ย้อนไป 57 ปี มีหนังสือใหม่ที่สร้างความสนใจอย่างกว้างขวางพิมพ์ออกมาชื่อ “จะโกหกอย่างไรด้วยการใช้สถิติ” (How to Lie with Statistics) ซึ่งผู้เขียนชื่อ ดาร์เรลล์ ฮัฟฟ์ พูดถึงวิธีหลอกชาวบ้านด้วยการนำเสนอข้อมูลในรูปต่างๆ รวมทั้งตัวเลข กราฟ รูปภาพและแผนภูมิ จริงอยู่เขาเขียนในแนวกึ่งขำขัน แต่แก่นของหนังสือเล่มนั้นวางอยู่บนฐานทางวิชาการที่อาจใช้หลอกคนได้โดยไม่ต้องใช้การโกหกโดยตรง การอ้างถึงหนังสือในตอนนี้อาจเป็นการชี้โพรงให้กระรอก นั่นคือ ช่วยนักการเมืองไทยที่มักใช้การโกหกในชีวิตประจำวันให้นำหลักวิชามาหลอกชาวบ้านมากขึ้น จะมองอย่างนั้นก็คงได้ แต่นักการเมืองไทยในยุคนี้มักมีเมธีบริกรช่วยสอนวิชาชนิดนี้ให้แล้ว จุดมุ่งหมายของการอ้างถึงจึงเป็นการสื่อสารกับผู้อ่านว่า จงช่วยกันเป็นหูเป็นตาและเมื่อเห็นอะไรไม่ชอบมาพากลก็ช่วยกันเปิดโปง ชาวบ้านจะได้รู้ทันนักการเมืองขี้ฉ้อมากขึ้น
เนื่องจากการเมืองในบ้านเราสร้างข่าวใหญ่ไม่เว้นแต่ละวัน ผู้อ่านอาจตกข่าวเรื่องราวในอาร์เจนตินาทั้งที่ประเทศนั้นถูกอ้างถึงบ่อยมาก เนื่องจากเป็นต้นตำหรับของนโยบายประชานิยมแบบเลวร้ายที่รัฐบาลไทยเริ่มนำมาใช้ในปี 2544 อาร์เจนตินาจะเลือกตั้งประธานาธิบดีอีกครั้งในวันที่ 23 ตุลาคม ประธานาธิบดีคริสตินา เคอร์ชเนอร์ ลงสมัครอีกครั้งและหาเสียงด้วยการอ้างถึงความสำเร็จต่างๆ หลังเข้ารับตำแหน่ง เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลประกาศว่านโยบายเศรษฐกิจประสบความสำเร็จสูงและจะส่งผลให้เศรษฐกิจขยายตัวต่อไปในปีหน้าถึงกว่า 8% นั่นเป็นการเปลี่ยนการคาดการณ์ที่รัฐบาลเคยบอกว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว 5% จึงมีผู้สงสัยว่าการคาดการณ์ใหม่จะเป็นจริงได้อย่างไรในเมื่อในตอนต้นปี ตัวเลขบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจน่าจะขยายตัวต่ำกว่า 3%
เนื่องจากตัวเลขที่กล่าวถึงเป็นเพียงการคาดการณ์ หากการขยายตัวไม่เกิดขึ้นจริงก็จะไม่สร้างความเสียหายมากมายนัก ต่างกับตัวเลขเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อของรัฐบาลซึ่งในขณะนี้ไม่มีผู้เชื่อถืออีกแล้ว เรื่องมีอยู่ว่า ย้อนไป 4 ปี ประธานาธิบดีเปลี่ยนพนักงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติเป็นการใหญ่โดยอ้างว่าเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น