ศูนย์ข่าวภมิภาค-"ยิ่งลักษณ์"เผย"ในหลวง" ทรงให้กำลังใจพสกนิกรที่ประสบอุทกภัย ขณะที่หลายพื้นที่ทั่วไทยน้ำท่วมยังวิกฤตหนัก "ศอส."เตือนอีก 24 จังหวัดรับมือ"ไห่ถาง" ด้าน"กทม." เตรียมเปิดประตูระบายน้ำรอบกรุง บรรเทาน้ำท่วมจังหวัดใกล้เคียง "สารคาม" วุ่นชาวบ้าน 2 ตำบลรวมตัวจี้ชลประทานเปิดประตูระบายน้ำ"แก่งเลิงจาน" รองผู้ว่าฯ เร่งเคลียร์หวั่นเศรษฐกิจมหาสารคามเสียหายหนัก
วานนี้ (27ก.ย.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางเข้าที่ทำการพรรคเพื่อไทย และเปิดเผยถึงการเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 26 ก.ย.ที่ผ่านมาว่า พระองค์ได้ให้กำลังใจพสกนิกรที่ประสบอุทกภัย รวมไปถึงรัฐมนตรีทุกคนที่ลงพื้นที่ไปช่วยแก้ไขปัญหา เมื่อช่วงเช้าในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ก็ได้แจ้งคำแนะนำของพระองค์ให้กับครม.ได้ทราบ โดยส่วนตัวก็ได้ถวายผลการดำเนินงานแก้ไขปัญหาอุทกภัยด้วย
ขณะที่ก่อนเข้าประชุม นายศรสุทธา กลั่นมาลี หรือ ถั่วแระ เชิญยิ้ม นายกสมาคมตลกแห่งประเทศไทย ได้เข้าพบนายกรัฐมนตรีเพื่อขอนำศิลปินตลกไปแสดงในพื้นที่ประสบอุทกภัย ช่วยฟื้นฟูและให้กำลังใจกับผู้ประสบภัยน้ำท่วม โดยนายกรัฐมนตรีได้กล่าวขอบคุณ และรับปากจะประสานผู้ว่าราชการจังหวัดให้
**ครม.เร่งสนองพระราชดำริในหลวง
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุม ครม.ว่า ในที่ประชุม ครม.นายกรัฐมนตรี กล่าวปรารภก่อนเข้าสู่วาระการประชุมว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานกำลังใจและทรงอยากให้รัฐบาลเร่งช่วยแบกภาระความเดือดร้อนจากพี่น้องประชาชนผู้ประสบภัย จากนั้นบรรดารัฐมนตรีต่างนำเสนอความเห็น และแนวทางการแก้ไขปัญหากันทันที
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี กล่าวกำชับว่ารัฐบาลจะเร่งแก้ไขปัญหาน้ำท่วมโดยเร่งด่วนภายหลังน้ำลดด้วยการเร่งฟื้นฟูความเสียหาย ซึ่งนายกรัฐมนตรีคาดการณ์ว่าน้ำจะยังคงท่วมขังไม่เกิน 2 เดือน ดังนั้น รัฐมนตรีทุกคนต้องเตรียมการมาตรการต่างๆ เข้าไปฟื้นฟูและเยียวยาพี่น้องประชาชนผู้ประสบภัยไว้ให้พร้อม
**อนุมัติงบเพิ่ม7พันล.ชดเชยน้ำท่วม
นายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.ได้มีมติในการออกมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเพิ่มวงเงินกว่า 7,204 ล้านบาท โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วยเกษตรกรที่ได้รับความเสียหายทั้งหมด จะได้รับการชดเชยในอัตราตันละ 1,437 บาท และได้รับเมล็ดพันธุ์ไม่เกิน 10 ไร่ ไร่ละ 10 กิโลกรัม ส่วนที่ 2 เกษตรกรที่เก็บเกี่ยวข้าวก่อนกำหนดจะได้รับอัตราชดเชยที่ 1,437 บาทต่อตัน แต่จะไม่ได้รับเมล็ดพันธุ์ อย่างไรก็ตาม เกษตรกรที่ได้รับการเยียวยาไปทั้งหมดตามขั้นต้นแล้วจะไม่สามารถเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวที่จะเปิดให้ลงทะเบียนในวันที่ 7 ต.ค.นี้ได้ โดยการจ่ายเงินให้เกษตรกรในครั้งนี้ ทางรัฐบาลจะให้ ธ.ก.ส.เป็นผู้สำรองจ่ายไปก่อน ก่อนที่จะมีการจัดตั้งงบประมาณชดเชยให้
