ASTVผู้จัดการรายวัน-ศาลอาญากรุงเทพใต้ พิพากษาจำคุก"เสี่ยขาว-เจ้าของบริษัททำเอฟเฟ็ก" คนละ 3 ปี ฐานประมาทปล่อยเพลิงไหม้ซานติก้าผับ จนคนตาย 67 เจ็บนับร้อย โทษคุก ไม่รอลงอาญา เพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่าง พร้อมให้จ่ายค่าชดเชยเหยื่อร่วม 10 ล้าน ขณะที่นักร้องนำวงเบิร์นกับพนักงานผับอีก 3 คน ศาลยกฟ้อง อัยการเตรียมยื่นอุทธรณ์ขอให้ศาลลงโทษหนัก เหยื่อวอน"เสี่ยขาว"รับผิดชอบมากกว่านี้ เจ้าหน้าที่นำตัวนายวิสุข เสร็จสวัสดิ์ หรือเสี่ยขาว ผู้บริหารซานติก้าผับ เข้ารับฟังคำพิพากษา
วานนี้ (20 ก.ย.) เวลา 09.30 น.ที่ห้องพิจารณา 301 ศาลอาญากรุงเทพใต้ ถนนเจริญกรุง ศาลออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาคดีเพลิงไหม้ซานติก้าผับ ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 1 ได้เป็นโจทก์ ฟ้องนายวิสุข เสร็จสวัสดิ์ หรือ เสี่ยขาว กรรมการผู้จัดการบริษัท ไวท์ แอนด์ บราเธอร์ส์ (2003) จำกัด ผู้บริหารซานติก้าผับ ,นายธวัชชัย ศรีทุมมา ผอ.ฝ่ายปฏิบัติการ,นายพงษ์เทพ จินดา ผจก.ฝ่ายบันเทิง, นายวุฒิพงศ์ ไวลย์ลิกรี ผจก.ฝ่ายการตลาด, นายสราวุธ อะริยะ นักร้องวงเบิร์น ผู้จุดพลุไฟ , บริษัท โพกัสไลท์ ซาวน์ซิสเต็ม จำกัด ซึ่งรับจ้างติดตั้งการทำเอ็ฟเฟค ซานติก้าผับ และนายบุญชู เหล่าสีนาท กรรมการผู้มีอำนาจบริษัท โพกัสไลท์ฯ เป็นจำเลยที่ 1-7 ในความผิดฐานผู้ใดทำให้เกิดเพลิงไหม้เป็นเหตุให้ผู้อื่นทรัพย์สินผู้อื่นเสียหายและเป็นอันตรายกับชีวิตผู้อื่น , ผู้ใดกระทำการประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย , ผู้ใดกระทำการให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส และผู้ใดกระทำการให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายและจิตใจ ตามประมวลกฎหมาย มาตรา 225 , 291, 300, 390 และกระทำผิด พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ.2509 มาตรา 16/1, 16/3.27 และ 28/1 ฐานเป็นผู้รับอนุญาตตั้งสถานบริการปล่อยปละละเลยให้บุคคลซึ่งอายุต่ำกว่า 20 ปี เข้าไปในสถานบริการ และปล่อยปละละเลยให้มีการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานบริการ มาตรา 291
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องสรุปว่า เมื่อคืนวันที่ 31 ธ.ค.2551 ต่อเนื่องวันที่ 1 ม.ค.2552 พวกจำเลยได้กระทำการโดยประมาทปราศจากความระมัดระวัง จัดให้มีงานรื่นเริงให้บริการจำหน่ายอาหารสุรา เครื่องดื่ม การแสดงดนตรีรวมทั้งการแสดง แสง สี เสียง ในโอกาสฉลองเทศกาล วันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ภายในตัวอาคารซานติก้าผับ ย่านเอกมัย ซึ่งภายในตัวอาคารไม่มีแบบแปลนแผนผังอาคารติดตั้งแสดงไว้ ไม่มีป้ายบอกทางหนีไฟ และไม่ได้ติดตั้งไฟฉุกเฉินให้มีจำนวนเพียงพอที่จะสามารถเปิดส่องสว่างแก่ ลูกค้าเพื่อการหลบหนีออกจากตัวอาคารได้สะดวกและปลอดภัย โดยอาคารมีพื้นที่ให้บริการลูกค้าที่สามารถจุคนได้ไม่เกิน จำนวน 500 คน