นครศรีธรรมราช - “เครือข่ายเพชรเกษม 41” เตรียมระดมสมองเดินหน้าปฏิบัติการป้องทรัพยากรภาคใต้ 3 ก.ย.นี้ หลังรัฐบาลปู 1 ประกาศเดินหน้านโยบายอุตสาหกรรมหนักภาคใต้ ลั่นมาตรการจะเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ
นายทรงวุฒิ พัฒแก้ว ผู้ประสานงานแผนปฏิบัติการเพชรเกษม 41 เปิดเผยว่า ในวันที่ 3 ก.ย.นี้ “เครือข่ายเพชรเกษม 41” ซึ่งเป็นเครือข่ายที่มีการรวมตัวกันของสมาชิกทั้ง 14 จังหวัดภาคใต้ ที่ไม่เห็นด้วยกับการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในพื้นที่แต่ละจังหวัด จะมารวมตัวกันอีกครั้งที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช
ทั้งนี้ เพื่อร่วมกันอภิปรายแผนพัฒนาภาคใต้ของรัฐบาลชุดนี้ใน 6 ประเด็นหลัก คือ โรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน โครงการของ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด โครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา โครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย โครงการไมค์-มารีน่า ซึ่งเป็นการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างมโหฬารมีท่าเรือยอชต์ มีคฤหาสน์ยูนิตละ 200-300 ล้านบาท ซึ่งโดยภาพรวมแล้วเป็นการแย่งชิงทรัพยากรครั้งยิ่งใหญ่ และการพัฒนานี้กำลังลืมไปว่าแต่ละแห่งนั้นยังมีชุมชน มีท้องถิ่นที่กำลังถูกลืมท่ามกลางกระแสการพัฒนาอย่างไม่ลืมหูลืมตา
ผู้ประสานงานแผนปฏิบัติการเพชรเกษม 41 ยังกล่าวต่ออีกว่า ด้วยเหตุนี้กระบวนการจะถูกผลักดันขึ้นสู่เวทีวิชาการร่วมกับนักวิชาการ ถกเถียงกันเพื่อร่วมกันหาทางออก เนื่องจากมีความซับซ้อนซ่อนเงื่อนของผลประโยชน์ในสังคมมากขึ้น จนสังคมชนบทตามเรื่องเหล่านี้ไม่ทัน เราจึงพยายามผลักดันร่วมกันตั้งวอร์รูมวิชาการ เป็นช่องทางในการผลักดันปัญหาชุมชน ปัญหาชาวบ้าน ขึ้นเป็นวาระทางสังคมแห่งชาติขึ้น เพื่อถกเถียงหาทางออก โดยการยกระดับไปสู่เวทีวิชาการจะสามารถอธิบายสังคมให้เห็นถึงความเชื่อมโยง และความพยายามในการแย่งชิงฉกฉวยทรัพยากรในภาคใต้ โดยนักวิชาการที่มาจากทุกภาค
“การปฏิบัติการเพชรเกษม 41 ช่วงวันที่ 21-22 ส.ค.ที่ผ่านมา รัฐบาลยังเดินหน้าประกาศนโยบายในข้อที่ 6 คือ การเดินแผนพัฒนาภาคใต้อย่างชัดเจน แม้ว่าเราจะยื่นความจำนงในการคัดค้านชัดเจนแล้วก็ตาม รัฐบาลก็ยังเดินหน้าอีก ดังนั้นหลังจากนี้ภาคใต้จะมีแผนปฏิบัติการครั้งในต่อๆ ไปที่มีความเข้มข้นขึ้นตามลำดับ ส่วนมาตรการเรายังไม่ขอเปิดเผย” นายทรงวุฒิ กล่าว
นายทรงวุฒิ พัฒแก้ว ผู้ประสานงานแผนปฏิบัติการเพชรเกษม 41 เปิดเผยว่า ในวันที่ 3 ก.ย.นี้ “เครือข่ายเพชรเกษม 41” ซึ่งเป็นเครือข่ายที่มีการรวมตัวกันของสมาชิกทั้ง 14 จังหวัดภาคใต้ ที่ไม่เห็นด้วยกับการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในพื้นที่แต่ละจังหวัด จะมารวมตัวกันอีกครั้งที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช
ทั้งนี้ เพื่อร่วมกันอภิปรายแผนพัฒนาภาคใต้ของรัฐบาลชุดนี้ใน 6 ประเด็นหลัก คือ โรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน โครงการของ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด โครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา โครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย โครงการไมค์-มารีน่า ซึ่งเป็นการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างมโหฬารมีท่าเรือยอชต์ มีคฤหาสน์ยูนิตละ 200-300 ล้านบาท ซึ่งโดยภาพรวมแล้วเป็นการแย่งชิงทรัพยากรครั้งยิ่งใหญ่ และการพัฒนานี้กำลังลืมไปว่าแต่ละแห่งนั้นยังมีชุมชน มีท้องถิ่นที่กำลังถูกลืมท่ามกลางกระแสการพัฒนาอย่างไม่ลืมหูลืมตา
ผู้ประสานงานแผนปฏิบัติการเพชรเกษม 41 ยังกล่าวต่ออีกว่า ด้วยเหตุนี้กระบวนการจะถูกผลักดันขึ้นสู่เวทีวิชาการร่วมกับนักวิชาการ ถกเถียงกันเพื่อร่วมกันหาทางออก เนื่องจากมีความซับซ้อนซ่อนเงื่อนของผลประโยชน์ในสังคมมากขึ้น จนสังคมชนบทตามเรื่องเหล่านี้ไม่ทัน เราจึงพยายามผลักดันร่วมกันตั้งวอร์รูมวิชาการ เป็นช่องทางในการผลักดันปัญหาชุมชน ปัญหาชาวบ้าน ขึ้นเป็นวาระทางสังคมแห่งชาติขึ้น เพื่อถกเถียงหาทางออก โดยการยกระดับไปสู่เวทีวิชาการจะสามารถอธิบายสังคมให้เห็นถึงความเชื่อมโยง และความพยายามในการแย่งชิงฉกฉวยทรัพยากรในภาคใต้ โดยนักวิชาการที่มาจากทุกภาค
“การปฏิบัติการเพชรเกษม 41 ช่วงวันที่ 21-22 ส.ค.ที่ผ่านมา รัฐบาลยังเดินหน้าประกาศนโยบายในข้อที่ 6 คือ การเดินแผนพัฒนาภาคใต้อย่างชัดเจน แม้ว่าเราจะยื่นความจำนงในการคัดค้านชัดเจนแล้วก็ตาม รัฐบาลก็ยังเดินหน้าอีก ดังนั้นหลังจากนี้ภาคใต้จะมีแผนปฏิบัติการครั้งในต่อๆ ไปที่มีความเข้มข้นขึ้นตามลำดับ ส่วนมาตรการเรายังไม่ขอเปิดเผย” นายทรงวุฒิ กล่าว