ศูนย์ข่าวภูมิภาค-"ในหลวง"พระราชทานถุงยังชีพผู้ประสบอุทกภัย "สิงห์บุรี"วิกฤตน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยาทะลักท่วมถนนขาด ขณะที่พนังกั้นน้ำเทศบาลเริ่มมีปัญหา ระดมเร่งตั้งแนวกระสอบทรายป้องกันเขตเศรษฐกิจ ส่วนอ่างทองคันกั้นน้ำพังทะลักเข้าท่วมโรงเรียนอนุบาล ด้านเมืองกรุงเก่าจมบาดาลเพิ่ม "นายกฯ"เรียกถกรับมือน้ำท่วม กทม.-ปริมณฑล "ผู้ว่าฯพิจิตร"ออกหน้าป้อง ขรก.ออนทัวร์บาหลี "กรมชลฯ"เตือนรับมือน้ำท่วมกรุง 19-20 ก.ย.นี้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงห่วงใยราษฎรที่ประสบความเดือดร้อนจากอุทกภัย จึงได้พระราชทานถุงยังชีพเป็นเครื่องอุปโภคบริโภคให้มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ไปมอบให้แก่ราษฎรเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น
โดยวานนี้ (15ก.ย.)นายดิศธร วัชโรทัย ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อมคณะ จะเดินทางไปมอบสิ่งของพระราชทานช่วยเหลือราษฎรที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ อ.เมือง จ.อุทัยธานี จำนวน 1,000 ครอบครัว จากนั้นไปที่ จ.พระนครศรีอยุธยา มอบสิ่งของพระราชทานช่วยเหลือราษฎรที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ อ.บางปะหัน จำนวน 1,000 ครอบครัว ที่ อ.มหาราช 900 ครอบครัว และที่ อ.พระนครศรีอยุธยา จำนวน 1,100 ครอบครัว
นอกจากนี้ ในวันเดียวกัน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ ว่าที่ ร.ต.กิตติ ขันธมิตร กรมวังผู้ใหญ่ เป็นผู้แทนพระองค์ นำสิ่งของพระราชทาน เครื่องอุปโภคบริโภคจำนวน 1,000 ชุด ไปมอบให้กับราษฎรที่ประสบอุทกภัย ณ วัดจุฬามณี ต.บ้านกุ่ม อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา
**สิงห์บุรีวิกฤตน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยาเข้าท่วม
ด้านสภานการณ์น้ำท่วมหลายจังหวัดทั่วประเทศยังคงวิกฤต โดยที่ จ.สิงห์บุรี ยังคงมีการระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้น้ำท่วมวิกฤต 3 อำเภอ โดยเฉพาะที่ประตูระบายน้ำบางโฉมศรี เจ้าหน้าที่พยายามเปลี่ยนเส้นทางน้ำชะลอความแรงแต่ไม่สามารถต้านทานกระแสน้ำได้เป็นเหตุให้ถนนขาด เนื่องจากน้ำท่วมสูงต้องปิดการจราจรรถเข้าออกไม่ได้ส่งผลให้บ้านบางพูน ได้รับผลกระทบอย่างหนัก โดยก่อนหน้านี้ ได้มีการอพยพชาวบ้านแล้ว
ขณะที่นายพิเชษฐ ไพบูลย์ศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี พล.ต.สุกิจ เนื่องจำนงค์ ผู้บัญชาการกองพลทหารปืนใหญ่ จ.ลพบุรี พร้อมกำลังทหารในสังกัดกว่า 200 นาย เร่งเสริมคันกระสอบทรายที่บริเวณวัดสว่างอารมณ์ ต.ต้นโพธิ์ อ.เมืองสิงห์บุรี ซึ่งเป็นย่านเศรษฐกิจของสิงห์บุรี เนื่องจากน้ำเจ้าพระยาได้กัดเซาะทะลุใต้สันเขื่อน และพบว่าที่ใต้ฐานของผนังมีน้ำซึมเข้ามา อีกทั้งระดับเจ้าพระยาได้มีระดับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เหลือเพียงอีก 1 เมตรเท่านั้นก็จะล้นสันเขื่อนกั้นน้ำ
**อ่างทองหนักไม่แพ้กันคันกั้นน้ำพัง
ส่วนสถานการณ์น้ำในพื้นที่ จ.อ่างทอง ได้ทวีความารุนแรงขยายวงกว้าง เนื่องจากเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท ได้ระบายน้ำลงท้ายเขื่อนเพิ่มขึ้นจากวันที่ 14 ก.ย.ทำให้บ้าน วัด สถานที่ราชการ และสถานศึกษาในพื้นที่อ่างทองได้รับผลกระทบแล้วจากเดิม 5 อำเภอเป็น 6 อำเภอได้แก่ อ.ป่าโมก,เมืองอ่างทอง,ไชโย,วิเศษชัยชาญ,โพธิ์ทอง และ อ.แสวงหา รวมทั้งสิ้น 48 ตำบล 229 หมู่บ้าน
