เวลา 10.00 น. วานนี้ (10 ส.ค) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เดินทางไปร่วมประชุมสภาผู้แทนราษฎรที่รัฐสภา ก่อนที่จะหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลปัญหาอุทกภัย โดยเป็นการเรียกประชุมหน่วยงานต่าง ๆ รับฟังรายงานและแนวทางการแก้ปัญหาอุทกภัยที่กำลังขยายวงกว้าง ณ ห้องกรรมาธิการ อาคารรัฐสภา
เวลา 14.15 น. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ให้สัมภาษณ์ก่อนออกเดินทางจากพรรคเพื่อไทย เพื่อไปร่วมถ่ายภาพหมู่ครม.ที่ทำเนียบฯ ถึงการประชุมความคืบหน้าการแก้ปัญหาน้ำท่วม ว่า สำหรับพื้นที่ที่จะลงไปนั้น จะแจ้งให้ทราบภายหลัง เพราะขั้นตอนอยู่ระหว่างการเมิน ซึ่งวันนี้ได้รับทราบข้อมูลจากทางหน่วยงาน ข้าราชการที่เกี่ยวข้องในทุกๆด้านแล้ว สำหรับการช่วยเหลือคงต้องแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ 1.เรื่องการรับเรื่องร้องทุกข์ ต้องรวดเร็ว และประสานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทันที 2.การเยียวยาช่วยเหลือในพื้นที่ที่น้ำลดลงบ้างแล้ว ส่วนระยะที่ 3 คงต้องมาคุยกันในระยะยาว เพื่อหาวิธีป้องกัน ไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำซ้อนขึ้นอีก สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะชดเชยให้ผู้ประสบภัยนั้น ขณะนี้ยังไม่ทราบ จะชี้แจงรายละเอียดให้ทราบภายหลัง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันเสาร์ที่ 13 ส.ค.เวลา 07.00 น. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตีร จะขึ้นเครื่องที่สนามบินสุวรรณภูมิ โดยสายการบินบางกอกแอร์เวย์ เพื่อเดินทางไป จ.สุโขทัย อ.เมือง และ อ.กงไกรลาศ เพื่อตรวจสอบปัญหาน้ำท่วม จากนั้น จะขึ้นเฮลิคอปเตอร์ไปที่ จ.แพร่ และน่าน เพื่อมอบสิ่งของช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วม หลังจากนั้นจะเดินทางไปที่ จ.เชียงใหม่ทันที เพื่อไปพักค้างคืนที่บ้านที่ จ.เชียงใหม่ พร้อมไปสักการะครูบาศรีวิชัย และไปกราบบรรพบุรุษ ซึ่งจะเดินทางกลับวันอาทิตย์ 14 ส.ค.
วันเดียวกัน นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวว่า ภาวะฝนตกหนักจากอิทธิพลของพายุโซนร้อนนกเตน ส่งผลให้เกิดสถานการณ์อุทกภัยในหลายพื้นที่ โดยมีจังหวัดประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) รวม 22 จังหวัด 182 อำเภอ 1,122 ตำบล 8,646 หมู่บ้าน ได้แก่ แพร่ เชียงใหม่ สุโขทัย น่าน ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน อุตรดิตถ์ พิจิตร พิษณุโลก ตากนครสวรรค์ นครพนม อุดรธานี หนองคาย มุกดาหาร
บึงกาฬ สกลนคร เลย เพชรบูรณ์ ประจวบคีรีขันธ์ และพระนครศรีอยุธยา ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 501,547 ครัวเรือน 1,371,137 คน บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 217 หลัง พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะได้รับความเสียหาย 619,723 ไร่ ถนน 1,085 สาย ท่อระบายน้ำ 115 แห่ง ฝาย/ทำนบ 20 แห่ง สะพาน/คอสะพาน 72 แห่ง บ่อปลา/บ่อกุ้ง 558 บ่อ ปศุสัตว์474 ตัว
มีผู้เสียชีวิต 22 ราย (อุดรธานี 1 ราย เชียงใหม่ 2 ราย แพร่ 6 ราย แม่ฮ่องสอน 7 ราย สุโขทัย 4 ราย นครพนม 2 ราย) สูญหาย 1 คน จากเหตุการณ์ดินโคลนถล่มในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ปัจจุบันสถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้ว 13 จังหวัด ได้แก่ น่าน ลำพูน ลำปาง เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย นครพนม อุดรธานี บึงกาฬ สกลนคร และประจวบคีรีขันธ์ ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยใน 9 จังหวัด รวม 60 อำเภอ 435 ตำบล 2,924 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 172,170 ครัวเรือน 411,585 คน ได้แก่ แพร่ สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิจิตร พิษณุโลก ตาก นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยาและมุกดาหาร
เบื้องต้นกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้สั่งการให้สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดในพื้นที่ประสบอุทกภัยร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจัดสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภคไปแจกจ่ายแก่ผู้ประสบภัยอย่างเร่งด่วน รวมถึงสนับสนุนเครื่องจักรกล เรือท้องแบน รถผลิตน้ำดื่ม รถบรรทุกน้ำออกให้บริการในพื้นที่ประสบภัย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้นแล้ว พร้อมจัดส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่สำรวจความเสียหาย เพื่อให้การช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัย ดินโคลนถล่ม สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง ปภ.จะประสานให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเร่งด่วนต่อไป
