กว่าครึ่งชีวิตของผมอยู่กับการเดินทาง ประสบการณ์ในชีวิตจึงได้จากการเรียนรู้จากชีวิตจริงของผู้คนมากกว่าความรู้ในตำรา ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ออกรายการโทรทัศน์และวิทยุมากกว่า 500 ครั้ง ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ไม่น้อยกว่ากัน แต่เขียนบทความน้อยมาก และแทบไม่มีหนังสือของตัวเองออกมาเลย ช่วยทำงานวิจัยให้กับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) หลายเรื่อง ช่วยงานวิจัยให้สถาบันพระปกเกล้า สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ศูนย์อำนวยการบริหาร 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ก็ยังไม่ได้พิมพ์
มีหนังสือพิมพ์หลายฉบับขอให้เขียนข้อความส่งให้หรือเป็นคอลัมนิสต์ประจำก็ไม่เคยตอบรับใคร เพราะรู้ตัวเองว่าไม่มีความสามารถพอ และไม่ค่อยมีความรับผิดชอบเรื่องเวลา เพราะเป็นคนชอบเดินทาง แต่ทันทีที่คุณสุรวิชช์เอ่ยปากขอให้เขียนเรื่องในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวันทุกวันจันทร์ กลับยอมรับโดยไม่ปฏิเสธ เพราะใจคิดอยู่เสมอว่าสื่ออย่าง ASTV และหนังสือพิมพ์ผู้จัดการนั้นมีคุณูปการต่อสังคมไทย เราหวังจากสื่ออื่นใดไม่ได้เลย เพราะเขาเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสทุน คิดหัวเรื่องอยู่นานว่าจะใช้ชื่ออะไรดี พอดีภรรยาเอ่ยปากขึ้นมาชมว่า คนอย่างเธอเขาเรียกว่าพวกชอบ “แกว่งเท้าหาเสี้ยน” มันเข้ากับบุคลิกที่ชอบยุ่งเรื่องคนอื่น ปากเสียเห็นอะไรไม่ดีก็ด่าเขาไปหมดจนคนเขาส่งลูกปืนให้บ้าง เขียนจดหมายขู่ด้วยเลือดบ้าง ก็เลยได้ความคิดมาดัดแปลงให้เหมาะกับการเขียนบทความว่า “แกว่งปาก(กา)หาเสี้ยน”
บทความแรกที่จะเขียนถึงไม่น่าจะมีอะไรเหมาะสมเท่ากับเขียนถึงบ้านของตัวเอง แผ่นดินที่เราเกิดและฝังรกของเรา (สมัยนั้นเกิดโดยหมอตำแย โดยความเชื่อของคนโบราณจะนำสายสะดือและรกของเด็กแรกเกิดใส่หม้อดินฝังไว้บริเวณบ้าน) ดูเหมือนเขาจะบอกว่าเพื่อให้เรารักในแผ่นดินเกิดและที่ฝังรกของเรา คนปัจจุบันเขาเกิดกันตามโรงพยาบาล สถานีอนามัย รกเด็กเขาก็เอาไปทิ้งไปเผาทำลาย คนเลยไม่รักบ้านรักเมือง นายทหารใหญ่ๆ ของประเทศไทยก็คงเป็นเช่นนั้น (เริ่มหาเสี้ยนแล้ว) บางคนคงเอารกไปฝังไว้ที่เขมร
ผมเกิดบริเวณที่เรียกว่าทุ่งหลวงรังสิต คลอง 10 ต.บึงบา อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี แต่เดิมที่ดินบริเวณนี้เป็นที่ราบลุ่มกว้างใหญ่ มีป่าละเมาะและหนองน้ำมากมาย เป็นทุ่งหญ้ากว้างใหญ่มหาศาล ครอบคลุมพื้นที่นับล้านไร่ (ปัจจุบันอยู่ในเขตอยุธยา ปทุมธานี และนครนายก) มีสัตว์ป่าหลากหลายชนิดที่อาศัยอยู่บนเขาใหญ่และลงมาหากิน มีทั้งช้างป่าและเสือ ในสมัยอยุธยาเมื่อมีการคล้องช้างเพื่อไว้ใช้ในราชการศึกสงคราม ก็จะเกณฑ์ไพร่พลมาต้อนช้างจากทุ่งหลวงรังสิตไปเข้าเพนียด
