นายสุวรรณ แทนสถิตย์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ธนาคารได้ออกสินเชื่อพิเศษภายใต้โครงการ "สินเชื่อบัวหลวงเอสเอ็มอีบรรเทาทุกข์จากอุทกภัย" สำหรับการฟื้นฟูธุรกิจหลังจากน้ำลดแล้ว โดยมีวงเงินรวม 5,000 ล้านบาท ลูกค้าสามารถกู้ระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี ระยะยาวไม่เกิน 5 ปี วงเงินกู้สูงสุดรายละ 20 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5 ในปีแรก หลังจากปีแรกคิดอัตรา MLR โดยลูกค้าสามารถติดต่อขอรายละเอียดและยื่นกู้ได้ที่สำนักธุรกิจที่ใช้บริการอยู่ตั้งแต่บัดนี้จนถึง 30 ธันวาคม 2554
นอกจากนี้ ธนาคารยังมีมาตรการช่วยเหลือลูกค้าบุคคล โดยจะพิจารณาผ่อนปรนการผ่อนชำระ ปรับลดอัตราดอกเบี้ย ปรับโครงสร้างหนี้ หรือให้สินเชื่อเพิ่มเติมเพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัย ด้วยอัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนพิเศษในปีแรกร้อยละ 5 และเป็นอัตรา MRR ในปีถัดไป โดยสามารถผ่อนชำระสินเชื่อที่กู้เพิ่มได้สูงสุด 5 ปี ลูกค้าสามารถติดต่อขอรายละเอียดและยื่นกู้ได้ที่ทุกสาขาของธนาคาร ตั้งแต่บัดนี้ จนถึง 30 ธันวาคม 2554
**SCBเผยมีลูกค้ากระทบ560ราย**
นางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)(SCB)กล่าวว่า จากเหตุการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัดขณะนี้ จนกระทั่งปัจจุบันมีลูกค้าติดต่อขอความช่วยเหลือเข้ามาเป็นระยะ แบ่งเป็นลูกค้าบุคคลประมาณกว่า 500 ราย ลูกค้าธุรกิจประมาณ 60 ราย ซึ่งส่วนใหญ่มาจากลูกค้าที่อยู่ในเขตภาคกลางและภาคเหนือ
โดยลูกค้าสินเชื่อรายย่อยที่ใช้บริการสินเชื่อเคหะ และสินเชื่อธุรกิจรายย่อย (SSME) สามารถเลือกความช่วยเหลือได้ 2 แบบ คือ 1) การพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นระยะเวลาสูงสุดไม่เกิน 6 เดือน หรือ 2) วงเงินกู้พิเศษเพื่อการซ่อมแซมบ้านสูงสุด 120% ของราคาประเมินเดิมหักยอดหนี้ที่เหลืออยู่ ส่วนลูกค้าบุคคลประเภทอื่นสามารถขอพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 3 เดือน
สำหรับลูกค้าธุรกิจผู้ประกอบการ SME ธนาคารมอบความช่วยเหลือโดยจะพิจารณาตามแต่กรณี ได้แก่ การพักชำระเงินต้น ,พักการชำระเงินต้นและดอกเบี้ย ,ยืดระยะเวลาการผ่อนชำระ ,ลดดอกเบี้ยปกติได้ไม่เกิน 1% นานสูงสุด 6 เดือน และให้วงเงินเบิกเกินบัญชี (O/D) โดยลูกค้าผู้ประกอบการ SME ที่ประสบอุทกภัย สามารถติดต่อรับบริการได้ที่สำนักงานธุรกิจที่มีบัญชีสินเชื่ออยู่
**กสิกรฯพบราย
นายวศิน วณิชย์วรนันต์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)(KBANK)กล่าวว่า จากการสำรวจในพื้นที่น้ำท่วมพบว่ามีลูกค้ารายใหญ่ที่ถูกน้ำท่วมในพื้นที่ธุรกิจโดยตรงประมาณ 60 ราย คิดเป็นมูลค่าสินเชื่อราว 3.8-4 พันล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมยานยนต์ และชิ้นส่วนต่างๆ ซึ่งธนาคารอยู่ระหว่างติดตามผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องจากธุรกิจดังกล่าวด้วย แต่คาดว่าต้องใช้ระยะเวลาในการประเมินอีกระยะหนึ่ง ซึ่งธนาคารพร้อมที่จะช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบอย่างเต็มที่ ทั้งด้านวงเงินฟื้นฟู วงเงินหมุนเวียนรนการทำธุรกิจ เป็นต้น ซึ่งจะสามารถช่วยเหลือผู้ประกอบการเบื้องต้นได้ทันที และยังสามารถพยุงผลกระทบที่จะมีต่อพนักงานของกิจการที่ต้องหยุดงานด้วย