ด้านนายสมชาย อนะวัชกุล นายอำเภอเมืองอ่างทอง เผยว่า ขณะนี้น้ำได้ซัดแนวกั้นน้ำพังทลาย ทั้งที่ทางจังหวัดได้มีการตั้งรับไว้อย่างเต็มที่แล้ว ซึ่งคาดว่าน้ำเซาะบริเวณช่องโหว่ ทำให้ขยายวงกว้างและพังถล่มลงมา ส่งผลให้น้ำทะลักเข้าตัวเมืองชั้นใน และส่งผลให้น้ำเข้าท่วมโรงเรียนอนุบาล และศาลากลางจังหวัด ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ช่วยพาเด็กออกมาจากโรงเรียนหมดแล้ว ในเบื้องต้น ยังไม่มีรายงานว่าเด็กถูกน้ำซัดหายและอาจจะยังมีผู้ปกครองที่หาลูกตัวเองไม่พบ
**กรุงเก่าจมบาดาลน้ำเจ้าพระยาทะลักท่วมหนัก
ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา น้ำเหนือบวกฝนที่ตกลงมาอย่างหนักและต่อเนื่อง ทำให้น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาไหลทะลักเข้าท่วมร้านค้า ร้านอาหาร และบ้านเรือนประชาชน ตลอดจนสถานที่ราชการ ที่อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา รวมทั้งวัดขุนพรหม หมู่ 6 ต.สำเภาล่ม อ.พระนครศรีอยุธยา ต้องจมน้ำไปตามๆ กัน
นายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เตือนประชาชนว่า ในช่วงวันที่ 17-18 ก.ย.นี้ คาดการณ์ว่าจะมีน้ำเข้ามาอีกระลอก ทำให้ระดับน้ำในจังหวัดสูงขึ้นอีก 50 เซนติเมตร ขอให้ประชาชนขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูงและคาดว่าจะมีบ้านเรือนประชาชนเดือดร้อนจากระดับน้ำที่เพิ่มขึ้นอีกเป็นกว่า 5 หมื่นครัวเรือน
**ผวจ.ปทุมฯระดมกำลังเสริมคันกั้นน้ำ
นายพีระศักดิ์ หินเมืองเก่า ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า ปัญหาน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ อบต.และเทศบาล ในพื้นที่สองอำเภอ 19 ตำบล ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำเพิ่มสูงขึ้นทุก จึงจำเป็นต้องเสริมแนวกั้นน้ำให้สูงขึ้นบางจุดเสริมขึ้นถึงสองเมตรแล้ว และเฉลี่ยอยู่ที่ความสูง 1.50 เมตร ขณะเดียวกันได้ขอกำลังทหารจากกองทัพบก กองทัพเรือ ตำรวจ และนักโทษจากเรือนจำปทุมธานี วันละกว่า 500 นาย ได้ออกช่วยกันเสริมแนวกั้นน้ำบางส่วน โดยแนวคันกั้นน้ำจะมีระยะทาง 30 กิโลเมตร และหากน้ำยังเพิ่มสูงขึ้นก็จะต้องเสริมคันสูงขึ้นไปอีก
**โบราณสถาน"วัดราชบูรณะ"จมน้ำแล้ว
ที่ จ.พิษณุโลก หลังระดับแม่น้ำน่าน เพิ่มสูงไม่หยุดทำให้พื้นที่รอบๆ เขตเศรษฐกิจและย่านธุรกิจเมืองพิษณุโลก ถูกน้ำท่วมไปแล้วหลายจุด ตั้งแต่ถนนซอยสีหราชเดโชชัย 14 หมู่บ้านหัสนันท์ 49 ชุมชนประชาอุทิศ ถนนสายหลังมหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม ส่วนทะเลแก้ว บริเวณถนนสายพุทธบูชา ตั้งแต่โรงเรียนเฉลิมสตรีและบริเวณหน้าสำนักสาธารณสุขพิษณุโลก น้ำได้ล้นตลิ่งงเข้ามาในถนน ชาวบ้านได้นำดินเหนียวมากั้นน้ำเอาไว้ พร้อมกับประสานกับเจ้าหน้าที่เทศบาลขอกระสอบทรายมากั้น
แต่ปรากฏว่ากว่าเจ้าหน้าที่จะมาก็นานร่วมชั่วโมงทำให้น้ำไหลเข้าไปแล้วส่วนหนึ่งและที่บริเวณตลาดไนท์พลาซ่า และที่วัดราชบูรณะ น้ำได้ดันจากท่อระบายเข้าท่วมพื้นที่วัดทั้งหมด ถึงแม้จะนำกระสอบไปปิดเอาไว้แล้วก็ตาม
