“I’m excited that those most hurt by the dismal economy — the young, old, employed and unemployed — are marching, picketing and raising a ruckus against the financial sector that has morphed into too-big-to-fail institutions that have given little thought to how their actions could wreak havoc in people’s lives. รับว่า ฉันตื่นเต้นดีใจยิ่ง ที่เห็นผู้คนจำนวนมากที่ต้องเดือดร้อนเพราะความปั่นป่วนของเศรษฐกิจสามานย์ ไม่ว่าจะเป็นหนุ่มสาว คนแก่ คนทำงาน และคนไม่มีงานจะทำ ต่างก็ออกมาเดินชูป้ายประท้วง และตะโกนด่าตลาดทุนซึ่งเทิดทูนกันหนักหนาว่ายิ่งใหญ่เกินกว่าที่จะปล่อยให้ล้มลงได้ แต่กลับไม่สนใจไยดีเลยว่าการกระทำของมันได้ทำลายล้างผลาญชีวิตของผู้คนไปแล้วเท่าใด”
Michelle Singletary คอลัมนิสต์ นสพ. Washington Post เรื่อง Rage, rage against the financial sector fuels protest อ่านมากที่สุดอันดับ 3 ประจำวันที่ 9 ตุลาคม 2554
ผมอยากจะพูดว่ามาตรฐานของสื่อ มิใช่ขึ้นอยู่กับมาตรฐานของผมแต่ฝ่ายเดียว หากยังขึ้นอย่างมากกับมาตรฐานของผู้อ่านด้วย เรื่องนี้เห็นได้ชัดจากหนังสือพิมพ์แนวหน้าของโลกหลายฉบับ ที่ความแหลมคมของผู้อ่านสามารถลับให้สื่อคลายความทื่อลงไปได้
สื่อในบ้านเรา ขาดความเคารพและสัมพันธ์อันดีกับผู้อ่าน จึงตกเป็นทาสของเงินและอำนาจการเมืองได้ง่ายๆ การซื้อสื่อในบ้านเราก็ไม่มีอะไรยาก สื่อจึงกลายเป็นฉื่อไป
ฐานันดรฉี่ที่อวดโอ้ตนเองฉบับหนึ่ง ออกชื่อก็ได้คือ มติชนรายสัปดาห์ ลงบท ความกล่าวเท็จหาว่าผมกับดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ รับคำสั่งจากต่างประเทศมาสร้างเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ผมทั้งโทร.และเขียนไปชี้แจงความจริงและขอให้แก้ไข ก็ไม่ยอมลงหรือทำอะไรให้ทั้งสิ้น อ้างว่าประเด็นมัน “ไม่ร้อนแล้ว”
Washington Post เป็นหนังสือพิมพ์รายวันที่มีคนอ่านทั่วโลก เพราะเป็น นสพ.ที่ออกในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เมืองหลวงของสหรัฐอเมริกา จึงมีความใกล้ชิดกับการเมืองนักการเมืองและผู้นำของสหรัฐฯ กว่านสพ.ฉบับอื่นๆ แต่ทั้งนี้หาได้หมายความว่าวอชิงตันโพสต์ขึ้นอยู่กับเจ้านายหรือผลประโยชน์ของผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะไม่ ข้อยกเว้นอาจจะมีอยู่บ้างตรงที่เจ้าของเป็นยิว หรือแม้ขณะนี้ก็อาจจะมีผู้สื่อข่าวหรือนักเขียนบางคนที่ลำเอียงเพราะสวาปามอามิสจากผู้นำตกกระป๋องของบางประเทศ แต่ถึงกระนั้นในกรณีของประเทศไทยก็มีผู้อ่านอิสระคู่หนึ่งผ่านศึกเวียดนามที่เคยอยู่เมืองไทยนาน พอที่จะรู้ว่านสพ.