ASTVผู้ประกอบการรายวัน - น้ำท่วมนาน ธุรกิจท่องเที่ยวสูญรายได้กว่า 200 ล้านบาท สทท. หารือ”กิตติรัตน์” ชง 2 แนวทางช่วยผู้ประกอบการ เป็นวาระเร่งด่วนเสนอคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ ทั้งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำและการจ่ายเงินชดเชยความเสียหาย ใช้โมเดลเดียวกับช่วงเกิดวิกฤตทางการเมือง คาดสรุปได้กลางเดือนตุลาคมนี้
นายกงกฤช หิรัญกิจ ประธานฝ่ายนโยบาย สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยหรือสทท. เปิดเผยว่า เตรียมเสนอเรื่องเข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติซึ่งมีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน หาแนวทางช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการท่องเที่ยว ในพื้นที่ประสบอุทกภัย โดย สทท. จะเสนอ ให้แบ่งการช่วยเหลือเป็น 2 แนวทาง ได้แก่ 1.ช่วยเหลือเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ให้ผู้ประกอบการนำไปซ่อมแซมพื้นที่ที่ได้รับความเสียหาจากน้ำท่วม และ 2.การชดเชยความเสียหายอันเกิดจากสถานการณ์น้ำท่วม
สูญ200ลบ.หารือ”กิตติรัตน์”ช่วยด่วน
เบื้องต้น ได้เข้าหารือนอกรอบกับนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง แล้วว่า ขอให้ช่วยดูแลผู้ประกอบการท่องเที่ยวที่ได้รับผล กระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมครั้งนี้ด้วย เพราะแม้สถานประกอบการจะไม่ถูกน้ำท่วม เพราะตั้งอยู่ในเมืองชั้นในของแต่ละจังหวัด แต่ก็ไม่มีนักท่องเที่ยวหรือนักธุรกิจเข้าไปใช้บริการเพราะไม่สามารถเดินทางเข้ามาได้ แต่ผู้ประกอบการยังต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายเรื่องเงินเดือนพนักงาน และ การจ่ายเงินเข้าประกันสังคม จึงขอให้รัฐบาลตั้งบประมาณช่วยเหลือด้วย โดย จะสรุปให้ทันภายในกลางเดือนตุลาคมนี้
“น้ำท่วมครั้งนี้ต่างจากน้ำท่วมภาคใต้และโคราช เมื่อปีก่อน เพราะมีระยะเวลายาวนานเป็นเดือน และ ขยายวงกว้างไปหลายพื้นที่ในหลายจังหวัด ผู้ประกอบการต้องขาดรายได้เกือบ 100% สูญรายได้แล้วกว่า 200 ล้านบาท จึงต้องการให้รัฐ ช่วยเหลือเหมือนกับ ภาคเกษตรกร คือให้เงินชดเชยที่ขาดรายได้ เพราะยังต้องจ่ายค่าแรงพนักงานและจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม หากรัฐบาลช่วยเหลือก็เท่ากับช่วยบรรเทาภาวะการเลิกจ้างงานได้ด้วย เพราะขณะนี้มีโรงแรมและสถานประกอบการหลายแห่งเริ่มให้พนักงานสลับกันหยุดงานบ้างแล้ว เพราะไม่มีเงินจ่าย ที่ผ่านมา เราคุยกันแต่การช่วยเหลือเงินกูดอกเบี้ยต่ำ ยังไม่มีใครพูดถึงการชดเชยรายได้ ”
ยกโมเดลวิกฤตการเมืองมาปรับใช้
นายกงกฤช กล่าวอีกว่า เสนอให้รัฐบาลนำโมเดลการช่วยเหลือ สมัยที่ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเมือง ซึ่งสถานประกอบการไม่ได้เสียหาย แต่ไม่มีรายได้เพราะนักท่องเที่ยวหรือลูกค้าไม่มาใช้บริการ โดยรัฐบาลขณะนั้นมีโครงการต้นกล้าอาชีพ จัดฝึกอบรมแรงงาน พร้อมจ่ายชดเชยแรงงานให้ รวมถึงการยกเว้นเก็บเงินเข้ากองทุนประกันสังคม เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ และชะลอการเลิกจ้างงาน ทำให้ลูกจ้างมีรายได้ในช่วงที่ยังไม่มีนักท่องเที่ยวมาให้บริการ
ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายเงินเดือนพนักงานคิดเป็น 15-20% ของต้นทุนคงที่ ซึ่งเป็นสัดส่วนที่มากกว่าธุรกิจอื่น เพราะเป็นอุตสาหกรรมบริการ ซึ่งถือเป็นแรงงานมีฝีมือมีคุณภาพ โดยพื้นที่ที่มีปริมาณน้ำท่วมมากและยาวนานควรจะพิจารณาเร่งด่วน เช่น ลพบุรี อุทัยธานี สิงบุรี อ่างทอง สุโขทัย พิษณุโลก สำหรับกรณีภาพข่าวน้ำไหลเข้าท่วมวัดไชยวัฒนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวโบราณสถานที่สำคัญ จะยิ่งตอกย้ำให้มีผลทางด้านจิตวิทยาต่อนักท่องเที่ยวให้ชะลอการเดินทาง โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวคนไทย ส่วนประเด็นที่ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวปีนี้จะต่ำกว่าเป้าหมายหรือไม่นั้น ขอรอดูสถานการณ์ประกอบการประเมินก่อนจึงตอบได้
