แอตต้า เร่งศึกษาข้อกฎหมาย ก่อนชงรัฐบาลแก้ไข หวังใช้เป็นกำแพงป้องกันทัวร์ข้ามชาติ บุกไทยหลังเปิดเออีซี หลายประเทศจ่อเข้ามาจดทะเบียนตั้งบริษัททัวร์ ขณะที่ผลจากวิกฤติเศรษฐกิจยุโรป กระทบทัวร์ 8 เดือนวูบ 15%
นายศิษฎิวัชร ชีวรัตนพร นายกสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว หรือ แอตต้า เปิดเผยว่า สมาคมอยู่ระหว่างการศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจท่องเที่ยว เพื่อเสนอให้รัฐบาลโดยกระทรวงการท่องเที่ยว และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการปรับแก้ให้มีความทันสมัย พร้อมรองรับการแข่งขันในการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี ที่จะมีขึ้นในปี 2558 โดยศึกษาทั้งกฎหมายที่มีอยู่ของประเทศไทย และกฎหมาย ของประเทศอื่นๆ ในอาเซียน เพื่อดูความได้เปรียบเสียเปรียบ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก โดยจะเร่งให้เสร็จพร้อมเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวให้ทันภายในปี 2555
“เบื้องต้นแอตต้าต้องรณรงค์ให้สมาชิกรู้จักและเข้าใจของข้อตกลงเออีซี ที่จะมีผลต่อธุรกิจการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกคนหลีกเลี่ยงไม่ได้ ควบคู่ไปกับเร่งแก้ไขกฏหมายกฏเกณฑ์ เพื่อใช้เป็นกรอบคัดกรองการเข้ามาลงทุนของต่างชาติในประเทศไทย เช่น การปรับเพิ่มทุนจดทะเบียนการจดบริษัทนำเที่ยว จากปัจจุบัน 1 แสนบาท เพิ่มเป็น 5 ล้านบาท ซึ่งเท่ากับประเทศจีนในปัจจุบัน เป็นต้น”
ขณะนี้มีหลายประเทศเริ่มรุกเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นและจะมากกว่านี้เมื่อเปิดเสรีอาเซียน อาทิ จีน สิงคโปร์ รัสเซีย อินเดีย โดยเข้ามาตั้งบริษัทนำเที่ยว เพื่อให้บริการนักท่องเที่ยวของประเทศตัวเอง จะบริการแบบครบวงจร ถ้าปล่อยเช่นนี้ รายเล็กที่มีอยู่จะล้มตาย
***วิกฤตยุโรปกระทบผู้ส่งออกเอเชีย****
สำหรับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในภูมิภาคยุโรปครั้งนี้ รัฐบาล การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยว อย่าประมาท เพราะหากขยายวงกว้าง เชื่อว่า ประเทศในเอเชีย เช่น จีน เกาหลี อินเดีย และหลายประเทศในเอเชียรวมถึงไทย ที่ทำการค้าส่งออกไปยุโรป ก็จะได้รับผลกระทบด้วยจากการบริโภคของยุโรปที่ลดลง
ในส่วนของผู้ประกอบการทัวร์ โดยเฉพาะที่ทำทัวร์อินบาวนด์จากประเทศยุโรป มาไทย สุดท้ายก็ต้องหันมาใช้กลยุทธ์ราคาเป็นตัวรักษาตลาดไม่ให้ทรุดตัว ด้วยการไม่ปรับขึ้นราคา แต่คงไม่ถึงต้องใช้สงครามราคา เพราะทุกคนก็มีต้นทุนสูง
***ยัน 30 ล้านคนไปไม่ถึง
อย่างไรก็ตาม ตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติ ม.ค.-20ก.ย.54 ที่เดินทางผ่านสมาชิกของสมาคมแอตต้า มีรวมทั้งสิ้น 2,237,015 คน เพิ่มจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 57.54% ประเทศที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางมาสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จีน 474,969 คน เพิ่มจากปีก่อน 122.78% ,รัสเซีย 304,368 คน เพิ่ม 102.71% และ อินเดีย 184,535 คน เพิ่ม 10.17% ภาพรวมนักท่องเที่ยวต่างชาติ หาก สถานการณ์ยังเป็นปกติเช่นนี้ คาดจะเติบโตปีละ 10% ดังนั้น ภายในปี 2558 คาดว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ 26 ล้านคน รายได้ 1.7-1.8 ล้านล้านบาท ไม่ถึง 30 ล้านคน ตามที่รัฐบาลวางไว้
***จี้เอกชนบริการครบวงจร***
นายสุภกิตติ์ พลจันทร ผู้อำนวยการภูมิภาคภาคเหนือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในการรับมือการแข่งขันเปิดเสรีเออีซี ต้องการให้ภาคเอกชน โดยสมาคมการท่องเที่ยวต่างๆ ที่มีอยู่ วางแผนการทำงานเชิงรุก กำหนดกรอบการทำงานรายปีในแต่ละช่วงเวลา เพื่อมาบูรณาการร่วมกับแผนงานของ ททท.