ไทยและเมืองไทยโกหกอะไรเรื่องทักษิณ ทหารคู่นี้มักจะมีข้อมูลที่ดีกว่าและตีกลับคอลัมนิสต์ที่เป็นขวัญใจเสื้อแดงในวอชิงตันโพสต์อยู่เสมอๆ
อาจกล่าวได้ว่านสพ.ไทย มากน้อยต่างกัน พากันปูพื้นฐานแก้ตัวแทนทักษิณหรือกินสินบนรัฐบาลโคลนนิ่งของน้องสาวทักษิณอยู่เกือบทุกฉบับ ในทางกลับกัน ครั้งหนึ่งประมาณ 40 ปีกว่ามาแล้ว วอชิงตันโพสต์ทำให้นิกสัน เป็นประธานาธิบดีคนแรกที่ต้องลาออก เพราะขืนทู้ซี้อยู่จะเป็นคนแรกที่ติดคุก ซึ่งจะเสียหายร้ายแรงต่ออเมริกา นิกสันยอมเพื่อให้ฟอร์ดขึ้นเป็นประธานาธิบดีและอภัยโทษให้กับตน ทั้งๆ ที่นิกสันกระทำผิดเพียงกิ่งก้อยเมื่อเทียบกับทักษิณ
กล่าวคือเพียงโกหกปกปิดและไม่ร่วมมือกับคณะกรรมการพิเศษที่สอบสวนความผิดของลูกน้องและพรรคของท่านประธานาธิบดีที่พากันไปงัดแงะห้องขโมยเอาข่าวสารการเลือกตั้งของพรรคเดโมแครต คดีนี้มีชื่อว่า วอร์เตอร์เกต ซึ่งเป็นชื่อตึกที่ถูกบุกเข้าไปทำจารกรรม ผู้สื่อข่าวหัวเห็ดคู่หนึ่งของวอชิงตันโพสต์ คือ Woodward และ Bernstein ได้ทำการติดตามและวิเคราะห์เจาะลึกพฤติกรรมวอเตอร์เกตจนโยงมาถึงท่านประธานาธิบดี และพาประธานาธิบดีไปถึงจุดจบในที่สุด
ผู้สื่อข่าวไทยขาดความคงเส้นคงวา ขาดเครือข่ายกัลยาณมิตร และไม่มีวัฒนธรรมองค์กรคอยเกื้อหนุน ยังไม่รู้อีก 100 ปีจะมีอย่าง Woodward, Bernstein หรือ Michelle Singletary ได้หรือไม่
Michelle Singletary จัดรายการวิทยุ ปรากฏตัวในทีวี อาสาสมัครในโบสถ์ช่วยอบรมวิธีหาและใช้เงินให้กับผู้ที่ชักหน้าไม่ถึงหลัง ในฐานะนักเขียนเธอผลิตหนังสือระดับรางวัลหลายเล่ม ที่เด่นมากคือ The Color of Money ชื่อเดียวกับหนังดัง ในฐานะคอลัมนิสต์ เธอเขียนแนะนำเรื่องการเงินให้กับผู้อ่านทุกคน
สิ่งหนึ่งที่คอลัมนิสต์ไทยจะไม่มีทำอย่างเธอได้แม้รอไปชาติหน้า นั่นก็คือเธอเขียนบทความเดียว แต่นำไปลงนสพ.พร้อมกัน 100 ฉบับ อย่างนี้เรียกว่า Syndicate Columnist ที่ผมอยากให้เกิดในประเทศไทย แต่ไม่มีหวังเพราะเจ้าของสื่อผูกขาดเป็นหมาหวงก้างหรือหมาในรางหญ้า
Michelle สนับสนุนการเดินขบวนที่มี Code Name ว่า Occupy Wall Street ซึ่งละม้ายคล้ายคลึงกับการประท้วงของพันธมิตรฯ และนีโอโปรเทสต์ของสันติอโศกมากทีเดียวในเรื่องจิตและมนุษยสัมพันธ์