แต่ขณะเกิดเหตุมีลูกค้าเข้าไปใช้บริการเป็นจำนวนมากกว่า 1,000 คน โดยจำเลยที่ 5 ได้จุดพลุไฟที่บริเวณหน้าเวที ซึ่งมีความสูงประมาณ 5 เมตร จนเกิดลูกไฟขึ้นไปชนเพดานเวที ทำให้เกิดเพลิงลุกไหม้ขึ้นที่บริเวณเพดานเวทีและภายในตัวอาคารเป็นเหตุให้ ลูกค้าผู้เข้าไปใช้บริการ ในอาคารถึงแก่ความตาย 67 คน บาดเจ็บสาหัส 32 คน บาดเจ็บอีก 71 คน จำเลยทั้งหมดให้การปฏิเสธ โดยจำเลย 1 ให้การปฏิเสธอ้างว่า ขณะเกิดเหตุไม่ได้เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท ไวท์ แอนด์ บราเธอร์ส์ (2003) จำกัด ซึ่งบริหารร้านซานติก้าผับ ส่วนจำเลยที่ 6 และ 7 ต่อสู้คดีว่าเพลิงที่ลุกไหม้ไม่ได้เกิดจากเอฟเฟ็ก
ศาลพิเคราะห์คำเบิกความและพยานหลักฐานนำสืบทั้งสองฝ่ายแล้ว เห็นว่า เมื่อวันที่ 13 พ.ย.2546 บริษัท ไวท์ แอนด์บราเธอร์ส์ฯ ได้จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด โดยมีนายวิสุข จำเลยที่ 1 เป็นกรรมการผู้จัดการ ต่อมาวันที่ 17 ธ.ค.2547 บริษัท ไวท์ฯ ได้เปลี่ยนแปลงกรรมการผู้จัดการโดยให้นายสุริยา หรือตั้ม ฤทธิ์ระบือ ซึ่งมิได้ถือหุ้นบริษัทแม้แต่เพียงหุ้นเดียวเข้ามาเป็นกรรมการผู้จัดการแทน และมีจำเลยที่ 2-4 เป็นพนักงานบริษัท ต่อมาวันที่ 25 ธ.ค.2551 บริษัทไวท์ฯ ได้จัดให้มีการแถลงข่าวปิดกิจการร้านซานติก้าผับ พร้อมกับจัดงานฉลองปีใหม่โดยมีจำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันแถลงข่าวชักชวนให้ลูกค้ามาใช้บริการในคืนวันที่ 31 ธ.ค.2551 โดยนายสุริยา ไม่ได้ร่วมแถลงข่าวแต่อย่างใดย่อมเป็นการผิดวิสัย มีพิรุธ อีกทั้งพยานโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานภายในซานติก้าผับก็ไม่เคยรู้จักนายสุริยาเลย แสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 เชิดนายสุริยา ไว้โดยตนเองบงการอยู่เบื้องหลัง
นอกจากนี้ ฝ่ายโจทก์มีนายอนุวัต ปิลาผล ผู้ตรวจพิสูจน์จากสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้นำเทปบันทึกภาพจากกล้องมาลงแผ่นดีวีดีแสดงเหตุการณ์เพลิงไหม้ อย่างชัดเจน โดยมีจำเลยที่ 5 ถือไมโครโฟนร้องเพลง พร้อมกับมีการจุดเอฟเฟ็กไฟฟ้าลักษณะเป็นพลุไฟเป็นสะเก็ดดาว บางลูกกระจายขึ้นไป บางลูกตกลงบนพื้นเวทีจากทั้งหมด 7 ลูก และมีพลุลูกที่ 4 เป็นลูกไฟแตกต่างจากลูกอื่นจนเกิดเพลิงลุกไหม้ โดยมีคนพูดว่า “ใครติดกลับหัววะ” โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 5 ใช้ไฟแช็กจุดพลุแต่อย่างใด ส่วนจุดที่เป็นต้นเกิดจากพลุเอฟเฟคไฟลุกไหม้บริเวณเพดานด้านบนขวาของเวก่อนลุกลามอย่างรวดเร็วเนื่องจากเพดานเป็นวัสดุที่ติดไฟง่าย
ส่วนที่จำเลยที่ 6 และ 7 ซึ่งเป็นผู้จัดทำพลุไฟเอฟเฟคต่อสู้ สาเหตุเกิดเพลิงไหม้ไม่ได้เกิดจากเอฟเฟ็ก เพราะเป็นพลุมีลักษณะสวยงาม มีแสงสว่างแวบเดียว ส่วนสาเหตุเพลิงไหม้อาจจะเกิดจากการจุดไฟเย็นจากผู้ที่เข้ามาใช้บริการก็ได้นั้น เป็นข้ออ้างลอยๆ ไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ
