ยุค พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ระหว่างปี 2544-2549 จุดอ่อนที่สุดจุดหนึ่งคืองานสภา ที่ถูกโจมตีมาตลอดว่าไม่ให้ความสำคัญกับสภา มาสภานับครั้งได้ ตอบกระทู้ในสภาด้วยตัวเองก็นับครั้งได้ มาถึงยุคน้องสาว น่าจับตาว่างานสภาจะเป็นจุดอ่อนหรือเป็นช่องโหว่ระดับ “บ่อน้ำมัน” หรือไม่?
เข้าใจได้ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนักบริหารที่ไม่ต้องการมาเสียเวลาเป็นหลายๆ ชั่วโมงต่อสัปดาห์กับงานสภา เวลาขนาดนั้นทำเงินทำทองได้เป็นกอบเป็นกำ
แต่คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะคิดจะทำแบบพี่ชายไม่ได้!
ประการหนึ่งเพราะหลักการพื้นฐานของรัฐธรรมนูญ 2550 ที่บังคับใช้ในปัจจุบันแตกต่างกับรัฐธรรมนูญ 2540 ในสาระสำคัญ รัฐธรรมนูญ 2550 มีลักษณะคล้ายกับรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้ารัฐธรรมนูญ 2540 แทบทุกฉบับ จะมียกเว้นก็แต่รัฐธรรมนูญ 2511 คือ จัดโครงสร้างของระบบการเมืองเป็นระบบรัฐสภา (Parliamentary System) แต่รัฐธรรมนูญ 2540 แม้จะบอกว่ายังคงอยู่ในกรอบของระบบรัฐสภา แต่ในการจัดโครงสร้างนั้นได้เริ่มนำข้อดีของระบบกึ่งประธานาธิบดี (Semi-Presidential System) มาใช้ในนามของการสร้างความแข็งแกร่งและเสถียรภาพให้กับผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี (Strong Prime Minister) พยายามแยกฝ่ายบริหารออกจากสภา
แม้จะบังคับให้คนที่ไปดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต้องมาจาก ส.ส.แต่เมื่อไปดำรงตำแหน่งแล้วก็ขาดจากความเป็น ส.ส.ไปเลย
เช่นเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีคนอื่นๆ ที่ไม่บังคับว่าต้องมาจาก ส.ส.แต่หากมาจาก ส.ส.ก็ให้พ้นจากความเป็น ส.ส.ไปเช่นกัน
คนที่เป็นนายกรัฐมนตรีเป็นรัฐมนตรีจึงไม่มีความผูกพันกับสภาเหมือนเดิม
อย่างน้อยก็ไม่ได้เป็นสมาชิกที่จะต้องมาร่วมประชุมทุกนัด
รัฐธรรมนูญ 2550 กลับหลักการข้อนี้หมด นายกรัฐมนตรีต้องมาจาก ส.ส.และยังคงเป็น ส.ส.อยู่ เช่นเดียวกับรัฐมนตรีที่มาจาก ส.ส.ก็ยังเป็น ส.ส.อยู่ จะชอบหรือไม่ชอบงานสภาแต่ก็มีข้อผูกพันต้องมาร่วมประชุมสภาทุกนัด ไม่อย่างนั้นก็ถือว่าขาดประชุม
ทั้ง 2 ระบบที่แตกต่างกันนี้ ระบบไหนดีกว่ากันผมตอบบรรทัดสองบรรทัดไม่ได้หรอก ต่างมีข้อดีข้อเสียและต้องดูบริบทอื่นๆ ประกอบด้วยกันทั้งสิ้น
อีกประการหนึ่งนับจากวันที่ 10 พฤษภาคม 2554 ที่ผ่านมา มีกฎหมายสำคัญฉบับหนึ่งมีผลใช้บังคับ
พ.ร.บ.คำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พ.ศ. 2554!
