ASTVผู้จัดการรายวัน-เชลล์จี้รัฐปรับโครงสร้างพลังงาน เลือกชนิดพลังงานที่ต้องการส่งเสริมและอุดหนุนก่อนปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด เพื่อให้เกิดการใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ชี้ไทยมีประเภทน้ำมันกลุ่มเบนซินถึง 6 เกรดมากเกินไปทำให้เกิดภาระต่อผู้ประกอบการ ควรเหลือเพียง 3-4 เกรด
นางพิศวรรณ อัชนะพรกุล ประธานกรรมการ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า ปัจจุบันไทยเป็นประเทศที่มีการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงหลายชนิดมาก อาทิ กลุ่มน้ำมันเบนซินมี 6 ชนิด อาทิ เบนซิน 91 เบนซิน 95 แก๊สโซฮอล์ 91 แก๊สโซฮอล์ 95 อี 20 และอี 85 และกลุ่มดีเซลอีก 2-3 เกรด จึงอยากให้รัฐมนตรีพลังงานคนใหม่พิจารณาชนิดของน้ำมันให้ลดลง
ซึ่งน่าจะส่งผลดีต่อการพัฒนาพลังงานอย่างยั่งยืน หากรัฐจะเน้นเชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuel) ก็น่าจะเน้นแก๊สโซฮอล์อี 10 แก๊สโซฮอล์อี 20 และแก๊สโซฮอล์อี 85 โดยประกาศยกเลิกการจำหน่ายน้ำมันเบนซิน 95 ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการน้ำมันและโรงกลั่นสามารถบริหารจัดการให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐได้
ทั้งนี้ การจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงหลายชนิดนั้นทางเลือกให้กับผู้บริโภค แต่ก็เป็นภาระต่อผู้ประกอบการน้ำมันที่มีข้อจำกัดด้านถังใต้ดินและตู้จ่ายน้ำมัน ดังนั้น รัฐควรกำหนดชนิดน้ำมันกลุ่มเบนซินควรมีชนิดการจำหน่ายเพียง 3-4 ชนิดเท่านั้น รัฐจึงควรพิจารณาว่าจะคงน้ำมันชนิดใด และยกเลิกการจำหน่ายน้ำมันชนิดใด หากมีการยกเลิกการจำหน่ายเบนซิน 95 รัฐควรพิจารณาหาช่องทางช่วยเหลือผู้บริโภคที่มีรถยนต์หรือเครื่องจักรกลที่มีความจำเป็นต้องใช้เบนซิน 95อยู่ เนื่องจากปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเบนซิน 95 ลดลง และรถยนต์ส่วนใหญ่สามารถใช้แก๊สโซฮอล์ได้ถึง 99%
นอกจากนี้ อยากให้รัฐพิจารณานโยบายพลังงานโดยองค์รวมว่ารัฐบาลอยากส่งเสริมการใช้พลังงานชนิดใดกันแน่ หากรัฐยังส่งเสริมการใช้ก๊าซหุงต้มสำหรับยานยนต์ (LPG) และก๊าซNGVก็เป็นประเด็นที่ต้องพิจารณาว่าภาระการชดเชยใครจะรับผิดชอบ ขณะเดียวกันก็ไม่ยุติธรรมในการนำภาษีน้ำมันชนิดอื่นมาอุดหนุนการใช้ LPG และNGV เนื่องจากมีเชื้อเพลิงชนิดอื่นที่สามารถนำมาใช้แทนLPG ที่ต้องนำเข้ามาในราคาตลาดโลกแล้วจำหน่ายในราคาควบคุม ทำให้มีการใช้ LPGในภาคการขนส่งอย่างมาก ทำให้รัฐต้องอุดหนุนหลายบาท/กิโลกรัม
“รัฐควรประเมินในเชิงลึกนโยบายพลังงานทั้งระบบ โดยราคาควรเป็นไปตามกลไกตลาด ส่วนใดที่มีผลกระทบหรือขยับขึ้นเป็นระยะๆ ก็ต้องมีมาตรการกำหนดเวลาที่แน่นอน เช่น หากรัฐต้องการส่งเสริมการใช้ LPGเฉพาะครัวเรือน แล้วให้ผู้ใช้รถที่เดิมใช้ LPGเปลี่ยนมาใช้ NGV ก็อาจใช้มาตรการกองทุนฯเข้ามาอุดหนุนราคาNGV เพื่อไม่ให้ภาคเอกชนอึดอัดที่จะต้องขายขาดทุน
