สหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ รวมตัวต้าน “เซอร์ชาร์จการนำเข้ากระดาษต่างประเทศ” ฟันธงถล่มอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ไทยแย่แน่ ต้นทุนพุ่ง ส่งออกสะเทือน ส่งSCG นั่งแท่นผูกขาดตลาดกระดาษอาร์ตมัน และกระดาษแข็งเคลือบ
วานนี้ (23 ส.ค) สมาพันธ์อุตสาหกรรมการพิพม์ซึ่งประกอบด้วย 9 สมาคม คือ กลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์กระดาษ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, สมาคมแยกสีแม่พิมพ์เพื่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย , สมาคมการพิมพ์ไทย, สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย, สมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย, สมาคมบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกไทย, สมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์,สมาคมการพิมพ์สกรีนไทย และชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย ร่วมกับ 3 สมาคม คือ สมาคมนิตยสารแห่งประเทศไทย, สมาคมไทยค้ากระดาษและสมุด และสมาคมการค้าวัสดุอุปกรณ์การพิมพ์ไทย รวมพลังคัดค้าน การบังคับใช้กฏหมายตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti- Dumping) สินค้ากระดาษ
โดยนายวิเชียร ประธานสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ เปิดเผยว่า จากกรณีที่ทางบริษัท เอสซีจี เปเปอร์ จำกัด (มหาชน) หนึ่งในกลุ่มธุรกิจของเครือซิเมนต์ไทย (SCG) ได้ยื่นหนังสือต่อคณะกรรมการ กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 18 ก.ค.ที่ผ่านมา กรณีการนำเข้ากระดาษจากต่างประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มกระดาษแข็งเคลือบ และอาร์ตมัน ขนาด 80-260 แกรม มีราคาต่ำกว่าราคาจริงส่งผลให้เอสซีจีไม่สามารถทำยอดขายและกำไรให้เป็นไปตามเป้าได้ จึงยื่นเรื่องขอให้ตรวจสอบ ทั้งนี้การร้องเรียนในเรื่องดังกล่าว ได้ถูกบรรจุไว้ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว แต่ยังไม่มีผลบังคับใช้ เนื่องจากกำลังอยู่ในขั้นตอนของการไต่สวนหามูลความจริงอยู่ คาดว่าจะใช้เวลา 5-6 เดือนจึงจะสามารถสรุปผลออกมาได้
ทั้งนี้เอสซีจี ได้ยื่นฟ้องการนำเข้ากระดาษจาก 5 ประเทศ คือ จีน 9 โรงงาน ค่าเซอร์ชาร์จ 17.64%, อินโดนีเซีย 5 โรงงาน เซอร์ชาร์จ 6.62%, เกาหลี 6 โรงงาน เซอร์ชาร์จ 5.85%, ญี่ปุ่น 6 โรงงาน เซอร์ชาร์จ 43.01% และไต้หวัน 3 โรงงาน เซอร์ชาร์จ 54.58%
และหากเรื่องที่ทางเอสซีจี ร้องเรียนไป แล้วมีมูลความจริง ทางคณะกรรมการฯจะมีกำหนดอัตราเรียกเก็บเงินส่วนต่าง(เซอร์ชาร์จ) จากการนำเข้ากระดาษต่างประเทศขึ้นมา แน่นอนว่าจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ทั้งระบบ เพราะต้นทุนกระดาษจะเพิ่มสูงขึ้นตามนั่นเอง โดยเฉพาะในกลุ่มหนังสือเด็ก รวมถึงโครงการใหญ่ อย่าง การอ่าน ที่เข้าสู่วาระแห่งชาติ ก็จะสะดุดลงการส่งออกทางด้านสิ่งพิมพ์ก็จะกระทบตามไปด้วย