พ.ร.บ.ฉบับนี้ในมาตรา 8 ให้อำนาจคณะกรรมาธิการทั้งสามัญและวิสามัญของทั้ง 2 สภามีอำนาจออก “คำสั่งเรียก” บุคคลมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็นด้วยตนเองต่อกรรมาธิการ จะมอบหมายให้คนอื่นมาแทนไม่ได้เสมอไปหากกรรมาธิการยืนยันให้มาเอง
เมื่อคณะกรรมาธิการใช้อำนาจตามมาตรา 8 แล้วบุคคลใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
และเมื่อมีการกระทำความผิดปรากฏขึ้น ให้ประธานคณะกรรมาธิการมีหนังสือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีต่อไปได้เลย
นักการเมืองที่เป็นรัฐบาลกลัวกฎหมายฉบับนี้กันทั้งนั้น!
พรรคประชาธิปัตย์ที่ว่าถนัดจัดเจนงานสภา เจ้าคารมคมคาย สมัยที่ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้อยู่ในชั้นพิจารณาก็ไม่ค่อยชอบนัก คุณนิพนธ์ วิสิษฐ์ยุทธศาสตร์ ผู้ผลักดันและร่วมยกร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้มาตั้งแต่ต้นเล่าให้วงสัมมนาของวุฒิสภาฟังว่า ท่านเองถูกตำหนิจากพรรคของท่านที่ผลักดันกฎหมายฉบับนี้ไม่เลิกรา
ในชั้นพิจารณาในสภานั้นพรรคเพื่อไทยสนับสนุนเต็มที่
แต่วันนี้เมื่อพรรคเพื่อไทยกลับมาเป็นรัฐบาล พรรคประชาธิปัตย์กลับไปเป็นฝ่ายค้าน สถานการณ์จึงแตกต่างกันออกไป คือพรรคเพื่อไทยชักจะหวั่นๆ หวาดๆ กฎหมายฉบับนี้ ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์อาจจะกำลังกระเหี้ยนกระหือรือที่จะได้ใช้ในฐานะฝ่ายค้าน
คนเป็นนายกรัฐมนตรีหรือเป็นรัฐมนตรีทุกคนเกรงกรรมาธิการกันทั้งนั้น
โดยเฉพาะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรที่มีลักษณะทางการเมืองสูงอาจถูกใช้เป็นเวทีเชือดรัฐมนตรีที่เตรียมงานไม่ดีได้ไม่ยากนัก
หลีกได้เป็นหลีก เลี่ยงได้เป็นเลี่ยง โดยใช้วิธีมอบหมายให้ข้าราชการประจำหรือนักการเมืองที่ถนัดมาตอบแทนอยู่เสมอๆ
อำนาจตามมาตรา 8 กฎหมายใหม่ยังใช้เรียกเอกสารที่ต้องการได้อีกต่างหาก
จริงอยู่ในรายละเอียดอาจจะไม่ง่ายนัก เพราะก่อนจะใช้อำนาจออกคำสั่งเรียกชนิดไม่มามีโทษดังที่เล่ามานี้จะต้องผ่านหลายขั้นตอน คือต้องเชิญมาแบบธรรมดาๆ ครั้งหนึ่งก่อน ถ้าไม่มาค่อยไปใช้วิธีออกคำสั่ง และในการออกคำสั่งนั้นจะต้องใช้มติของคณะกรรมาธิการด้วยเสียงข้างมากเกินกึ่งหนึ่ง ซึ่งโดยธรรมชาติของคณะกรรมาธิการในสภาผู้แทนราษฎรจะมีสัดส่วนของคณะกรรมาธิการมาจากแต่ละพรรคตามจำนวนที่นั่ง ทำให้แทบไม่มีคณะกรรมาธิการใดเลยที่พรรคฝ่ายค้านจะมีจำนวนมากกว่าฝ่ายรัฐบาล แต่จะไปหวังให้กรรมาธิการจากพรรครัฐบาลช่วยรัฐมนตรีทุกครั้งไปก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก
ถ้าเป็นนักการเมืองอาชีพมายาวนานพูดเก่งสักหน่อยก็ยังพอทน
แต่อย่างคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น่าเป็นห่วง!