ส่วนบริษัทนำเที่ยวผู้ประกอบการควรปรับตัว ให้มีบริการเป็นแบบวันสตอปเซอร์วิส คือ มีทั้งบริการนำเที่ยว บริการรถนำเที่ยว และ ร้านอาหาร จัดโปรแกรมทัวร์ แม้จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวเดิม แต่ต้องนำเสนอในเชิงลึก สร้างเรื่องราวในแหล่งท่องเที่ยวดึงดูดความสนใจ มัคคุเทศก์ต้องปรับให้มีความรู้เพิ่มขึ้น
***หั่นกำไรประคองธุรกิจ***
นายชิดชัย สาครบดี อุปนายก แอตต้า ดูแลตลาดยุโรป กล่าวว่า ผลจากวิกฤตเศรษฐกิจในยุโรป ทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาประเทศไทย 8 เดือนแรกปีนี้ลดลง 15% เทียบกับปีก่อน ซึ่งสิ่งที่ผู้ประกอบการทำได้ คือ พยายามคงราคาขายเท่าเดิม เพื่อรักษาฐานลูกค้าเก่า หั่นกำไรขั้นต้นเหลือ 10-15% ต่อแพกเกจ ลดจากเดิมซึ่งมีกำไรที่ 20-25% ต่อแพกเกจ
ส่วนตลาดที่จะกระทบแน่นอน คือ ลูกค้าใหม่ กลุ่มนี้เมื่อได้รับผลจากวิกฤต จะหันมาเดินทางท่องเที่ยวระยะใกล้ หรือเที่ยวในประเทศตัวเอง โดยเดินทางโดยรถยนต์ ส่วนตลาดที่ยังพอทำกำไรได้ คือ นักท่องเที่ยว ที่เดินทางเอง หรือ เอฟไอที กลุ่มนี้มีกำลังพอจับจ่าย ทำให้ผู้ประกอบการ ที่ทำธุรกิจแบบ บี ทู บี เริ่มขยายช่องทางทำธุรกิจ บี ทู ซี ผ่านโซเซียลเน็ตเวิร์ก
นายศิษฎิวัชร ชีวรัตนพร นายกสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว หรือ แอตต้า เปิดเผยว่า สมาคมอยู่ระหว่างการศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจท่องเที่ยว เพื่อเสนอให้รัฐบาลโดยกระทรวงการท่องเที่ยว และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการปรับแก้ให้มีความทันสมัย พร้อมรองรับการแข่งขันในการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี ที่จะมีขึ้นในปี 2558 โดยศึกษาทั้งกฎหมายที่มีอยู่ของประเทศไทย และกฎหมาย ของประเทศอื่นๆ ในอาเซียน เพื่อดูความได้เปรียบเสียเปรียบ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก โดยจะเร่งให้เสร็จพร้อมเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวให้ทันภายในปี 2555
“เบื้องต้นแอตต้าต้องรณรงค์ให้สมาชิกรู้จักและเข้าใจของข้อตกลงเออีซี ที่จะมีผลต่อธุรกิจการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกคนหลีกเลี่ยงไม่ได้ ควบคู่ไปกับเร่งแก้ไขกฏหมายกฏเกณฑ์ เพื่อใช้เป็นกรอบคัดกรองการเข้ามาลงทุนของต่างชาติในประเทศไทย เช่น การปรับเพิ่มทุนจดทะเบียนการจดบริษัทนำเที่ยว จากปัจจุบัน 1 แสนบาท เพิ่มเป็น 5 ล้านบาท ซึ่งเท่ากับประเทศจีนในปัจจุบัน เป็นต้น”
ขณะนี้มีหลายประเทศเริ่มรุกเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นและจะมากกว่านี้เมื่อเปิดเสรีอาเซียน อาทิ จีน สิงคโปร์ รัสเซีย อินเดีย โดยเข้ามาตั้งบริษัทนำเที่ยว เพื่อให้บริการนักท่องเที่ยวของประเทศตัวเอง จะบริการแบบครบวงจร ถ้าปล่อยเช่นนี้ รายเล็กที่มีอยู่จะล้มตาย