นายพรชัย รัตนชัยกานนท์ นายกสมาคมการพิมพ์ไทย กล่าวต่อว่า ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย ได้รับการยกเว้นภาษีในระดับ 0% ทำให้สามารถแข่งขันในตลาดต่างประเทศได้ดีขึ้น ต่อปีมีการส่งออกเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี2553 ที่ผ่านมา มียอดการส่งออกกว่า 63,000 ล้านบาท ส่วน 4เดือนที่ผ่านมาของปีนี้ มีการส่งออกไปแล้วกว่า 55,000 ล้านบาท สิ้นปีเป้าส่งออกอยู่ที่70,000 ล้านบาท ตามแผนยุทธศาสตร์วางไว้ว่าในปี 2558 จะต้องมีรายได้จากการส่งออกที่ 100,000 ล้านบาท
แต่หากมีเรื่องของเซอร์ชาร์จ กระดาษนำเข้าจากต่างประเทศเข้ามาแล้ว จะส่งผลต่อการส่งออกค่อนข้างมาก ส่วนตลาดในประเทศเองนั้น จะทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นจึงมองว่ากฏหมายAnti Dumping ไม่ควรเกิดขึ้น เพราะเราจะต้องปรับตัวรับตลาดเออีซีด้วย เชื่อว่าหากเกิดการเซอร์ชาร์จขึ้นจริง ถือเป็นการบ่อนทำลายอุตสาหกรรมการพิมพ์อย่างแท้จริง
ด้านนายวรพันธ์ โลกิตสถาพร นายกสมาคมผู้จัดการพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย กล่าวเสริมด้วยว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมการพิมพ์มีการนำเข้ากระดาษจากต่างประเทศราว 30% และผลิตในประเทศอยู่ที่ 70% ซึ่งรายใหญ่ในตลาดคือ เอสซีจี กับดั๊บเบิ้ลเอ ขณะที่ดั๊บเบิ้ลเอ เน้นส่งออก และทำเฉพาะตลาดกระดาษถ่ายเอกสารเป็นหลัก ส่วนกลุ่มกระดาษแข็งเคลือบ และอาร์ตมัน
ปัจจุบันมีเพียงเอสซีจีที่ผลิตอยู่เพียงเจ้าเดียวเท่านั้น ทั้งนี้หากเกิดการเซอร์ชาร์จขึ้นมา 3 กลุ่มใหญ่ที่จะได้รับผลกระทบมากสุด คือ 1. กลุ่มหนังสือเด็ก เบื้องต้นหากปรับราคากระดาษเพิ่มขึ้น 10% จะทำให้ต้องมีการปรับราคาจากปกอีก 7% , 2.นิตยสาร เพราะใช้กระดาษอาร์ตมันโดยตรง ต้นทุนพุ่ง และราคาปกขยับยาก เพราะเป็นราคาขายที่ต่ำกว่าราคาต้นทุนอยู่แล้ว แต่รายได้ส่วนใหญ่มาจากโฆษณา และ3.กลุ่มบรรจุภัณฑ์
ด้านนายฤทธิณรงค์ กุลประสูตร กรรมการบริหาร สมาคมนิตยสารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในส่วนของนิตยสาร ถือเป็นกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบอย่างมากหากเกิดการเซอร์ชาร์จขึ้นจริง ดังนั้นจึงเห็นด้วยกับการรวมตัวกันในการตอบโต้ครั้งนี้
ล่าสุดทาง สหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ ได้ยื่นหนังสือตอบโต้ไปยังคณะกรรมการ กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ด้วยเช่นกัน เพื่อต้องการให้คณะกรรมการฯพิจารณาถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมา
อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่า หากกฏหมายAnti Dumping ได้เกิดขึ้นจริง จะส่งผลให้ เอสซีจีผูกขาดการกำหนดราคาขายของกระดาษอาร์ตมัน และกระดาษแข็งเคลือบได้แน่ ในกรณีที่ดั๊บเบิ้ลเอ ไม่หวนกลับมาทำตลาดนี้อีกครั้ง แต่สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการแล้ว มองว่าใครจะผูกขาดตลาดไม่สำคัญเท่าราคาต้นทุนกระดาษที่จะปรับตัวสูงขึ้นมากกว่าเพราะจะทำให้ภาพรวมอุตสาหกรรมการพิมพ์ต้องแย่ลง แข่งขันยาก นั่นเป็นเรื่องสำคัญที่สุดที่ควรพิจาณาถึง กฏหมายAnti Dumping ให้ดี