ไม่ได้ปรามาสนะครับ แต่เธอเติบโตมาอีกแบบ ช่วงหาเสียงยังพอมีเอาต์ไลน์ที่ทีมงานเตรียมให้ได้ สื่อถามมากก็ตอบประเด็นหลักเดิมๆ แล้วตัดบท แต่ในกรรมาธิการต้องใช้ปฏิภาณไหวพริบด้วยตัวเองครับ รวมทั้งการตอบกระทู้สดในสภาด้วยตัวเองด้วย
พี่ชายเธอว่าเก่งแสนเก่งแทบทุกด้าน แต่ความที่รัฐธรรมนูญ 2540 เอื้อ ก็แทบไม่ต้องมาเผชิญสนามรบทั้งในสภาและในกรรมาธิการ นายกรัฐมนตรีคนถัดมาของพรรคที่มารับมือกับงานสภาตามรัฐธรรมนูญ 2550 เป็นคนแรกคือคุณสมัคร สุนทรเวชนั้นไปเปรียบไม่ได้หรอก เพราะท่านคือหนึ่งในมนุษย์สภาปากกล้าที่รักงานสภาชนิดไม่หวั่นเกรงใคร
พ.ร.บ.คำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พ.ศ. 2554 นี้เป็นของใหม่ เพิ่งใช้มา 3 เดือน วุฒิสภาเองในช่วงแรกๆ ก็ต้องศึกษาต้องสัมมนากัน สภาผู้แทนราษฎรชุดนี้ก็จะได้ใช้เป็นครั้งแรก ยังมีปัญหาในทางปฏิบัติที่จะตามมาอีกมาก แม้แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจเองก็ยังไม่มีแบบแผนในทางปฏิบัติว่าหากประธานคณะกรรมาธิการไปกล่าวโทษผู้ใดแล้วท่านจะต้องดำเนินการอย่างไรต่อกันแน่ ดำเนินคดีเลย หรือใช้เวลาสอบสวนเองต่ออีก คนที่เป็นกรรมาธิการเองก็ต้องระวังด้วยเช่นกัน เพราะในมาตรา 12 หากกรรมาธิการคนใดปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบก็มีโทษถึงจำคุกด้วยเช่นกัน
แต่นี่คือเวทีที่คนอื่นช่วยไม่ได้มากนักครับ
นายกรัฐมนตรีคนที่ 28 จึงต้องเร่งเค้นฟอร์ม “ของจริง” ออกมาให้เร็วที่สุด!
เข้าใจได้ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนักบริหารที่ไม่ต้องการมาเสียเวลาเป็นหลายๆ ชั่วโมงต่อสัปดาห์กับงานสภา เวลาขนาดนั้นทำเงินทำทองได้เป็นกอบเป็นกำ
แต่คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะคิดจะทำแบบพี่ชายไม่ได้!
ประการหนึ่งเพราะหลักการพื้นฐานของรัฐธรรมนูญ 2550 ที่บังคับใช้ในปัจจุบันแตกต่างกับรัฐธรรมนูญ 2540 ในสาระสำคัญ รัฐธรรมนูญ 2550 มีลักษณะคล้ายกับรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้ารัฐธรรมนูญ 2540 แทบทุกฉบับ จะมียกเว้นก็แต่รัฐธรรมนูญ 2511 คือ จัดโครงสร้างของระบบการเมืองเป็นระบบรัฐสภา (Parliamentary System) แต่รัฐธรรมนูญ 2540 แม้จะบอกว่ายังคงอยู่ในกรอบของระบบรัฐสภา แต่ในการจัดโครงสร้างนั้นได้เริ่มนำข้อดีของระบบกึ่งประธานาธิบดี (Semi-Presidential System) มาใช้ในนามของการสร้างความแข็งแกร่งและเสถียรภาพให้กับผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี (Strong Prime Minister) พยายามแยกฝ่ายบริหารออกจากสภา