**หลาย จว.ยังอ่วม-ชัยนาทยังวิกฤต
ด้านสถานการณ์น้ำท่วมหลายพื้นที่ยังวิกฤตหนักและได้รับผลกระทบมากยิ่งขึ้นจากอิทธิพลของพายุ “ไห่ถาง” ที่เคลื่อนเข้าภาคอีสานและปกคลุมหลายพื้นที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะสถานการณ์น้ำท่วมที่ อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท วานนี้ (27 ก.ย.) ระดับน้ำยังคงท่วมสูง 1-2 เมตร โดยเฉพาะตัวตลาด อ.วัดสิงห์ ทำให้บ้านเรือนที่อยู่โดยรอบๆ จมบาดาลทั้งหมด การสัญจรต้องอาศัยเรือพายและเรือเครื่องในการเดินทางเข้าออก
ขณะที่สถานการณ์น้ำในเขื่อนพลเทพ ขณะนี้ได้มีน้ำเอ่อล้นเข้าท่วมจนเกือบจะท่วมสันเขื่อนแล้ว ขณะที่บางจุดน้ำได้เริ่มล้นและไหลเอ่อผ่านสันเขื่อนบ้างแล้ว
**งดเดินรถไฟสายเหนือน้ำท่วมรางสูง
ส่วนบรรยากาศที่สถานีรถไฟ จ.พิจิตร มีประชาชนนั่งเรือหางยาวเพื่อมารอใช้บริการรถไฟสายเหนือทั้งขาขึ้น และขาล่องอย่างต่อเนื่อง แต่ปรากฏว่าระดับน้ำที่ท่วมรางรถไฟในพื้นที่ จ.นครสวรรค์ ทำให้ไม่สามารถเดินรถได้ การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงต้องประกาศงดเดินรถไฟทุกขบวน ที่ยังไม่ได้ออกจากสถานีต้นทาง ส่วนรถไฟที่มาถึงพิจิตรต้องถอยขบวนกลับไปที่ จ.พิษณุโลก เพื่อนำผู้โดยสารกว่า 500 คนขึ้นรถทัวร์ไปกรุงเทพฯ ทั้งนี้ นายสถานีรถไฟ จ.พิจิตร กล่าวว่า ต้องรอประเมินสถานการณ์อีกครั้งว่าจะสามารถเดินรถได้ตามปกติเมื่อไร
**สารคามวุ่นชาวบ้านจี้เปิดประตูก่งเลิงจาน
วันเดียวกัน เมื่อเวลา 10.00 น.ที่ประตูระบายน้ำท่าสองคอน ต.ท่าสอคอน อ.เมืองมหาสารคาม ชาวบ้านจาก ต.ท่าสองคอน และ ต.แก่งเลิงจาน 8 หมู่บ้านกว่า 100 คน รวมตัวเรียกร้องให้ทางชลประทานจังหวัดเปิดประตูระบายน้ำแก่งเลิงจาน เพื่อให้น้ำไหลเข้าเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม ป้องกันพื้นที่นาข้าวกว่า 2,000 ไร่เสียหายจากน้ำท่วม และบรรเทาความเดือดร้อนของชาวบ้านกว่า 850 ครัวเรือน
นายสุทธินันท์ บุญมี รองผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม นายวรรัตน์ ประวาลปัทมกุล ชลประทานจังหวัด นายแพทย์กิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์ นายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เดินทางมารับฟังปัญหาของชาวบ้าน
นายทองใส แก้วหานาม ตัวแทนชาวบ้าน กล่าวว่า ขณะนี้ชาวบ้านจาก 2 ตำบล คือที่ตำบลท่าสองคอน หมู่ 1, 4, 16, 17 หมู่ 18 และ ตำบลแก่งเลิงจาน หมู่ 1, 12 และหมู่ 16 กำลังเดือดร้อนจากหนัก เนื่องจากฝนที่ตกต่อเนื่อง และน้ำได้เข้าท่วมที่นา ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนกว่า 850 ครัวเรือน พื้นที่นาข้าว 2,000 ไร่ โดยชาวบ้านอยากเรียกร้องให้เร่งระบายน้ำจากประตูน้ำท่าสองคอนลงสู่ลำน้ำชีโดยเร็ว และให้เปิดประตูระบายน้ำแก่งเลิงจาน
ทั้งนี้ เพื่อให้น้ำไหลเข้าเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม เพื่อให้นาข้าวทั้งหมดได้มีโอกาสเก็บเกี่ยว ซึ่งหากไม่เปิดประตูระบายน้ำจะทำให้นาข้าวเสียหายกว่า 2,000 ไร่ เป็นการแบ่งเบาภาระความเดือดร้อนที่ชาวบ้านตำบลท่าสองคอน และ ต.แก่งเลิงจาน กำลังประสบอยู่ตอนนี้ ที่ทนแบกรับปัญหามานานหลายปี ซึ่งจะต้องเปิดประตูระบายน้ำแก่งเลิงจานเข้าเขตเทศบาลเมือง เพื่อให้ชาวเทศบาลเมืองรู้ถึงความเดือดร้อนแบบพวกตนบ้าง