วานนี้ (23 ส.ค) สมาพันธ์อุตสาหกรรมการพิพม์ซึ่งประกอบด้วย 9 สมาคม คือ กลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์กระดาษ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, สมาคมแยกสีแม่พิมพ์เพื่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย , สมาคมการพิมพ์ไทย, สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย, สมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย, สมาคมบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกไทย, สมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์,สมาคมการพิมพ์สกรีนไทย และชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย ร่วมกับ 3 สมาคม คือ สมาคมนิตยสารแห่งประเทศไทย, สมาคมไทยค้ากระดาษและสมุด และสมาคมการค้าวัสดุอุปกรณ์การพิมพ์ไทย รวมพลังคัดค้าน การบังคับใช้กฏหมายตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti- Dumping) สินค้ากระดาษ
โดยนายวิเชียร ประธานสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ เปิดเผยว่า จากกรณีที่ทางบริษัท เอสซีจี เปเปอร์ จำกัด (มหาชน) หนึ่งในกลุ่มธุรกิจของเครือซิเมนต์ไทย (SCG) ได้ยื่นหนังสือต่อคณะกรรมการ กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 18 ก.ค.ที่ผ่านมา กรณีการนำเข้ากระดาษจากต่างประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มกระดาษแข็งเคลือบ และอาร์ตมัน ขนาด 80-260 แกรม มีราคาต่ำกว่าราคาจริงส่งผลให้เอสซีจีไม่สามารถทำยอดขายและกำไรให้เป็นไปตามเป้าได้ จึงยื่นเรื่องขอให้ตรวจสอบ ทั้งนี้การร้องเรียนในเรื่องดังกล่าว ได้ถูกบรรจุไว้ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว แต่ยังไม่มีผลบังคับใช้ เนื่องจากกำลังอยู่ในขั้นตอนของการไต่สวนหามูลความจริงอยู่ คาดว่าจะใช้เวลา 5-6 เดือนจึงจะสามารถสรุปผลออกมาได้
ทั้งนี้เอสซีจี ได้ยื่นฟ้องการนำเข้ากระดาษจาก 5 ประเทศ คือ จีน 9 โรงงาน ค่าเซอร์ชาร์จ 17.64%, อินโดนีเซีย 5 โรงงาน เซอร์ชาร์จ 6.62%, เกาหลี 6 โรงงาน เซอร์ชาร์จ 5.85%, ญี่ปุ่น 6 โรงงาน เซอร์ชาร์จ 43.01% และไต้หวัน 3 โรงงาน เซอร์ชาร์จ 54.58%
และหากเรื่องที่ทางเอสซีจี ร้องเรียนไป แล้วมีมูลความจริง ทางคณะกรรมการฯจะมีกำหนดอัตราเรียกเก็บเงินส่วนต่าง(เซอร์ชาร์จ) จากการนำเข้ากระดาษต่างประเทศขึ้นมา แน่นอนว่าจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ทั้งระบบ เพราะต้นทุนกระดาษจะเพิ่มสูงขึ้นตามนั่นเอง โดยเฉพาะในกลุ่มหนังสือเด็ก รวมถึงโครงการใหญ่ อย่าง การอ่าน ที่เข้าสู่วาระแห่งชาติ ก็จะสะดุดลงการส่งออกทางด้านสิ่งพิมพ์ก็จะกระทบตามไปด้วย