**ปูเรียกถกหน่วยงานรับมือน้ำท่วม กทม.
วันเดียวกัน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อรับมือสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล โดยมีนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย อธิบดีกรมชลประทาน ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี รองผู้ว่าฯ กทม.เข้าร่วมประชุม
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ได้แสดงความเป็นห่วงสถานการณ์น้ำที่กำลังไหลบ่าลงมา และกังวลถึงมาตรการการรับมือเพื่อไม่ให้เกิดปัญหากับพื้นที่ กทม.และจังหวัดใกล้เคียง โดยได้ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมแผนรับมือกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น หากกำลังไม่พอก็จะประสานกับทางกองทัพบกให้เข้ามาช่วยเหลือได้
ส่วนปัญหาความขัดแย้งของชาวบ้านในบางพื้นที่ โดยเฉพาะชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่ที่เป็นส่วนรับน้ำนั้น ถือเป็นเรื่องรายละเอียดที่ผู้ว่าฯแต่ละจังหวัดต้องไปบริหารจัดการ ซึ่งต้องไปลงไปดูในพื้นที่ ทั้งนี้ หากเป็นพื้นที่รับน้ำแต่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม และยังไม่มีการเกี่ยวข้าวก็ต้องหารือในการดูแลเรื่องความเสียหาย ซึ่งถือเป็นเรื่องรายละเอียดในแต่ละพื้นที่
น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวถึงยอดเงินจากการรับบริจาคเข้ากองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรีด้วยว่า ส่วนภาพรวมเมื่อคืนวันที่ 14 ก.ย.ที่ผ่านมา มีผู้ร่วมบริจาคเกือบ 3,500 ราย เป็นยอดเงินบริจาคกว่า 363 ล้านบาท ในฐานะที่เป็นหัวหน้ารัฐบาล คนไทยคนหนึ่งก็ขอบคุณคนไทยทุกคนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ที่ให้ส่วนร่วมในการบริจาคครั้งนี้ ก็ถือเป็นน้ำใจของคนไทยด้วยกันจริงๆ ที่ให้กำลังใจทั้งสนับสนุนทางด้านกำลังเงิน และกำลังใจให้พี่น้อง 44 จังหวัด ถือโอกาสนี้ขอบคุณด้วย
**สั่ง กห.เร่งผันน้ำเจ้าพระยาลงทะเล
พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมว.กลาโหม กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีสั่งการให้กระทรวงกลาโหม ช่วยจัดการเรื่องการผันน้ำออกจากลุ่มน้ำเจ้าพระยา เนื่องจากช่วง 7 วันนี้ ปริมาณน้ำทะเลจะลดต่ำที่สุด จึงต้องเร่งผันน้ำลงทะเลให้เร็วที่สุด โดยกองทัพบก และกองทัพเรือจะร่วมดำเนินการด้วยการใช้เรือดำน้ำ
**เตือนรับมือน้ำท่วมกรุง19-20ก.ย.นี้
นายวีระ วงศ์แสงนาค รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า สถานการณ์น้ำในปีนี้ถือว่ารุนแรงมากในรอบ 5 ปีเนื่องจากน้ำมาเร็ว แรง และกระจัดกระจายทั้งภาคเหนือตอนบน ภาคกลางและอีสาน ซึ่งน้ำทั้งหมดไหลลงสู่ลุ่มเจ้าพระยาที่เป็นพื้นที่เกษตรที่สำคัญ
"ความเสียหายปีนี้จึงมีมากกว่าทุกปีผ่านมาปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาในภาคเหนือตอนบนกำลังไหลจาก จ.กำแพงเพชร มุ่งหน้าสู่ จ.นครสวรรค์ เพื่อบรรจบกับน้ำน่านและยม ที่รออยู่แล้ว หลังจากนั้นจะวนเพื่อยกตัวอย่างน้อย 3 วันก่อนไหลเป็นทัพใหญ่ลงเขื่อนเจ้าพระยาและมุ่งตรงลงสู่ลุ่มเจ้าพระยาถึงกรุงเทพฯในวันที่ 19-20 ก.ย.นี้"