ซึ่งการใช้กองทุนฯมาอุดหนุนควรเป็นระยะเวลาสั้น แล้วปล่อยราคาให้เป็นไปตามกลไกตลาดเพื่อสะท้อนภาพที่แท้จริงของการใช้พลังงาน ไม่บิดเบือนเหมือนในปัจจุบัน”นางพิศวรรณกล่าว
นางพิศวรรณ อัชนะพรกุล ประธานกรรมการ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า ปัจจุบันไทยเป็นประเทศที่มีการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงหลายชนิดมาก อาทิ กลุ่มน้ำมันเบนซินมี 6 ชนิด อาทิ เบนซิน 91 เบนซิน 95 แก๊สโซฮอล์ 91 แก๊สโซฮอล์ 95 อี 20 และอี 85 และกลุ่มดีเซลอีก 2-3 เกรด จึงอยากให้รัฐมนตรีพลังงานคนใหม่พิจารณาชนิดของน้ำมันให้ลดลง
ซึ่งน่าจะส่งผลดีต่อการพัฒนาพลังงานอย่างยั่งยืน หากรัฐจะเน้นเชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuel) ก็น่าจะเน้นแก๊สโซฮอล์อี 10 แก๊สโซฮอล์อี 20 และแก๊สโซฮอล์อี 85 โดยประกาศยกเลิกการจำหน่ายน้ำมันเบนซิน 95 ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการน้ำมันและโรงกลั่นสามารถบริหารจัดการให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐได้
ทั้งนี้ การจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงหลายชนิดนั้นทางเลือกให้กับผู้บริโภค แต่ก็เป็นภาระต่อผู้ประกอบการน้ำมันที่มีข้อจำกัดด้านถังใต้ดินและตู้จ่ายน้ำมัน ดังนั้น รัฐควรกำหนดชนิดน้ำมันกลุ่มเบนซินควรมีชนิดการจำหน่ายเพียง 3-4 ชนิดเท่านั้น รัฐจึงควรพิจารณาว่าจะคงน้ำมันชนิดใด และยกเลิกการจำหน่ายน้ำมันชนิดใด หากมีการยกเลิกการจำหน่ายเบนซิน 95 รัฐควรพิจารณาหาช่องทางช่วยเหลือผู้บริโภคที่มีรถยนต์หรือเครื่องจักรกลที่มีความจำเป็นต้องใช้เบนซิน 95อยู่ เนื่องจากปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเบนซิน 95 ลดลง และรถยนต์ส่วนใหญ่สามารถใช้แก๊สโซฮอล์ได้ถึง 99%
นอกจากนี้ อยากให้รัฐพิจารณานโยบายพลังงานโดยองค์รวมว่ารัฐบาลอยากส่งเสริมการใช้พลังงานชนิดใดกันแน่ หากรัฐยังส่งเสริมการใช้ก๊าซหุงต้มสำหรับยานยนต์ (LPG) และก๊าซNGVก็เป็นประเด็นที่ต้องพิจารณาว่าภาระการชดเชยใครจะรับผิดชอบ ขณะเดียวกันก็ไม่ยุติธรรมในการนำภาษีน้ำมันชนิดอื่นมาอุดหนุนการใช้ LPG และNGV เนื่องจากมีเชื้อเพลิงชนิดอื่นที่สามารถนำมาใช้แทนLPG ที่ต้องนำเข้ามาในราคาตลาดโลกแล้วจำหน่ายในราคาควบคุม ทำให้มีการใช้ LPGในภาคการขนส่งอย่างมาก ทำให้รัฐต้องอุดหนุนหลายบาท/กิโลกรัม
“รัฐควรประเมินในเชิงลึกนโยบายพลังงานทั้งระบบ โดยราคาควรเป็นไปตามกลไกตลาด ส่วนใดที่มีผลกระทบหรือขยับขึ้นเป็นระยะๆ ก็ต้องมีมาตรการกำหนดเวลาที่แน่นอน เช่น หากรัฐต้องการส่งเสริมการใช้ LPGเฉพาะครัวเรือน แล้วให้ผู้ใช้รถที่เดิมใช้ LPGเปลี่ยนมาใช้ NGV ก็อาจใช้มาตรการกองทุนฯเข้ามาอุดหนุนราคาNGV เพื่อไม่ให้ภาคเอกชนอึดอัดที่จะต้องขายขาดทุน
ซึ่งการใช้กองทุนฯมาอุดหนุนควรเป็นระยะเวลาสั้น แล้วปล่อยราคาให้เป็นไปตามกลไกตลาดเพื่อสะท้อนภาพที่แท้จริงของการใช้พลังงาน ไม่บิดเบือนเหมือนในปัจจุบัน”นางพิศวรรณกล่าว