เวลา 14.15 น. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ให้สัมภาษณ์ก่อนออกเดินทางจากพรรคเพื่อไทย เพื่อไปร่วมถ่ายภาพหมู่ครม.ที่ทำเนียบฯ ถึงการประชุมความคืบหน้าการแก้ปัญหาน้ำท่วม ว่า สำหรับพื้นที่ที่จะลงไปนั้น จะแจ้งให้ทราบภายหลัง เพราะขั้นตอนอยู่ระหว่างการเมิน ซึ่งวันนี้ได้รับทราบข้อมูลจากทางหน่วยงาน ข้าราชการที่เกี่ยวข้องในทุกๆด้านแล้ว สำหรับการช่วยเหลือคงต้องแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ 1.เรื่องการรับเรื่องร้องทุกข์ ต้องรวดเร็ว และประสานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทันที 2.การเยียวยาช่วยเหลือในพื้นที่ที่น้ำลดลงบ้างแล้ว ส่วนระยะที่ 3 คงต้องมาคุยกันในระยะยาว เพื่อหาวิธีป้องกัน ไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำซ้อนขึ้นอีก สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะชดเชยให้ผู้ประสบภัยนั้น ขณะนี้ยังไม่ทราบ จะชี้แจงรายละเอียดให้ทราบภายหลัง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันเสาร์ที่ 13 ส.ค.เวลา 07.00 น. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตีร จะขึ้นเครื่องที่สนามบินสุวรรณภูมิ โดยสายการบินบางกอกแอร์เวย์ เพื่อเดินทางไป จ.สุโขทัย อ.เมือง และ อ.กงไกรลาศ เพื่อตรวจสอบปัญหาน้ำท่วม จากนั้น จะขึ้นเฮลิคอปเตอร์ไปที่ จ.แพร่ และน่าน เพื่อมอบสิ่งของช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วม หลังจากนั้นจะเดินทางไปที่ จ.เชียงใหม่ทันที เพื่อไปพักค้างคืนที่บ้านที่ จ.เชียงใหม่ พร้อมไปสักการะครูบาศรีวิชัย และไปกราบบรรพบุรุษ ซึ่งจะเดินทางกลับวันอาทิตย์ 14 ส.ค.
วันเดียวกัน นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวว่า ภาวะฝนตกหนักจากอิทธิพลของพายุโซนร้อนนกเตน ส่งผลให้เกิดสถานการณ์อุทกภัยในหลายพื้นที่ โดยมีจังหวัดประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) รวม 22 จังหวัด 182 อำเภอ 1,122 ตำบล 8,646 หมู่บ้าน ได้แก่ แพร่ เชียงใหม่ สุโขทัย น่าน ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน อุตรดิตถ์ พิจิตร พิษณุโลก ตากนครสวรรค์ นครพนม อุดรธานี หนองคาย มุกดาหาร
บึงกาฬ สกลนคร เลย เพชรบูรณ์ ประจวบคีรีขันธ์ และพระนครศรีอยุธยา ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 501,547 ครัวเรือน 1,371,137 คน บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 217 หลัง พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะได้รับความเสียหาย 619,723 ไร่ ถนน 1,085 สาย ท่อระบายน้ำ 115 แห่ง ฝาย/ทำนบ 20 แห่ง สะพาน/คอสะพาน 72 แห่ง บ่อปลา/บ่อกุ้ง 558 บ่อ ปศุสัตว์474 ตัว
มีผู้เสียชีวิต 22 ราย (อุดรธานี 1 ราย เชียงใหม่ 2 ราย แพร่ 6 ราย แม่ฮ่องสอน 7 ราย สุโขทัย 4 ราย นครพนม 2 ราย) สูญหาย 1 คน จากเหตุการณ์ดินโคลนถล่มในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ปัจจุบันสถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้ว 13 จังหวัด ได้แก่ น่าน ลำพูน ลำปาง เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย นครพนม อุดรธานี บึงกาฬ สกลนคร และประจวบคีรีขันธ์ ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยใน 9 จังหวัด รวม 60 อำเภอ 435 ตำบล 2,924 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 172,170 ครัวเรือน 411,585 คน ได้แก่ แพร่ สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิจิตร พิษณุโลก ตาก นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยาและมุกดาหาร
เบื้องต้นกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้สั่งการให้สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดในพื้นที่ประสบอุทกภัยร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจัดสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภคไปแจกจ่ายแก่ผู้ประสบภัยอย่างเร่งด่วน รวมถึงสนับสนุนเครื่องจักรกล เรือท้องแบน รถผลิตน้ำดื่ม รถบรรทุกน้ำออกให้บริการในพื้นที่ประสบภัย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้นแล้ว พร้อมจัดส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่สำรวจความเสียหาย เพื่อให้การช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัย ดินโคลนถล่ม สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง ปภ.จะประสานให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเร่งด่วนต่อไป