พิษณุโลก - 2 กลุ่มรุมต้านขวางโครงการบ่อขยะเทศบาลนครไทย ล่าสุดกลุ่มนักเรียนเรียงแถวถือป้ายประท้วงบ่อขยะเก่า ทต.ห่างจากโรงเรียนแค่ 500 เมตร ส่งกลิ่นเหม็นคลุ้ง-แมลงวันตอมหึ่งรบกวนการเรียนการสอน ขณะที่ชาวบ้านต้านห้ามย้ายที่ทิ้งขยะเข้า “เขาช้างล้วง” แหล่งต้นน้ำ-พื้นที่ประวัติศาสตร์สมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์
รายงานข่าวจากจังหวัดพิษณุโลก แจ้งว่า เมื่อวันที่ 30 ส.ค.ที่ผ่านมา นักเรียนอนุบาลและนักเรียนประถม โรงเรียนจันทราพระกิตติคุณ กว่า 300 คน ได้ถือป้ายประท้วงนายกเทศบาลตำบลนครไทย ที่บริเวณหน้าสำนักงานเทศบาลตำบลนครไทย อ.นครไทย เนื่องจากได้รับความเดือดร้อนจากขยะที่ส่งกลิ่นเหม็นไปทั่วบริเวณ แมลงวันรบกวนขณะรับประทานอาหารกลางวันเป็นเวลาร่วม 2 ปี เพราะขยะที่เทศบาลนำมาทิ้งไว้ห่างจากโรงเรียนประมาณ 500 เมตร
นอกจากกลุ่มเด็กนักเรียนที่มาประท้วงครั้งนี้ ยังพบว่ามีกลุ่มชาวบ้าน ม.2 บ้านเนินสว่าง ต.นครไทย กว่า 200 คนได้ถือป้ายมาร่วมประท้วงคัดค้านการที่เทศบาลฯกำลังเตรียมนำขยะไปทิ้งในพื้นที่ต้นน้ำธารในพื้นที่ ม.2 ซึ่งเป็นบริเวณเขาช้างล้วง และเป็นพื้นที่ป่าลำคลองด้วย ทำให้มีการประท้วงของสองฝ่าย คือ ฝ่ายเด็กนักเรียนที่ต้องการให้ย้ายที่ทิ้งขยะจากจุดเดิม และฝ่ายชาวบ้านไม่ต้องการให้เทศบาลฯนำขยะไปทิ้งในพื้นที่ป่าเขาต้นน้ำลำธาร
การประท้วงที่เกิดขึ้นครั้งนี้ สืบเนื่องจากก่อนหน้าที่ผ่านมาหลายปี นายกเทศบาลตำบลนครไทยได้นำขยะไปทิ้งในพื้นที่ ต.เนินเพิ่ม อ.นครไทย โดยได้มีการเจรจากับนายกเทศบาลตำบลเนินเพิ่ม ซึ่งทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องที่ทิ้งขยะ กระทั่งนายภิชาติ อมรรุ่งรัศมี เข้ามาเป็นนายกเทศบาลตำบลนครไทย เกิดความขัดแย้งและปัญหากันขึ้น ทำให้เทศบาลตำบลเนิน เพิ่งสั่งห้ามเทศบาลตำบลนครไทยนำขยะไปทิ้งในพื้นที่ของเทศบาลเนินเพิ่ม
อย่างไรก็ตาม การประท้วง 2 จุดดังกล่าวเกิดจากการเมืองท้องถิ่นและผลประโยชน์ในพื้นที่ของ 2 กลุ่มการเมือง หรือ 2 ขั้วการเมือง
ทั้งนี้ นายกเทศบาลตำบลนครไทย ซึ่งได้ใช้พื้นที่ด้านหลังเทศบาลตำบลนครไทย ห่างจากสำนักงานเทศบาลฯเพียง 50 เมตร เป็นที่ทิ้งขยะมานานร่วม 2 ปี แต่บริเวณดังกล่าวอยู่ติดกับวัดป่าวิโมกข์ และห่างจากโรงเรียนจันทราพระกิตติคุณเพียง 500 เมตร ทำให้ได้รับความเดือดร้อนทั้งเรื่องกลิ่น และแมลงวัน โดยเฉพาะพระสงฆ์ในวัดได้รับความเดือดร้อนทั้งวันทั้งคืน ส่วนเด็กนักเรียนจะได้รับความเดือดร้อนช่วงเวลาเรียนหนังสือ ที่ต้องทนกลิ่นเหม็นตลอดเวลา และช่วงเวลาทานอาหารแมลงวันรบกวนอีก จึงมีการร้องเรียนไปทางหน่วยงาน และแจ้งให้เทศบาลฯเร่งแก้ไข แต่ปรากฏว่า เวลาล่วงเลมาเกือบ 2 ปี ยังไม่มีการดำเนินการจัดการขยะแต่อย่างใด จึงได้พากันออกมาเรียกร้องให้ย้ายขยะไปทิ้งที่อื่นนอกชุมชน