คำว่า Occupy แปลว่า ยึดครอง แต่ผู้ประท้วงมิได้มุ่งยึดสถานที่หรือกิจการ หากมุ่งให้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและพฤติกรรมของ Wall Street ที่เป็นโครงสร้างและพฤติกรรมของทุนนิยมสามานย์ที่ “ได้สร้างความทุกข์ทรมานให้ชีวิตนับไม่ถ้วนทั่วโลก” ผู้มาประท้วงอ้างตัวเป็นประชาชน 99% ที่ถูกวอลล์สตรีทซึ่งเป็นเครื่องมือของคน 1% ข่มขี่ปู้ยี่ปู้ยำจนกระทั่งทนต่อไปไม่ไหวแล้ว
การประท้วงล่วงเข้าวันที่ 25 เริ่มต้นมีคนไม่กี่โหลบัดนี้เพิ่มเป็นหลายพัน และกำลังจะกระจายไปทั่วประเทศ ผู้ประท้วงหวังจะให้อยู่นานทำลายสถิติของไทย ถูกจับไปปรับและปล่อยทันทีครั้งละ 10 ถึง 700 ไม่มีการคุกคามหรือฆ่าฟันจากตำรวจ ซ้ำประธาน Federal Reserve หรือธนาคารชาติและรองประธานาธิบดีออกมาแสดงความเห็นอกเห็นใจและเข้าใจเสียอีก
มหานครนิวยอร์กเป็นเมืองหลวงของทุนนิยมเสรี วอลล์สตรีทเป็นถนนสายสั้นๆ ไม่ถึงหนึ่งตารางกิโลเมตรเป็นกล่องดวงใจของทุนนิยมสามานย์ ประกอบด้วยตลาดหุ้น ตลาดทุน และตลาดการเงินที่ค้าขายและปลุกปั่นกันผ่านสัญลักษณ์ แต่ครอบงำเศรษฐกิจไปเกือบทั้งโลก
ความสำเร็จของการยึดครองวอลล์สตรีทนี้กล่าวกันว่าปัจจัยหลักอย่างหนึ่งคือสื่อทั่วไปและสื่อทางเลือก คือ Social Media, Internet, Facebook, Twitter, iPad, iPhone และนวัตกรรมทั้งหลายที่จะระดมคนให้มาใกล้ชิดโดยไม่ต้องติดตัวกันได้
นี่เป็นบทบาทของสื่อหรือฐานันดรสี่ของอเมริกา เราจะพูดถึงฉื่อหรือฐานันดรฉี่ของไทยต่อไป
Michelle Singletary คอลัมนิสต์ นสพ. Washington Post เรื่อง Rage, rage against the financial sector fuels protest อ่านมากที่สุดอันดับ 3 ประจำวันที่ 9 ตุลาคม 2554
ผมอยากจะพูดว่ามาตรฐานของสื่อ มิใช่ขึ้นอยู่กับมาตรฐานของผมแต่ฝ่ายเดียว หากยังขึ้นอย่างมากกับมาตรฐานของผู้อ่านด้วย เรื่องนี้เห็นได้ชัดจากหนังสือพิมพ์แนวหน้าของโลกหลายฉบับ ที่ความแหลมคมของผู้อ่านสามารถลับให้สื่อคลายความทื่อลงไปได้
สื่อในบ้านเรา ขาดความเคารพและสัมพันธ์อันดีกับผู้อ่าน จึงตกเป็นทาสของเงินและอำนาจการเมืองได้ง่ายๆ การซื้อสื่อในบ้านเราก็ไม่มีอะไรยาก สื่อจึงกลายเป็นฉื่อไป
