อุตรดิตถ์ - พบหนอนกินเนื้อและเมล็ดในทุเรียน “หลง-หลินลับแล” ผลไม้ขึ้นชื่อของอุตรดิตถ์ เผยนิวซีแลนด์-จีนสั่งซื้อเพียบแต่ผลิตให้ไม่ได้ จี้สอบงบ 26 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงผลผลิตเกษตร เผยถลุงกันเละ มุ่งแต่อบรม-จ่ายค่าตอบแทน แต่ไม่ตามผล แถมจัดเงิน 4 ล้านตั้งโรงสีชุมชน กลับกลายเป็นโรงสีร้าง
นายฟื้น โชวันดี ประธานเครือข่ายเกษตรทางเลือก จ.อุตรดิตถ์ กล่าวว่า หลังจากทุเรียนพันธุ์หลงลับแล และหลินลับแล เริ่มเป็นที่รู้จักของผู้บริโภคมากขึ้น ล่าสุดประเทศนิวซีแลนด์ และประเทศจีน มีคำสั่งซื้อทุเรียนทั้ง 2 พันธุ์ แต่จะต้องเป็นทุเรียนแกะเปลือกบรรจุกล่องพลาสติกส่งออกไป แต่ประสบปัญหาเนื่องจากกำลังการผลิตของเกษตรกรในพื้นที่ จ.อุตรดิตถ์ ไม่สามารถผลิตได้ตามจำนวนที่ต้องการ
ปัญหาใหญ่อีกเรื่องที่เพิ่งพบปีนี้เป็นปีแรก คือ พบหนอนสีน้ำตาลขนาดลำตัวเท่ากับดินสอเขียนหนังสือ มีความยาวราว 2 ซม. เจาะกินเนื้อและเมล็ดทุเรียน ทำให้ต้องยกเลิกการส่งออกเพราะเกรงว่าจะทำให้เสียชื่อเสียงไปมากกว่านี้
นายฟื้นกล่าวว่า ที่ผ่านมาจังหวัดอนุมัติงบประมาณให้แก่สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จ.อุตรดิตถ์ จำนวน 26.9 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการส่งเสริมสินค้าเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์แบบบูรณาการ แต่ไม่รู้ว่ามีการนำไปใช้ส่วนไหนบ้าง ทราบเพียงว่าส่วนใหญ่ถูกใช้ไปกับการอบรม จ่ายค่าตอบแทน แต่หลังจากเสร็จโครงการแล้วไม่มีการติดตามผลความคืบหน้า หากมีการติดตามผลของโครงการและส่งเสริมกันอย่างจริงจัง เชื่อว่าทุเรียนที่มีชื่อเสียงเป็นหน้าตาของจังหวัด เป็นทุเรียนที่ขึ้นชื่อว่าอร่อยที่สุดในโลกจะไม่มีหนอนในผลอย่างแน่นอน
“งบประมาณของโครงการดังกล่าวถูกนำไปใช้โดยไม่เกิดประโยชน์ ที่เห็นได้ชัดเจนมากที่สุดคือ โรงสีข้าวชุมชน ต.คุ้งตะเภา อ.เมืองอุตรดิตถ์ ที่ได้รับงบประมาณกว่า 4 ล้านบาท นำมาก่อสร้าง แต่หลังจากก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยกลับไม่ได้ใช้ประโยชน์เลยแม้แต่น้อย ปล่อยให้เป็นโรงสีร้าง เป็นที่อยู่อาศัยของหนู”
นายฟื้นบอกว่า อยากให้จังหวัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบงบส่วนนี้ เพราะอยากให้งบประมาณถูกใช้ไปเพื่อการพัฒนาปรับปรุงด้านเกษตรให้ปลอดภัยอย่างแท้จริง ไม่อยากให้งบประมาณถูกละลายไปโดยไม่เกิดประโยชน์แก่เกษตรกรเลย
ประธานเครือข่ายเกษตรทางเลือก จ.อุตรดิตถ์ กล่าวว่า นอกจากนี้จากการติดตามโครงการของกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่มีโครงการพัฒนาปรับปรุงผลผลิตทางการเกษตรภาคเหนือ แต่ จ.อุตรดิตถ์ ไม่เป็นหนึ่งในกลุ่มเป้าหมาย แม้จะเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีผลไม้ที่อุดมสมบูรณ์มากของประเทศไทย เรื่องนี้น่าจะเป็นเพราะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรไม่มีข้อมูลพื้นฐานของผลไม้ในจังหวัดส่งให้กรมส่งเสริมการเกษตร จึงทำให้ไม่มีรายชื่อเป็นจังหวัดที่จะต้องพัฒนาปรับปรุงผลผลิตทางการเกษตร
“เครือข่ายเกษตรทางเลือก จ.อุตรดิตถ์ กำลังขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อนำมาใช้สำหรับให้สภาเกษตรกรที่มีอยู่ทุกหมู่บ้านนำไปเก็บข้อมูลพื้นที่ของผลผลิตทางการเกษตร โดยเน้นไปที่ผลไม้ และนาข้าว เพื่อจัดส่งให้จังหวัด และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นำไปเป็นข้อมูล หากต้องการใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรก็มาหยิบไปใช้ได้เลย เหตุที่ต้องทำเช่นนี้เพราะหน่วยงานราชการไม่สนใจปัญหาของเกษตรกรอย่างแท้จริง” ประธานเครือข่ายเกษตรทางเลือก จ.อุตรดิตถ์ กล่าว