แม้จะบังคับให้คนที่ไปดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต้องมาจาก ส.ส.แต่เมื่อไปดำรงตำแหน่งแล้วก็ขาดจากความเป็น ส.ส.ไปเลย
เช่นเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีคนอื่นๆ ที่ไม่บังคับว่าต้องมาจาก ส.ส.แต่หากมาจาก ส.ส.ก็ให้พ้นจากความเป็น ส.ส.ไปเช่นกัน
คนที่เป็นนายกรัฐมนตรีเป็นรัฐมนตรีจึงไม่มีความผูกพันกับสภาเหมือนเดิม
อย่างน้อยก็ไม่ได้เป็นสมาชิกที่จะต้องมาร่วมประชุมทุกนัด
รัฐธรรมนูญ 2550 กลับหลักการข้อนี้หมด นายกรัฐมนตรีต้องมาจาก ส.ส.และยังคงเป็น ส.ส.อยู่ เช่นเดียวกับรัฐมนตรีที่มาจาก ส.ส.ก็ยังเป็น ส.ส.อยู่ จะชอบหรือไม่ชอบงานสภาแต่ก็มีข้อผูกพันต้องมาร่วมประชุมสภาทุกนัด ไม่อย่างนั้นก็ถือว่าขาดประชุม
ทั้ง 2 ระบบที่แตกต่างกันนี้ ระบบไหนดีกว่ากันผมตอบบรรทัดสองบรรทัดไม่ได้หรอก ต่างมีข้อดีข้อเสียและต้องดูบริบทอื่นๆ ประกอบด้วยกันทั้งสิ้น
อีกประการหนึ่งนับจากวันที่ 10 พฤษภาคม 2554 ที่ผ่านมา มีกฎหมายสำคัญฉบับหนึ่งมีผลใช้บังคับ
พ.ร.บ.คำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พ.ศ. 2554!
พ.ร.บ.ฉบับนี้ในมาตรา 8 ให้อำนาจคณะกรรมาธิการทั้งสามัญและวิสามัญของทั้ง 2 สภามีอำนาจออก “คำสั่งเรียก” บุคคลมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็นด้วยตนเองต่อกรรมาธิการ จะมอบหมายให้คนอื่นมาแทนไม่ได้เสมอไปหากกรรมาธิการยืนยันให้มาเอง
เมื่อคณะกรรมาธิการใช้อำนาจตามมาตรา 8 แล้วบุคคลใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
และเมื่อมีการกระทำความผิดปรากฏขึ้น ให้ประธานคณะกรรมาธิการมีหนังสือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีต่อไปได้เลย
นักการเมืองที่เป็นรัฐบาลกลัวกฎหมายฉบับนี้กันทั้งนั้น!
พรรคประชาธิปัตย์ที่ว่าถนัดจัดเจนงานสภา เจ้าคารมคมคาย สมัยที่ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้อยู่ในชั้นพิจารณาก็ไม่ค่อยชอบนัก คุณนิพนธ์ วิสิษฐ์ยุทธศาสตร์ ผู้ผลักดันและร่วมยกร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้มาตั้งแต่ต้นเล่าให้วงสัมมนาของวุฒิสภาฟังว่า ท่านเองถูกตำหนิจากพรรคของท่านที่ผลักดันกฎหมายฉบับนี้ไม่เลิกรา
ในชั้นพิจารณาในสภานั้นพรรคเพื่อไทยสนับสนุนเต็มที่
แต่วันนี้เมื่อพรรคเพื่อไทยกลับมาเป็นรัฐบาล พรรคประชาธิปัตย์กลับไปเป็นฝ่ายค้าน สถานการณ์จึงแตกต่างกันออกไป คือพรรคเพื่อไทยชักจะหวั่นๆ หวาดๆ กฎหมายฉบับนี้ ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์อาจจะกำลังกระเหี้ยนกระหือรือที่จะได้ใช้ในฐานะฝ่ายค้าน
คนเป็นนายกรัฐมนตรีหรือเป็นรัฐมนตรีทุกคนเกรงกรรมาธิการกันทั้งนั้น
โดยเฉพาะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรที่มีลักษณะทางการเมืองสูงอาจถูกใช้เป็นเวทีเชือดรัฐมนตรีที่เตรียมงานไม่ดีได้ไม่ยากนัก
หลีกได้เป็นหลีก เลี่ยงได้เป็นเลี่ยง โดยใช้วิธีมอบหมายให้ข้าราชการประจำหรือนักการเมืองที่ถนัดมาตอบแทนอยู่เสมอๆ
อำนาจตามมาตรา 8 กฎหมายใหม่ยังใช้เรียกเอกสารที่ต้องการได้อีกต่างหาก
จริงอยู่ในรายละเอียดอาจจะไม่ง่ายนัก เพราะก่อนจะใช้อำนาจออกคำสั่งเรียกชนิดไม่มามีโทษดังที่เล่ามานี้จะต้องผ่านหลายขั้นตอน คือต้องเชิญมาแบบธรรมดาๆ ครั้งหนึ่งก่อน ถ้าไม่มาค่อยไปใช้วิธีออกคำสั่ง และในการออกคำสั่งนั้นจะต้องใช้มติของคณะกรรมาธิการด้วยเสียงข้างมากเกินกึ่งหนึ่ง ซึ่งโดยธรรมชาติของคณะกรรมาธิการในสภาผู้แทนราษฎรจะมีสัดส่วนของคณะกรรมาธิการมาจากแต่ละพรรคตามจำนวนที่นั่ง ทำให้แทบไม่มีคณะกรรมาธิการใดเลยที่พรรคฝ่ายค้านจะมีจำนวนมากกว่าฝ่ายรัฐบาล แต่จะไปหวังให้กรรมาธิการจากพรรครัฐบาลช่วยรัฐมนตรีทุกครั้งไปก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก
ถ้าเป็นนักการเมืองอาชีพมายาวนานพูดเก่งสักหน่อยก็ยังพอทน
แต่อย่างคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น่าเป็นห่วง!
ไม่ได้ปรามาสนะครับ แต่เธอเติบโตมาอีกแบบ ช่วงหาเสียงยังพอมีเอาต์ไลน์ที่ทีมงานเตรียมให้ได้ สื่อถามมากก็ตอบประเด็นหลักเดิมๆ แล้วตัดบท แต่ในกรรมาธิการต้องใช้ปฏิภาณไหวพริบด้วยตัวเองครับ รวมทั้งการตอบกระทู้สดในสภาด้วยตัวเองด้วย
พี่ชายเธอว่าเก่งแสนเก่งแทบทุกด้าน แต่ความที่รัฐธรรมนูญ 2540 เอื้อ ก็แทบไม่ต้องมาเผชิญสนามรบทั้งในสภาและในกรรมาธิการ นายกรัฐมนตรีคนถัดมาของพรรคที่มารับมือกับงานสภาตามรัฐธรรมนูญ 2550 เป็นคนแรกคือคุณสมัคร สุนทรเวชนั้นไปเปรียบไม่ได้หรอก เพราะท่านคือหนึ่งในมนุษย์สภาปากกล้าที่รักงานสภาชนิดไม่หวั่นเกรงใคร
พ.ร.บ.คำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พ.ศ. 2554 นี้เป็นของใหม่ เพิ่งใช้มา 3 เดือน วุฒิสภาเองในช่วงแรกๆ ก็ต้องศึกษาต้องสัมมนากัน สภาผู้แทนราษฎรชุดนี้ก็จะได้ใช้เป็นครั้งแรก ยังมีปัญหาในทางปฏิบัติที่จะตามมาอีกมาก แม้แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจเองก็ยังไม่มีแบบแผนในทางปฏิบัติว่าหากประธานคณะกรรมาธิการไปกล่าวโทษผู้ใดแล้วท่านจะต้องดำเนินการอย่างไรต่อกันแน่ ดำเนินคดีเลย หรือใช้เวลาสอบสวนเองต่ออีก คนที่เป็นกรรมาธิการเองก็ต้องระวังด้วยเช่นกัน เพราะในมาตรา 12 หากกรรมาธิการคนใดปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบก็มีโทษถึงจำคุกด้วยเช่นกัน
แต่นี่คือเวทีที่คนอื่นช่วยไม่ได้มากนักครับ
นายกรัฐมนตรีคนที่ 28 จึงต้องเร่งเค้นฟอร์ม “ของจริง” ออกมาให้เร็วที่สุด!