การเปลี่ยนแปลงนั้นสร้างความสงสัยให้ผู้อยู่ในวงการว่าน่าจะมีวาระซ่อนเร้นแฝงอยู่แต่ก็ยังไม่รู้ว่าคืออะไร นักเศรษฐศาสตร์อาร์เจนตินาจึงติดตามแบบไม่ลดละจนสรุปได้ว่ารัฐบาลต้องการหลอกชาวบ้านเพื่อผลทางงบประมาณและการเมือง เช่น ในช่วงปีที่ผ่านมา รัฐบาลประกาศว่าอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 9.7% แต่อดีตผู้ว่าการธนาคารกลางของอาร์เจนตินาสรุปว่าอัตราเงินเฟ้อที่แท้จริงควรเป็น 23%
ตัวเลขของรัฐบาลถูกนำมาใช้ในด้านต่างๆ รวมทั้งการอ้างว่านโยบายป้องกันเงินเฟ้อประสบความสำเร็จ รัฐบาลลดความยากจนลงได้ทั้งที่การวิจัยของเอกชนบ่งชี้ว่าอัตราความยากจนจริงๆ สูงถึงสองเท่าของตัวเลขรัฐบาล และที่สำคัญยิ่งคือ รัฐบาลใช้ตัวเลขนั้นเป็นฐานของการโกงผู้ถือพันธบัตรรัฐบาลเนื่องจากดอกเบี้ยของพันธบัตรผูกไว้กับอัตราเงินเฟ้อ การวิจัยพบว่าในช่วงเวลา 4 ปีหลังจากมีการเปลี่ยนพนักงานของสำนักงานสถิติ รัฐบาลโกงดอกเบี้ยได้ถึง 1 พันล้านดอลลาร์ ภาวะเช่นนั้นผลักดันให้เกิดการวิจัยในภาคเอกชนอย่างเข้มข้นยิ่งขึ้น ผู้วิจัยต่างสรุปตรงกันว่ารัฐบาลบิดเบือนความจริง เมื่อจนแต้มรัฐบาลก็ข่มขู่ผู้วิจัยโดยใช้วิชามารต่างๆ รวมทั้งการฟ้องศาลให้ดำเนินคดี พวกเขาจะได้ไม่มีเวลาทำมาหากิน แต่พวกเขาไม่ยอมแพ้ง่ายๆ ส่งผลให้รัฐบาลต้องยอมหาคนกลางมาศึกษาหาให้ได้ข้อสรุปว่าวิธีไหนจะให้ผลใกล้ความเป็นจริงที่สุด คนกลางได้แก่กองทุนการเงินระหว่างประเทศซึ่งตอนนี้ยังไม่มีข้อสรุป
เนื่องจากรัฐบาลใหม่ของไทยเริ่มแสดงอำนาจบาตรใหญ่ด้วยการเปลี่ยนข้าราชการในองค์กรสำคัญๆ ทันทีเพื่อหวังยึดอำนาจแบบเบ็ดเสร็จเช่นเดียวกับเผด็จการ ฉะนั้น คาดได้ว่าอีกไม่นานรัฐบาลจะทำเช่นอาร์เจนตินา นั่นคือ บิดเบือนความจริงผ่านการใช้สถิติเพื่อผลทางการเมือง ในช่วงนี้ตัวเลขที่น่าจับตาได้แก่ราคาสินค้าที่รวมกันออกมาเป็นอัตราเงินเฟ้อ ทั้งนี้เพราะการผลักดันให้มีการขึ้นเงินเดือนข้าราชการพร้อมทั้งค่าแรงขั้นต่ำของผู้ใช้แรงงานและผู้จบปริญญาตรีจะมีผลต่อราคาสินค้า รัฐบาลจะพยายามบิดเบือนตัวเลขเพื่อถกเถียงว่าไม่จริง การบิดเบือนจะทำได้ง่ายขึ้นหากองค์กรของรัฐช่วยปั้นตัวเลขให้ ด้วยเหตุนี้ อาจจะมีการเปลี่ยนผู้บริหารขององค์กรสำคัญๆ ในขั้นต่อไปไม่ว่าจะเป็นที่สภาพัฒน์หรือสำนักงานสถิติแห่งชาติ