อีกทั้งร้านซานติก้าผับซึ่งมีลักษณะอาคารสาธารณะ แต่ขาดมาตรฐานความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน ไม่มีแผนผังทางหนีไฟ ไม่มีป้ายบอกทางหนีไฟ ไม่มีระบบสัญญาณเตือนไฟ ไม่มีระบบดับเพลิงอัตโนมัติ รวมทั้งประตูทางเข้าออกสามารถรองรับจำนวนคนเข้าออกอย่างปลอดภัยได้เพียง 408 และใช้วัสดุตกแต่งร้านที่ติดไฟง่าย เกิดแก๊สพิษ ดังนั้น จำเลยที่ 1 รวมทั้งจำเลยที่ 6 และ ซึ่งเป็นผู้จัดทำพลุไฟต้องใช้ความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายแต่กลับละเลยจนเกิดเหตุเพลิงไหม้ขึ้นดังกล่าว
เห็นว่าการกระทำของจำเลยที่ 1,6 และ 7 จึง เป็นการกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก เป็นความผิดกรรมเดียว ผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291 อันเป็นบทหนักสุด ให้จำคุกจำเลยที่ 1 และ 7 คนละ 3 ปี และปรับจำเลยที่ 6 จำนวน 20,000 บาท แม้จำเลยที่ 1 จะให้เงินช่วยเหลือทายาทผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บแล้วเป็นเงิน 3,394,800 บาท แต่การที่จำเลยที่ 1 ใน ฐานะผู้บริหารสถานบริการซึ่งเป็นอาคารสาธารณะที่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของ ผู้ใช้อาคารเป็นสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานบริการจะต้องมีระบบความปลอดภัยเกี่ยวกับอัคคีภัย เพื่อให้เป็นไปตามหลักมาตรฐานความปลอดภัยขั้นพื้นฐานตามกฎหมาย แต่จำเลยที่ 1 กลับ ไม่ยอมปฏิบัติตามกฎหมายเป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ ทำให้มีผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บจำนวนมาก เพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่ผู้ประกอบการรายอื่น อันเป็นการปกป้องสังคมและประชาชนผู้ใช้บริการตามสถานบริการ จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะรอการลงโทษจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 7 ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 2-5 และให้จำเลยที่ 6-7 ร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ร่วมที่ 4-6 เป็นเงินรายละ 1,540,000 บาท พร้อมทั้งให้โจทก์ร่วมที่ 7-8 เป็นเงินรายละ 2,040,000 บาท รวม 8,700,000 บาท
ภายหลังนายวิสุข หรือเสี่ยขาว เปิดเผยสั้นๆ ว่า ยังไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษา และจะยื่นอุทธรณ์แน่นอนตามความเป็นจริงที่ปรากฏ ก่อนยื่นหลักทรัพย์เป็นเงินสด 5 แสนบาท ประกันตัวออกไประหว่างอุทธรณ์คดี ขณะที่นายบุญชู จำเลยที่ 7 ใช้หลักทรัพย์ 5 แสนบาทยื่นประกันตัวออกไปเช่นกัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีบรรดาผู้เสียหาย และญาติผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ซานติก้าผับ ซึ่งเป็นโจทก์ร่วมในคดีมาร่วมฟังคำพิพากษากว่า 100 คน จนแน่นห้องพิจารณา โดยผู้เสียหายบางราย กล่าวว่า ศาลพิพากษาลงโทษพวกจำเลยน้อยไป คงต้องยื่นอุทธรณ์พิพากษาให้ศาลลงโทษจำคุกมากกว่าเดิม
