เชลล์ จี้ รัฐปรับโครงสร้างพลังงาน เลือกชนิดพลังงานที่ต้องการส่งเสริมและอุดหนุนก่อนปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด เพื่อให้เกิดการใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ชี้ ไทยมีประเภทน้ำมันกลุ่มเบนซินถึง 6 เกรดมากเกินไป ทำให้เกิดภาระต่อผู้ประกอบการ ควรเหลือเพียง 3-4 เกรด
นางพิศวรรณ อัชนะพรกุล ประธานกรรมการ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า ปัจจุบันไทยเป็นประเทศที่มีการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงหลายชนิดมาก อาทิ กลุ่มน้ำมันเบนซินมี 6 ชนิด อาทิ เบนซิน 91 เบนซิน 95 แก๊สโซฮอล์ 91 แก๊สโซฮอล์ 95 อี 20 และอี 85 และกลุ่มดีเซลอีก 2-3 เกรด จึงอยากให้รัฐมนตรีพลังงานคนใหม่พิจารณาชนิดของน้ำมันให้ลดลง
ซึ่งน่าจะส่งผลดีต่อการพัฒนาพลังงานอย่างยั่งยืน หากรัฐจะเน้นเชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuel) ก็น่าจะเน้นแก๊สโซฮอล์ อี 10 แก๊สโซฮอล์ อี 20 และแก๊สโซฮอล์ อี 85 โดยประกาศยกเลิกการจำหน่ายน้ำมันเบนซิน 95 ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการน้ำมันและโรงกลั่นสามารถบริหารจัดการให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐได้
ทั้งนี้ การจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงหลายชนิดนั้นทางเลือกให้กับผู้บริโภค แต่ก็เป็นภาระต่อผู้ประกอบการน้ำมันที่มีข้อจำกัดด้านถังใต้ดินและตู้จ่ายน้ำมัน ดังนั้น รัฐควรกำหนดชนิดน้ำมันกลุ่มเบนซินควรมีชนิดการจำหน่ายเพียง 3-4 ชนิดเท่านั้น รัฐจึงควรพิจารณาว่าจะคงน้ำมันชนิดใด และยกเลิกการจำหน่ายน้ำมันชนิดใด หากมีการยกเลิกการจำหน่ายเบนซิน 95 รัฐควรพิจารณาหาช่องทางช่วยเหลือผู้บริโภคที่มีรถยนต์ หรือเครื่องจักรกลที่มีความจำเป็นต้องใช้เบนซิน 95อยู่ เนื่องจากปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเบนซิน 95 ลดลง และรถยนต์ส่วนใหญ่สามารถใช้แก๊สโซฮอล์ได้ถึง 99%
นอกจากนี้ อยากให้รัฐพิจารณานโยบายพลังงานโดยองค์รวมว่ารัฐบาลอยากส่งเสริมการใช้พลังงานชนิดใดกันแน่ หากรัฐยังส่งเสริมการใช้ก๊าซหุงต้มสำหรับยานยนต์ (LPG) และก๊าซNGV ก็เป็นประเด็นที่ต้องพิจารณาว่าภาระการชดเชยใครจะรับผิดชอบ ขณะเดียวกัน ก็ไม่ยุติธรรมในการนำภาษีน้ำมันชนิดอื่นมาอุดหนุนการใช้ LPG และ NGV เนื่องจากมีเชื้อเพลิงชนิดอื่นที่สามารถนำมาใช้แทน LPG ที่ต้องนำเข้ามาในราคาตลาดโลกแล้วจำหน่ายในราคาควบคุม ทำให้มีการใช้ LPG ในภาคการขนส่งอย่างมาก ทำให้รัฐต้องอุดหนุนหลายบาท/กิโลกรัม
“รัฐควรประเมินในเชิงลึกนโยบายพลังงานทั้งระบบ โดยราคาควรเป็นไปตามกลไกตลาด ส่วนใดที่มีผลกระทบ หรือขยับขึ้นเป็นระยะๆ ก็ต้องมีมาตรการกำหนดเวลาที่แน่นอน เช่น หากรัฐต้องการส่งเสริมการใช้ LPG เฉพาะครัวเรือน แล้วให้ผู้ใช้รถที่เดิมใช้ LPG เปลี่ยนมาใช้ NGV ก็อาจใช้มาตรการกองทุนเข้ามาอุดหนุนราคา NGV เพื่อไม่ให้ภาคเอกชนอึดอัดที่จะต้องขายขาดทุน ซึ่งการใช้กองทุนมาอุดหนุนควรเป็นระยะเวลาสั้น แล้วปล่อยราคาให้เป็นไปตามกลไกตลาด เพื่อสะท้อนภาพที่แท้จริงของการใช้พลังงาน ไม่บิดเบือนเหมือนในปัจจุบัน” นางพิศวรรณ กล่าว