นอกจากนั้น การบิดเบือนความจริงอาจทำผ่านนักวิชาการขายตัว หรือเมธีบริกร ซึ่งจะมีผลงานที่สนับสนุนจุดยืนของรัฐบาลออกมาเรื่อยๆ ผลงานเหล่านั้นอาจดูเหมือนมีฐานทางวิชาการรองรับอยู่ แต่เมื่อดูให้ลึกจริงๆ มักจะพบว่าบิดเบือนหลักวิชาด้วย
ฉะนั้น จงช่วยกันติดตามแล้วนำตัวเลขที่ไม่ชอบมาพากลมาเปิดโปง หากไม่สามารถทำผ่านสื่อทั่วไปได้ก็ทำผ่านสังคมออนไลน์ หรือเครือข่ายทางอินเทอร์เน็ต
เนื่องจากการเมืองในบ้านเราสร้างข่าวใหญ่ไม่เว้นแต่ละวัน ผู้อ่านอาจตกข่าวเรื่องราวในอาร์เจนตินาทั้งที่ประเทศนั้นถูกอ้างถึงบ่อยมาก เนื่องจากเป็นต้นตำหรับของนโยบายประชานิยมแบบเลวร้ายที่รัฐบาลไทยเริ่มนำมาใช้ในปี 2544 อาร์เจนตินาจะเลือกตั้งประธานาธิบดีอีกครั้งในวันที่ 23 ตุลาคม ประธานาธิบดีคริสตินา เคอร์ชเนอร์ ลงสมัครอีกครั้งและหาเสียงด้วยการอ้างถึงความสำเร็จต่างๆ หลังเข้ารับตำแหน่ง เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลประกาศว่านโยบายเศรษฐกิจประสบความสำเร็จสูงและจะส่งผลให้เศรษฐกิจขยายตัวต่อไปในปีหน้าถึงกว่า 8% นั่นเป็นการเปลี่ยนการคาดการณ์ที่รัฐบาลเคยบอกว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว 5% จึงมีผู้สงสัยว่าการคาดการณ์ใหม่จะเป็นจริงได้อย่างไรในเมื่อในตอนต้นปี ตัวเลขบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจน่าจะขยายตัวต่ำกว่า 3%
เนื่องจากตัวเลขที่กล่าวถึงเป็นเพียงการคาดการณ์ หากการขยายตัวไม่เกิดขึ้นจริงก็จะไม่สร้างความเสียหายมากมายนัก ต่างกับตัวเลขเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อของรัฐบาลซึ่งในขณะนี้ไม่มีผู้เชื่อถืออีกแล้ว เรื่องมีอยู่ว่า ย้อนไป 4 ปี ประธานาธิบดีเปลี่ยนพนักงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติเป็นการใหญ่โดยอ้างว่าเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น การเปลี่ยนแปลงนั้นสร้างความสงสัยให้ผู้อยู่ในวงการว่าน่าจะมีวาระซ่อนเร้นแฝงอยู่แต่ก็ยังไม่รู้ว่าคืออะไร นักเศรษฐศาสตร์อาร์เจนตินาจึงติดตามแบบไม่ลดละจนสรุปได้ว่ารัฐบาลต้องการหลอกชาวบ้านเพื่อผลทางงบประมาณและการเมือง เช่น ในช่วงปีที่ผ่านมา รัฐบาลประกาศว่าอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 9.7% แต่อดีตผู้ว่าการธนาคารกลางของอาร์เจนตินาสรุปว่าอัตราเงินเฟ้อที่แท้จริงควรเป็น 23%