นายฤชา ไกรฤกษ์ อัยการผู้เชี่ยวชาญสำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ 1 เจ้าของสำนวน กล่าวว่า คดีนี้อัยการฟ้องขอให้ลงโทษมาตรา 291อันเป็นบทหนัก ศาลลงมาตรานี้แล้ว แต่ไม่ได้ลงเต็มอัตราสูงสุด 10 ปี โดยลงโทษ 3 ปี ก็ถือว่าศาลลงโทษตามประสงค์ของโจทก์แล้ว อย่างไรก็ตาม อัยการจะยื่นอุทธรณ์ในทุกประเด็นแม้ว่า ศาลจะลงโทษตรงตามคำฟ้อง และโดยเฉพาะนายสุริยะ จำเลยที่ 5 นักร้องวงเบิร์นมีพยานเห็นเป็นประจักษ์พยาน 2 ปาก มีคนที่เห็นจุดไฟแช็ค และ พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ อดีตรอง ผบ.ตร. ก็เคยมาเบิกความไว้ ส่วนจำเลยอื่นๆ เช่น 2-4 ตนเห็นว่าไม่เกี่ยวข้องเท่าไร โดยจะทำความเห็นสมควรอุทธรณ์ไปยังสำนักงานอัยการฝ่ายคดีศาลสูงพิจารณาต่อไป
น.ส.รัตนา แซ่ลิ้ม อายุ 29 ปี ที่ได้รับบาดเจ็บสาหัสเป็นแผลรอยถูกไฟไหม้ตามร่างกายและใบหน้า 30% จนศีรษะโล้น มือขวากุด มือซ้ายพิการผิดรูป มีแผลไฟไหม้ทั้งตัว กล่าวว่า ตนเป็นโจทก์ร่วม พอใจคำพิพากษาระดับหนึ่ง โดยตนจะเอาผลคำพิพากษานี้ไปยันกับคดีแพ่งที่ฟ้องเรียกค่าสินไหมจำนวน 8 ล้านบาทที่ศาลจังหวัดพระโขนง ปกติตนเป็นสาวเชียร์เบียร์ยี่ห้อหนึ่งวันเกิดเหตุอยู่ใกล้เวที จนถึงไฟไหม้รักษาตัวที่ รพ.นพรัตน์ฯผ่าตัดมา 10 ครั้ง แผลลึกถึงผิวหนังระดับสาม ต้องรักษาตลอดชีวิต ที่ผ่านมาเสี่ยขาว ให้เงินมา 15,000 บาทเท่านั้นแล้วไม่เคยจ่ายอีก จนอีกสองวันก่อนพิพากษา ติดต่อมาจะให้เงินอีก 100,000 บาท เพื่อยอมความกันไป แต่ตนปฏิเสธ และขอให้เสี่ยขาวแสดงความรับผิดชอบมากกว่านี้
ส่วนนายเกรียงศักดิ์ วรมงคลชัย รองโฆษกสภาทนายความ กล่าวว่า ได้ยื่นฟ้องเสี่ยวขาวกับพวก ที่ศาลจังหวัดพระโขนง 48 สำนวนรวม 571 ล้านบาท ที่ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ 8 สำนวนรวม 151 ล้านบาท คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา
วานนี้ (20 ก.ย.) เวลา 09.30 น.ที่ห้องพิจารณา 301 ศาลอาญากรุงเทพใต้ ถนนเจริญกรุง ศาลออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาคดีเพลิงไหม้ซานติก้าผับ ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 1 ได้เป็นโจทก์ ฟ้องนายวิสุข เสร็จสวัสดิ์ หรือ เสี่ยขาว กรรมการผู้จัดการบริษัท ไวท์ แอนด์ บราเธอร์ส์ (2003) จำกัด ผู้บริหารซานติก้าผับ ,นายธวัชชัย ศรีทุมมา ผอ.ฝ่ายปฏิบัติการ,นายพงษ์เทพ จินดา ผจก.ฝ่ายบันเทิง, นายวุฒิพงศ์ ไวลย์ลิกรี ผจก.ฝ่ายการตลาด, นายสราวุธ อะริยะ นักร้องวงเบิร์น ผู้จุดพลุไฟ , บริษัท โพกัสไลท์ ซาวน์ซิสเต็ม จำกัด ซึ่งรับจ้างติดตั้งการทำเอ็ฟเฟค ซานติก้าผับ และนายบุญชู เหล่าสีนาท กรรมการผู้มีอำนาจบริษัท โพกัสไลท์ฯ เป็นจำเลยที่ 1-7 ในความผิดฐานผู้ใดทำให้เกิดเพลิงไหม้เป็นเหตุให้ผู้อื่นทรัพย์สินผู้อื่นเสียหายและเป็นอันตรายกับชีวิตผู้อื่น , ผู้ใดกระทำการประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย , ผู้ใดกระทำการให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส และผู้ใดกระทำการให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายและจิตใจ ตามประมวลกฎหมาย มาตรา 225 , 291, 300, 390 และกระทำผิด พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ.2509 มาตรา 16/1, 16/3.27 และ 28/1 ฐานเป็นผู้รับอนุญาตตั้งสถานบริการปล่อยปละละเลยให้บุคคลซึ่งอายุต่ำกว่า 20 ปี เข้าไปในสถานบริการ และปล่อยปละละเลยให้มีการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานบริการ มาตรา 291