นอกจากนี้ ธนาคารยังมีมาตรการช่วยเหลือลูกค้าบุคคล โดยจะพิจารณาผ่อนปรนการผ่อนชำระ ปรับลดอัตราดอกเบี้ย ปรับโครงสร้างหนี้ หรือให้สินเชื่อเพิ่มเติมเพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัย ด้วยอัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนพิเศษในปีแรกร้อยละ 5 และเป็นอัตรา MRR ในปีถัดไป โดยสามารถผ่อนชำระสินเชื่อที่กู้เพิ่มได้สูงสุด 5 ปี ลูกค้าสามารถติดต่อขอรายละเอียดและยื่นกู้ได้ที่ทุกสาขาของธนาคาร ตั้งแต่บัดนี้ จนถึง 30 ธันวาคม 2554
**SCBเผยมีลูกค้ากระทบ560ราย**
นางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)(SCB)กล่าวว่า จากเหตุการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัดขณะนี้ จนกระทั่งปัจจุบันมีลูกค้าติดต่อขอความช่วยเหลือเข้ามาเป็นระยะ แบ่งเป็นลูกค้าบุคคลประมาณกว่า 500 ราย ลูกค้าธุรกิจประมาณ 60 ราย ซึ่งส่วนใหญ่มาจากลูกค้าที่อยู่ในเขตภาคกลางและภาคเหนือ
โดยลูกค้าสินเชื่อรายย่อยที่ใช้บริการสินเชื่อเคหะ และสินเชื่อธุรกิจรายย่อย (SSME) สามารถเลือกความช่วยเหลือได้ 2 แบบ คือ 1) การพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นระยะเวลาสูงสุดไม่เกิน 6 เดือน หรือ 2) วงเงินกู้พิเศษเพื่อการซ่อมแซมบ้านสูงสุด 120% ของราคาประเมินเดิมหักยอดหนี้ที่เหลืออยู่ ส่วนลูกค้าบุคคลประเภทอื่นสามารถขอพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 3 เดือน
สำหรับลูกค้าธุรกิจผู้ประกอบการ SME ธนาคารมอบความช่วยเหลือโดยจะพิจารณาตามแต่กรณี ได้แก่ การพักชำระเงินต้น ,พักการชำระเงินต้นและดอกเบี้ย ,ยืดระยะเวลาการผ่อนชำระ ,ลดดอกเบี้ยปกติได้ไม่เกิน 1% นานสูงสุด 6 เดือน และให้วงเงินเบิกเกินบัญชี (O/D) โดยลูกค้าผู้ประกอบการ SME ที่ประสบอุทกภัย สามารถติดต่อรับบริการได้ที่สำนักงานธุรกิจที่มีบัญชีสินเชื่ออยู่
**กสิกรฯพบราย
นายวศิน วณิชย์วรนันต์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)(KBANK)กล่าวว่า จากการสำรวจในพื้นที่น้ำท่วมพบว่ามีลูกค้ารายใหญ่ที่ถูกน้ำท่วมในพื้นที่ธุรกิจโดยตรงประมาณ 60 ราย คิดเป็นมูลค่าสินเชื่อราว 3.8-4 พันล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมยานยนต์ และชิ้นส่วนต่างๆ ซึ่งธนาคารอยู่ระหว่างติดตามผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องจากธุรกิจดังกล่าวด้วย แต่คาดว่าต้องใช้ระยะเวลาในการประเมินอีกระยะหนึ่ง ซึ่งธนาคารพร้อมที่จะช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบอย่างเต็มที่ ทั้งด้านวงเงินฟื้นฟู วงเงินหมุนเวียนรนการทำธุรกิจ เป็นต้น ซึ่งจะสามารถช่วยเหลือผู้ประกอบการเบื้องต้นได้ทันที และยังสามารถพยุงผลกระทบที่จะมีต่อพนักงานของกิจการที่ต้องหยุดงานด้วย