ด้านรองผู้ว่าราชการจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ลงพื้นที่ทำความเข้าใจกับชาวบ้าน ซึ่งในช่วงแรกชาวบ้านไม่พอใจ ต่อมาได้มีการพูดคุยทำความเข้าใจกับชาวบ้านใหม่จนสามารถเข้าใจกันได้ โดยทางชลประทานจังหวัดมหาสารคามได้เดินเครื่องสูบน้ำด้วยไฟฟ้าจำนวน 4 เครื่อง และติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่จำนวน 8 ตัว เพื่อเร่งสูบน้ำให้กับชาวบ้านทั้ง 2 ตำบล โดยจะสูบวันละ 22 ชั่วโมง
ส่วนที่ประตูน้ำแก่งเลิงจาน ทางจังหวัดได้มีมติร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งทางชลประทานจังหวัดมหาสารคาม ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และเทศบาลเมืองมหาสารคาม มีมติร่วมกันว่า จะยกบานประตูที่อ่างเก็บน้ำแก่งเลิงจานขึ้นบางส่วน เพื่อให้น้ำเข้าเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม โดยจะปิดประตูระบายน้ำก็ต่อเมื่อ ระดับน้ำสูงขึ้น 20 เซนติเมตร โดยจะวัดที่ลำห้วยคะคาง บริเวณโรงฆ่าสัตว์
**กทม.เตรียมเปิดประตูระบายน้ำรอบกรุง
นายสัญญา ชีนิมิตร ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพฯ กล่าวถึงข้อมูลอ้างอิงของมหาวิทยาลัยลอนดอน ที่คาดการณ์ว่าพายุไห่ถางจะเข้าสู่ประเทศไทยตอนบน ได้แก่ ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งขณะนี้พายุไห่ถางได้เคลื่อนเข้า จ.สุรินทร์ ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ และยโสธรแล้ว ทั้งนี้ พายุทั้ง 2 ลูกจะไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่กรุงเทพฯโดยตรง แต่อาจได้รับผลจากปริมาณน้ำเหนือสะสมที่ไหลผ่านกรุงเทพมหานครในปริมาณที่มากขึ้น ทั้งนี้ กรุงเทพฯ จะเปิดประตูระบายน้ำคลองแสนแสบ ลาดกระบัง ทวีวัฒนา และเทเวศ เพื่อเร่งระบายน้ำ ในการบรรเทาปัญหาน้ำท่วมในจังหวัดใกล้เคียงและปริมณฑลให้เร็วที่สุด
**ศอส.เตือน24จว.รับมือ"ไห่ถาง"
นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในฐานะรองผู้อำนวยการ ศอส. กล่าวว่า ขณะนี้ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยใน 23 จังหวัด พื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีผู้เสียชีวิตแล้ว 166 ราย ส่วนสถานการณ์ในลุ่มน้ำต่างๆ ยังต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด เนื่องจากมีปริมาณน้ำมาก และระดับน้ำล้นตลิ่ง มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ 9 จังหวัดที่อยู่ริมแม่น้ำ ได้แก่ จ.อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำล้นตลิ่งที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น
