ผลประชาพิจารณา รอยัลโค้ช อืด ผู้รับเหมาแจงโดยพิษน้ำท่วม ที่ประชุมคณะกรรมการฯใจดี ขยายเวลา ส่งมอบให้อีก 2 เดือน เล็งใช้ปัญหาเป็นกรณีศึกษา ในอีก 7 คลัสเตอร์ที่เหลือ เผยประชุมเอเปค สัปดาห์หน้า กระทรวงการท่องเที่ยวเล็งผลักดันโมเดลเตือนภัยนักท่องเที่ยว รับมือภัยธรรมชาติ
นางธนิฎฐา เศวตศิลา มณีโชติ รองปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ประธานการประชุม คณะกรรมการกำกับดูแลการดำเนินงานโครงการ รอยัล โค้ช เปิดเผยว่า ที่ประชุม ได้เห็นชอบขยายเวลาการจัดทำประชาพิจารณ์ จากเดิม ที่ บริษัท ผู้รับผิดชอบโครงการ ต้องส่งมอบผลประชาพิจารณ์ ในวันที่ 30 ก.ย.54 โดยขยายไปส่งมอบ 30 พ.ย.54 ด้วยเหตุผลที่ว่า พื้นที่ดังกล่าว เกิดน้ำท่วมในช่วงเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา ทำให้ กระทบต่อการดำเนินงาน
***ปรับแผนนัดประชาพิจารณ์****
ซึ่งการประชุมครั้งนี้ ยังขอให้ปรับแผน จากการเดินเท้าสำรวจและทำประชาพิจารณ์ เป็นการนัดให้ผู้นำชุมชน ตัวแทนหมู่บ้าน รวมถึงองค์กรอิสระต่างๆ ในพื้นที่ มาหารือร่วมกัน พร้อมทำประชาพิจารณาในคราวเดียว เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว ทั้งนี้คณะกรรมการ จะต้องนำผลประชาพิจารณ์ที่ได้ นำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติเพื่อขอความเห็นชอบด้วย
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า รอยัลโค้ช หรือโครงการ พัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก เป็นหนึ่งใน 8 โครงการพัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยว ใน 8 กลุ่มคลัสเตอร์ และยังเป็นโครงการแรกที่เริ่มดำเนินการ ซึ่งอุปสรรคและปัญหา ของการดำเนินโครงการ จะนำไปเป็นกรณีศึกษา และเป็นตัวอย่างในการที่จะปรับใช้ในโครงการพัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยวในกลุ่มอื่นๆ ต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โครงการรอยัลโค้ช เริ่มดำเนินการมาแล้วหลายปี ตั้งแต่สมัย น.ส.ศศิธารา พิชัย ชาญณรงค์ ดำรงค์ตำแหน่งปลัดกระทรวงการท่องเที่ยว ฯ และ มาในยุด นายอรรถชัย บุรกรรมโกวิท ดำรงค์ตำแหน่งปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ได้จัดทำ ทีโออาร์ เปิดหาผู้รับเหมาดำเนินโครงการ จึงได้ บริษัท แปลน คอนซัลแตนท์ส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทเชี่ยวชาญงานด้านวิศวกรรม มาดำเนินงาน จนถึงปัจจุบัน โดยบริษัทแปลน ยังเสนอ ทำตัวอย่างโครงการพัฒนาพื้นที่โดยรอบ อาทิ สวนสาธารณะ ศูนย์วิทยาศาสตร์ และ ท่าเทียบเรือ
***ยกแผนเตือนภัยอวดเวทีเอเปค***
นางธนิฎฐา กล่าวอีกว่า ในสัปดาห์หน้า กระทรวงการท่องเที่ยว จะเข้าร่วมประชุม เอเปค ที่เมือง ซานฟรานซิสโก ประเทศ สหรัฐอเมริกา โดยประเด็นที่ กระทรวงการท่องเที่ยวจะนำเสนอในที่ประชุมเศรษฐกิจระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ถึงแนวแผนงานการรักษาความปลอดภัยนักท่องเที่ยว โดย ที่ประชุมครั้งก่อน ไทยนำเสนอการทำงานด้านการให้ความช่วยเหลือนักท่องเที่ยว เพราะ มีประสบการณ์ตรง จากเหตุการณืภัยพิบัติ สึนามิ และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และกำลังจะผลักดันต่อเรื่องการวางแผนการเตือนภัย หนึ่งในกลยุทธ์การสร้างความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว เพราะปัจจุบัน จากเหตุภัยธรรมชาติ ที่เกิดขึ้น หลายพื้นที่ทั่วโลก การมีแผนเตือนภัย จึงมีความสำคัญ สูง เพื่อสร้างความมั่นใจแก่นักท่องเที่ยว