จังหวัดปทุมธานีเป็นเมืองโบราณมีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนาน เดิมมีชื่อว่า “เมืองสามโคก” น่าจะได้ชื่อนี้มาจากลักษณะของเมืองที่มีโคกอยู่สามแห่ง (โคกคือที่เป็นเนินดินสูง) ที่ตั้งเดิมอยู่บริเวณวัดพญาเมือง (ปัจจุบันเป็นวัดร้าง) หลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งแรกใน พ.ศ. 2112 เมืองสามโคกเดิมจึงกลายเป็นเมืองร้างในปี พ.ศ. 2203 มีชาวมอญอพยพเข้ามาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารในสมัยพระนารายณ์มหาราช จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่สามโคกริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมามีการอพยพครั้งใหญ่ของชาวมอญอีก 2 ครั้ง ใน พ.ศ. 2317 รัชสมัยของพระเจ้าตากสินมหาราช และ พ.ศ. 2358 ในแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ส่วนหนึ่งได้โปรดเกล้าฯ ให้อยู่ที่สามโคก และอีกส่วนหนึ่งไปอยู่ที่ปากเกร็ด เมืองนนทบุรี และเมืองเขื่อนขันธ์ สมุทรปราการ
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้เสด็จประพาสเมืองสามโคก มีชาวเมืองจำนวนมากนำดอกบัวมาถวายอย่างเนืองแน่น อีกทั้งทอดพระเนตรเห็นทั้งท้องน้ำเจ้าพระยาในเขตเมืองสามโคกเต็มไปด้วยดอกบัว จึงพระราชทานชื่อเมืองใหม่ว่า “ประทุมธานี” ในสมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้สร้างศาลากลางจังหวัดขึ้น และเปลี่ยนตัวสะกดเป็น “ปทุมธานี” ในราวปี พ.ศ. 2461 ยังมีบทกลอนของสุนทรภู่บทหนึ่งที่ว่าด้วยชื่อเมืองปทุมธานี ดังนี้
ถึงสามโคกโศกถวิลถึงปิ่นเกล้า
พระพุทธเจ้าหลวงบำรุงซึ่งกรุงศรี
ประทานนามสามโคกเป็นเมืองตรี
ชื่อประทุมธานีเพราะมีบัว
อ.หนองเสือเป็นอำเภอที่ตั้งขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 5 ขึ้นตรงกับ “เมืองธัญบุรี” แต่ต่อมาได้ยุบเป็นอำเภอและขึ้นอยู่กับจังหวัดปทุมธานี หลังจากมีการจัดระบบชลประทานขุดคลองรังสิตโดยบริษัทเอกชน ชื่อ “บริษัทขุดคลองและคูนาสยาม” เป็นระบบสัมปทานเป็นระยะเวลา 25 ปี เริ่มขุดเมื่อปี พ.ศ. 2431 และสำเร็จลงเมื่อปี พ.ศ. 2458
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดให้จัดตั้งสถานีทดลองข้าวขึ้นในปี พ.ศ. 2459 ที่คลองรังสิต เรียก สถานีทดลองคลองรังสิต (นาทดลองคลองรังสิต) โดยมี นายตริ มิลินทสูต (ซึ่งเป็นนักเรียนทุนหลวงคนแรกจบจากมหาวิทยาลัยคอร์เนล สหรัฐอเมริกา) เป็นหัวหน้าสถานี และได้มีการจัดการประกวดพันธุ์ข้าวขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรก ทุ่งหลวงรังสิตและคลองรังสิตจึงเป็นแหล่งผลิตข้าวเพื่อการบริโภคและส่งออกที่สำคัญตลอดมา แต่ทุกอย่างย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปเสมอ ซึ่งจะได้นำเสนอภาพความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแก่พื้นที่ปลูกข้าวที่สำคัญของประเทศแห่งนี้ตอนต่อไป
