ASTVผู้จัดการรายวัน –แอตต้า เร่งศึกษาข้อกฎหมาย ก่อนชงรัฐบาลแก้ไข หวังใช้เป็นกำแพงป้องกันทัวร์ข้ามชาติ บุกไทยหลังเปิดเออีซี หลายประเทศจ่อเข้ามาจดทะเบียนตั้งบริษัททัวร์ ขณะที่ผลจากวิกฤติเศรษฐกิจยุโรป กระทบทัวร์ 8 เดือนวูบ 15%
นายศิษฎิวัชร ชีวรัตนพร นายกสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว หรือ แอตต้า เปิดเผยว่า สมาคมอยู่ระหว่างการศึกษากฏหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจท่องเที่ยว เพื่อเสนอให้รัฐบาลโดยกระทรวงการท่องเที่ยวและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการปรับแก้ให้มีความทันสมัย พร้อมรองรับการแข่งขันในการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี ที่จะมีขึ้นในปี 2558 โดยศึกษาทั้งกฎหมายที่มีอยู่ของประเทศไทย และกฎหมาย ของประเทศอื่นๆในอาเซียน เพื่อดูความได้เปรียบเสียเปรียบ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก โดยจะเร่งให้เสร็จพร้อมเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวให้ทันภายในปี 2555
“เบื้องต้นแอตต้าต้องรณรงค์ให้สมาชิกรู้จักและเข้าใจของข้อตกลงเออีซี ที่จะมีผลต่อธุรกิจการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกคนหลีกเลี่ยงไม่ได้ ควบคู่ไปกับเร่งแก้ไขกฏหมายกฏเกณฑ์ เพื่อใช้เป็นกรอบคัดกรองการเข้ามาลงทุนของต่างชาติในประเทศไทย เช่น การปรับเพิ่มทุนจดทะเบียนการจดบริษัทนำเที่ยว จากปัจจุบัน 1 แสนบาท เพิ่มเป็น 5 ล้านบาท ซึ่งเท่ากับประเทศจีนในปัจจุบัน เป็นต้น “
ขณะนี้มีหลายประเทศเริ่มรุกเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นและจะมากกว่านี้เมื่อเปิดเสรีอาเซียน อาทิ จีน สิงคโปร์ รัสเซีย อินเดีย โดยเข้ามาตั้งบริษัทนำเที่ยว เพื่อให้บริการนักท่องเที่ยวของประเทศตัวเอง จะบริการแบบครบวงจร ถ้าปล่อยเช่นนี้ รายเล็กที่มีอยู่จะล้มตาย
***วิกฤตยุโรปกระทบผู้ส่งออกเอเชีย****
สำหรับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในภูมิภาคยุโรปครั้งนี้ รัฐบาล การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยว อย่าประมาท เพราะหากขยายวงกว้าง เชื่อว่า ประเทศในเอเชีย เช่น จีน เกาหลี อินเดีย และหลายประเทศในเอเชียรวมถึงไทย ที่ทำการค้าส่งออกไปยุโรป ก็จะได้รับผลกระทบด้วยจากการบริโภคของยุโรปที่ลดลง
ในส่วนของผู้ประกอบการทัวร์ โดยเฉพาะที่ทำทัวร์อินบาวนด์จากประเทศยุโรป มาไทย สุดท้ายก็ต้องหันมาใช้กลยุทธ์ราคาเป็นตัวรักษาตลาดไม่ให้ทรุดตัว ด้วยการไม่ปรับขึ้นราคา แต่คงไม่ถึงต้องใช้สงครามราคาเพราะทุกคนก็มีต้นทุนสูง
***ยัน 30 ล้านคนไปไม่ถึง
อย่างไรก็ตาม ตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติ ม.ค.-20ก.ย.54 ที่เดินทางผ่านสมาชิกของสมาคมแอตต้า มีรวมทั้งสิ้น 2,237,015 คน เพิ่มจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 57.54% ประเทศที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางมาสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จีน 474,969 คน เพิ่มจากปีก่อน 122.78% ,รัสเซีย 304,368 คน เพิ่ม 102.71% และ อินเดีย 184,535 คน เพิ่ม 10.17% ภาพรวมนักท่องเที่ยวต่างชาติ หาก สถานการณ์ยังเป็นปกติเช่นนี้ คาดจะเติบโตปีละ 10% ดังนั้นภายในปี 2558 คาดว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ 26 ล้านคน รายได้ 1.7-1.8 ล้านล้านบาท ไม่ถึง 30 ล้านคน ตามที่รัฐบาลวางไว้
***จี้เอกชนบริการครบวงจร***
นายสุภกิตติ์ พลจันทร ผู้อำนวยการภูมิภาคภาคเหนือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในการรับมือการแข่งขันเปิดเสรีเออีซี ต้องการให้ภาคเอกชน โดยสมาคมการท่องเที่ยวต่างๆ ที่มีอยู่ วางแผนการทำงานเชิงรุก กำหนดกรอบการทำงานรายปีในแต่ละช่วงเวลา เพื่อมาบูรณาการร่วมกับแผนงานของ ททท.
