อุดรธานี-สาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี เผยผลสำรวจไอคิวเด็กจ.อุดรธานี มีไอคิวเฉลี่ยที่ 97 พบเด็กมัธยมมีไอคิวต่ำกว่า 90 ถึงร้อยละ 66 เหตุมีพฤติกรรมบริโภคน้ำหวานน้ำอัดลม กระทบต่อผลพัฒนาไอคิวและอีคิว แนะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน
นายแพทย์สัญชัย ปิยะพงษ์กุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี เปิดเผยว่า การที่เด็กจะฉลาดมากหรือน้อย ส่วนหนึ่งมาจาก กรรมพันธุ์ ที่เหลือ เป็นผลของอาหารและการเลี้ยงดู ซึ่งพ่อแม่สามารถให้โอกาสกับลูกได้ จากการสำรวจภาวะโภชนาการเด็กอายุ 1-6 ปี ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี เมื่อปี 2553 พบเด็กมีภาวะผอมมากที่สุดถึงร้อยละ 10.2
ส่วนผลสำรวจไอคิว(ระดับสติปัญญา) เด็กอายุ 3-12 ปี ในจังหวัดอุดรธานี ปี 2552 พบว่า ไอคิวเฉลี่ยที่ 97 เด็กมัธยมมีไอคิวต่ำกว่า 90 ร้อยละ 66 และพบว่า มีพฤติกรรมการบริโภคน้ำหวานและน้ำอัดลม ร้อยละ 47.3 ขนมกรุบกรอบร้อยละ 53.7 ซึ่งการมีพฤติกรรมบริโภคอาหารเหล่านี้ จะทำให้เด็กมีภาวะโภชนาการไม่สมดุล มีผลถึงการพัฒนาไอคิวและอีคิวของเด็ก
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการศึกษาวิจัย พบว่า สมองของเด็กจะพัฒนาให้ชาญฉลาดได้ต้องดูแลตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ความฉลาดของลูกจึงสร้างได้ตลอดระยะเวลา ตั้งแต่ 9 เดือนแรกในครรภ์มารดา และหลังคลอดทารกต้องได้รับนมแม่อย่างเดียว อย่างน้อย 6 เดือน การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และดูแลอย่างใกล้ชิด จะช่วยสนองความต้องการของเด็กอย่างทันการ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญของไอคิวและอีคิว พัฒนาเด็กสู่บุคลิกภาพที่ดีในอนาคต
ทั้งนี้จากผลสำรวจยังพบอีกว่า ทารกที่กินนมแม่จะมีไอคิวสูงกว่าเด็กที่กินนมผสม เพราะในนมแม่มีสารสำหรับพัฒนาสมองและสายตา โดยเฉพาะระยะ 4-6 เดือนแรก ที่ทารกยังสร้างน้ำย่อยไขมันได้ไม่ดี และหลัง 6 เดือนทารกควรได้รับอาหารเสริมตามวัยอย่างเหมาะสม
นายแพทย์สัญชัย ปิยะพงษ์กุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี เปิดเผยว่า การที่เด็กจะฉลาดมากหรือน้อย ส่วนหนึ่งมาจาก กรรมพันธุ์ ที่เหลือ เป็นผลของอาหารและการเลี้ยงดู ซึ่งพ่อแม่สามารถให้โอกาสกับลูกได้ จากการสำรวจภาวะโภชนาการเด็กอายุ 1-6 ปี ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี เมื่อปี 2553 พบเด็กมีภาวะผอมมากที่สุดถึงร้อยละ 10.2
ส่วนผลสำรวจไอคิว(ระดับสติปัญญา) เด็กอายุ 3-12 ปี ในจังหวัดอุดรธานี ปี 2552 พบว่า ไอคิวเฉลี่ยที่ 97 เด็กมัธยมมีไอคิวต่ำกว่า 90 ร้อยละ 66 และพบว่า มีพฤติกรรมการบริโภคน้ำหวานและน้ำอัดลม ร้อยละ 47.3 ขนมกรุบกรอบร้อยละ 53.7 ซึ่งการมีพฤติกรรมบริโภคอาหารเหล่านี้ จะทำให้เด็กมีภาวะโภชนาการไม่สมดุล มีผลถึงการพัฒนาไอคิวและอีคิวของเด็ก
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการศึกษาวิจัย พบว่า สมองของเด็กจะพัฒนาให้ชาญฉลาดได้ต้องดูแลตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ความฉลาดของลูกจึงสร้างได้ตลอดระยะเวลา ตั้งแต่ 9 เดือนแรกในครรภ์มารดา และหลังคลอดทารกต้องได้รับนมแม่อย่างเดียว อย่างน้อย 6 เดือน การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และดูแลอย่างใกล้ชิด จะช่วยสนองความต้องการของเด็กอย่างทันการ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญของไอคิวและอีคิว พัฒนาเด็กสู่บุคลิกภาพที่ดีในอนาคต
ทั้งนี้จากผลสำรวจยังพบอีกว่า ทารกที่กินนมแม่จะมีไอคิวสูงกว่าเด็กที่กินนมผสม เพราะในนมแม่มีสารสำหรับพัฒนาสมองและสายตา โดยเฉพาะระยะ 4-6 เดือนแรก ที่ทารกยังสร้างน้ำย่อยไขมันได้ไม่ดี และหลัง 6 เดือนทารกควรได้รับอาหารเสริมตามวัยอย่างเหมาะสม