ASTVผู้จัดการรายวัน-ส.อ.ท.ส่งสัญญาณกนง. ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลง หลังสัญญาณลูกค้า จากสหรัฐฯ และยุโรปบางรายเริ่มขอชะลอส่งมอบสินค้า 15-30 วัน บ่งชี้เศรษฐกิจโลกส่อเค้าชะลอตัวอีกรอบ ชี้ดอกเบี้ย 3.5% ต่อปี โอเว่อร์ไป แท้จริงต้องไม่เกิน 2% นายสมมาต ขุนเศษฐ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ที่จะประชุมวันที่ 19 ต.ค.นี้ ควรจะพิจารณาอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ปัจจุบันอยู่ระดับ 3.5% ต่อปี ด้วยการปรับลดลงให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงของเศรษฐกิจประเทศและของโลก โดยเฉพาะวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐฯ และยุโรปที่ยังคงยืดเยื้ออีก 1-2 ปี
“กนง.ไม่ควรจะส่งสัญญาณคงดอกเบี้ยหรอก วันนี้เรามองว่าดอกเบี้ยไม่ควรจะเกิน 2% ด้วยซ้ำไป ขนาดสหรัฐฯ เขายังประกาศคงดอกเบี้ยถึง 2 ปี เรายิ่งไม่มีเหตุผลที่จะไปขึ้นเลย ทำให้วันนี้ดอกเบี้ย คือ ปัญหาต่อเศรษฐกิจไทย และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กลับมองว่าคนจะกู้เพิ่ม เงินเฟ้อก็จะเพิ่มก็เลยขึ้นดอกเบี้ย ไม่คิดว่าคนที่กู้แล้วจะมีภาระเพิ่มขึ้นมากขนาดนั้นคนซื้อบ้านซื้อรถเขาก็กู้เงินทั้งนั้น ถ้าลดได้ นี่คือ ลดภาระประชาชนอย่างแท้จริง”นายสมมาตกล่าว
ทั้งนี้ วิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐฯ และยุโรปเริ่มมีสัญญาณว่าจะชะลอตัวชัดขึ้น เนื่องจากล่าสุดลูกค้าจากประเทศดังกล่าวบางรายเริ่มขอให้ชะลอการส่งมอบสินค้าแล้ว 15-30 วัน โดยเฉพาะสินค้าแฟชั่น เช่น เสื้อผ้า รองเท้า ซึ่งเป็นที่เข้าใจได้ว่าเป็นสัญญาณอันตรายถึงภาวะเศรษฐกิจโลกที่อาจชะลอตัวได้อีกครั้ง และจะต้องติดตามอย่างใกล้ชิดว่าที่สุดจะมีผลกระทบต่อคำสั่งซื้อหรือไม่
นายสมมาตกล่าวว่า ผู้ประกอบการไทยจะต้องเร่งปรับตัวรับมือในการมองหาตลาดใหม่ เพื่อลดความเสี่ยงต่อตลาดสหรัฐฯ และยุโรป ที่ยังคงซบเซาต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาดอาเซียน และเอเชีย ที่ยังมีการขยายตัวอยู่ และจะต้องปรับตัวในการมองการลงทุนไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่มีต้นทุนการผลิตต่ำ ทั้งในเรื่องของวัตถุดิบและค่าแรง เนื่องจากไทยอนาคตค่าแรงจะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
“ที่สุดแล้วเอกชนไทยจะต้องมองเรื่องการไปลงทุนต่างประเทศ โดยเฉพาะเพื่อนบ้าน แต่รัฐบาลเองก็จะต้องมีปัจจัยเอื้อทั้งในเรื่องของมาตรการด้านภาษี มาตรการด้านการเงิน ที่ขณะนี้มีข้อจำกัดมากในการลงทุน โดยเอกชนยังวิตกว่าถ้าไปลงทุนแล้วจะนำเงินกลับมาจะมีปัญหาไหม โดยสิ่งเหล่านี้จะได้นำไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป”นายสมมาตกล่าว