ส่วนบริษัทนำเที่ยวผู้ประกอบการควรปรับตัว ให้มีบริการเป็นแบบวันสต็อปเซอร์วิส คือ มีทั้งบริการนำเที่ยว บริการรถนำเที่ยว และ ร้านอาหาร จัดโปรแกรมทัวร์ แม้จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวเดิม แต่ต้องนำเสนอในเชิงลึก สร้างเรื่องราวในแหล่งท่องเที่ยวดึงดูดความสนใจ มัคคุเทศก์ต้องปรับให้มีความรู้เพิ่มขึ้น
***หั่นกำไรประคองธุรกิจ***
นายชิดชัย สาครบดี อุปนายก แอตต้า ดูแลตลาดยุโรป กล่าวว่า ผลจากวิกฤตเศรษฐกิจในยุโรป ทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาประเทศไทย 8 เดือนแรกปีนี้ลดลง 15% เทียบกับปีก่อน ซึ่งสิ่งที่ผู้ประกอบการทำได้ คือ พยายามคงราคาขายเท่าเดิม เพื่อรักษาฐานลูกค้าเก่า หั่นกำไรขั้นต้นเหลือ 10-15% ต่อแพกเกจ ลดจากเดิมซึ่งมีกำไรที่ 20-25% ต่อแพเกกจ
ส่วนตลาดที่จะกระทบแน่นอนคือลูกค้าใหม่ กลุ่มนี้เมื่อได้รับผลจากวิกฤติ จะหันมาเดินทางท่องเที่ยวระยะใกล้ หรือเที่ยวในประเทศตัวเอง โดยเดินทางโดยรถยนต์ ส่วนตลาดที่ยังพอทำกำไรได้ คือ นักท่องเที่ยว ที่เดินทางเอง หรือ เอฟไอที กลุ่มนี้มีกำลังพอจับจ่าย ทำให้ผู้ประกอบการ ที่ทำธุรกิจแบบ บี ทู บี เริ่มขยายช่องทางทำธุรกิจ บี ทู ซี ผ่านโซเซียลเน็คเวิร์ค
นายศิษฎิวัชร ชีวรัตนพร นายกสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว หรือ แอตต้า เปิดเผยว่า สมาคมอยู่ระหว่างการศึกษากฏหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจท่องเที่ยว เพื่อเสนอให้รัฐบาลโดยกระทรวงการท่องเที่ยวและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการปรับแก้ให้มีความทันสมัย พร้อมรองรับการแข่งขันในการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี ที่จะมีขึ้นในปี 2558 โดยศึกษาทั้งกฎหมายที่มีอยู่ของประเทศไทย และกฎหมาย ของประเทศอื่นๆในอาเซียน เพื่อดูความได้เปรียบเสียเปรียบ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก โดยจะเร่งให้เสร็จพร้อมเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวให้ทันภายในปี 2555
“เบื้องต้นแอตต้าต้องรณรงค์ให้สมาชิกรู้จักและเข้าใจของข้อตกลงเออีซี ที่จะมีผลต่อธุรกิจการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกคนหลีกเลี่ยงไม่ได้ ควบคู่ไปกับเร่งแก้ไขกฏหมายกฏเกณฑ์ เพื่อใช้เป็นกรอบคัดกรองการเข้ามาลงทุนของต่างชาติในประเทศไทย เช่น การปรับเพิ่มทุนจดทะเบียนการจดบริษัทนำเที่ยว จากปัจจุบัน 1 แสนบาท เพิ่มเป็น 5 ล้านบาท ซึ่งเท่ากับประเทศจีนในปัจจุบัน เป็นต้น “
ขณะนี้มีหลายประเทศเริ่มรุกเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นและจะมากกว่านี้เมื่อเปิดเสรีอาเซียน อาทิ จีน สิงคโปร์ รัสเซีย อินเดีย โดยเข้ามาตั้งบริษัทนำเที่ยว เพื่อให้บริการนักท่องเที่ยวของประเทศตัวเอง จะบริการแบบครบวงจร ถ้าปล่อยเช่นนี้ รายเล็กที่มีอยู่จะล้มตาย