ตัวเลขของรัฐบาลถูกนำมาใช้ในด้านต่างๆ รวมทั้งการอ้างว่านโยบายป้องกันเงินเฟ้อประสบความสำเร็จ รัฐบาลลดความยากจนลงได้ทั้งที่การวิจัยของเอกชนบ่งชี้ว่าอัตราความยากจนจริงๆ สูงถึงสองเท่าของตัวเลขรัฐบาล และที่สำคัญยิ่งคือ รัฐบาลใช้ตัวเลขนั้นเป็นฐานของการโกงผู้ถือพันธบัตรรัฐบาลเนื่องจากดอกเบี้ยของพันธบัตรผูกไว้กับอัตราเงินเฟ้อ การวิจัยพบว่าในช่วงเวลา 4 ปีหลังจากมีการเปลี่ยนพนักงานของสำนักงานสถิติ รัฐบาลโกงดอกเบี้ยได้ถึง 1 พันล้านดอลลาร์ ภาวะเช่นนั้นผลักดันให้เกิดการวิจัยในภาคเอกชนอย่างเข้มข้นยิ่งขึ้น ผู้วิจัยต่างสรุปตรงกันว่ารัฐบาลบิดเบือนความจริง เมื่อจนแต้มรัฐบาลก็ข่มขู่ผู้วิจัยโดยใช้วิชามารต่างๆ รวมทั้งการฟ้องศาลให้ดำเนินคดี พวกเขาจะได้ไม่มีเวลาทำมาหากิน แต่พวกเขาไม่ยอมแพ้ง่ายๆ ส่งผลให้รัฐบาลต้องยอมหาคนกลางมาศึกษาหาให้ได้ข้อสรุปว่าวิธีไหนจะให้ผลใกล้ความเป็นจริงที่สุด คนกลางได้แก่กองทุนการเงินระหว่างประเทศซึ่งตอนนี้ยังไม่มีข้อสรุป
เนื่องจากรัฐบาลใหม่ของไทยเริ่มแสดงอำนาจบาตรใหญ่ด้วยการเปลี่ยนข้าราชการในองค์กรสำคัญๆ ทันทีเพื่อหวังยึดอำนาจแบบเบ็ดเสร็จเช่นเดียวกับเผด็จการ ฉะนั้น คาดได้ว่าอีกไม่นานรัฐบาลจะทำเช่นอาร์เจนตินา นั่นคือ บิดเบือนความจริงผ่านการใช้สถิติเพื่อผลทางการเมือง ในช่วงนี้ตัวเลขที่น่าจับตาได้แก่ราคาสินค้าที่รวมกันออกมาเป็นอัตราเงินเฟ้อ ทั้งนี้เพราะการผลักดันให้มีการขึ้นเงินเดือนข้าราชการพร้อมทั้งค่าแรงขั้นต่ำของผู้ใช้แรงงานและผู้จบปริญญาตรีจะมีผลต่อราคาสินค้า รัฐบาลจะพยายามบิดเบือนตัวเลขเพื่อถกเถียงว่าไม่จริง การบิดเบือนจะทำได้ง่ายขึ้นหากองค์กรของรัฐช่วยปั้นตัวเลขให้ ด้วยเหตุนี้ อาจจะมีการเปลี่ยนผู้บริหารขององค์กรสำคัญๆ ในขั้นต่อไปไม่ว่าจะเป็นที่สภาพัฒน์หรือสำนักงานสถิติแห่งชาติ
นอกจากนั้น การบิดเบือนความจริงอาจทำผ่านนักวิชาการขายตัว หรือเมธีบริกร ซึ่งจะมีผลงานที่สนับสนุนจุดยืนของรัฐบาลออกมาเรื่อยๆ ผลงานเหล่านั้นอาจดูเหมือนมีฐานทางวิชาการรองรับอยู่ แต่เมื่อดูให้ลึกจริงๆ มักจะพบว่าบิดเบือนหลักวิชาด้วย
ฉะนั้น จงช่วยกันติดตามแล้วนำตัวเลขที่ไม่ชอบมาพากลมาเปิดโปง หากไม่สามารถทำผ่านสื่อทั่วไปได้ก็ทำผ่านสังคมออนไลน์ หรือเครือข่ายทางอินเทอร์เน็ต