นายวีระ กล่าวว่า ถือว่าโชคดีที่ในช่วงดังกล่าวน้ำทะเลไม่หนุน ดังนั้น ปริมาณจำนวนมากจะไหลลงสู่ทะเลได้ง่าย แม้จะมีร่องมรสุมพัดผ่านทำให้ฝนตกกระจายในภาคกลาง แต่จะไม่ทำให้ปริมาณน้ำที่กำลังไหลมีปริมาณที่สูงขึ้น ซึ่งต่างจากปี 53 ที่ปริมาณน้ำจะถึงกรุงเทพฯช่วงปลาย ต.ค.-พ.ย.และเป็นช่วงน้ำหลากเข้าสู่เทศกาลลอยกระทง น้ำทะเลหนุนสูง ทำให้การผลักดันน้ำไหลลงสู่ทะเลยาก จึงเกิดปัญหาน้ำท่วมขึ้น
**ผู้ว่าฯพิจิตรป้อง ขรก.หนีเที่ยวบาหลี
รายงานข่าวจาก จ.พิจิตรแจ้งถึงความคืบหน้ากรณีข้าราชการระดับสูงของ จ.พิจิตร รวมถึงนายอำเภอหลายท้องที่รวม 30 คน เช่น อ.เมืองพิจิตร และ อ.ตะพานหิน ที่ล้วนเป็นพื้นที่น้ำท่วมหนักไปท่องเที่ยวเกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย 6 วัน 5 คืนโดยไปด้วยสายการบินไทยเที่ยวบินที่ TG433 ตั้งแต่เมื่อวันที่ 13 ก.ย.54 และจะกลับในวันที่ 18 ก.ย.54 ทำให้ชาวบ้านที่เดือดร้อนไม่มีที่พึ่งนั้น
นายสุวิทย์ วัชโรทยางกูร ผู้ว่าราชจังหวัดพิจิตร ได้ออกมากล่าวปกป้องบรรดาข้าราชการดังกล่าว ซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาว่า การช่วยเหลือชาวบ้านที่ถูกน้ำท่วมยังทำได้ โดย นายก อบต.และนายกเทศมนตรีต่างๆ สามารถช่วยได้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งพวกที่ไปเที่ยวก็เป็นเรื่องส่วนตัวและบางคนเขียนใบลาอนุญาตไว้ก่อนนานแล้ว
อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวก็สร้างความกังขาให้กับชาวบ้านทั่วไปเนื่องจากขณะนี้กำลังเกิดน้ำท่วมหนักทั่วพื้นที่เมืองพิจิตร แต่ข้าราชการระดับสูงกลับเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศทิ้งให้ประชาชนผจญกับปัญหาน้ำท่วม
ด้านนายสุรเชษฐ์ เหรียญดำรงธร ปลัดอำเภอเมืองพิจิตร เผยว่า บริเวณ อ.เมืองพิจิตรได้ถูกน้ำท่วมเป็นเวลากว่า 1 เดือนแล้วและระดับน้ำแม่น้ำน่านยังเพิ่มขึ้นทุกวันโดยเฉลี่ยวันละ 5 เซนติเมตร โดยระดับน้ำได้เอ่อล้นตลิ่งสูงประมาณ 1 เมตร ขณะนี้มีชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนทั้งสิ้น 129 หมู่บ้าน 15 ตำบลกว่า 10,450 ครัวเรือนหรือกว่า 24,093 คน มีผู้เสียชีวิตแล้ว 4 ราย
**มส.ช่วยเหลือวัด-พระน้ำท่วมกว่า700แห่ง
นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) กล่าวว่า ตนพร้อมด้วย น.พ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รมต.สำนักนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมวัดประสบภัยน้ำท่วมใน จ.อ่างทอง พบว่า มีวัดในพื้นที่ได้รับความเดือดร้อนจากน้ำท่วม 46 วัด โดยวัดไชโยวรวิหารมีน้ำท่วมสูงถึงบริเวณหน้าอก ส่วนสถานการณ์น้ำท่วมวัดทั่วประเทศ พศ.ได้รับรายงานแล้วกว่า 700 แห่งแล้วและมีพระสงฆ์ได้รับความเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก
ดังนั้น มหาเถรสมาคม(มส.) โดยสมเด็จพระมหาพุฒาจารย์ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช มีดำริให้วัดทั่วประเทศที่ไม่ประสบภัย ระดมปัจจัยและสิ่งของต่างๆช่วยเหลือวัดที่ถูกน้ำท่วมและบรรเทาความเดือดร้อนของพระสงฆ์ โดยสามารถบริจาคมาได้ที่ศูนย์วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร สอบถามเพิ่มเติม โทร.0-2621-2280 และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 0-2441-4537 นอกจากนี้ พศ.ได้เตรียมปัจจัยช่วยเหลือในเบื้องต้นแล้ววัดละ 5,000 บาท