ขณะที่กลุ่มชาวบ้านที่ออกมาคัดค้านที่ทิ้งขยะ เพราะหลังจากที่เทศบาลฯถูกร้องเรียนให้หาที่ทิ้งขยะแห่งใหม่ กระทั่งได้มีการหาพื้นที่แห่งใหม่ได้ ซึ่งเป็นพื้นที่ใน ม.2 บ้านเนินสว่าง จำนวน 90 ไร่ ห่างจากหมู่บ้าน 3 กิโลเมตร ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวเป็นของเอกชน มีการซื้อขายกันมาราคา 6 ล้านบาท แต่เทศบาลฯจะซื้อต่อจากคนใกล้ชิดในราคา 9 ล้านบาท และใช้พื้นที่ดังกล่าวเป็นแหล่งทิ้งขยะแห่งใหม่
ทำให้กลุ่มชาวบ้านออกมาต่อต้านทันที เพราะบริเวณที่จะใช้ทิ้งขยะเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร และพื้นที่ป่าจำนวนมาก และที่สำคัญคืออยู่ติดกับเขาช้างล้วง ที่มีประวัติศาสตร์สมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ผู้ปกครองเมืองบางยางในสมัยนั้น และมีการจัดงานประเพณีปักธงชัยทุกปี ทำให้ชาวบ้านออกมาต่อต้านคัดค้านไม่ให้นำขยะไปทิ้งในพื้นที่ดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปตรวจสอบพื้นที่แห่งใหม่ที่เทศบาลตำบลนครไทย เตรียมจะใช้เป็นที่ทิ้งขยะ พบว่าที่บริเวณประตูเทศบาลฯได้นำป้ายมาติดเอาไว้ว่า เทศบาลตำบลนครไทยจะดำเนินการจัดซื้อที่ดินจำนวน 90 ไร่ 81 ตารางวา จากนางอุบลรัตน์ ทรงพุฒ เพื่อใช้เป็นพื้นที่กำจัดขยะ โดยมีป้ายผ้าของชาวบ้านนำมาติดคัดค้านคู่กันเอาไว้
ส่วนพื้นที่ดังกล่าวอยู่บนเนินสูงมองเห็นไร่ข้าวโพด ทุ่งนาข้าวเขียวขจีอยู่ด้านล่าง มีต้นไม้น้อยใหญ่ขึ้นปกคลุมจำนวนมาก นอกจากนั้นยังมีต้นน้ำลำธารที่ไหลผ่านบริเวณพื้นที่ดังกล่าวจำนวน 2 สาย คือ ลำคลองห้วยลิงโทน และลำคลองห้วยทราย ซึ่งทั้งสองสายจะไหลไปรวมกันลงสู่แม่น้ำแควน้อย และไหลไปบรรจบแม่น้ำน่านที่บ้านจอมทอง อ.เมืองพิษณุโลก
กลุ่มชาวบ้านคนนครไทยระบุว่า ตนมีที่นาอยู่บริเวณพื้นที่ที่เทศบาลฯจะน้ำขยะไปทิ้งแห่งใหม่ ต้องได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน เพราะเวลาฝนตกน้ำจากพื้นที่ทิ้งขยะจะไหลลงสู่นาข้าว ไร่ข้าวโพด และลงห้วยหนองลำคลอง ซึ่งบริเวณดังกล่าวเป็นต้นน้ำที่ไหลไปสู่แม่น้ำแควน้อย ชาวบ้านไม่ต้องการ และที่สำคัญอยู่ติดกับเขาช้างล้วง ซึ่งเป็นภูเขาที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์มาช้านาน
“มองขยะก็เห็นภูเขาช้างล้วง มองเขาช้างล้วงก็เห็นขยะ ไม่เหมาะสม พวกเราจะออกมาต่อต้านทุกวิถีทาง”
