วานนี้ (4 ส.ค.) ที่รัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมการติดตามสถานการณ์บ้านเมือง วุฒิสภา มีนายจิติพจน์ วิริยโรจน์ ส.ว.ศรีสะเกษ เป็นประธาน โดยเชิญนายสมชาย หอมละออ กรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ ( คอป ) เข้าชี้แจง
ทั้งนี้ ส.ว.บางส่วนตั้งข้อสังเกตถึงผลการตรวจสอบ และค้นหาความจริงที่อาจทำได้ไม่ครบสมบรูณ์ และอาจไม่กล้ารายงานข้อเท็จจริงตามที่ได้รับโดย พล.ต.ท.ยุทธนา ไทยภักดี ส.ว.สรรหา กล่าวว่า อยากถามว่าคอป. จะตรวจสอบความรับผิดชอบถึงผู้สั่งการในเหตุการณ์เดือน เม.ย-พ.ค. 53 เหมือนกรณี 7 ต.ค. 51 หรือไม่ ที่จนถึงวันนี้ อดีตนายกฯ รองนายกฯ และอดีต ผบ.ตร. ยังถูกดำเนินคดีอยู่ และตนไม่แน่ใจว่า คอป.จะกล้าเปิดเผยผลสอบทั้งหมดหรือไม่ ซึ่งตนเชื่อว่าข้อมูลที่จะเปิดออกมาไม่ถึง 1 ใน 10 แน่นอน เพราะหากเปิดครึ่งๆ กลางๆ ฝ่ายที่ได้รับผลกระทบคงไม่ยอมแน่ โดยเฉพาะฝ่ายเสื้อแดง หรือ หากผลสอบออกมาไปกระทบกับรัฐบาลเก่า และทหารก็เกิดการปฏิวัติแน่ เพราะยังมีข้อมูลในมุมลับมุมมืดพอสมควร และที่ผ่านมา การชันสูตรพลิกศพทั้ง 91 ศพ ก็ไม่สมบูรณ์ซักศพเดียว ทั้งๆ ที่ตำรวจผยายามทำให้สมบูรณ์แต่ก็มีเงื่อนไขบางประการทำให้ไม่สมบรูณ์ในที่สุด
ดังนั้น เรื่องเดียวที่จะปรองดองได้คือการชดเชย เยียวยาเหยื่อที่ได้รับผลกระทบ รวมถึงฝากข้อคิดว่าการนิรโทษกรรม จะเป็นอีกแนวทางหนึ่งหรือไม่พิจารณาตั้งบุกยึดสนามบินไล่มาจนถึงเหตุการณ์ เม.ย.-พ.ค. 53
ด้านนายสมชาย ชี้แจงว่า คอป.ต้องยืนยันว่า เราเน้นหาสาเหตุของความรุนแรง เพื่อป้องกันไม่ให้เหตุการณ์แบบนี้อีกในอนาคต ซึ่งการสอบเหตุการณ์ 7 ต.ค. 51 เป็นเรื่องของหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่โดยตรงคือ ป.ป.ช. แต่ คอป.ไม่มีอำนาจตามกฎหมายขนาดนั้น ไม่มีผลว่าเสนอไปแล้วจะไปดำเนินคดี และการทำงานของเราก็ต่างจากตำรวจ และดีเอสไอ ที่มุ่งจะเอาผู้กระทำผิดมาลงโทษ ก็เป็นความสบายใจของ คอป.และฝ่ายที่เป็นห่วงได้ แต่เรากำลังประมวลข้อเท็จจริงบางประการที่ได้รับมาเพื่อนำเสนอแนวทางต่อรัฐบาล โดยไม่เลือกว่าจะเป็นรัฐบาลเก่า หรือรัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามา
นายสิงห์ชัย ทุ่งทอง ส.ว.อุทัยธานี ประธานคณะกรรมการติดตามสถานการณ์บ้านเมือง วุฒิสภา แถลงว่า คณะกรรมการขอเสนอต่อรัฐบาลใหม่ว่า
1. รัฐบาลต้องเร่งดำเนินการค้นหาความจริง และเปิดเผยข้อมูลให้สาธารณะได้ทราบอย่างตรงไปตรงมา เป็นที่ยอมรับของฝ่าย และต้อสรุปบทเรียนเพื่อแก้ไข ป้องเหตุกเกิดซ้ำรอย เร่งดำเนินการสอบสวนผู้ที่ถูกจับกุม หากดไม่พบความผิดต้องปล่อยตัวโดยเร็ว แต่ถ้ามีหลักฐานชัดเจนต้องเข้ากระบวนการยุติอธรรม โดยทุกขั้ตอนต้องไม่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลเกินจำเป็น
2. เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบให้รวดเร็วทั่วถึงและเท่าเทียมกันโดยไม่เลือกปฏิบัติ
3. ขอให้รัฐบาล ทบทวนทบทวน ปรับปรุง กฎหมาย และพ.ร.บ. ข้อกำหนด ประกาศ เกี่ยวกับการตีตรวน และการปฏิบัติต่อผู้ต้องหาโดยคำนึงถึงศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ และสิทธิมนุษยชน รวมถึงกรณีที่อาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เช่น การเสียชีวิตของนักข่าวต่างชาติ จะต้องมีความโปร่งใส รวดเร็ว และเป็นธรรมกับทุกฝ่าย
4. องค์กรที่มีผลต่อสถาการณ์บ้านเมืองและกระบต่อการสร้างความปรองดองของคนชาติคือ กองทัพจะต้องวางตัวให้เป็นกลาง ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง แต่ต้องพร้อมเข้ามาช่วยแก้ไขในยามบ้านเมืองเกิดวิกฤต