นางธนิฎฐา เศวตศิลา มณีโชติ รองปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ประธานการประชุม คณะกรรมการกำกับดูแลการดำเนินงานโครงการ รอยัล โค้ช เปิดเผยว่า ที่ประชุม ได้เห็นชอบขยายเวลาการจัดทำประชาพิจารณ์ จากเดิม ที่ บริษัท ผู้รับผิดชอบโครงการ ต้องส่งมอบผลประชาพิจารณ์ ในวันที่ 30 ก.ย.54 โดยขยายไปส่งมอบ 30 พ.ย.54 ด้วยเหตุผลที่ว่า พื้นที่ดังกล่าว เกิดน้ำท่วมในช่วงเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา ทำให้ กระทบต่อการดำเนินงาน
***ปรับแผนนัดประชาพิจารณ์****
ซึ่งการประชุมครั้งนี้ ยังขอให้ปรับแผน จากการเดินเท้าสำรวจและทำประชาพิจารณ์ เป็นการนัดให้ผู้นำชุมชน ตัวแทนหมู่บ้าน รวมถึงองค์กรอิสระต่างๆ ในพื้นที่ มาหารือร่วมกัน พร้อมทำประชาพิจารณาในคราวเดียว เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว ทั้งนี้คณะกรรมการ จะต้องนำผลประชาพิจารณ์ที่ได้ นำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติเพื่อขอความเห็นชอบด้วย
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า รอยัลโค้ช หรือโครงการ พัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก เป็นหนึ่งใน 8 โครงการพัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยว ใน 8 กลุ่มคลัสเตอร์ และยังเป็นโครงการแรกที่เริ่มดำเนินการ ซึ่งอุปสรรคและปัญหา ของการดำเนินโครงการ จะนำไปเป็นกรณีศึกษา และเป็นตัวอย่างในการที่จะปรับใช้ในโครงการพัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยวในกลุ่มอื่นๆ ต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โครงการรอยัลโค้ช เริ่มดำเนินการมาแล้วหลายปี ตั้งแต่สมัย น.ส.ศศิธารา พิชัย ชาญณรงค์ ดำรงค์ตำแหน่งปลัดกระทรวงการท่องเที่ยว ฯ และ มาในยุด นายอรรถชัย บุรกรรมโกวิท ดำรงค์ตำแหน่งปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ได้จัดทำ ทีโออาร์ เปิดหาผู้รับเหมาดำเนินโครงการ จึงได้ บริษัท แปลน คอนซัลแตนท์ส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทเชี่ยวชาญงานด้านวิศวกรรม มาดำเนินงาน จนถึงปัจจุบัน โดยบริษัทแปลน ยังเสนอ ทำตัวอย่างโครงการพัฒนาพื้นที่โดยรอบ อาทิ สวนสาธารณะ ศูนย์วิทยาศาสตร์ และ ท่าเทียบเรือ
***ยกแผนเตือนภัยอวดเวทีเอเปค***
นางธนิฎฐา กล่าวอีกว่า ในสัปดาห์หน้า กระทรวงการท่องเที่ยว จะเข้าร่วมประชุม เอเปค ที่เมือง ซานฟรานซิสโก ประเทศ สหรัฐอเมริกา โดยประเด็นที่ กระทรวงการท่องเที่ยวจะนำเสนอในที่ประชุมเศรษฐกิจระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ถึงแนวแผนงานการรักษาความปลอดภัยนักท่องเที่ยว โดย ที่ประชุมครั้งก่อน ไทยนำเสนอการทำงานด้านการให้ความช่วยเหลือนักท่องเที่ยว เพราะ มีประสบการณ์ตรง จากเหตุการณืภัยพิบัติ สึนามิ และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และกำลังจะผลักดันต่อเรื่องการวางแผนการเตือนภัย หนึ่งในกลยุทธ์การสร้างความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว เพราะปัจจุบัน จากเหตุภัยธรรมชาติ ที่เกิดขึ้น หลายพื้นที่ทั่วโลก การมีแผนเตือนภัย จึงมีความสำคัญ สูง เพื่อสร้างความมั่นใจแก่นักท่องเที่ยว