xs
xsm
sm
md
lg

สสปน.ดัน “อุบลฯ”ขึ้นไมซ์ซิตี้รองรับFTA-สามเหลี่ยงมรกต

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ASTVผู้จัดการรายวัน - นายอรรคพล สรสุชาติ ผู้อำนวยการสำนักงานจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. เปิดเผยว่า ในไตรมาสสุดท้ายของปีงบประมาณ 2554 สสปน. จะเดินหน้า กิจกรรม”ครีเอทีฟ ไมซ์ : ประชุมเมืองไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์” โครงการ 2 ซึ่องยู่ภายใต้ ภายใต้โครงการ “ประชุมเมืองไทย Domestic MICE มั่นใจเมืองไทย พร้อม” โดยเดินหน้าเปิดตัวไมซ์ ซิตี้ ในอีก 3 จังหวัด ได้แก่ พิษณุโลก ขอนแก่น และ อุบลราชธานี ซึ่งพิษณุโลก และขอนแก่น ได้ทยอยเปิดตัวไปแล้ว

ล่าสุดได้จัดงานประชุมสัญจร ภาคอีสาน ครีเอทีฟไมซ์ : ประชุมเมืองไทย ด้วยความคิดสร้างสรรค์ จังหวัดอุบลราชธานี ที่ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกาญจนาภิเษกอุบลราชธานี วันที่ 1 ก.ย.54 ภายใต้แนวทาง “แต่งแต้มความคิดสร้างสรรค์ ปั้นเศรษฐกิจไมซ์เมืองอุบล” ถือเป็นงาน ที่ประกาศตัวอย่างเป็นทางการ ในการยกระดับ จังหวัดอุบลราชธานี เป็น ไมซ์ซิตี้ แห่งอนุภาคลุ่มน้ำโขง ซึ่งโครงการแรก เปิดไมซ์ซิตี้ไปแล้ว 4 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ สงขลา และ ชลบุรี ซึ่ง Domestic MICE จะช่วยให้เกิดเงินหมุนเวียนภายในประเทศ กระจายความเจริญสู่ท้องถิ่น กระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจภายในประเทศ ลดความเสี่ยงจากผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยลบภายนอกประเทศ

จุดประสงค์โครงการ เพื่อยกระดับคุณภาพของอุตสาหกรรมไมซ์ ในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียง ช่วยกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวและปูรากฐานตอบรับโอกาสการขยายตัวของธุรกิจและสังคมในพื้นที่ภาคอีสาน โดย งานประชุมสัญจร ภาคอีสาน ครีเอทีฟไมซ์ ที่อุบลราชธานี ครั้งนี้ จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “ พลิก สร้าง แปลง เปลี่ยน “ ซึ่งหมายถึง การพลิกเศรษฐกิจด้วยความคิดสร้างสรรค์ สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจด้วยความสร้างสรรค์ แปลงรูปแบบการดำเนินการและเปลี่ยนแนวคิดให้มีมูลค่าเพิ่ม

ทั้งนี้อุบลราชธานี ถือเป็นจังหวัดที่มีความพร้อม ในหลายด้านพิจารณาจากจุดแข็ง ได้แก่ เป็นจังหวักที่มีแหล่งท่องเที่ยวหลากหลาย เป็นเมืองยุทธศาสตร์ในการเชื่อมโยงทางการค้าการท่องเที่ยวและการลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้าน เป็นศูนย์กลางการบินด่านสากลสู่ประเทศเวียดนาม และกลุ่มอาเซียนในแถบลุ่มน้ำโขง เป็นศูนย์กลางทางการศึกษาของภาคอีสานตอนใต้ เป็นศูนย์กลางการบริหารงานในส่วนภูมิภาคอีสานใต้ ซึ่งด้วยที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ นับว่าเป็นโลเกชั่นที่มีโอกาสด้านการลงทุน การเสริมสร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจ จากการค้าชายแดนในโครงการสามเหลี่ยมมรกต
กำลังโหลดความคิดเห็น