นายภิชาติ อมรรุ่งรัศมี นายกเทศมนตรีตำบลนครไทยเปิดเผยว่า เทศบาลตำบลนครไทยมีปัญหาจัดการขยะวันละ 10 ตันมาปีกว่าแล้ว เนื่องจากสถานที่ทิ้งขยะดั้งเดิมในเขตตำบลเนินเพิ่ม เทศบาลตำบลเนินเพิ่ม ไม่ยอมให้ขยะจากเทศบาลนครไทยไปทิ้ง จึงแก้ปัญหาด้วยการนำมาทิ้งชั่วคราวบริเวณด้านหลังที่ทำการเทศบาลตำบลนครไทยได้ปีกว่าเช่นกัน ยอมรับว่าส่งปัญหาต่อชุมชนใกล้เคียง แต่ได้พยายามแก้ไขปัญหาด้วยการจัดหาที่ทิ้งขยะระยะยาวด้วยการว่าจ้างนักวิชาการมาสำรวจพื้นที่ทิ้งขยะ 3 จุดในเขต ต.นครไทย และพบว่าจุดที่เหมาะสมคือที่ ม.12 ต.นครไทย
นายภิชาติเผยต่อว่า ในระหว่างที่นักวิชาการสำรวจ ได้ทำหนังสือถึงสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 3 และส่งข้อมูลให้พิจารณา สิ่งแวดล้อมภาค 3 มีหนังสือตอบกลับมาว่าไม่มีปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม และขณะนี้กำลังติดต่อขอซื้อที่ดิน 90 ไร่จากเอกชน โดยแนวคิดของเทศบาลนครไทยจะว่าจ้างเอกชน ทำระบบกำจัดขยะแบบเชิงกลชีวภาพ คล้ายการกำจัดขยะของเทศบาลนครพิษณุโลก และเทศบาลตำบลลานกระบือ ที่ไม่มีปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็น น้ำเสีย แหล่งน้ำ ได้เชิญกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกเทศบาลฯไปดูงานการกำจัดขยะของทั้งสองแห่งแล้ว และเชื่อว่าไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และอยู่ห่างไกลชุมชน ถ้าทำได้ จะเป็นที่กำจัดขยะถาวรของเทศบาลตำบลนครไทย จะหมุนเวียนใช้พื้นที่ได้ตลอดไป ไม่มีปัญหา ส่วนชาวบ้าน ม.12 ที่ต่อต้าน ขณะนี้พยายามสร้างความเชื่อมั่น ด้วยการดึงอำเภอ สิ่งแวดล้อม นักวิชาการ มาให้ข้อมูล
รายงานข่าวจากจังหวัดพิษณุโลก แจ้งว่า เมื่อวันที่ 30 ส.ค.ที่ผ่านมา นักเรียนอนุบาลและนักเรียนประถม โรงเรียนจันทราพระกิตติคุณ กว่า 300 คน ได้ถือป้ายประท้วงนายกเทศบาลตำบลนครไทย ที่บริเวณหน้าสำนักงานเทศบาลตำบลนครไทย อ.นครไทย เนื่องจากได้รับความเดือดร้อนจากขยะที่ส่งกลิ่นเหม็นไปทั่วบริเวณ แมลงวันรบกวนขณะรับประทานอาหารกลางวันเป็นเวลาร่วม 2 ปี เพราะขยะที่เทศบาลนำมาทิ้งไว้ห่างจากโรงเรียนประมาณ 500 เมตร
นอกจากกลุ่มเด็กนักเรียนที่มาประท้วงครั้งนี้ ยังพบว่ามีกลุ่มชาวบ้าน ม.2 บ้านเนินสว่าง ต.นครไทย กว่า 200 คนได้ถือป้ายมาร่วมประท้วงคัดค้านการที่เทศบาลฯกำลังเตรียมนำขยะไปทิ้งในพื้นที่ต้นน้ำธารในพื้นที่ ม.2 ซึ่งเป็นบริเวณเขาช้างล้วง และเป็นพื้นที่ป่าลำคลองด้วย ทำให้มีการประท้วงของสองฝ่าย คือ ฝ่ายเด็กนักเรียนที่ต้องการให้ย้ายที่ทิ้งขยะจากจุดเดิม และฝ่ายชาวบ้านไม่ต้องการให้เทศบาลฯนำขยะไปทิ้งในพื้นที่ป่าเขาต้นน้ำลำธาร