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงห่วงใยราษฎรที่ประสบความเดือดร้อนจากอุทกภัย จึงได้พระราชทานถุงยังชีพเป็นเครื่องอุปโภคบริโภคให้มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ไปมอบให้แก่ราษฎรเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น
โดยวานนี้ (15ก.ย.)นายดิศธร วัชโรทัย ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อมคณะ จะเดินทางไปมอบสิ่งของพระราชทานช่วยเหลือราษฎรที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ อ.เมือง จ.อุทัยธานี จำนวน 1,000 ครอบครัว จากนั้นไปที่ จ.พระนครศรีอยุธยา มอบสิ่งของพระราชทานช่วยเหลือราษฎรที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ อ.บางปะหัน จำนวน 1,000 ครอบครัว ที่ อ.มหาราช 900 ครอบครัว และที่ อ.พระนครศรีอยุธยา จำนวน 1,100 ครอบครัว
นอกจากนี้ ในวันเดียวกัน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ ว่าที่ ร.ต.กิตติ ขันธมิตร กรมวังผู้ใหญ่ เป็นผู้แทนพระองค์ นำสิ่งของพระราชทาน เครื่องอุปโภคบริโภคจำนวน 1,000 ชุด ไปมอบให้กับราษฎรที่ประสบอุทกภัย ณ วัดจุฬามณี ต.บ้านกุ่ม อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา
**สิงห์บุรีวิกฤตน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยาเข้าท่วม
ด้านสภานการณ์น้ำท่วมหลายจังหวัดทั่วประเทศยังคงวิกฤต โดยที่ จ.สิงห์บุรี ยังคงมีการระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้น้ำท่วมวิกฤต 3 อำเภอ โดยเฉพาะที่ประตูระบายน้ำบางโฉมศรี เจ้าหน้าที่พยายามเปลี่ยนเส้นทางน้ำชะลอความแรงแต่ไม่สามารถต้านทานกระแสน้ำได้เป็นเหตุให้ถนนขาด เนื่องจากน้ำท่วมสูงต้องปิดการจราจรรถเข้าออกไม่ได้ส่งผลให้บ้านบางพูน ได้รับผลกระทบอย่างหนัก โดยก่อนหน้านี้ ได้มีการอพยพชาวบ้านแล้ว
ขณะที่นายพิเชษฐ ไพบูลย์ศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี พล.ต.สุกิจ เนื่องจำนงค์ ผู้บัญชาการกองพลทหารปืนใหญ่ จ.ลพบุรี พร้อมกำลังทหารในสังกัดกว่า 200 นาย เร่งเสริมคันกระสอบทรายที่บริเวณวัดสว่างอารมณ์ ต.ต้นโพธิ์ อ.เมืองสิงห์บุรี ซึ่งเป็นย่านเศรษฐกิจของสิงห์บุรี เนื่องจากน้ำเจ้าพระยาได้กัดเซาะทะลุใต้สันเขื่อน และพบว่าที่ใต้ฐานของผนังมีน้ำซึมเข้ามา อีกทั้งระดับเจ้าพระยาได้มีระดับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เหลือเพียงอีก 1 เมตรเท่านั้นก็จะล้นสันเขื่อนกั้นน้ำ
**อ่างทองหนักไม่แพ้กันคันกั้นน้ำพัง
ส่วนสถานการณ์น้ำในพื้นที่ จ.อ่างทอง ได้ทวีความารุนแรงขยายวงกว้าง เนื่องจากเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท ได้ระบายน้ำลงท้ายเขื่อนเพิ่มขึ้นจากวันที่ 14 ก.ย.ทำให้บ้าน วัด สถานที่ราชการ และสถานศึกษาในพื้นที่อ่างทองได้รับผลกระทบแล้วจากเดิม 5 อำเภอเป็น 6 อำเภอได้แก่ อ.ป่าโมก,เมืองอ่างทอง,ไชโย,วิเศษชัยชาญ,โพธิ์ทอง และ อ.แสวงหา รวมทั้งสิ้น 48 ตำบล 229 หมู่บ้าน