5. ขอให้รัฐบาลยกเลิกการบังคับใช้ พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน 6. นอกจากนี้ขอให้เปิดสื่อที่ถูกปิดกั้น เพื่อให้ประชาชนได้ใช้วิจารณญานในการรับข่าวเอง
ทั้งนี้ ส.ว.บางส่วนตั้งข้อสังเกตถึงผลการตรวจสอบ และค้นหาความจริงที่อาจทำได้ไม่ครบสมบรูณ์ และอาจไม่กล้ารายงานข้อเท็จจริงตามที่ได้รับโดย พล.ต.ท.ยุทธนา ไทยภักดี ส.ว.สรรหา กล่าวว่า อยากถามว่าคอป. จะตรวจสอบความรับผิดชอบถึงผู้สั่งการในเหตุการณ์เดือน เม.ย-พ.ค. 53 เหมือนกรณี 7 ต.ค. 51 หรือไม่ ที่จนถึงวันนี้ อดีตนายกฯ รองนายกฯ และอดีต ผบ.ตร. ยังถูกดำเนินคดีอยู่ และตนไม่แน่ใจว่า คอป.จะกล้าเปิดเผยผลสอบทั้งหมดหรือไม่ ซึ่งตนเชื่อว่าข้อมูลที่จะเปิดออกมาไม่ถึง 1 ใน 10 แน่นอน เพราะหากเปิดครึ่งๆ กลางๆ ฝ่ายที่ได้รับผลกระทบคงไม่ยอมแน่ โดยเฉพาะฝ่ายเสื้อแดง หรือ หากผลสอบออกมาไปกระทบกับรัฐบาลเก่า และทหารก็เกิดการปฏิวัติแน่ เพราะยังมีข้อมูลในมุมลับมุมมืดพอสมควร และที่ผ่านมา การชันสูตรพลิกศพทั้ง 91 ศพ ก็ไม่สมบูรณ์ซักศพเดียว ทั้งๆ ที่ตำรวจผยายามทำให้สมบูรณ์แต่ก็มีเงื่อนไขบางประการทำให้ไม่สมบรูณ์ในที่สุด
ดังนั้น เรื่องเดียวที่จะปรองดองได้คือการชดเชย เยียวยาเหยื่อที่ได้รับผลกระทบ รวมถึงฝากข้อคิดว่าการนิรโทษกรรม จะเป็นอีกแนวทางหนึ่งหรือไม่พิจารณาตั้งบุกยึดสนามบินไล่มาจนถึงเหตุการณ์ เม.ย.-พ.ค. 53
ด้านนายสมชาย ชี้แจงว่า คอป.ต้องยืนยันว่า เราเน้นหาสาเหตุของความรุนแรง เพื่อป้องกันไม่ให้เหตุการณ์แบบนี้อีกในอนาคต ซึ่งการสอบเหตุการณ์ 7 ต.ค. 51 เป็นเรื่องของหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่โดยตรงคือ ป.ป.ช. แต่ คอป.ไม่มีอำนาจตามกฎหมายขนาดนั้น ไม่มีผลว่าเสนอไปแล้วจะไปดำเนินคดี และการทำงานของเราก็ต่างจากตำรวจ และดีเอสไอ ที่มุ่งจะเอาผู้กระทำผิดมาลงโทษ ก็เป็นความสบายใจของ คอป.และฝ่ายที่เป็นห่วงได้ แต่เรากำลังประมวลข้อเท็จจริงบางประการที่ได้รับมาเพื่อนำเสนอแนวทางต่อรัฐบาล โดยไม่เลือกว่าจะเป็นรัฐบาลเก่า หรือรัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามา
นายสิงห์ชัย ทุ่งทอง ส.ว.อุทัยธานี ประธานคณะกรรมการติดตามสถานการณ์บ้านเมือง วุฒิสภา แถลงว่า คณะกรรมการขอเสนอต่อรัฐบาลใหม่ว่า
1. รัฐบาลต้องเร่งดำเนินการค้นหาความจริง และเปิดเผยข้อมูลให้สาธารณะได้ทราบอย่างตรงไปตรงมา เป็นที่ยอมรับของฝ่าย และต้อสรุปบทเรียนเพื่อแก้ไข ป้องเหตุกเกิดซ้ำรอย เร่งดำเนินการสอบสวนผู้ที่ถูกจับกุม หากดไม่พบความผิดต้องปล่อยตัวโดยเร็ว แต่ถ้ามีหลักฐานชัดเจนต้องเข้ากระบวนการยุติอธรรม โดยทุกขั้ตอนต้องไม่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลเกินจำเป็น
2. เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบให้รวดเร็วทั่วถึงและเท่าเทียมกันโดยไม่เลือกปฏิบัติ
3. ขอให้รัฐบาล ทบทวนทบทวน ปรับปรุง กฎหมาย และพ.ร.บ. ข้อกำหนด ประกาศ เกี่ยวกับการตีตรวน และการปฏิบัติต่อผู้ต้องหาโดยคำนึงถึงศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ และสิทธิมนุษยชน รวมถึงกรณีที่อาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เช่น การเสียชีวิตของนักข่าวต่างชาติ จะต้องมีความโปร่งใส รวดเร็ว และเป็นธรรมกับทุกฝ่าย
4. องค์กรที่มีผลต่อสถาการณ์บ้านเมืองและกระบต่อการสร้างความปรองดองของคนชาติคือ กองทัพจะต้องวางตัวให้เป็นกลาง ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง แต่ต้องพร้อมเข้ามาช่วยแก้ไขในยามบ้านเมืองเกิดวิกฤต
5. ขอให้รัฐบาลยกเลิกการบังคับใช้ พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน 6. นอกจากนี้ขอให้เปิดสื่อที่ถูกปิดกั้น เพื่อให้ประชาชนได้ใช้วิจารณญานในการรับข่าวเอง