การประท้วงที่เกิดขึ้นครั้งนี้ สืบเนื่องจากก่อนหน้าที่ผ่านมาหลายปี นายกเทศบาลตำบลนครไทยได้นำขยะไปทิ้งในพื้นที่ ต.เนินเพิ่ม อ.นครไทย โดยได้มีการเจรจากับนายกเทศบาลตำบลเนินเพิ่ม ซึ่งทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องที่ทิ้งขยะ กระทั่งนายภิชาติ อมรรุ่งรัศมี เข้ามาเป็นนายกเทศบาลตำบลนครไทย เกิดความขัดแย้งและปัญหากันขึ้น ทำให้เทศบาลตำบลเนิน เพิ่งสั่งห้ามเทศบาลตำบลนครไทยนำขยะไปทิ้งในพื้นที่ของเทศบาลเนินเพิ่ม
อย่างไรก็ตาม การประท้วง 2 จุดดังกล่าวเกิดจากการเมืองท้องถิ่นและผลประโยชน์ในพื้นที่ของ 2 กลุ่มการเมือง หรือ 2 ขั้วการเมือง
ทั้งนี้ นายกเทศบาลตำบลนครไทย ซึ่งได้ใช้พื้นที่ด้านหลังเทศบาลตำบลนครไทย ห่างจากสำนักงานเทศบาลฯเพียง 50 เมตร เป็นที่ทิ้งขยะมานานร่วม 2 ปี แต่บริเวณดังกล่าวอยู่ติดกับวัดป่าวิโมกข์ และห่างจากโรงเรียนจันทราพระกิตติคุณเพียง 500 เมตร ทำให้ได้รับความเดือดร้อนทั้งเรื่องกลิ่น และแมลงวัน โดยเฉพาะพระสงฆ์ในวัดได้รับความเดือดร้อนทั้งวันทั้งคืน ส่วนเด็กนักเรียนจะได้รับความเดือดร้อนช่วงเวลาเรียนหนังสือ ที่ต้องทนกลิ่นเหม็นตลอดเวลา และช่วงเวลาทานอาหารแมลงวันรบกวนอีก จึงมีการร้องเรียนไปทางหน่วยงาน และแจ้งให้เทศบาลฯเร่งแก้ไข แต่ปรากฏว่า เวลาล่วงเลมาเกือบ 2 ปี ยังไม่มีการดำเนินการจัดการขยะแต่อย่างใด จึงได้พากันออกมาเรียกร้องให้ย้ายขยะไปทิ้งที่อื่นนอกชุมชน
ขณะที่กลุ่มชาวบ้านที่ออกมาคัดค้านที่ทิ้งขยะ เพราะหลังจากที่เทศบาลฯถูกร้องเรียนให้หาที่ทิ้งขยะแห่งใหม่ กระทั่งได้มีการหาพื้นที่แห่งใหม่ได้ ซึ่งเป็นพื้นที่ใน ม.2 บ้านเนินสว่าง จำนวน 90 ไร่ ห่างจากหมู่บ้าน 3 กิโลเมตร ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวเป็นของเอกชน มีการซื้อขายกันมาราคา 6 ล้านบาท แต่เทศบาลฯจะซื้อต่อจากคนใกล้ชิดในราคา 9 ล้านบาท และใช้พื้นที่ดังกล่าวเป็นแหล่งทิ้งขยะแห่งใหม่
ทำให้กลุ่มชาวบ้านออกมาต่อต้านทันที เพราะบริเวณที่จะใช้ทิ้งขยะเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร และพื้นที่ป่าจำนวนมาก และที่สำคัญคืออยู่ติดกับเขาช้างล้วง ที่มีประวัติศาสตร์สมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ผู้ปกครองเมืองบางยางในสมัยนั้น และมีการจัดงานประเพณีปักธงชัยทุกปี ทำให้ชาวบ้านออกมาต่อต้านคัดค้านไม่ให้นำขยะไปทิ้งในพื้นที่ดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปตรวจสอบพื้นที่แห่งใหม่ที่เทศบาลตำบลนครไทย เตรียมจะใช้เป็นที่ทิ้งขยะ พบว่าที่บริเวณประตูเทศบาลฯได้นำป้ายมาติดเอาไว้ว่า เทศบาลตำบลนครไทยจะดำเนินการจัดซื้อที่ดินจำนวน 90 ไร่ 81 ตารางวา จากนางอุบลรัตน์ ทรงพุฒ เพื่อใช้เป็นพื้นที่กำจัดขยะ โดยมีป้ายผ้าของชาวบ้านนำมาติดคัดค้านคู่กันเอาไว้