นายพรชัย รัตนชัยกานนท์ นายกสมาคมการพิมพ์ไทย กล่าวต่อว่า ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย ได้รับการยกเว้นภาษีในระดับ 0% ทำให้สามารถแข่งขันในตลาดต่างประเทศได้ดีขึ้น ต่อปีมีการส่งออกเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี2553 ที่ผ่านมา มียอดการส่งออกกว่า 63,000 ล้านบาท ส่วน 4เดือนที่ผ่านมาของปีนี้ มีการส่งออกไปแล้วกว่า 55,000 ล้านบาท สิ้นปีเป้าส่งออกอยู่ที่70,000 ล้านบาท ตามแผนยุทธศาสตร์วางไว้ว่าในปี 2558 จะต้องมีรายได้จากการส่งออกที่ 100,000 ล้านบาท
แต่หากมีเรื่องของเซอร์ชาร์จ กระดาษนำเข้าจากต่างประเทศเข้ามาแล้ว จะส่งผลต่อการส่งออกค่อนข้างมาก ส่วนตลาดในประเทศเองนั้น จะทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นจึงมองว่ากฏหมายAnti Dumping ไม่ควรเกิดขึ้น เพราะเราจะต้องปรับตัวรับตลาดเออีซีด้วย เชื่อว่าหากเกิดการเซอร์ชาร์จขึ้นจริง ถือเป็นการบ่อนทำลายอุตสาหกรรมการพิมพ์อย่างแท้จริง
ด้านนายวรพันธ์ โลกิตสถาพร นายกสมาคมผู้จัดการพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย กล่าวเสริมด้วยว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมการพิมพ์มีการนำเข้ากระดาษจากต่างประเทศราว 30% และผลิตในประเทศอยู่ที่ 70% ซึ่งรายใหญ่ในตลาดคือ เอสซีจี กับดั๊บเบิ้ลเอ ขณะที่ดั๊บเบิ้ลเอ เน้นส่งออก และทำเฉพาะตลาดกระดาษถ่ายเอกสารเป็นหลัก ส่วนกลุ่มกระดาษแข็งเคลือบ และอาร์ตมัน
ปัจจุบันมีเพียงเอสซีจีที่ผลิตอยู่เพียงเจ้าเดียวเท่านั้น ทั้งนี้หากเกิดการเซอร์ชาร์จขึ้นมา 3 กลุ่มใหญ่ที่จะได้รับผลกระทบมากสุด คือ 1. กลุ่มหนังสือเด็ก เบื้องต้นหากปรับราคากระดาษเพิ่มขึ้น 10% จะทำให้ต้องมีการปรับราคาจากปกอีก 7% , 2.นิตยสาร เพราะใช้กระดาษอาร์ตมันโดยตรง ต้นทุนพุ่ง และราคาปกขยับยาก เพราะเป็นราคาขายที่ต่ำกว่าราคาต้นทุนอยู่แล้ว แต่รายได้ส่วนใหญ่มาจากโฆษณา และ3.กลุ่มบรรจุภัณฑ์
ด้านนายฤทธิณรงค์ กุลประสูตร กรรมการบริหาร สมาคมนิตยสารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในส่วนของนิตยสาร ถือเป็นกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบอย่างมากหากเกิดการเซอร์ชาร์จขึ้นจริง ดังนั้นจึงเห็นด้วยกับการรวมตัวกันในการตอบโต้ครั้งนี้
ล่าสุดทาง สหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ ได้ยื่นหนังสือตอบโต้ไปยังคณะกรรมการ กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ด้วยเช่นกัน เพื่อต้องการให้คณะกรรมการฯพิจารณาถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมา
อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่า หากกฏหมายAnti Dumping ได้เกิดขึ้นจริง จะส่งผลให้ เอสซีจีผูกขาดการกำหนดราคาขายของกระดาษอาร์ตมัน และกระดาษแข็งเคลือบได้แน่ ในกรณีที่ดั๊บเบิ้ลเอ ไม่หวนกลับมาทำตลาดนี้อีกครั้ง แต่สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการแล้ว มองว่าใครจะผูกขาดตลาดไม่สำคัญเท่าราคาต้นทุนกระดาษที่จะปรับตัวสูงขึ้นมากกว่าเพราะจะทำให้ภาพรวมอุตสาหกรรมการพิมพ์ต้องแย่ลง แข่งขันยาก นั่นเป็นเรื่องสำคัญที่สุดที่ควรพิจาณาถึง กฏหมายAnti Dumping ให้ดี