจปกครองในระบอบศักดินาของราชวงศ์แมนจู (ชิง) ไม่อาจรับมือได้
สภาวะจิตใจของคนจีนรักชาติ ในห้วงก่อนการเปลี่ยนแปลง ทั้งสิ้นหวังในอำนาจปกครองของระบอบศักดินาและมุ่งมั่นอย่างยิ่งที่จะหาทางกอบกู้ประเทศชาติให้พ้นจากความล่มจม เพื่อก้าวไปสู่การ “เจิ้นซิงจงหัว”
การเปลี่ยนแปลง “สองจังหวะ” จึงเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ นั่นคือ จะต้องโค่นล้มระบอบการปกครองแบบศักดินาลงไปก่อน แล้วสร้างระบอบการปกครองแบบใหม่ เพื่อเดินหน้าสร้างชาติให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป
ระบอบการปกครองแบบใหม่ที่พวกเขาเลือกก็คือ ระบอบสาธารณรัฐ ตามอย่างประเทศตะวันตก
ต่อมาในยุคของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ได้สถาปนาระบอบการปกครอง “สาธารณรัฐประชาชน” ที่ต่างไปจากประเทศตะวันตก และปัจจุบันได้พัฒนามาเป็นการปกครองที่มีเอกลักษณ์ของตนเอง ที่เรียกกันเต็มๆ ว่า “ระบอบสังคมนิยมเอกลักษณ์จีน” คือเป็นระบอบสาธารณรัฐที่ถือเอาผลประโยชน์ของประชาชนเป็นตัวตั้ง มิใช่ถือเอาผลประโยชน์ของกลุ่มทุนเป็นตัวตั้ง ตามที่เป็นไปอยู่ในกลุ่มประเทศตะวันตก
ทั้งนี้ พรรคคอมมิวนิสต์จีนถือว่า สิ่งที่พวกเขากระทำไม่ได้แปลกแยกไปจากปณิธานเบื้องต้นของ ดร.ซุนยัดเซ็น แต่ประการใด เพราะได้ยึดมั่นในเป้าหมาย “เจิ้นซิงจงหัว” อย่างมั่นคง ซึ่งสอดคล้องกับความเรียกร้องต้องการของคนจีนทั่วโลก ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ทั้งบนผืนแผ่นดินใหญ่และบนเกาะไต้หวัน และในดินแดนโพ้นทะเลที่มีบรรดา “ลูกหลานมังกร” ดำเนินชีวิตอยู่
“เจิ้นซิงจงหัว” จึงเป็น “ธง” ผืนเดียวกันของบรรดา “เลือดมังกร” ทั้งหลาย ที่จะไม่แตกแยกกันอีกต่อไป
ในมุมมองของผู้เขียน สถานภาพที่เปลี่ยนไปของประเทศจีนทุกวันนี้ ทำให้สิ่งที่พรรคและรัฐบาลจีนนำเสนอ ซึ่งก็คือ “ธง” แห่งการ “เจิ้นซิงจงหัว” จะสามารถดำเนินไปได้อย่างเป็นจริง เพราะศักยภาพทางเศรษฐกิจการเมืองที่นับวันแข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ ทำให้คู่แข่งทางการเมือง ไม่ว่าจะมาจากรัฐบาลไทเป หรือกลุ่มประเทศตะวันตก ไม่อาจต่อกรได้
ซึ่งเป็นสภาวะตรงกันข้ามอย่างยิ่งกับจีนเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว ที่ไม่อาจต่อกรได้กับใครเลย รบร้อยครั้ง แพ้ร้อยครั้ง จนเกือบจะสิ้นชาติ สูญพันธุ์
ปณิธานของ ดร.ซุน กำลังได้รับการตอบสนอง จากการนำประเทศจีนไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองแบบใหม่ของผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีนรุ่นใหม่
ประธานาธิบดีหูจิ่นเทา ได้กล่าวในพิธีรำลึกที่จัดขึ้น ณ มหาศาลาประชาชน (เหรินหมินต้าฮุ่ยถัง) เมื่อเช้าวันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม ว่า การปฏิวัติซินไฮ่ ที่นำโดย ดร.ซุนยัดเซ็น คือจุดเริ่มต้นของการ “เจิ้นซิงจงหัว” และชาวพรรคคอมมิวนิสต์จีน ได้ถือเป็นภารกิจสานต่อมาโดยตลอด พร้อมกับยกย่อง ดร.ซุนยัดเซ็นว่า เป็นวีรชนที่ยิ่งใหญ่ของประชาชาติจีน