ส่วนพื้นที่ดังกล่าวอยู่บนเนินสูงมองเห็นไร่ข้าวโพด ทุ่งนาข้าวเขียวขจีอยู่ด้านล่าง มีต้นไม้น้อยใหญ่ขึ้นปกคลุมจำนวนมาก นอกจากนั้นยังมีต้นน้ำลำธารที่ไหลผ่านบริเวณพื้นที่ดังกล่าวจำนวน 2 สาย คือ ลำคลองห้วยลิงโทน และลำคลองห้วยทราย ซึ่งทั้งสองสายจะไหลไปรวมกันลงสู่แม่น้ำแควน้อย และไหลไปบรรจบแม่น้ำน่านที่บ้านจอมทอง อ.เมืองพิษณุโลก
กลุ่มชาวบ้านคนนครไทยระบุว่า ตนมีที่นาอยู่บริเวณพื้นที่ที่เทศบาลฯจะน้ำขยะไปทิ้งแห่งใหม่ ต้องได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน เพราะเวลาฝนตกน้ำจากพื้นที่ทิ้งขยะจะไหลลงสู่นาข้าว ไร่ข้าวโพด และลงห้วยหนองลำคลอง ซึ่งบริเวณดังกล่าวเป็นต้นน้ำที่ไหลไปสู่แม่น้ำแควน้อย ชาวบ้านไม่ต้องการ และที่สำคัญอยู่ติดกับเขาช้างล้วง ซึ่งเป็นภูเขาที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์มาช้านาน
“มองขยะก็เห็นภูเขาช้างล้วง มองเขาช้างล้วงก็เห็นขยะ ไม่เหมาะสม พวกเราจะออกมาต่อต้านทุกวิถีทาง”
นายภิชาติ อมรรุ่งรัศมี นายกเทศมนตรีตำบลนครไทยเปิดเผยว่า เทศบาลตำบลนครไทยมีปัญหาจัดการขยะวันละ 10 ตันมาปีกว่าแล้ว เนื่องจากสถานที่ทิ้งขยะดั้งเดิมในเขตตำบลเนินเพิ่ม เทศบาลตำบลเนินเพิ่ม ไม่ยอมให้ขยะจากเทศบาลนครไทยไปทิ้ง จึงแก้ปัญหาด้วยการนำมาทิ้งชั่วคราวบริเวณด้านหลังที่ทำการเทศบาลตำบลนครไทยได้ปีกว่าเช่นกัน ยอมรับว่าส่งปัญหาต่อชุมชนใกล้เคียง แต่ได้พยายามแก้ไขปัญหาด้วยการจัดหาที่ทิ้งขยะระยะยาวด้วยการว่าจ้างนักวิชาการมาสำรวจพื้นที่ทิ้งขยะ 3 จุดในเขต ต.นครไทย และพบว่าจุดที่เหมาะสมคือที่ ม.12 ต.นครไทย
นายภิชาติเผยต่อว่า ในระหว่างที่นักวิชาการสำรวจ ได้ทำหนังสือถึงสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 3 และส่งข้อมูลให้พิจารณา สิ่งแวดล้อมภาค 3 มีหนังสือตอบกลับมาว่าไม่มีปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม และขณะนี้กำลังติดต่อขอซื้อที่ดิน 90 ไร่จากเอกชน โดยแนวคิดของเทศบาลนครไทยจะว่าจ้างเอกชน ทำระบบกำจัดขยะแบบเชิงกลชีวภาพ คล้ายการกำจัดขยะของเทศบาลนครพิษณุโลก และเทศบาลตำบลลานกระบือ ที่ไม่มีปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็น น้ำเสีย แหล่งน้ำ ได้เชิญกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกเทศบาลฯไปดูงานการกำจัดขยะของทั้งสองแห่งแล้ว และเชื่อว่าไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และอยู่ห่างไกลชุมชน ถ้าทำได้ จะเป็นที่กำจัดขยะถาวรของเทศบาลตำบลนครไทย จะหมุนเวียนใช้พื้นที่ได้ตลอดไป ไม่มีปัญหา ส่วนชาวบ้าน ม.12 ที่ต่อต้าน ขณะนี้พยายามสร้างความเชื่อมั่น ด้วยการดึงอำเภอ สิ่งแวดล้อม นักวิชาการ มาให้ข้อมูล