นายฟื้น โชวันดี ประธานเครือข่ายเกษตรทางเลือก จ.อุตรดิตถ์ กล่าวว่า หลังจากทุเรียนพันธุ์หลงลับแล และหลินลับแล เริ่มเป็นที่รู้จักของผู้บริโภคมากขึ้น ล่าสุดประเทศนิวซีแลนด์ และประเทศจีน มีคำสั่งซื้อทุเรียนทั้ง 2 พันธุ์ แต่จะต้องเป็นทุเรียนแกะเปลือกบรรจุกล่องพลาสติกส่งออกไป แต่ประสบปัญหาเนื่องจากกำลังการผลิตของเกษตรกรในพื้นที่ จ.อุตรดิตถ์ ไม่สามารถผลิตได้ตามจำนวนที่ต้องการ
ปัญหาใหญ่อีกเรื่องที่เพิ่งพบปีนี้เป็นปีแรก คือ พบหนอนสีน้ำตาลขนาดลำตัวเท่ากับดินสอเขียนหนังสือ มีความยาวราว 2 ซม. เจาะกินเนื้อและเมล็ดทุเรียน ทำให้ต้องยกเลิกการส่งออกเพราะเกรงว่าจะทำให้เสียชื่อเสียงไปมากกว่านี้
นายฟื้นกล่าวว่า ที่ผ่านมาจังหวัดอนุมัติงบประมาณให้แก่สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จ.อุตรดิตถ์ จำนวน 26.9 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการส่งเสริมสินค้าเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์แบบบูรณาการ แต่ไม่รู้ว่ามีการนำไปใช้ส่วนไหนบ้าง ทราบเพียงว่าส่วนใหญ่ถูกใช้ไปกับการอบรม จ่ายค่าตอบแทน แต่หลังจากเสร็จโครงการแล้วไม่มีการติดตามผลความคืบหน้า หากมีการติดตามผลของโครงการและส่งเสริมกันอย่างจริงจัง เชื่อว่าทุเรียนที่มีชื่อเสียงเป็นหน้าตาของจังหวัด เป็นทุเรียนที่ขึ้นชื่อว่าอร่อยที่สุดในโลกจะไม่มีหนอนในผลอย่างแน่นอน
“งบประมาณของโครงการดังกล่าวถูกนำไปใช้โดยไม่เกิดประโยชน์ ที่เห็นได้ชัดเจนมากที่สุดคือ โรงสีข้าวชุมชน ต.คุ้งตะเภา อ.เมืองอุตรดิตถ์ ที่ได้รับงบประมาณกว่า 4 ล้านบาท นำมาก่อสร้าง แต่หลังจากก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยกลับไม่ได้ใช้ประโยชน์เลยแม้แต่น้อย ปล่อยให้เป็นโรงสีร้าง เป็นที่อยู่อาศัยของหนู”
นายฟื้นบอกว่า อยากให้จังหวัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบงบส่วนนี้ เพราะอยากให้งบประมาณถูกใช้ไปเพื่อการพัฒนาปรับปรุงด้านเกษตรให้ปลอดภัยอย่างแท้จริง ไม่อยากให้งบประมาณถูกละลายไปโดยไม่เกิดประโยชน์แก่เกษตรกรเลย
ประธานเครือข่ายเกษตรทางเลือก จ.อุตรดิตถ์ กล่าวว่า นอกจากนี้จากการติดตามโครงการของกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่มีโครงการพัฒนาปรับปรุงผลผลิตทางการเกษตรภาคเหนือ แต่ จ.อุตรดิตถ์ ไม่เป็นหนึ่งในกลุ่มเป้าหมาย แม้จะเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีผลไม้ที่อุดมสมบูรณ์มากของประเทศไทย เรื่องนี้น่าจะเป็นเพราะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรไม่มีข้อมูลพื้นฐานของผลไม้ในจังหวัดส่งให้กรมส่งเสริมการเกษตร จึงทำให้ไม่มีรายชื่อเป็นจังหวัดที่จะต้องพัฒนาปรับปรุงผลผลิตทางการเกษตร
“เครือข่ายเกษตรทางเลือก จ.อุตรดิตถ์ กำลังขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อนำมาใช้สำหรับให้สภาเกษตรกรที่มีอยู่ทุกหมู่บ้านนำไปเก็บข้อมูลพื้นที่ของผลผลิตทางการเกษตร โดยเน้นไปที่ผลไม้ และนาข้าว เพื่อจัดส่งให้จังหวัด และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นำไปเป็นข้อมูล หากต้องการใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรก็มาหยิบไปใช้ได้เลย เหตุที่ต้องทำเช่นนี้เพราะหน่วยงานราชการไม่สนใจปัญหาของเกษตรกรอย่างแท้จริง” ประธานเครือข่ายเกษตรทางเลือก จ.อุตรดิตถ์ กล่าว