ด้านนายสมชาย อนะวัชกุล นายอำเภอเมืองอ่างทอง เผยว่า ขณะนี้น้ำได้ซัดแนวกั้นน้ำพังทลาย ทั้งที่ทางจังหวัดได้มีการตั้งรับไว้อย่างเต็มที่แล้ว ซึ่งคาดว่าน้ำเซาะบริเวณช่องโหว่ ทำให้ขยายวงกว้างและพังถล่มลงมา ส่งผลให้น้ำทะลักเข้าตัวเมืองชั้นใน และส่งผลให้น้ำเข้าท่วมโรงเรียนอนุบาล และศาลากลางจังหวัด ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ช่วยพาเด็กออกมาจากโรงเรียนหมดแล้ว ในเบื้องต้น ยังไม่มีรายงานว่าเด็กถูกน้ำซัดหายและอาจจะยังมีผู้ปกครองที่หาลูกตัวเองไม่พบ
**กรุงเก่าจมบาดาลน้ำเจ้าพระยาทะลักท่วมหนัก
ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา น้ำเหนือบวกฝนที่ตกลงมาอย่างหนักและต่อเนื่อง ทำให้น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาไหลทะลักเข้าท่วมร้านค้า ร้านอาหาร และบ้านเรือนประชาชน ตลอดจนสถานที่ราชการ ที่อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา รวมทั้งวัดขุนพรหม หมู่ 6 ต.สำเภาล่ม อ.พระนครศรีอยุธยา ต้องจมน้ำไปตามๆ กัน
นายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เตือนประชาชนว่า ในช่วงวันที่ 17-18 ก.ย.นี้ คาดการณ์ว่าจะมีน้ำเข้ามาอีกระลอก ทำให้ระดับน้ำในจังหวัดสูงขึ้นอีก 50 เซนติเมตร ขอให้ประชาชนขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูงและคาดว่าจะมีบ้านเรือนประชาชนเดือดร้อนจากระดับน้ำที่เพิ่มขึ้นอีกเป็นกว่า 5 หมื่นครัวเรือน
**ผวจ.ปทุมฯระดมกำลังเสริมคันกั้นน้ำ
นายพีระศักดิ์ หินเมืองเก่า ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า ปัญหาน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ อบต.และเทศบาล ในพื้นที่สองอำเภอ 19 ตำบล ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำเพิ่มสูงขึ้นทุก จึงจำเป็นต้องเสริมแนวกั้นน้ำให้สูงขึ้นบางจุดเสริมขึ้นถึงสองเมตรแล้ว และเฉลี่ยอยู่ที่ความสูง 1.50 เมตร ขณะเดียวกันได้ขอกำลังทหารจากกองทัพบก กองทัพเรือ ตำรวจ และนักโทษจากเรือนจำปทุมธานี วันละกว่า 500 นาย ได้ออกช่วยกันเสริมแนวกั้นน้ำบางส่วน โดยแนวคันกั้นน้ำจะมีระยะทาง 30 กิโลเมตร และหากน้ำยังเพิ่มสูงขึ้นก็จะต้องเสริมคันสูงขึ้นไปอีก
**โบราณสถาน"วัดราชบูรณะ"จมน้ำแล้ว
ที่ จ.พิษณุโลก หลังระดับแม่น้ำน่าน เพิ่มสูงไม่หยุดทำให้พื้นที่รอบๆ เขตเศรษฐกิจและย่านธุรกิจเมืองพิษณุโลก ถูกน้ำท่วมไปแล้วหลายจุด ตั้งแต่ถนนซอยสีหราชเดโชชัย 14 หมู่บ้านหัสนันท์ 49 ชุมชนประชาอุทิศ ถนนสายหลังมหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม ส่วนทะเลแก้ว บริเวณถนนสายพุทธบูชา ตั้งแต่โรงเรียนเฉลิมสตรีและบริเวณหน้าสำนักสาธารณสุขพิษณุโลก น้ำได้ล้นตลิ่งงเข้ามาในถนน ชาวบ้านได้นำดินเหนียวมากั้นน้ำเอาไว้ พร้อมกับประสานกับเจ้าหน้าที่เทศบาลขอกระสอบทรายมากั้น
แต่ปรากฏว่ากว่าเจ้าหน้าที่จะมาก็นานร่วมชั่วโมงทำให้น้ำไหลเข้าไปแล้วส่วนหนึ่งและที่บริเวณตลาดไนท์พลาซ่า และที่วัดราชบูรณะ น้ำได้ดันจากท่อระบายเข้าท่วมพื้นที่วัดทั้งหมด ถึงแม้จะนำกระสอบไปปิดเอาไว้แล้วก็ตาม