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องสรุปว่า เมื่อคืนวันที่ 31 ธ.ค.2551 ต่อเนื่องวันที่ 1 ม.ค.2552 พวกจำเลยได้กระทำการโดยประมาทปราศจากความระมัดระวัง จัดให้มีงานรื่นเริงให้บริการจำหน่ายอาหารสุรา เครื่องดื่ม การแสดงดนตรีรวมทั้งการแสดง แสง สี เสียง ในโอกาสฉลองเทศกาล วันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ภายในตัวอาคารซานติก้าผับ ย่านเอกมัย ซึ่งภายในตัวอาคารไม่มีแบบแปลนแผนผังอาคารติดตั้งแสดงไว้ ไม่มีป้ายบอกทางหนีไฟ และไม่ได้ติดตั้งไฟฉุกเฉินให้มีจำนวนเพียงพอที่จะสามารถเปิดส่องสว่างแก่ ลูกค้าเพื่อการหลบหนีออกจากตัวอาคารได้สะดวกและปลอดภัย โดยอาคารมีพื้นที่ให้บริการลูกค้าที่สามารถจุคนได้ไม่เกิน จำนวน 500 คน แต่ขณะเกิดเหตุมีลูกค้าเข้าไปใช้บริการเป็นจำนวนมากกว่า 1,000 คน โดยจำเลยที่ 5 ได้จุดพลุไฟที่บริเวณหน้าเวที ซึ่งมีความสูงประมาณ 5 เมตร จนเกิดลูกไฟขึ้นไปชนเพดานเวที ทำให้เกิดเพลิงลุกไหม้ขึ้นที่บริเวณเพดานเวทีและภายในตัวอาคารเป็นเหตุให้ ลูกค้าผู้เข้าไปใช้บริการ ในอาคารถึงแก่ความตาย 67 คน บาดเจ็บสาหัส 32 คน บาดเจ็บอีก 71 คน จำเลยทั้งหมดให้การปฏิเสธ โดยจำเลย 1 ให้การปฏิเสธอ้างว่า ขณะเกิดเหตุไม่ได้เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท ไวท์ แอนด์ บราเธอร์ส์ (2003) จำกัด ซึ่งบริหารร้านซานติก้าผับ ส่วนจำเลยที่ 6 และ 7 ต่อสู้คดีว่าเพลิงที่ลุกไหม้ไม่ได้เกิดจากเอฟเฟ็ก
ศาลพิเคราะห์คำเบิกความและพยานหลักฐานนำสืบทั้งสองฝ่ายแล้ว เห็นว่า เมื่อวันที่ 13 พ.ย.2546 บริษัท ไวท์ แอนด์บราเธอร์ส์ฯ ได้จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด โดยมีนายวิสุข จำเลยที่ 1 เป็นกรรมการผู้จัดการ ต่อมาวันที่ 17 ธ.ค.2547 บริษัท ไวท์ฯ ได้เปลี่ยนแปลงกรรมการผู้จัดการโดยให้นายสุริยา หรือตั้ม ฤทธิ์ระบือ ซึ่งมิได้ถือหุ้นบริษัทแม้แต่เพียงหุ้นเดียวเข้ามาเป็นกรรมการผู้จัดการแทน และมีจำเลยที่ 2-4 เป็นพนักงานบริษัท ต่อมาวันที่ 25 ธ.ค.2551 บริษัทไวท์ฯ ได้จัดให้มีการแถลงข่าวปิดกิจการร้านซานติก้าผับ พร้อมกับจัดงานฉลองปีใหม่โดยมีจำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันแถลงข่าวชักชวนให้ลูกค้ามาใช้บริการในคืนวันที่ 31 ธ.ค.2551 โดยนายสุริยา ไม่ได้ร่วมแถลงข่าวแต่อย่างใดย่อมเป็นการผิดวิสัย มีพิรุธ อีกทั้งพยานโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานภายในซานติก้าผับก็ไม่เคยรู้จักนายสุริยาเลย แสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 เชิดนายสุริยา ไว้โดยตนเองบงการอยู่เบื้องหลัง