ฐานันดรฉี่ที่อวดโอ้ตนเองฉบับหนึ่ง ออกชื่อก็ได้คือ มติชนรายสัปดาห์ ลงบท ความกล่าวเท็จหาว่าผมกับดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ รับคำสั่งจากต่างประเทศมาสร้างเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ผมทั้งโทร.และเขียนไปชี้แจงความจริงและขอให้แก้ไข ก็ไม่ยอมลงหรือทำอะไรให้ทั้งสิ้น อ้างว่าประเด็นมัน “ไม่ร้อนแล้ว”
Washington Post เป็นหนังสือพิมพ์รายวันที่มีคนอ่านทั่วโลก เพราะเป็น นสพ.ที่ออกในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เมืองหลวงของสหรัฐอเมริกา จึงมีความใกล้ชิดกับการเมืองนักการเมืองและผู้นำของสหรัฐฯ กว่านสพ.ฉบับอื่นๆ แต่ทั้งนี้หาได้หมายความว่าวอชิงตันโพสต์ขึ้นอยู่กับเจ้านายหรือผลประโยชน์ของผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะไม่ ข้อยกเว้นอาจจะมีอยู่บ้างตรงที่เจ้าของเป็นยิว หรือแม้ขณะนี้ก็อาจจะมีผู้สื่อข่าวหรือนักเขียนบางคนที่ลำเอียงเพราะสวาปามอามิสจากผู้นำตกกระป๋องของบางประเทศ แต่ถึงกระนั้นในกรณีของประเทศไทยก็มีผู้อ่านอิสระคู่หนึ่งผ่านศึกเวียดนามที่เคยอยู่เมืองไทยนาน พอที่จะรู้ว่านสพ.ไทยและเมืองไทยโกหกอะไรเรื่องทักษิณ ทหารคู่นี้มักจะมีข้อมูลที่ดีกว่าและตีกลับคอลัมนิสต์ที่เป็นขวัญใจเสื้อแดงในวอชิงตันโพสต์อยู่เสมอๆ
อาจกล่าวได้ว่านสพ.ไทย มากน้อยต่างกัน พากันปูพื้นฐานแก้ตัวแทนทักษิณหรือกินสินบนรัฐบาลโคลนนิ่งของน้องสาวทักษิณอยู่เกือบทุกฉบับ ในทางกลับกัน ครั้งหนึ่งประมาณ 40 ปีกว่ามาแล้ว วอชิงตันโพสต์ทำให้นิกสัน เป็นประธานาธิบดีคนแรกที่ต้องลาออก เพราะขืนทู้ซี้อยู่จะเป็นคนแรกที่ติดคุก ซึ่งจะเสียหายร้ายแรงต่ออเมริกา นิกสันยอมเพื่อให้ฟอร์ดขึ้นเป็นประธานาธิบดีและอภัยโทษให้กับตน ทั้งๆ ที่นิกสันกระทำผิดเพียงกิ่งก้อยเมื่อเทียบกับทักษิณ
กล่าวคือเพียงโกหกปกปิดและไม่ร่วมมือกับคณะกรรมการพิเศษที่สอบสวนความผิดของลูกน้องและพรรคของท่านประธานาธิบดีที่พากันไปงัดแงะห้องขโมยเอาข่าวสารการเลือกตั้งของพรรคเดโมแครต คดีนี้มีชื่อว่า วอร์เตอร์เกต ซึ่งเป็นชื่อตึกที่ถูกบุกเข้าไปทำจารกรรม ผู้สื่อข่าวหัวเห็ดคู่หนึ่งของวอชิงตันโพสต์ คือ Woodward และ Bernstein ได้ทำการติดตามและวิเคราะห์เจาะลึกพฤติกรรมวอเตอร์เกตจนโยงมาถึงท่านประธานาธิบดี และพาประธานาธิบดีไปถึงจุดจบในที่สุด
ผู้สื่อข่าวไทยขาดความคงเส้นคงวา ขาดเครือข่ายกัลยาณมิตร และไม่มีวัฒนธรรมองค์กรคอยเกื้อหนุน ยังไม่รู้อีก 100 ปีจะมีอย่าง Woodward, Bernstein หรือ Michelle Singletary ได้หรือไม่