**ปูเรียกถกหน่วยงานรับมือน้ำท่วม กทม.
วันเดียวกัน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อรับมือสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล โดยมีนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย อธิบดีกรมชลประทาน ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี รองผู้ว่าฯ กทม.เข้าร่วมประชุม
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ได้แสดงความเป็นห่วงสถานการณ์น้ำที่กำลังไหลบ่าลงมา และกังวลถึงมาตรการการรับมือเพื่อไม่ให้เกิดปัญหากับพื้นที่ กทม.และจังหวัดใกล้เคียง โดยได้ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมแผนรับมือกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น หากกำลังไม่พอก็จะประสานกับทางกองทัพบกให้เข้ามาช่วยเหลือได้
ส่วนปัญหาความขัดแย้งของชาวบ้านในบางพื้นที่ โดยเฉพาะชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่ที่เป็นส่วนรับน้ำนั้น ถือเป็นเรื่องรายละเอียดที่ผู้ว่าฯแต่ละจังหวัดต้องไปบริหารจัดการ ซึ่งต้องไปลงไปดูในพื้นที่ ทั้งนี้ หากเป็นพื้นที่รับน้ำแต่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม และยังไม่มีการเกี่ยวข้าวก็ต้องหารือในการดูแลเรื่องความเสียหาย ซึ่งถือเป็นเรื่องรายละเอียดในแต่ละพื้นที่
น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวถึงยอดเงินจากการรับบริจาคเข้ากองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรีด้วยว่า ส่วนภาพรวมเมื่อคืนวันที่ 14 ก.ย.ที่ผ่านมา มีผู้ร่วมบริจาคเกือบ 3,500 ราย เป็นยอดเงินบริจาคกว่า 363 ล้านบาท ในฐานะที่เป็นหัวหน้ารัฐบาล คนไทยคนหนึ่งก็ขอบคุณคนไทยทุกคนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ที่ให้ส่วนร่วมในการบริจาคครั้งนี้ ก็ถือเป็นน้ำใจของคนไทยด้วยกันจริงๆ ที่ให้กำลังใจทั้งสนับสนุนทางด้านกำลังเงิน และกำลังใจให้พี่น้อง 44 จังหวัด ถือโอกาสนี้ขอบคุณด้วย
**สั่ง กห.เร่งผันน้ำเจ้าพระยาลงทะเล
พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมว.กลาโหม กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีสั่งการให้กระทรวงกลาโหม ช่วยจัดการเรื่องการผันน้ำออกจากลุ่มน้ำเจ้าพระยา เนื่องจากช่วง 7 วันนี้ ปริมาณน้ำทะเลจะลดต่ำที่สุด จึงต้องเร่งผันน้ำลงทะเลให้เร็วที่สุด โดยกองทัพบก และกองทัพเรือจะร่วมดำเนินการด้วยการใช้เรือดำน้ำ
**เตือนรับมือน้ำท่วมกรุง19-20ก.ย.นี้
นายวีระ วงศ์แสงนาค รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า สถานการณ์น้ำในปีนี้ถือว่ารุนแรงมากในรอบ 5 ปีเนื่องจากน้ำมาเร็ว แรง และกระจัดกระจายทั้งภาคเหนือตอนบน ภาคกลางและอีสาน ซึ่งน้ำทั้งหมดไหลลงสู่ลุ่มเจ้าพระยาที่เป็นพื้นที่เกษตรที่สำคัญ
"ความเสียหายปีนี้จึงมีมากกว่าทุกปีผ่านมาปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาในภาคเหนือตอนบนกำลังไหลจาก จ.กำแพงเพชร มุ่งหน้าสู่ จ.นครสวรรค์ เพื่อบรรจบกับน้ำน่านและยม ที่รออยู่แล้ว หลังจากนั้นจะวนเพื่อยกตัวอย่างน้อย 3 วันก่อนไหลเป็นทัพใหญ่ลงเขื่อนเจ้าพระยาและมุ่งตรงลงสู่ลุ่มเจ้าพระยาถึงกรุงเทพฯในวันที่ 19-20 ก.ย.นี้"
