ASTVผู้จัดการรายวัน - ปตท.เผยโครงการโรงไฟฟ้าไซยบุรี รอครม.ชี้ขาดเพื่อเดินหน้าโครงการ หลังลาวศึกษาไร้ผลกระทบตามประเด็นที่คณะกรรมการร่วม 4ประเทศเป็นห่วง ยันโครงการนี้เป็นผลดีในระยะยาว เผยเตรียมลงทุนโรงไฟฟ้าชีวมวล 5เมกะวัตต์ที่อินโดนีเซีย โดยใช้วัสดุเหลือใช้จากปาล์มในการผลิต
แหล่งข่าวจากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยความคืบหน้าโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำไซยบุรี ที่สปป.ลาวนั้น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จะเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติอีกครั้ง ภายหลังจากลาวได้ว่าจ้างที่ปรึกษาทำการศึกษาประเด็นที่คณะกรรมการร่วม 4 ประเทศ ประกอบด้วย กัมพูชา, ลาว, ไทยและเวียดนามให้ความเป็นห่วงในโครงการนี้จะส่งผลกระทบต่อประชาชนที่พึ่งพาแม่น้ำโขงนี้ โดยผลการศึกษาระบุไม่มีผลกระทบใดๆดังที่คณะ กรรมการร่วม 4 ประเทศเป็นห่วง และให้กฟผ.พิจารณานำโครงการดังกล่าวบรรจุในแผนการรับซื้อไฟฟ้าได้ ซึ่งเดิมครม.มีมติเดินหน้าโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำไซยบุรีเมื่อคณะกรรมการร่วม 4 ประเทศเห็นชอบดีด้วย แต่จากผลการศึกษารับฟังความเห็นฯของสปป.ลาวเพียงฝ่ายเดียวนั้น คงต้องยื่นให้ครม.พิจารณาชี้ขาดอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากกฟผ.เกรงว่าหากดำเนินการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการนี้จะผิดมติครม.ได้
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลควรต้องมีข้อสรุปในโครงการดังกล่าวอย่างเร่งด่วน เนื่องจากไทยมีความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น และโครงการนี้สามารถเข้าเสริมแทนโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินและนิวเคลียร์ที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะเริ่มดำเนินการได้
แหล่งข่าวจากปตท. กล่าว โครงการโรงไฟฟ้าไซยบุรีขนาดกำลังการผลิต 1,285 เมกะวัตต์นั้น เป็นโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยในระยะยาว ซึ่งโครงการนี้มีผลตอบแทนการลงทุนอยู่ในเกณฑ์ที่ดี โดยโครงการได้มีการเจรจาจัดหาเงินกู้โดยจะลงนามสัญญาหลังจากทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้า(PPA)กับกฟผ.แล้วเสร็จ โดยโครงการโรงไฟฟ้าไซยบุรี ใช้เงินลงทุน 1.15 แสนล้านบาท โดยกระแสไฟฟ้า 1,220 เมกะวัตต์ จะขายให้ กฟผ. โดยผ่านสายส่งเข้ามาในจังหวัดน่านและเลยของไทย และอีก 60 เมกะวัตต์ขายในสปป.ลาว มีเป้าหมายจะผลิตไฟฟ้าเข้าสู่ระบบได้ในปี 2562 โดยปตท.จะเข้าไปถือหุ้นในนามบริษัท นที ซินเนอร์ยี่ จำกัด 25% บมจ.ช.การช่าง 57.5% บมจ.ผลิตไฟฟ้า 12.5 %และพี.ที. คอนสตรัคชั่นแอนด์ อิริเกชั่น 5 %
แหล่งข่าวจากปตท. กล่าวต่อไปว่า การลงทุนโรงไฟฟ้าในต่างประเทศของปตท.นอกเหนือจากโครงการไซยบุรีแล้ว บริษัทฯมีแผนจะสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาด 5 เมกะวัตต์ที่อินโดนีเซีย คาดว่าจะใช้เงินลงทุน 2-3 ล้านเหรียญสหรัฐใช้วัสดุเหลือใช้จากปาล์มในการผลิต โดยจะป้อนไฟฟ้าให้กับชุมชนในพื้นที่ปลูกปาล์มของปตท. และส่วนหนึ่งจ่ายไฟให้กับโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มด้วย ส่วนการลงทุนโรงไฟฟ้าจากถ่านหินในอินโดนีเซียนั้น ขณะนี้บริษัทฯไม่มีแผนจะลงทุนโครงการดังกล่าวแต่อย่างใด แม้ว่าจะมีเหมืองถ่านหินในอินโดนีเซียแล้ว 2 เหมืองก็ตาม โดยบริษัทฯมีความสนใจลงทุนธุรกิจเหมืองถ่านหินมากกว่าโรงไฟฟ้า ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาซื้อกิจการเหมืองถ่านหินเพิ่มเติมมากกว่า 1 แห่ง แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปในช่วงนี้