นอกจากนี้ ฝ่ายโจทก์มีนายอนุวัต ปิลาผล ผู้ตรวจพิสูจน์จากสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้นำเทปบันทึกภาพจากกล้องมาลงแผ่นดีวีดีแสดงเหตุการณ์เพลิงไหม้ อย่างชัดเจน โดยมีจำเลยที่ 5 ถือไมโครโฟนร้องเพลง พร้อมกับมีการจุดเอฟเฟ็กไฟฟ้าลักษณะเป็นพลุไฟเป็นสะเก็ดดาว บางลูกกระจายขึ้นไป บางลูกตกลงบนพื้นเวทีจากทั้งหมด 7 ลูก และมีพลุลูกที่ 4 เป็นลูกไฟแตกต่างจากลูกอื่นจนเกิดเพลิงลุกไหม้ โดยมีคนพูดว่า “ใครติดกลับหัววะ” โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 5 ใช้ไฟแช็กจุดพลุแต่อย่างใด ส่วนจุดที่เป็นต้นเกิดจากพลุเอฟเฟคไฟลุกไหม้บริเวณเพดานด้านบนขวาของเวก่อนลุกลามอย่างรวดเร็วเนื่องจากเพดานเป็นวัสดุที่ติดไฟง่าย
ส่วนที่จำเลยที่ 6 และ 7 ซึ่งเป็นผู้จัดทำพลุไฟเอฟเฟคต่อสู้ สาเหตุเกิดเพลิงไหม้ไม่ได้เกิดจากเอฟเฟ็ก เพราะเป็นพลุมีลักษณะสวยงาม มีแสงสว่างแวบเดียว ส่วนสาเหตุเพลิงไหม้อาจจะเกิดจากการจุดไฟเย็นจากผู้ที่เข้ามาใช้บริการก็ได้นั้น เป็นข้ออ้างลอยๆ ไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ
อีกทั้งร้านซานติก้าผับซึ่งมีลักษณะอาคารสาธารณะ แต่ขาดมาตรฐานความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน ไม่มีแผนผังทางหนีไฟ ไม่มีป้ายบอกทางหนีไฟ ไม่มีระบบสัญญาณเตือนไฟ ไม่มีระบบดับเพลิงอัตโนมัติ รวมทั้งประตูทางเข้าออกสามารถรองรับจำนวนคนเข้าออกอย่างปลอดภัยได้เพียง 408 และใช้วัสดุตกแต่งร้านที่ติดไฟง่าย เกิดแก๊สพิษ ดังนั้น จำเลยที่ 1 รวมทั้งจำเลยที่ 6 และ ซึ่งเป็นผู้จัดทำพลุไฟต้องใช้ความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายแต่กลับละเลยจนเกิดเหตุเพลิงไหม้ขึ้นดังกล่าว
เห็นว่าการกระทำของจำเลยที่ 1,6 และ 7 จึง เป็นการกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก เป็นความผิดกรรมเดียว ผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291 อันเป็นบทหนักสุด ให้จำคุกจำเลยที่ 1 และ 7 คนละ 3 ปี และปรับจำเลยที่ 6 จำนวน 20,000 บาท แม้จำเลยที่ 1 จะให้เงินช่วยเหลือทายาทผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บแล้วเป็นเงิน 3,394,800 บาท แต่การที่จำเลยที่ 1 ใน ฐานะผู้บริหารสถานบริการซึ่งเป็นอาคารสาธารณะที่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของ ผู้ใช้อาคารเป็นสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานบริการจะต้องมีระบบความปลอดภัยเกี่ยวกับอัคคีภัย เพื่อให้เป็นไปตามหลักมาตรฐานความปลอดภัยขั้นพื้นฐานตามกฎหมาย แต่จำเลยที่ 1 กลับ ไม่ยอมปฏิบัติตามกฎหมายเป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ ทำให้มีผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บจำนวนมาก เพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่ผู้ประกอบการรายอื่น อันเป็นการปกป้องสังคมและประชาชนผู้ใช้บริการตามสถานบริการ จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะรอการลงโทษจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 7 ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 2-5 และให้จำเลยที่ 6-7 ร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ร่วมที่ 4-6 เป็นเงินรายละ 1,540,000 บาท พร้อมทั้งให้โจทก์ร่วมที่ 7-8 เป็นเงินรายละ 2,040,000 บาท รวม 8,700,000 บาท