นายวีระ กล่าวว่า ถือว่าโชคดีที่ในช่วงดังกล่าวน้ำทะเลไม่หนุน ดังนั้น ปริมาณจำนวนมากจะไหลลงสู่ทะเลได้ง่าย แม้จะมีร่องมรสุมพัดผ่านทำให้ฝนตกกระจายในภาคกลาง แต่จะไม่ทำให้ปริมาณน้ำที่กำลังไหลมีปริมาณที่สูงขึ้น ซึ่งต่างจากปี 53 ที่ปริมาณน้ำจะถึงกรุงเทพฯช่วงปลาย ต.ค.-พ.ย.และเป็นช่วงน้ำหลากเข้าสู่เทศกาลลอยกระทง น้ำทะเลหนุนสูง ทำให้การผลักดันน้ำไหลลงสู่ทะเลยาก จึงเกิดปัญหาน้ำท่วมขึ้น
**ผู้ว่าฯพิจิตรป้อง ขรก.หนีเที่ยวบาหลี
รายงานข่าวจาก จ.พิจิตรแจ้งถึงความคืบหน้ากรณีข้าราชการระดับสูงของ จ.พิจิตร รวมถึงนายอำเภอหลายท้องที่รวม 30 คน เช่น อ.เมืองพิจิตร และ อ.ตะพานหิน ที่ล้วนเป็นพื้นที่น้ำท่วมหนักไปท่องเที่ยวเกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย 6 วัน 5 คืนโดยไปด้วยสายการบินไทยเที่ยวบินที่ TG433 ตั้งแต่เมื่อวันที่ 13 ก.ย.54 และจะกลับในวันที่ 18 ก.ย.54 ทำให้ชาวบ้านที่เดือดร้อนไม่มีที่พึ่งนั้น
นายสุวิทย์ วัชโรทยางกูร ผู้ว่าราชจังหวัดพิจิตร ได้ออกมากล่าวปกป้องบรรดาข้าราชการดังกล่าว ซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาว่า การช่วยเหลือชาวบ้านที่ถูกน้ำท่วมยังทำได้ โดย นายก อบต.และนายกเทศมนตรีต่างๆ สามารถช่วยได้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งพวกที่ไปเที่ยวก็เป็นเรื่องส่วนตัวและบางคนเขียนใบลาอนุญาตไว้ก่อนนานแล้ว
อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวก็สร้างความกังขาให้กับชาวบ้านทั่วไปเนื่องจากขณะนี้กำลังเกิดน้ำท่วมหนักทั่วพื้นที่เมืองพิจิตร แต่ข้าราชการระดับสูงกลับเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศทิ้งให้ประชาชนผจญกับปัญหาน้ำท่วม
ด้านนายสุรเชษฐ์ เหรียญดำรงธร ปลัดอำเภอเมืองพิจิตร เผยว่า บริเวณ อ.เมืองพิจิตรได้ถูกน้ำท่วมเป็นเวลากว่า 1 เดือนแล้วและระดับน้ำแม่น้ำน่านยังเพิ่มขึ้นทุกวันโดยเฉลี่ยวันละ 5 เซนติเมตร โดยระดับน้ำได้เอ่อล้นตลิ่งสูงประมาณ 1 เมตร ขณะนี้มีชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนทั้งสิ้น 129 หมู่บ้าน 15 ตำบลกว่า 10,450 ครัวเรือนหรือกว่า 24,093 คน มีผู้เสียชีวิตแล้ว 4 ราย
**มส.ช่วยเหลือวัด-พระน้ำท่วมกว่า700แห่ง
นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) กล่าวว่า ตนพร้อมด้วย น.พ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รมต.สำนักนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมวัดประสบภัยน้ำท่วมใน จ.อ่างทอง พบว่า มีวัดในพื้นที่ได้รับความเดือดร้อนจากน้ำท่วม 46 วัด โดยวัดไชโยวรวิหารมีน้ำท่วมสูงถึงบริเวณหน้าอก ส่วนสถานการณ์น้ำท่วมวัดทั่วประเทศ พศ.ได้รับรายงานแล้วกว่า 700 แห่งแล้วและมีพระสงฆ์ได้รับความเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก
ดังนั้น มหาเถรสมาคม(มส.) โดยสมเด็จพระมหาพุฒาจารย์ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช มีดำริให้วัดทั่วประเทศที่ไม่ประสบภัย ระดมปัจจัยและสิ่งของต่างๆช่วยเหลือวัดที่ถูกน้ำท่วมและบรรเทาความเดือดร้อนของพระสงฆ์ โดยสามารถบริจาคมาได้ที่ศูนย์วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร สอบถามเพิ่มเติม โทร.0-2621-2280 และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 0-2441-4537 นอกจากนี้ พศ.ได้เตรียมปัจจัยช่วยเหลือในเบื้องต้นแล้ววัดละ 5,000 บาท