มีหนังสือพิมพ์หลายฉบับขอให้เขียนข้อความส่งให้หรือเป็นคอลัมนิสต์ประจำก็ไม่เคยตอบรับใคร เพราะรู้ตัวเองว่าไม่มีความสามารถพอ และไม่ค่อยมีความรับผิดชอบเรื่องเวลา เพราะเป็นคนชอบเดินทาง แต่ทันทีที่คุณสุรวิชช์เอ่ยปากขอให้เขียนเรื่องในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวันทุกวันจันทร์ กลับยอมรับโดยไม่ปฏิเสธ เพราะใจคิดอยู่เสมอว่าสื่ออย่าง ASTV และหนังสือพิมพ์ผู้จัดการนั้นมีคุณูปการต่อสังคมไทย เราหวังจากสื่ออื่นใดไม่ได้เลย เพราะเขาเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสทุน คิดหัวเรื่องอยู่นานว่าจะใช้ชื่ออะไรดี พอดีภรรยาเอ่ยปากขึ้นมาชมว่า คนอย่างเธอเขาเรียกว่าพวกชอบ “แกว่งเท้าหาเสี้ยน” มันเข้ากับบุคลิกที่ชอบยุ่งเรื่องคนอื่น ปากเสียเห็นอะไรไม่ดีก็ด่าเขาไปหมดจนคนเขาส่งลูกปืนให้บ้าง เขียนจดหมายขู่ด้วยเลือดบ้าง ก็เลยได้ความคิดมาดัดแปลงให้เหมาะกับการเขียนบทความว่า “แกว่งปาก(กา)หาเสี้ยน”
บทความแรกที่จะเขียนถึงไม่น่าจะมีอะไรเหมาะสมเท่ากับเขียนถึงบ้านของตัวเอง แผ่นดินที่เราเกิดและฝังรกของเรา (สมัยนั้นเกิดโดยหมอตำแย โดยความเชื่อของคนโบราณจะนำสายสะดือและรกของเด็กแรกเกิดใส่หม้อดินฝังไว้บริเวณบ้าน) ดูเหมือนเขาจะบอกว่าเพื่อให้เรารักในแผ่นดินเกิดและที่ฝังรกของเรา คนปัจจุบันเขาเกิดกันตามโรงพยาบาล สถานีอนามัย รกเด็กเขาก็เอาไปทิ้งไปเผาทำลาย คนเลยไม่รักบ้านรักเมือง นายทหารใหญ่ๆ ของประเทศไทยก็คงเป็นเช่นนั้น (เริ่มหาเสี้ยนแล้ว) บางคนคงเอารกไปฝังไว้ที่เขมร
ผมเกิดบริเวณที่เรียกว่าทุ่งหลวงรังสิต คลอง 10 ต.บึงบา อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี แต่เดิมที่ดินบริเวณนี้เป็นที่ราบลุ่มกว้างใหญ่ มีป่าละเมาะและหนองน้ำมากมาย เป็นทุ่งหญ้ากว้างใหญ่มหาศาล ครอบคลุมพื้นที่นับล้านไร่ (ปัจจุบันอยู่ในเขตอยุธยา ปทุมธานี และนครนายก) มีสัตว์ป่าหลากหลายชนิดที่อาศัยอยู่บนเขาใหญ่และลงมาหากิน มีทั้งช้างป่าและเสือ ในสมัยอยุธยาเมื่อมีการคล้องช้างเพื่อไว้ใช้ในราชการศึกสงคราม ก็จะเกณฑ์ไพร่พลมาต้อนช้างจากทุ่งหลวงรังสิตไปเข้าเพนียด