นางพิศวรรณ อัชนะพรกุล ประธานกรรมการ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า ปัจจุบันไทยเป็นประเทศที่มีการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงหลายชนิดมาก อาทิ กลุ่มน้ำมันเบนซินมี 6 ชนิด อาทิ เบนซิน 91 เบนซิน 95 แก๊สโซฮอล์ 91 แก๊สโซฮอล์ 95 อี 20 และอี 85 และกลุ่มดีเซลอีก 2-3 เกรด จึงอยากให้รัฐมนตรีพลังงานคนใหม่พิจารณาชนิดของน้ำมันให้ลดลง
ซึ่งน่าจะส่งผลดีต่อการพัฒนาพลังงานอย่างยั่งยืน หากรัฐจะเน้นเชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuel) ก็น่าจะเน้นแก๊สโซฮอล์ อี 10 แก๊สโซฮอล์ อี 20 และแก๊สโซฮอล์ อี 85 โดยประกาศยกเลิกการจำหน่ายน้ำมันเบนซิน 95 ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการน้ำมันและโรงกลั่นสามารถบริหารจัดการให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐได้
ทั้งนี้ การจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงหลายชนิดนั้นทางเลือกให้กับผู้บริโภค แต่ก็เป็นภาระต่อผู้ประกอบการน้ำมันที่มีข้อจำกัดด้านถังใต้ดินและตู้จ่ายน้ำมัน ดังนั้น รัฐควรกำหนดชนิดน้ำมันกลุ่มเบนซินควรมีชนิดการจำหน่ายเพียง 3-4 ชนิดเท่านั้น รัฐจึงควรพิจารณาว่าจะคงน้ำมันชนิดใด และยกเลิกการจำหน่ายน้ำมันชนิดใด หากมีการยกเลิกการจำหน่ายเบนซิน 95 รัฐควรพิจารณาหาช่องทางช่วยเหลือผู้บริโภคที่มีรถยนต์ หรือเครื่องจักรกลที่มีความจำเป็นต้องใช้เบนซิน 95อยู่ เนื่องจากปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเบนซิน 95 ลดลง และรถยนต์ส่วนใหญ่สามารถใช้แก๊สโซฮอล์ได้ถึง 99%
นอกจากนี้ อยากให้รัฐพิจารณานโยบายพลังงานโดยองค์รวมว่ารัฐบาลอยากส่งเสริมการใช้พลังงานชนิดใดกันแน่ หากรัฐยังส่งเสริมการใช้ก๊าซหุงต้มสำหรับยานยนต์ (LPG) และก๊าซNGV ก็เป็นประเด็นที่ต้องพิจารณาว่าภาระการชดเชยใครจะรับผิดชอบ ขณะเดียวกัน ก็ไม่ยุติธรรมในการนำภาษีน้ำมันชนิดอื่นมาอุดหนุนการใช้ LPG และ NGV เนื่องจากมีเชื้อเพลิงชนิดอื่นที่สามารถนำมาใช้แทน LPG ที่ต้องนำเข้ามาในราคาตลาดโลกแล้วจำหน่ายในราคาควบคุม ทำให้มีการใช้ LPG ในภาคการขนส่งอย่างมาก ทำให้รัฐต้องอุดหนุนหลายบาท/กิโลกรัม
“รัฐควรประเมินในเชิงลึกนโยบายพลังงานทั้งระบบ โดยราคาควรเป็นไปตามกลไกตลาด ส่วนใดที่มีผลกระทบ หรือขยับขึ้นเป็นระยะๆ ก็ต้องมีมาตรการกำหนดเวลาที่แน่นอน เช่น หากรัฐต้องการส่งเสริมการใช้ LPG เฉพาะครัวเรือน แล้วให้ผู้ใช้รถที่เดิมใช้ LPG เปลี่ยนมาใช้ NGV ก็อาจใช้มาตรการกองทุนเข้ามาอุดหนุนราคา NGV เพื่อไม่ให้ภาคเอกชนอึดอัดที่จะต้องขายขาดทุน ซึ่งการใช้กองทุนมาอุดหนุนควรเป็นระยะเวลาสั้น แล้วปล่อยราคาให้เป็นไปตามกลไกตลาด เพื่อสะท้อนภาพที่แท้จริงของการใช้พลังงาน ไม่บิดเบือนเหมือนในปัจจุบัน” นางพิศวรรณ กล่าว