แหล่งข่าวจากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยความคืบหน้าโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำไซยบุรี ที่สปป.ลาวนั้น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จะเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติอีกครั้ง ภายหลังจากลาวได้ว่าจ้างที่ปรึกษาทำการศึกษาประเด็นที่คณะกรรมการร่วม 4 ประเทศ ประกอบด้วย กัมพูชา, ลาว, ไทยและเวียดนามให้ความเป็นห่วงในโครงการนี้จะส่งผลกระทบต่อประชาชนที่พึ่งพาแม่น้ำโขงนี้ โดยผลการศึกษาระบุไม่มีผลกระทบใดๆดังที่คณะ กรรมการร่วม 4 ประเทศเป็นห่วง และให้กฟผ.พิจารณานำโครงการดังกล่าวบรรจุในแผนการรับซื้อไฟฟ้าได้ ซึ่งเดิมครม.มีมติเดินหน้าโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำไซยบุรีเมื่อคณะกรรมการร่วม 4 ประเทศเห็นชอบดีด้วย แต่จากผลการศึกษารับฟังความเห็นฯของสปป.ลาวเพียงฝ่ายเดียวนั้น คงต้องยื่นให้ครม.พิจารณาชี้ขาดอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากกฟผ.เกรงว่าหากดำเนินการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการนี้จะผิดมติครม.ได้
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลควรต้องมีข้อสรุปในโครงการดังกล่าวอย่างเร่งด่วน เนื่องจากไทยมีความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น และโครงการนี้สามารถเข้าเสริมแทนโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินและนิวเคลียร์ที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะเริ่มดำเนินการได้
แหล่งข่าวจากปตท. กล่าว โครงการโรงไฟฟ้าไซยบุรีขนาดกำลังการผลิต 1,285 เมกะวัตต์นั้น เป็นโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยในระยะยาว ซึ่งโครงการนี้มีผลตอบแทนการลงทุนอยู่ในเกณฑ์ที่ดี โดยโครงการได้มีการเจรจาจัดหาเงินกู้โดยจะลงนามสัญญาหลังจากทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้า(PPA)กับกฟผ.แล้วเสร็จ โดยโครงการโรงไฟฟ้าไซยบุรี ใช้เงินลงทุน 1.15 แสนล้านบาท โดยกระแสไฟฟ้า 1,220 เมกะวัตต์ จะขายให้ กฟผ. โดยผ่านสายส่งเข้ามาในจังหวัดน่านและเลยของไทย และอีก 60 เมกะวัตต์ขายในสปป.ลาว มีเป้าหมายจะผลิตไฟฟ้าเข้าสู่ระบบได้ในปี 2562 โดยปตท.จะเข้าไปถือหุ้นในนามบริษัท นที ซินเนอร์ยี่ จำกัด 25% บมจ.ช.การช่าง 57.5% บมจ.ผลิตไฟฟ้า 12.5 %และพี.ที. คอนสตรัคชั่นแอนด์ อิริเกชั่น 5 %
แหล่งข่าวจากปตท. กล่าวต่อไปว่า การลงทุนโรงไฟฟ้าในต่างประเทศของปตท.นอกเหนือจากโครงการไซยบุรีแล้ว บริษัทฯมีแผนจะสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาด 5 เมกะวัตต์ที่อินโดนีเซีย คาดว่าจะใช้เงินลงทุน 2-3 ล้านเหรียญสหรัฐใช้วัสดุเหลือใช้จากปาล์มในการผลิต โดยจะป้อนไฟฟ้าให้กับชุมชนในพื้นที่ปลูกปาล์มของปตท. และส่วนหนึ่งจ่ายไฟให้กับโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มด้วย ส่วนการลงทุนโรงไฟฟ้าจากถ่านหินในอินโดนีเซียนั้น ขณะนี้บริษัทฯไม่มีแผนจะลงทุนโครงการดังกล่าวแต่อย่างใด แม้ว่าจะมีเหมืองถ่านหินในอินโดนีเซียแล้ว 2 เหมืองก็ตาม โดยบริษัทฯมีความสนใจลงทุนธุรกิจเหมืองถ่านหินมากกว่าโรงไฟฟ้า ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาซื้อกิจการเหมืองถ่านหินเพิ่มเติมมากกว่า 1 แห่ง แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปในช่วงนี้