นอกจากนี้ ในวันนี้พายุไห่ถางได้เคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทย ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลให้มีฝนตกหนักในพื้นที่ 24 จังหวัด พร้อมเตือนประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยระมัดระวังอันตรายจากภาวะฝนตกหนัก ที่อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม
วานนี้ (27ก.ย.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางเข้าที่ทำการพรรคเพื่อไทย และเปิดเผยถึงการเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 26 ก.ย.ที่ผ่านมาว่า พระองค์ได้ให้กำลังใจพสกนิกรที่ประสบอุทกภัย รวมไปถึงรัฐมนตรีทุกคนที่ลงพื้นที่ไปช่วยแก้ไขปัญหา เมื่อช่วงเช้าในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ก็ได้แจ้งคำแนะนำของพระองค์ให้กับครม.ได้ทราบ โดยส่วนตัวก็ได้ถวายผลการดำเนินงานแก้ไขปัญหาอุทกภัยด้วย
ขณะที่ก่อนเข้าประชุม นายศรสุทธา กลั่นมาลี หรือ ถั่วแระ เชิญยิ้ม นายกสมาคมตลกแห่งประเทศไทย ได้เข้าพบนายกรัฐมนตรีเพื่อขอนำศิลปินตลกไปแสดงในพื้นที่ประสบอุทกภัย ช่วยฟื้นฟูและให้กำลังใจกับผู้ประสบภัยน้ำท่วม โดยนายกรัฐมนตรีได้กล่าวขอบคุณ และรับปากจะประสานผู้ว่าราชการจังหวัดให้
**ครม.เร่งสนองพระราชดำริในหลวง
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุม ครม.ว่า ในที่ประชุม ครม.นายกรัฐมนตรี กล่าวปรารภก่อนเข้าสู่วาระการประชุมว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานกำลังใจและทรงอยากให้รัฐบาลเร่งช่วยแบกภาระความเดือดร้อนจากพี่น้องประชาชนผู้ประสบภัย จากนั้นบรรดารัฐมนตรีต่างนำเสนอความเห็น และแนวทางการแก้ไขปัญหากันทันที
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี กล่าวกำชับว่ารัฐบาลจะเร่งแก้ไขปัญหาน้ำท่วมโดยเร่งด่วนภายหลังน้ำลดด้วยการเร่งฟื้นฟูความเสียหาย ซึ่งนายกรัฐมนตรีคาดการณ์ว่าน้ำจะยังคงท่วมขังไม่เกิน 2 เดือน ดังนั้น รัฐมนตรีทุกคนต้องเตรียมการมาตรการต่างๆ เข้าไปฟื้นฟูและเยียวยาพี่น้องประชาชนผู้ประสบภัยไว้ให้พร้อม
**อนุมัติงบเพิ่ม7พันล.ชดเชยน้ำท่วม
นายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.ได้มีมติในการออกมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเพิ่มวงเงินกว่า 7,204 ล้านบาท โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วยเกษตรกรที่ได้รับความเสียหายทั้งหมด จะได้รับการชดเชยในอัตราตันละ 1,437 บาท และได้รับเมล็ดพันธุ์ไม่เกิน 10 ไร่ ไร่ละ 10 กิโลกรัม ส่วนที่ 2 เกษตรกรที่เก็บเกี่ยวข้าวก่อนกำหนดจะได้รับอัตราชดเชยที่ 1,437 บาทต่อตัน แต่จะไม่ได้รับเมล็ดพันธุ์ อย่างไรก็ตาม เกษตรกรที่ได้รับการเยียวยาไปทั้งหมดตามขั้นต้นแล้วจะไม่สามารถเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวที่จะเปิดให้ลงทะเบียนในวันที่ 7 ต.ค.นี้ได้ โดยการจ่ายเงินให้เกษตรกรในครั้งนี้ ทางรัฐบาลจะให้ ธ.ก.ส.เป็นผู้สำรองจ่ายไปก่อน ก่อนที่จะมีการจัดตั้งงบประมาณชดเชยให้