***วิกฤตยุโรปกระทบผู้ส่งออกเอเชีย****
สำหรับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในภูมิภาคยุโรปครั้งนี้ รัฐบาล การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยว อย่าประมาท เพราะหากขยายวงกว้าง เชื่อว่า ประเทศในเอเชีย เช่น จีน เกาหลี อินเดีย และหลายประเทศในเอเชียรวมถึงไทย ที่ทำการค้าส่งออกไปยุโรป ก็จะได้รับผลกระทบด้วยจากการบริโภคของยุโรปที่ลดลง
ในส่วนของผู้ประกอบการทัวร์ โดยเฉพาะที่ทำทัวร์อินบาวนด์จากประเทศยุโรป มาไทย สุดท้ายก็ต้องหันมาใช้กลยุทธ์ราคาเป็นตัวรักษาตลาดไม่ให้ทรุดตัว ด้วยการไม่ปรับขึ้นราคา แต่คงไม่ถึงต้องใช้สงครามราคาเพราะทุกคนก็มีต้นทุนสูง
***ยัน 30 ล้านคนไปไม่ถึง
อย่างไรก็ตาม ตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติ ม.ค.-20ก.ย.54 ที่เดินทางผ่านสมาชิกของสมาคมแอตต้า มีรวมทั้งสิ้น 2,237,015 คน เพิ่มจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 57.54% ประเทศที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางมาสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จีน 474,969 คน เพิ่มจากปีก่อน 122.78% ,รัสเซีย 304,368 คน เพิ่ม 102.71% และ อินเดีย 184,535 คน เพิ่ม 10.17% ภาพรวมนักท่องเที่ยวต่างชาติ หาก สถานการณ์ยังเป็นปกติเช่นนี้ คาดจะเติบโตปีละ 10% ดังนั้นภายในปี 2558 คาดว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ 26 ล้านคน รายได้ 1.7-1.8 ล้านล้านบาท ไม่ถึง 30 ล้านคน ตามที่รัฐบาลวางไว้
***จี้เอกชนบริการครบวงจร***
นายสุภกิตติ์ พลจันทร ผู้อำนวยการภูมิภาคภาคเหนือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในการรับมือการแข่งขันเปิดเสรีเออีซี ต้องการให้ภาคเอกชน โดยสมาคมการท่องเที่ยวต่างๆ ที่มีอยู่ วางแผนการทำงานเชิงรุก กำหนดกรอบการทำงานรายปีในแต่ละช่วงเวลา เพื่อมาบูรณาการร่วมกับแผนงานของ ททท.
ส่วนบริษัทนำเที่ยวผู้ประกอบการควรปรับตัว ให้มีบริการเป็นแบบวันสต็อปเซอร์วิส คือ มีทั้งบริการนำเที่ยว บริการรถนำเที่ยว และ ร้านอาหาร จัดโปรแกรมทัวร์ แม้จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวเดิม แต่ต้องนำเสนอในเชิงลึก สร้างเรื่องราวในแหล่งท่องเที่ยวดึงดูดความสนใจ มัคคุเทศก์ต้องปรับให้มีความรู้เพิ่มขึ้น
***หั่นกำไรประคองธุรกิจ***
นายชิดชัย สาครบดี อุปนายก แอตต้า ดูแลตลาดยุโรป กล่าวว่า ผลจากวิกฤตเศรษฐกิจในยุโรป ทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาประเทศไทย 8 เดือนแรกปีนี้ลดลง 15% เทียบกับปีก่อน ซึ่งสิ่งที่ผู้ประกอบการทำได้ คือ พยายามคงราคาขายเท่าเดิม เพื่อรักษาฐานลูกค้าเก่า หั่นกำไรขั้นต้นเหลือ 10-15% ต่อแพกเกจ ลดจากเดิมซึ่งมีกำไรที่ 20-25% ต่อแพเกกจ
ส่วนตลาดที่จะกระทบแน่นอนคือลูกค้าใหม่ กลุ่มนี้เมื่อได้รับผลจากวิกฤติ จะหันมาเดินทางท่องเที่ยวระยะใกล้ หรือเที่ยวในประเทศตัวเอง โดยเดินทางโดยรถยนต์ ส่วนตลาดที่ยังพอทำกำไรได้ คือ นักท่องเที่ยว ที่เดินทางเอง หรือ เอฟไอที กลุ่มนี้มีกำลังพอจับจ่าย ทำให้ผู้ประกอบการ ที่ทำธุรกิจแบบ บี ทู บี เริ่มขยายช่องทางทำธุรกิจ บี ทู ซี ผ่านโซเซียลเน็คเวิร์ค