นายกงกฤช หิรัญกิจ ประธานฝ่ายนโยบาย สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยหรือสทท. เปิดเผยว่า เตรียมเสนอเรื่องเข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติซึ่งมีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน หาแนวทางช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการท่องเที่ยว ในพื้นที่ประสบอุทกภัย โดย สทท. จะเสนอ ให้แบ่งการช่วยเหลือเป็น 2 แนวทาง ได้แก่ 1.ช่วยเหลือเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ให้ผู้ประกอบการนำไปซ่อมแซมพื้นที่ที่ได้รับความเสียหาจากน้ำท่วม และ 2.การชดเชยความเสียหายอันเกิดจากสถานการณ์น้ำท่วม
สูญ200ลบ.หารือ”กิตติรัตน์”ช่วยด่วน
เบื้องต้น ได้เข้าหารือนอกรอบกับนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง แล้วว่า ขอให้ช่วยดูแลผู้ประกอบการท่องเที่ยวที่ได้รับผล กระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมครั้งนี้ด้วย เพราะแม้สถานประกอบการจะไม่ถูกน้ำท่วม เพราะตั้งอยู่ในเมืองชั้นในของแต่ละจังหวัด แต่ก็ไม่มีนักท่องเที่ยวหรือนักธุรกิจเข้าไปใช้บริการเพราะไม่สามารถเดินทางเข้ามาได้ แต่ผู้ประกอบการยังต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายเรื่องเงินเดือนพนักงาน และ การจ่ายเงินเข้าประกันสังคม จึงขอให้รัฐบาลตั้งบประมาณช่วยเหลือด้วย โดย จะสรุปให้ทันภายในกลางเดือนตุลาคมนี้
“น้ำท่วมครั้งนี้ต่างจากน้ำท่วมภาคใต้และโคราช เมื่อปีก่อน เพราะมีระยะเวลายาวนานเป็นเดือน และ ขยายวงกว้างไปหลายพื้นที่ในหลายจังหวัด ผู้ประกอบการต้องขาดรายได้เกือบ 100% สูญรายได้แล้วกว่า 200 ล้านบาท จึงต้องการให้รัฐ ช่วยเหลือเหมือนกับ ภาคเกษตรกร คือให้เงินชดเชยที่ขาดรายได้ เพราะยังต้องจ่ายค่าแรงพนักงานและจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม หากรัฐบาลช่วยเหลือก็เท่ากับช่วยบรรเทาภาวะการเลิกจ้างงานได้ด้วย เพราะขณะนี้มีโรงแรมและสถานประกอบการหลายแห่งเริ่มให้พนักงานสลับกันหยุดงานบ้างแล้ว เพราะไม่มีเงินจ่าย ที่ผ่านมา เราคุยกันแต่การช่วยเหลือเงินกูดอกเบี้ยต่ำ ยังไม่มีใครพูดถึงการชดเชยรายได้ ”
ยกโมเดลวิกฤตการเมืองมาปรับใช้
นายกงกฤช กล่าวอีกว่า เสนอให้รัฐบาลนำโมเดลการช่วยเหลือ สมัยที่ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเมือง ซึ่งสถานประกอบการไม่ได้เสียหาย แต่ไม่มีรายได้เพราะนักท่องเที่ยวหรือลูกค้าไม่มาใช้บริการ โดยรัฐบาลขณะนั้นมีโครงการต้นกล้าอาชีพ จัดฝึกอบรมแรงงาน พร้อมจ่ายชดเชยแรงงานให้ รวมถึงการยกเว้นเก็บเงินเข้ากองทุนประกันสังคม เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ และชะลอการเลิกจ้างงาน ทำให้ลูกจ้างมีรายได้ในช่วงที่ยังไม่มีนักท่องเที่ยวมาให้บริการ
ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายเงินเดือนพนักงานคิดเป็น 15-20% ของต้นทุนคงที่ ซึ่งเป็นสัดส่วนที่มากกว่าธุรกิจอื่น เพราะเป็นอุตสาหกรรมบริการ ซึ่งถือเป็นแรงงานมีฝีมือมีคุณภาพ โดยพื้นที่ที่มีปริมาณน้ำท่วมมากและยาวนานควรจะพิจารณาเร่งด่วน เช่น ลพบุรี อุทัยธานี สิงบุรี อ่างทอง สุโขทัย พิษณุโลก สำหรับกรณีภาพข่าวน้ำไหลเข้าท่วมวัดไชยวัฒนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวโบราณสถานที่สำคัญ จะยิ่งตอกย้ำให้มีผลทางด้านจิตวิทยาต่อนักท่องเที่ยวให้ชะลอการเดินทาง โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวคนไทย ส่วนประเด็นที่ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวปีนี้จะต่ำกว่าเป้าหมายหรือไม่นั้น ขอรอดูสถานการณ์ประกอบการประเมินก่อนจึงตอบได้