***วิกฤตยุโรปกระทบผู้ส่งออกเอเชีย****
สำหรับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในภูมิภาคยุโรปครั้งนี้ รัฐบาล การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยว อย่าประมาท เพราะหากขยายวงกว้าง เชื่อว่า ประเทศในเอเชีย เช่น จีน เกาหลี อินเดีย และหลายประเทศในเอเชียรวมถึงไทย ที่ทำการค้าส่งออกไปยุโรป ก็จะได้รับผลกระทบด้วยจากการบริโภคของยุโรปที่ลดลง
ในส่วนของผู้ประกอบการทัวร์ โดยเฉพาะที่ทำทัวร์อินบาวนด์จากประเทศยุโรป มาไทย สุดท้ายก็ต้องหันมาใช้กลยุทธ์ราคาเป็นตัวรักษาตลาดไม่ให้ทรุดตัว ด้วยการไม่ปรับขึ้นราคา แต่คงไม่ถึงต้องใช้สงครามราคา เพราะทุกคนก็มีต้นทุนสูง
***ยัน 30 ล้านคนไปไม่ถึง
อย่างไรก็ตาม ตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติ ม.ค.-20ก.ย.54 ที่เดินทางผ่านสมาชิกของสมาคมแอตต้า มีรวมทั้งสิ้น 2,237,015 คน เพิ่มจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 57.54% ประเทศที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางมาสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จีน 474,969 คน เพิ่มจากปีก่อน 122.78% ,รัสเซีย 304,368 คน เพิ่ม 102.71% และ อินเดีย 184,535 คน เพิ่ม 10.17% ภาพรวมนักท่องเที่ยวต่างชาติ หาก สถานการณ์ยังเป็นปกติเช่นนี้ คาดจะเติบโตปีละ 10% ดังนั้น ภายในปี 2558 คาดว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ 26 ล้านคน รายได้ 1.7-1.8 ล้านล้านบาท ไม่ถึง 30 ล้านคน ตามที่รัฐบาลวางไว้
***จี้เอกชนบริการครบวงจร***
นายสุภกิตติ์ พลจันทร ผู้อำนวยการภูมิภาคภาคเหนือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในการรับมือการแข่งขันเปิดเสรีเออีซี ต้องการให้ภาคเอกชน โดยสมาคมการท่องเที่ยวต่างๆ ที่มีอยู่ วางแผนการทำงานเชิงรุก กำหนดกรอบการทำงานรายปีในแต่ละช่วงเวลา เพื่อมาบูรณาการร่วมกับแผนงานของ ททท.
ส่วนบริษัทนำเที่ยวผู้ประกอบการควรปรับตัว ให้มีบริการเป็นแบบวันสตอปเซอร์วิส คือ มีทั้งบริการนำเที่ยว บริการรถนำเที่ยว และ ร้านอาหาร จัดโปรแกรมทัวร์ แม้จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวเดิม แต่ต้องนำเสนอในเชิงลึก สร้างเรื่องราวในแหล่งท่องเที่ยวดึงดูดความสนใจ มัคคุเทศก์ต้องปรับให้มีความรู้เพิ่มขึ้น
***หั่นกำไรประคองธุรกิจ***
นายชิดชัย สาครบดี อุปนายก แอตต้า ดูแลตลาดยุโรป กล่าวว่า ผลจากวิกฤตเศรษฐกิจในยุโรป ทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาประเทศไทย 8 เดือนแรกปีนี้ลดลง 15% เทียบกับปีก่อน ซึ่งสิ่งที่ผู้ประกอบการทำได้ คือ พยายามคงราคาขายเท่าเดิม เพื่อรักษาฐานลูกค้าเก่า หั่นกำไรขั้นต้นเหลือ 10-15% ต่อแพกเกจ ลดจากเดิมซึ่งมีกำไรที่ 20-25% ต่อแพกเกจ
ส่วนตลาดที่จะกระทบแน่นอน คือ ลูกค้าใหม่ กลุ่มนี้เมื่อได้รับผลจากวิกฤต จะหันมาเดินทางท่องเที่ยวระยะใกล้ หรือเที่ยวในประเทศตัวเอง โดยเดินทางโดยรถยนต์ ส่วนตลาดที่ยังพอทำกำไรได้ คือ นักท่องเที่ยว ที่เดินทางเอง หรือ เอฟไอที กลุ่มนี้มีกำลังพอจับจ่าย ทำให้ผู้ประกอบการ ที่ทำธุรกิจแบบ บี ทู บี เริ่มขยายช่องทางทำธุรกิจ บี ทู ซี ผ่านโซเซียลเน็ตเวิร์ก