ภายหลังนายวิสุข หรือเสี่ยขาว เปิดเผยสั้นๆ ว่า ยังไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษา และจะยื่นอุทธรณ์แน่นอนตามความเป็นจริงที่ปรากฏ ก่อนยื่นหลักทรัพย์เป็นเงินสด 5 แสนบาท ประกันตัวออกไประหว่างอุทธรณ์คดี ขณะที่นายบุญชู จำเลยที่ 7 ใช้หลักทรัพย์ 5 แสนบาทยื่นประกันตัวออกไปเช่นกัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีบรรดาผู้เสียหาย และญาติผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ซานติก้าผับ ซึ่งเป็นโจทก์ร่วมในคดีมาร่วมฟังคำพิพากษากว่า 100 คน จนแน่นห้องพิจารณา โดยผู้เสียหายบางราย กล่าวว่า ศาลพิพากษาลงโทษพวกจำเลยน้อยไป คงต้องยื่นอุทธรณ์พิพากษาให้ศาลลงโทษจำคุกมากกว่าเดิม
นายฤชา ไกรฤกษ์ อัยการผู้เชี่ยวชาญสำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ 1 เจ้าของสำนวน กล่าวว่า คดีนี้อัยการฟ้องขอให้ลงโทษมาตรา 291อันเป็นบทหนัก ศาลลงมาตรานี้แล้ว แต่ไม่ได้ลงเต็มอัตราสูงสุด 10 ปี โดยลงโทษ 3 ปี ก็ถือว่าศาลลงโทษตามประสงค์ของโจทก์แล้ว อย่างไรก็ตาม อัยการจะยื่นอุทธรณ์ในทุกประเด็นแม้ว่า ศาลจะลงโทษตรงตามคำฟ้อง และโดยเฉพาะนายสุริยะ จำเลยที่ 5 นักร้องวงเบิร์นมีพยานเห็นเป็นประจักษ์พยาน 2 ปาก มีคนที่เห็นจุดไฟแช็ค และ พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ อดีตรอง ผบ.ตร. ก็เคยมาเบิกความไว้ ส่วนจำเลยอื่นๆ เช่น 2-4 ตนเห็นว่าไม่เกี่ยวข้องเท่าไร โดยจะทำความเห็นสมควรอุทธรณ์ไปยังสำนักงานอัยการฝ่ายคดีศาลสูงพิจารณาต่อไป
น.ส.รัตนา แซ่ลิ้ม อายุ 29 ปี ที่ได้รับบาดเจ็บสาหัสเป็นแผลรอยถูกไฟไหม้ตามร่างกายและใบหน้า 30% จนศีรษะโล้น มือขวากุด มือซ้ายพิการผิดรูป มีแผลไฟไหม้ทั้งตัว กล่าวว่า ตนเป็นโจทก์ร่วม พอใจคำพิพากษาระดับหนึ่ง โดยตนจะเอาผลคำพิพากษานี้ไปยันกับคดีแพ่งที่ฟ้องเรียกค่าสินไหมจำนวน 8 ล้านบาทที่ศาลจังหวัดพระโขนง ปกติตนเป็นสาวเชียร์เบียร์ยี่ห้อหนึ่งวันเกิดเหตุอยู่ใกล้เวที จนถึงไฟไหม้รักษาตัวที่ รพ.นพรัตน์ฯผ่าตัดมา 10 ครั้ง แผลลึกถึงผิวหนังระดับสาม ต้องรักษาตลอดชีวิต ที่ผ่านมาเสี่ยขาว ให้เงินมา 15,000 บาทเท่านั้นแล้วไม่เคยจ่ายอีก จนอีกสองวันก่อนพิพากษา ติดต่อมาจะให้เงินอีก 100,000 บาท เพื่อยอมความกันไป แต่ตนปฏิเสธ และขอให้เสี่ยขาวแสดงความรับผิดชอบมากกว่านี้
ส่วนนายเกรียงศักดิ์ วรมงคลชัย รองโฆษกสภาทนายความ กล่าวว่า ได้ยื่นฟ้องเสี่ยวขาวกับพวก ที่ศาลจังหวัดพระโขนง 48 สำนวนรวม 571 ล้านบาท ที่ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ 8 สำนวนรวม 151 ล้านบาท คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา