xs
xsm
sm
md
lg

เปิด“ประตูเหล็ก”พระวิหาร สว.วอนถก2สภารักษา“แหล่งพลังาน”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

การประชุมวุฒิสภา วานนี้(29 ส.ค) เริ่มเมื่อเวลา 10.00 น.โดยมี พล.อ.ธีรเดช มีเพียร ประธานวุฒิสภา เป็นประธานการประชุม ซึ่งก่อนเข้าสู่วาระการประชุม
น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. กล่าวถึงกรณีที่ นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ให้สัมภาษณ์ว่าจะเร่งเจรจากับประเทศกัมพูชาเรื่องแหล่งพลังงานทางทะเล บริเวณเกาะกูดและเกาะกง โดยจะยึดกรอบข้อตกลงร่วม หรือ เอ็มโอยู 2544 จึงอยากขอความชัดเจน เนื่องจากข้อกำหนดในเอ็มโอยู 44 กัมพูชาลากเส้นแบ่งเขตแดนที่ทำให้ไทยเสียเปรียบ จึงอยากเรียกร้องให้รัฐบาลนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมรัฐสภา ตามมาตรา 179 และเปิดโอกาสให้สมาชิกลงมติ ตามมาตรา 190
“ขอเรียกร้องไปยังรัฐบาลให้เปิดการประชุมร่วมรัฐสภา ตามมาตรา 179 ที่ระบุให้มีการเปิดประชุมเพื่ออภิปรายในปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน ก่อนที่รัฐบาลจะไปเจรจาผลประโยชน์ด้านพลังงานในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลอ่าวไทย ระหว่างไทยและกัมพูชา”
ด้านนายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา กล่าวเรียกร้องในประเด็นเดียวกัน พร้อมระบุด้วยว่า การเจรจาผลประโยชน์ในพื้นที่ทับซ้อนระหว่าง 2ประเทศ กรอบการเจรจานั้นมีความสำคัญ ถ้ารัฐบาลยอมรับตามกรอเอ็มโอยู 2544 จะทำให้มีพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลมากถึง 2.6 ตารางกิโลเมตร ซึ่งตนมีความเห็นว่าในทางความเป็นจริงเขตทับซ้อนทางทะเลอาจไม่ได้มีมากถึงขนาดนั้น
“กรณีดังกล่าวเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของประเทศ จึงอยากให้รัฐบาลเปิดโอกาสให้รัฐสภาพิจารณา”

**“ทบ.” รอ “ครม.”ไฟเขียวกรอบ“จีบีซี”
เมื่อเวลา 09.00 น.ที่กองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.)พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก(ผบ.ทบ.) ให้สัมภาษณ์ถึงการแก้ไขปัญหาชายแดนไทย-กัมพูชาว่า การแก้ปัญหาชายแดนไทยกัมพูชายังอยู่ในขั้นตอนของการพิจารณาของรัฐบาล โดยเรื่องทั้งหมดต้องนำเข้าคณะรัฐมนตรี(ครม.)อีกครั้ง ในส่วนการประชุมอาร์บีซีครั้งที่แล้วตามหลักการเราประชุมว่าจะอยู่ร่วมกัน อย่างไรในภาวะปกติใน 15 หัวข้อที่มีการประชุมทุกปี แต่การประชุมครั้งนี้มีการหารือนอกกรอบ มีการหารือนอกรอบ เราจะแก้ปัญหาต่างๆได้อย่างไร ซึ่งรายละเอียดทั้งหมดยังไม่สมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็น แต่ทั้งหมดจะเป็นกรอบฝ่ายกัมพูชาคิดอย่างไรโดยทั้งหมดจะนำเสนอผ่านกระทรวง กลาโหมและนำเข้าครม. ก่อนที่จะมีการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย-กัมพูชา(จีบีซี)
อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อตกลงใดๆทั้งสิ้น ส่วนการเตรียมการที่มีข่าวออกมานั้นเป็นการเตรียมการในชั้นต้นหากมีการปรับ กำลังออกจากพื้นที่ดังกล่าวเพื่อให้เกิดความเหมาะสม ต้องมีกำลังพลที่จะเข้าไปดูแลพื้นที่ทดแทนโดยมีทั้งฝ่ายกัมพูชาและไทย ดังนั้นต้องมีการหารือจะใช่ใครดูแล เพราะเราจะปล่อยให้พื้นที่ไม่มีใครดูแลคงเป็นไปไม่ได้ ส่วนที่มีข่าวออกมาอาจเป็นตำรวจหรือตำรวจตระเวนชายแดน(ตชด.)ยังไม่ได้ข้อ ยุติ และน่าจะได้ข้อยุติเรื่องนี้ในการประชุมจีบีซี
“ก่อน ไปประชุมต้องข้ออนุมัติกรอบรัฐบาลในทุกๆเรื่อง ปรับกำลังอย่างไร ใครเข้า ใครออก ใครจะดูแลเราต้องข้อกรอบการหารือทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่มีการปรับกำลังโดยยังคงดูแลพื้นที่ตามคำสั่งแผนป้องกันประเทศ แผนเดิม คงต้องรอคำสั่งรัฐบาลที่ชัดเจน ทหารไม่สามารถตัดสินใจเองได้ เพราะเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศดังนั้นคงต้องหารือกัน สั่งอย่างไรก็ทำอย่างนั้นเราพร้อมปฏิบัติอยู่แล้ว” พล.อ.ประยุทธ์ ระบุ
เมื่อ ถามถึงการส่งผู้สังเกตการณ์เข้ามายังพื้นที่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ทุกอย่างเตรียมพร้อมหมดแล้ว จะมีผู้สังเกตการณ์หรือไม่มี จะอยู่ที่ไหนอย่างไรเราเตรียมหมดทุกมิติทุกประเด็น แต่ต้องหารือในครม.เพื่อให้เห็นชอบในทุกเรื่องถึงจะปฏิบัติได้

**มทภ.2-ผู้ว่าฯ ศรีสะเกษถกประตูเหล็ก
วันเดียวกัน พล.ท.ธวัชชัย สมุทรสาคร แม่ทัพภาคที่ 2 พร้อมด้วย พ.อ.วุฒิ แสงจักร รองผู้บัญชาการกองกำลังสุรนารี ประชุมร่วมกับ นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ว่าราชการ จ.ศรีสะเกษ เพื่อวางกรอบการประชุมระหว่างผู้ว่าราชการ จ.ศรีสะเกษ และผู้ว่าราชการ จ.พระวิหาร ประเทศกัมพูชา ที่จะมีขึ้นในวันที่ 30 ส.ค.นี้ ที่ศาลากลาง จ.ศรีสะเกษ
โดยประเด็นหลักที่จะหารือ คือ การเปิดให้เข้าชมปราสาทพระวิหารในฝั่งไทย โดยเฉพาะประตูเหล็ก รวมถึงการบริหารจัดการผลประโยชน์ร่วมกัน
ผู้ว่าราชการ จ.ศรีสะเกษ เปิดเผยว่า การประเมินสถานการณ์ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ของฝ่ายความมั่นคง ขณะนี้สถานการณ์คลี่คลาย ซึ่งการประชุมคณะกรรมการชายแดนระดับภูมิภาคไทย-กัมพูชา หรือ อาร์บีซี ที่ จ.นครราชสีมา เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เป็นการฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จึงเชื่อว่า การผลักดันเปิดปราสาทพระวิหารในฝั่งไทย น่าจะส่งผลดีต่อการค้า การท่องเที่ยวใน จ.ศรีสะเกษ
สำหรับประตูทางขึ้นปราสาทพระวิหารในฝั่งไทย ปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 2551 หลังจากรัฐบาลกัมพูชาเสนอให้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียว และองค์การยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียนตามคำขอของกัมพูชา
กำลังโหลดความคิดเห็น