Michelle Singletary จัดรายการวิทยุ ปรากฏตัวในทีวี อาสาสมัครในโบสถ์ช่วยอบรมวิธีหาและใช้เงินให้กับผู้ที่ชักหน้าไม่ถึงหลัง ในฐานะนักเขียนเธอผลิตหนังสือระดับรางวัลหลายเล่ม ที่เด่นมากคือ The Color of Money ชื่อเดียวกับหนังดัง ในฐานะคอลัมนิสต์ เธอเขียนแนะนำเรื่องการเงินให้กับผู้อ่านทุกคน
สิ่งหนึ่งที่คอลัมนิสต์ไทยจะไม่มีทำอย่างเธอได้แม้รอไปชาติหน้า นั่นก็คือเธอเขียนบทความเดียว แต่นำไปลงนสพ.พร้อมกัน 100 ฉบับ อย่างนี้เรียกว่า Syndicate Columnist ที่ผมอยากให้เกิดในประเทศไทย แต่ไม่มีหวังเพราะเจ้าของสื่อผูกขาดเป็นหมาหวงก้างหรือหมาในรางหญ้า
Michelle สนับสนุนการเดินขบวนที่มี Code Name ว่า Occupy Wall Street ซึ่งละม้ายคล้ายคลึงกับการประท้วงของพันธมิตรฯ และนีโอโปรเทสต์ของสันติอโศกมากทีเดียวในเรื่องจิตและมนุษยสัมพันธ์
คำว่า Occupy แปลว่า ยึดครอง แต่ผู้ประท้วงมิได้มุ่งยึดสถานที่หรือกิจการ หากมุ่งให้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและพฤติกรรมของ Wall Street ที่เป็นโครงสร้างและพฤติกรรมของทุนนิยมสามานย์ที่ “ได้สร้างความทุกข์ทรมานให้ชีวิตนับไม่ถ้วนทั่วโลก” ผู้มาประท้วงอ้างตัวเป็นประชาชน 99% ที่ถูกวอลล์สตรีทซึ่งเป็นเครื่องมือของคน 1% ข่มขี่ปู้ยี่ปู้ยำจนกระทั่งทนต่อไปไม่ไหวแล้ว
การประท้วงล่วงเข้าวันที่ 25 เริ่มต้นมีคนไม่กี่โหลบัดนี้เพิ่มเป็นหลายพัน และกำลังจะกระจายไปทั่วประเทศ ผู้ประท้วงหวังจะให้อยู่นานทำลายสถิติของไทย ถูกจับไปปรับและปล่อยทันทีครั้งละ 10 ถึง 700 ไม่มีการคุกคามหรือฆ่าฟันจากตำรวจ ซ้ำประธาน Federal Reserve หรือธนาคารชาติและรองประธานาธิบดีออกมาแสดงความเห็นอกเห็นใจและเข้าใจเสียอีก
มหานครนิวยอร์กเป็นเมืองหลวงของทุนนิยมเสรี วอลล์สตรีทเป็นถนนสายสั้นๆ ไม่ถึงหนึ่งตารางกิโลเมตรเป็นกล่องดวงใจของทุนนิยมสามานย์ ประกอบด้วยตลาดหุ้น ตลาดทุน และตลาดการเงินที่ค้าขายและปลุกปั่นกันผ่านสัญลักษณ์ แต่ครอบงำเศรษฐกิจไปเกือบทั้งโลก
ความสำเร็จของการยึดครองวอลล์สตรีทนี้กล่าวกันว่าปัจจัยหลักอย่างหนึ่งคือสื่อทั่วไปและสื่อทางเลือก คือ Social Media, Internet, Facebook, Twitter, iPad, iPhone และนวัตกรรมทั้งหลายที่จะระดมคนให้มาใกล้ชิดโดยไม่ต้องติดตัวกันได้
นี่เป็นบทบาทของสื่อหรือฐานันดรสี่ของอเมริกา เราจะพูดถึงฉื่อหรือฐานันดรฉี่ของไทยต่อไป