จังหวัดปทุมธานีเป็นเมืองโบราณมีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนาน เดิมมีชื่อว่า “เมืองสามโคก” น่าจะได้ชื่อนี้มาจากลักษณะของเมืองที่มีโคกอยู่สามแห่ง (โคกคือที่เป็นเนินดินสูง) ที่ตั้งเดิมอยู่บริเวณวัดพญาเมือง (ปัจจุบันเป็นวัดร้าง) หลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งแรกใน พ.ศ. 2112 เมืองสามโคกเดิมจึงกลายเป็นเมืองร้างในปี พ.ศ. 2203 มีชาวมอญอพยพเข้ามาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารในสมัยพระนารายณ์มหาราช จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่สามโคกริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมามีการอพยพครั้งใหญ่ของชาวมอญอีก 2 ครั้ง ใน พ.ศ. 2317 รัชสมัยของพระเจ้าตากสินมหาราช และ พ.ศ. 2358 ในแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ส่วนหนึ่งได้โปรดเกล้าฯ ให้อยู่ที่สามโคก และอีกส่วนหนึ่งไปอยู่ที่ปากเกร็ด เมืองนนทบุรี และเมืองเขื่อนขันธ์ สมุทรปราการ
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้เสด็จประพาสเมืองสามโคก มีชาวเมืองจำนวนมากนำดอกบัวมาถวายอย่างเนืองแน่น อีกทั้งทอดพระเนตรเห็นทั้งท้องน้ำเจ้าพระยาในเขตเมืองสามโคกเต็มไปด้วยดอกบัว จึงพระราชทานชื่อเมืองใหม่ว่า “ประทุมธานี” ในสมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้สร้างศาลากลางจังหวัดขึ้น และเปลี่ยนตัวสะกดเป็น “ปทุมธานี” ในราวปี พ.ศ. 2461 ยังมีบทกลอนของสุนทรภู่บทหนึ่งที่ว่าด้วยชื่อเมืองปทุมธานี ดังนี้
ถึงสามโคกโศกถวิลถึงปิ่นเกล้า
พระพุทธเจ้าหลวงบำรุงซึ่งกรุงศรี
ประทานนามสามโคกเป็นเมืองตรี
ชื่อประทุมธานีเพราะมีบัว
อ.หนองเสือเป็นอำเภอที่ตั้งขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 5 ขึ้นตรงกับ “เมืองธัญบุรี” แต่ต่อมาได้ยุบเป็นอำเภอและขึ้นอยู่กับจังหวัดปทุมธานี หลังจากมีการจัดระบบชลประทานขุดคลองรังสิตโดยบริษัทเอกชน ชื่อ “บริษัทขุดคลองและคูนาสยาม” เป็นระบบสัมปทานเป็นระยะเวลา 25 ปี เริ่มขุดเมื่อปี พ.ศ. 2431 และสำเร็จลงเมื่อปี พ.ศ. 2458
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดให้จัดตั้งสถานีทดลองข้าวขึ้นในปี พ.ศ. 2459 ที่คลองรังสิต เรียก สถานีทดลองคลองรังสิต (นาทดลองคลองรังสิต) โดยมี นายตริ มิลินทสูต (ซึ่งเป็นนักเรียนทุนหลวงคนแรกจบจากมหาวิทยาลัยคอร์เนล สหรัฐอเมริกา) เป็นหัวหน้าสถานี และได้มีการจัดการประกวดพันธุ์ข้าวขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรก ทุ่งหลวงรังสิตและคลองรังสิตจึงเป็นแหล่งผลิตข้าวเพื่อการบริโภคและส่งออกที่สำคัญตลอดมา แต่ทุกอย่างย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปเสมอ ซึ่งจะได้นำเสนอภาพความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแก่พื้นที่ปลูกข้าวที่สำคัญของประเทศแห่งนี้ตอนต่อไป