น.พ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.อุตสาหกรรม กล่าวภายหลังส.อ.ท.เข้าพบวานนี้ (13ก.ย.) ว่า ส.อ.ท.มาแสดงความยินดี แต่ในเรื่องของทิศทางการดำเนินงานร่วมกันนั้น ยังไม่ได้มีการหารือในรายละเอียดต่างๆ เนื่องจากขอเวลาในการดูแลเรื่องงบประมาณของกระทรวงอุตสาหกรรมอีกระยะหนึ่ง หลังจากนั้นจึงจะประสานให้ส.อ.ท.เข้าหารือประเด็นปัญหาอุปสรรคอีกครั้ง เพื่อที่จะขับเคลื่อนนโยบายให้สอดคล้องกับการจัดสรรงบประมาณของกระทรวง
“กนง.ไม่ควรจะส่งสัญญาณคงดอกเบี้ยหรอก วันนี้เรามองว่าดอกเบี้ยไม่ควรจะเกิน 2% ด้วยซ้ำไป ขนาดสหรัฐฯ เขายังประกาศคงดอกเบี้ยถึง 2 ปี เรายิ่งไม่มีเหตุผลที่จะไปขึ้นเลย ทำให้วันนี้ดอกเบี้ย คือ ปัญหาต่อเศรษฐกิจไทย และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กลับมองว่าคนจะกู้เพิ่ม เงินเฟ้อก็จะเพิ่มก็เลยขึ้นดอกเบี้ย ไม่คิดว่าคนที่กู้แล้วจะมีภาระเพิ่มขึ้นมากขนาดนั้นคนซื้อบ้านซื้อรถเขาก็กู้เงินทั้งนั้น ถ้าลดได้ นี่คือ ลดภาระประชาชนอย่างแท้จริง”นายสมมาตกล่าว
ทั้งนี้ วิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐฯ และยุโรปเริ่มมีสัญญาณว่าจะชะลอตัวชัดขึ้น เนื่องจากล่าสุดลูกค้าจากประเทศดังกล่าวบางรายเริ่มขอให้ชะลอการส่งมอบสินค้าแล้ว 15-30 วัน โดยเฉพาะสินค้าแฟชั่น เช่น เสื้อผ้า รองเท้า ซึ่งเป็นที่เข้าใจได้ว่าเป็นสัญญาณอันตรายถึงภาวะเศรษฐกิจโลกที่อาจชะลอตัวได้อีกครั้ง และจะต้องติดตามอย่างใกล้ชิดว่าที่สุดจะมีผลกระทบต่อคำสั่งซื้อหรือไม่
นายสมมาตกล่าวว่า ผู้ประกอบการไทยจะต้องเร่งปรับตัวรับมือในการมองหาตลาดใหม่ เพื่อลดความเสี่ยงต่อตลาดสหรัฐฯ และยุโรป ที่ยังคงซบเซาต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาดอาเซียน และเอเชีย ที่ยังมีการขยายตัวอยู่ และจะต้องปรับตัวในการมองการลงทุนไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่มีต้นทุนการผลิตต่ำ ทั้งในเรื่องของวัตถุดิบและค่าแรง เนื่องจากไทยอนาคตค่าแรงจะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
“ที่สุดแล้วเอกชนไทยจะต้องมองเรื่องการไปลงทุนต่างประเทศ โดยเฉพาะเพื่อนบ้าน แต่รัฐบาลเองก็จะต้องมีปัจจัยเอื้อทั้งในเรื่องของมาตรการด้านภาษี มาตรการด้านการเงิน ที่ขณะนี้มีข้อจำกัดมากในการลงทุน โดยเอกชนยังวิตกว่าถ้าไปลงทุนแล้วจะนำเงินกลับมาจะมีปัญหาไหม โดยสิ่งเหล่านี้จะได้นำไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป”นายสมมาตกล่าว
น.พ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.อุตสาหกรรม กล่าวภายหลังส.อ.ท.เข้าพบวานนี้ (13ก.ย.) ว่า ส.อ.ท.มาแสดงความยินดี แต่ในเรื่องของทิศทางการดำเนินงานร่วมกันนั้น ยังไม่ได้มีการหารือในรายละเอียดต่างๆ เนื่องจากขอเวลาในการดูแลเรื่องงบประมาณของกระทรวงอุตสาหกรรมอีกระยะหนึ่ง หลังจากนั้นจึงจะประสานให้ส.อ.ท.เข้าหารือประเด็นปัญหาอุปสรรคอีกครั้ง เพื่อที่จะขับเคลื่อนนโยบายให้สอดคล้องกับการจัดสรรงบประมาณของกระทรวง