นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยถึงกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยคาดว่าจะเริ่มขึ้นในปี 2555 โดยเริ่มจากการแก้ไข มาตรา 291 ให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญก่อน โดยจัดให้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) จำนวน 99 คน มาจากการเลือกตั้ง แต่ละจังหวัดรวม 77 คน ที่เหลือก็มาจาการคัดเลือกในส่วนผู้ทรงคุณวุฒิ ตามสาขาต่างๆ เหมือนที่มา ส.ส.ร. ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2540 และคาดว่าการแก้ไขมาตรา 291 จะเสร็จในช่วงเทศกาลสงกรานต์ หรือเดือน เม.ย. 55
จากนั้นเมื่อมี ส.ส.ร.ก็จะจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ ขึ้นอยู่ที่ ส.ส.ร.จะเห็นอย่างไร การแก้ไขตั้งแต่ในส่วนของส.ส.ร. จนประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จะไม่เกี่ยวข้องกับรัฐสภา และรัฐบาล โดยเมื่อ ส.ส.ร.ยกร่างเสร็จ ก็จะไปทำประชามติถามความเห็นประชาชนทั้งประเทศ ว่าเห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ คาดว่าจะมีขึ้นในช่วงต้นปี 56 เมื่อขั้นตอนทำประชามติเสร็จ ตนก็จะมีหน้าที่นำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ ต่อไป
นายสมศักดิ์ กล่าวต่อว่า ตนเห็นว่า วิกฤตการเมืองที่เกิดขึ้น มาจากรัฐธรรมนูญปี 2540 และโครงสร้างกติกา และรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ที่ไม่เป็นประชาธิปไตย จนเกิดความขัดแย้งถึงทุกวันนี้ ฝ่ายนั้นถูกอย่างเดียวแต่อีกฝ่ายผิดหมด ติดคุกอย่างเดียว
ทั้งนี้ การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะว่ากันไปตามเนื้อผ้า ไม่เกี่ยวกับรัฐสภา แต่เป็นเรื่องของประชาชนล้วนๆ
เมื่อถามว่า จะนิรโทษกรรมผ่านการเขียนในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ได้หรือไม่ นายสมศักดิ์ กล่าวว่าเป็นเรื่องของประชาชน ถ้า ส.ส.ร.จัดทำรัฐธรรมนูญเสร็จ ก็ให้ไปถามความเห็นประชาชน ถ้าประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วย ก็ต้องว่าตามนั้น จะไปทำเพื่อคนๆ เดียวได้อย่างไร และถ้ายังปล่อยให้มีมาตรา 309 ในรัฐธรรมนูญปี 2550 ต่อไป บ้านเมืองจะยังไม่เป็นประชาธิปไตยแน่
"ความจริงอยากให้ทุกสี ทุกกลุ่มการเมืองมาพูดคุยกันในปมปัญหาต่างๆ ช่วงแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อหาทางออกร่วมกัน อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าเมื่อได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้ว ก็จะได้รัฐธรรมนูญที่มีความเป็นธรรมมากขึ้น ปัญหาทุกอย่างก็จะเข้าที่เข้าทาง" นายสมศักดิ์ กล่าว
จากนั้นเมื่อมี ส.ส.ร.ก็จะจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ ขึ้นอยู่ที่ ส.ส.ร.จะเห็นอย่างไร การแก้ไขตั้งแต่ในส่วนของส.ส.ร. จนประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จะไม่เกี่ยวข้องกับรัฐสภา และรัฐบาล โดยเมื่อ ส.ส.ร.ยกร่างเสร็จ ก็จะไปทำประชามติถามความเห็นประชาชนทั้งประเทศ ว่าเห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ คาดว่าจะมีขึ้นในช่วงต้นปี 56 เมื่อขั้นตอนทำประชามติเสร็จ ตนก็จะมีหน้าที่นำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ ต่อไป
นายสมศักดิ์ กล่าวต่อว่า ตนเห็นว่า วิกฤตการเมืองที่เกิดขึ้น มาจากรัฐธรรมนูญปี 2540 และโครงสร้างกติกา และรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ที่ไม่เป็นประชาธิปไตย จนเกิดความขัดแย้งถึงทุกวันนี้ ฝ่ายนั้นถูกอย่างเดียวแต่อีกฝ่ายผิดหมด ติดคุกอย่างเดียว
ทั้งนี้ การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะว่ากันไปตามเนื้อผ้า ไม่เกี่ยวกับรัฐสภา แต่เป็นเรื่องของประชาชนล้วนๆ
เมื่อถามว่า จะนิรโทษกรรมผ่านการเขียนในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ได้หรือไม่ นายสมศักดิ์ กล่าวว่าเป็นเรื่องของประชาชน ถ้า ส.ส.ร.จัดทำรัฐธรรมนูญเสร็จ ก็ให้ไปถามความเห็นประชาชน ถ้าประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วย ก็ต้องว่าตามนั้น จะไปทำเพื่อคนๆ เดียวได้อย่างไร และถ้ายังปล่อยให้มีมาตรา 309 ในรัฐธรรมนูญปี 2550 ต่อไป บ้านเมืองจะยังไม่เป็นประชาธิปไตยแน่
"ความจริงอยากให้ทุกสี ทุกกลุ่มการเมืองมาพูดคุยกันในปมปัญหาต่างๆ ช่วงแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อหาทางออกร่วมกัน อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าเมื่อได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้ว ก็จะได้รัฐธรรมนูญที่มีความเป็นธรรมมากขึ้น ปัญหาทุกอย่างก็จะเข้าที่เข้าทาง" นายสมศักดิ์ กล่าว