**หลาย จว.ยังอ่วม-ชัยนาทยังวิกฤต
ด้านสถานการณ์น้ำท่วมหลายพื้นที่ยังวิกฤตหนักและได้รับผลกระทบมากยิ่งขึ้นจากอิทธิพลของพายุ “ไห่ถาง” ที่เคลื่อนเข้าภาคอีสานและปกคลุมหลายพื้นที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะสถานการณ์น้ำท่วมที่ อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท วานนี้ (27 ก.ย.) ระดับน้ำยังคงท่วมสูง 1-2 เมตร โดยเฉพาะตัวตลาด อ.วัดสิงห์ ทำให้บ้านเรือนที่อยู่โดยรอบๆ จมบาดาลทั้งหมด การสัญจรต้องอาศัยเรือพายและเรือเครื่องในการเดินทางเข้าออก
ขณะที่สถานการณ์น้ำในเขื่อนพลเทพ ขณะนี้ได้มีน้ำเอ่อล้นเข้าท่วมจนเกือบจะท่วมสันเขื่อนแล้ว ขณะที่บางจุดน้ำได้เริ่มล้นและไหลเอ่อผ่านสันเขื่อนบ้างแล้ว
**งดเดินรถไฟสายเหนือน้ำท่วมรางสูง
ส่วนบรรยากาศที่สถานีรถไฟ จ.พิจิตร มีประชาชนนั่งเรือหางยาวเพื่อมารอใช้บริการรถไฟสายเหนือทั้งขาขึ้น และขาล่องอย่างต่อเนื่อง แต่ปรากฏว่าระดับน้ำที่ท่วมรางรถไฟในพื้นที่ จ.นครสวรรค์ ทำให้ไม่สามารถเดินรถได้ การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงต้องประกาศงดเดินรถไฟทุกขบวน ที่ยังไม่ได้ออกจากสถานีต้นทาง ส่วนรถไฟที่มาถึงพิจิตรต้องถอยขบวนกลับไปที่ จ.พิษณุโลก เพื่อนำผู้โดยสารกว่า 500 คนขึ้นรถทัวร์ไปกรุงเทพฯ ทั้งนี้ นายสถานีรถไฟ จ.พิจิตร กล่าวว่า ต้องรอประเมินสถานการณ์อีกครั้งว่าจะสามารถเดินรถได้ตามปกติเมื่อไร
**สารคามวุ่นชาวบ้านจี้เปิดประตูก่งเลิงจาน
วันเดียวกัน เมื่อเวลา 10.00 น.ที่ประตูระบายน้ำท่าสองคอน ต.ท่าสอคอน อ.เมืองมหาสารคาม ชาวบ้านจาก ต.ท่าสองคอน และ ต.แก่งเลิงจาน 8 หมู่บ้านกว่า 100 คน รวมตัวเรียกร้องให้ทางชลประทานจังหวัดเปิดประตูระบายน้ำแก่งเลิงจาน เพื่อให้น้ำไหลเข้าเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม ป้องกันพื้นที่นาข้าวกว่า 2,000 ไร่เสียหายจากน้ำท่วม และบรรเทาความเดือดร้อนของชาวบ้านกว่า 850 ครัวเรือน
นายสุทธินันท์ บุญมี รองผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม นายวรรัตน์ ประวาลปัทมกุล ชลประทานจังหวัด นายแพทย์กิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์ นายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เดินทางมารับฟังปัญหาของชาวบ้าน
นายทองใส แก้วหานาม ตัวแทนชาวบ้าน กล่าวว่า ขณะนี้ชาวบ้านจาก 2 ตำบล คือที่ตำบลท่าสองคอน หมู่ 1, 4, 16, 17 หมู่ 18 และ ตำบลแก่งเลิงจาน หมู่ 1, 12 และหมู่ 16 กำลังเดือดร้อนจากหนัก เนื่องจากฝนที่ตกต่อเนื่อง และน้ำได้เข้าท่วมที่นา ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนกว่า 850 ครัวเรือน พื้นที่นาข้าว 2,000 ไร่ โดยชาวบ้านอยากเรียกร้องให้เร่งระบายน้ำจากประตูน้ำท่าสองคอนลงสู่ลำน้ำชีโดยเร็ว และให้เปิดประตูระบายน้ำแก่งเลิงจาน
ทั้งนี้ เพื่อให้น้ำไหลเข้าเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม เพื่อให้นาข้าวทั้งหมดได้มีโอกาสเก็บเกี่ยว ซึ่งหากไม่เปิดประตูระบายน้ำจะทำให้นาข้าวเสียหายกว่า 2,000 ไร่ เป็นการแบ่งเบาภาระความเดือดร้อนที่ชาวบ้านตำบลท่าสองคอน และ ต.แก่งเลิงจาน กำลังประสบอยู่ตอนนี้ ที่ทนแบกรับปัญหามานานหลายปี ซึ่งจะต้องเปิดประตูระบายน้ำแก่งเลิงจานเข้าเขตเทศบาลเมือง เพื่อให้ชาวเทศบาลเมืองรู้ถึงความเดือดร้อนแบบพวกตนบ้าง