ในทางประวัติศาสตร์ การปฏิวัติซินไฮ่เป็นความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ของคนจีน ในการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของจีน ให้สอดคล้องกับกระแสคลื่นการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกเพื่อการยืนยงอยู่ต่อไปของประชาชาติจีน (จงหัวหมินจู๋) เมื่อสามารถโค่นล้มระบอบการปกครองแบบศักดินาได้สำเร็จ อันเป็นการเปิดประตูประวัติศาสตร์ให้แก่ประเทศจีน ก้าวไปสู่ยุคใหม่ ซึ่งเป็นความปรารถนาร่วมกันของชาวจีนโดยรวม ที่ได้สั่งสมมาเรื่อยๆ ตั้งแต่จีนพ่ายแพ้อังกฤษในสงครามฝิ่น และพ่ายแพ้ต่อฝรั่งเศส รัสเซีย และญี่ปุ่นในสงครามน้อยใหญ่ ใน “ทุกๆ ครั้ง” ที่มีกรณีพิพาทกัน จนต้องสูญเสียดินแดนและอำนาจอธิปไตยไปมากมายมหาศาล โดยที่อำนาจปกครองในระบอบศักดินาของราชวงศ์แมนจู (ชิง) ไม่อาจรับมือได้
สภาวะจิตใจของคนจีนรักชาติ ในห้วงก่อนการเปลี่ยนแปลง ทั้งสิ้นหวังในอำนาจปกครองของระบอบศักดินาและมุ่งมั่นอย่างยิ่งที่จะหาทางกอบกู้ประเทศชาติให้พ้นจากความล่มจม เพื่อก้าวไปสู่การ “เจิ้นซิงจงหัว”
การเปลี่ยนแปลง “สองจังหวะ” จึงเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ นั่นคือ จะต้องโค่นล้มระบอบการปกครองแบบศักดินาลงไปก่อน แล้วสร้างระบอบการปกครองแบบใหม่ เพื่อเดินหน้าสร้างชาติให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป
ระบอบการปกครองแบบใหม่ที่พวกเขาเลือกก็คือ ระบอบสาธารณรัฐ ตามอย่างประเทศตะวันตก
ต่อมาในยุคของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ได้สถาปนาระบอบการปกครอง “สาธารณรัฐประชาชน” ที่ต่างไปจากประเทศตะวันตก และปัจจุบันได้พัฒนามาเป็นการปกครองที่มีเอกลักษณ์ของตนเอง ที่เรียกกันเต็มๆ ว่า “ระบอบสังคมนิยมเอกลักษณ์จีน” คือเป็นระบอบสาธารณรัฐที่ถือเอาผลประโยชน์ของประชาชนเป็นตัวตั้ง มิใช่ถือเอาผลประโยชน์ของกลุ่มทุนเป็นตัวตั้ง ตามที่เป็นไปอยู่ในกลุ่มประเทศตะวันตก
ทั้งนี้ พรรคคอมมิวนิสต์จีนถือว่า สิ่งที่พวกเขากระทำไม่ได้แปลกแยกไปจากปณิธานเบื้องต้นของ ดร.ซุนยัดเซ็น แต่ประการใด เพราะได้ยึดมั่นในเป้าหมาย “เจิ้นซิงจงหัว” อย่างมั่นคง ซึ่งสอดคล้องกับความเรียกร้องต้องการของคนจีนทั่วโลก ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ทั้งบนผืนแผ่นดินใหญ่และบนเกาะไต้หวัน และในดินแดนโพ้นทะเลที่มีบรรดา “ลูกหลานมังกร” ดำเนินชีวิตอยู่
“เจิ้นซิงจงหัว” จึงเป็น “ธง” ผืนเดียวกันของบรรดา “เลือดมังกร” ทั้งหลาย ที่จะไม่แตกแยกกันอีกต่อไป
ในมุมมองของผู้เขียน สถานภาพที่เปลี่ยนไปของประเทศจีนทุกวันนี้ ทำให้สิ่งที่พรรคและรัฐบาลจีนนำเสนอ ซึ่งก็คือ “ธง” แห่งการ “เจิ้นซิงจงหัว” จะสามารถดำเนินไปได้อย่างเป็นจริง เพราะศักยภาพทางเศรษฐกิจการเมืองที่นับวันแข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ ทำให้คู่แข่งทางการเมือง ไม่ว่าจะมาจากรัฐบาลไทเป หรือกลุ่มประเทศตะวันตก ไม่อาจต่อกรได้
ซึ่งเป็นสภาวะตรงกันข้ามอย่างยิ่งกับจีนเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว ที่ไม่อาจต่อกรได้กับใครเลย รบร้อยครั้ง แพ้ร้อยครั้ง จนเกือบจะสิ้นชาติ สูญพันธุ์