ด้านรองผู้ว่าราชการจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ลงพื้นที่ทำความเข้าใจกับชาวบ้าน ซึ่งในช่วงแรกชาวบ้านไม่พอใจ ต่อมาได้มีการพูดคุยทำความเข้าใจกับชาวบ้านใหม่จนสามารถเข้าใจกันได้ โดยทางชลประทานจังหวัดมหาสารคามได้เดินเครื่องสูบน้ำด้วยไฟฟ้าจำนวน 4 เครื่อง และติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่จำนวน 8 ตัว เพื่อเร่งสูบน้ำให้กับชาวบ้านทั้ง 2 ตำบล โดยจะสูบวันละ 22 ชั่วโมง
ส่วนที่ประตูน้ำแก่งเลิงจาน ทางจังหวัดได้มีมติร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งทางชลประทานจังหวัดมหาสารคาม ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และเทศบาลเมืองมหาสารคาม มีมติร่วมกันว่า จะยกบานประตูที่อ่างเก็บน้ำแก่งเลิงจานขึ้นบางส่วน เพื่อให้น้ำเข้าเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม โดยจะปิดประตูระบายน้ำก็ต่อเมื่อ ระดับน้ำสูงขึ้น 20 เซนติเมตร โดยจะวัดที่ลำห้วยคะคาง บริเวณโรงฆ่าสัตว์
**กทม.เตรียมเปิดประตูระบายน้ำรอบกรุง
นายสัญญา ชีนิมิตร ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพฯ กล่าวถึงข้อมูลอ้างอิงของมหาวิทยาลัยลอนดอน ที่คาดการณ์ว่าพายุไห่ถางจะเข้าสู่ประเทศไทยตอนบน ได้แก่ ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งขณะนี้พายุไห่ถางได้เคลื่อนเข้า จ.สุรินทร์ ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ และยโสธรแล้ว ทั้งนี้ พายุทั้ง 2 ลูกจะไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่กรุงเทพฯโดยตรง แต่อาจได้รับผลจากปริมาณน้ำเหนือสะสมที่ไหลผ่านกรุงเทพมหานครในปริมาณที่มากขึ้น ทั้งนี้ กรุงเทพฯ จะเปิดประตูระบายน้ำคลองแสนแสบ ลาดกระบัง ทวีวัฒนา และเทเวศ เพื่อเร่งระบายน้ำ ในการบรรเทาปัญหาน้ำท่วมในจังหวัดใกล้เคียงและปริมณฑลให้เร็วที่สุด
**ศอส.เตือน24จว.รับมือ"ไห่ถาง"
นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในฐานะรองผู้อำนวยการ ศอส. กล่าวว่า ขณะนี้ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยใน 23 จังหวัด พื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีผู้เสียชีวิตแล้ว 166 ราย ส่วนสถานการณ์ในลุ่มน้ำต่างๆ ยังต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด เนื่องจากมีปริมาณน้ำมาก และระดับน้ำล้นตลิ่ง มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ 9 จังหวัดที่อยู่ริมแม่น้ำ ได้แก่ จ.อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำล้นตลิ่งที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น
นอกจากนี้ ในวันนี้พายุไห่ถางได้เคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทย ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลให้มีฝนตกหนักในพื้นที่ 24 จังหวัด พร้อมเตือนประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยระมัดระวังอันตรายจากภาวะฝนตกหนัก ที่อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม