ASTVผู้จัดการรายวัน -"มาร์ค" รับสภาพแพ้เยอะ ไม่ส่งคนชิงเก้าอี้"นายกฯ-ปธ.สภา" หวังปธ.สภาเสื้อแดง ยึดข้อบังคับการประชุม คุมส.ส.ในสภาได้ เพื่อภาพลักษณ์เป็นที่ยอมรับของประชาชน ยันไม่เอาพันธมิตรฯมาเป็นกรรมการบริหารพรรค "เทือก"ให้ทำใจรับแม่บ้านพรรคคนใหม่ไม่ใช่คนใต้ เดินสายล็อบบี้ หนุน"หล่อเล็ก"เต็มที่ ซัดสภาที่ปรึกษาฯ อย่าปากมาก
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในฐานะรักษาการหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการประชุมเปิดสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกประธานสภา และนายกรัฐมนตรีว่า เรื่องนี้จะเป็นเรื่องของที่ประชุมส.ส. คงจะกำหนดท่าทีกัน แต่ในความเห็นของตนนั้น เวลาที่มีพรรคการเมืองได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งของสภาไปแล้ว คงไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่จะต้องไปเสนอชื่อแข่งขัน อย่างไรก็ตาม คงจะมีการประชุมส.ส.เพื่อกำหนดท่าทีในเรื่องนี้ วันที่ 1 ส.ค.
"เราหวังว่าจะได้ประธาน ซึ่งสามารถที่จะควบคุมการประชุมให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เพราะว่าเราอยากจะให้ภาพลักษณ์ของสภาเป็นที่ยอมรับของประชาชนให้มาก ถ้าหากมีแต่ความวุ่นวาย ก็จะเป็นปัญหา ซึ่งวิธีที่จะไม่ให้เกิดความวุ่นวายที่ดีที่สุดก็คือ การยึดถือข้อบังคับ และใช้ข้อบังคับอย่างเป็นกลาง และอยากให้ประธานนั้นมีบทบาทในการกระตุ้นให้ฝ่ายบริหารได้ให้ความสำคัญกับทางสภาด้วย" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
เมื่อถามว่า รายชื่อที่เป็นแคนดิเดตประธานสภา ล้วนแต่มีบทบาทอยู่กับคนเสื้อแดง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ใครดำรงตำแหน่งอะไรแล้ว ต้องแยกแยะให้ออก ในแง่บทบาทของตนเอง ความเห็นส่วนตัว พูดด้วยความเป็นธรรมว่า ตอนที่ พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย เป็นรองประธานสภา ก็ทำหน้าที่ได้ดี แต่บทบาทข้างนอก เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
" ถ้าประธานเข้มงวด กวดขันในเรื่องข้อบังคับ มารยาทการประชุม ก็จะช่วยได้เยอะ ปัญหาที่เกิด เพราะเริ่มปล่อยให้มีการกระทบกระทั่งต่างฝ่ายต่างทำ มันก็จะลุกลามออกไป ฉะนั้น ดีที่สุดคือ ส่งสัญญาณว่าจะเข้มงวดกวดขันกัน "
เมื่อถามว่า ที่ผ่านมาแม้คนเสื้อแดงไม่ได้เข้าไปอยู่ในสภา แต่วาระคนเสื้อแดงก็เข้าไปอยู่ในสภา เมื่อคนเสื้อแดงเข้าไปแล้วห่วงหรือไม่วาระในสภา จะเป็นวาระของคนเสื้อแดง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่ สภาเป็นเรื่องที่ผู้แทนคนทั้งประเทศ ต้องดูแลคนทั้งประเทศ ส่วนซีกรัฐบาลจะเป็นอย่างไรก็แล้วแต่ ขอยืนยันว่าในส่วนของฝ่ายค้าน จะทำหน้าที่ดูแลว่าวาระของสภา ต้องเป็นวาระของประชาชนทั้งประเทศ
**ไม่เอาพันธมิตรฯเป็นกก.บห.
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึงความเคลื่อนไหวภายในพรรคประชาธิปัตย์ เรื่องการเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ว่า เป็นเรื่องธรรมดาของพรรคที่เปิดกว้าง ใครอยากเสนอตัวอาสาเข้ามา ก็จะไปพบปะขอความสนับสนุนเป็นเรื่องปกติ
ส่วนเรื่องความเป็นไปได้หรือไม่ที่จะเอาคนนอกเข้ามาเป็นเลขาธิการพรรคนั้น คนที่เป็นหัวหน้าพรรค ต้องดูทางเลือกทั้งหมดเพราะถ้าเป็นคนนอก จะมีทั้งจุดแข็งหรือจุดอ่อน อยู่ที่สถานการณ์ การตั้งเป้าหมาย และการยอมรับของสมาชิก
" การหาคนนอกจะเป็นเรื่องยาก เพราะถ้าเป็นคนนอกแล้วไม่ได้คลุกคลีอยู่กับการต่อสู้ทางการเมืองในช่วงที่ผ่านมา ก็จะทำงานได้ลำบาก" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
เมื่อถามว่านายนคร มาฉิม ส.ส.พิษณุโลก เสนอชื่อนายบุญชัย เบญจรงคกุล และ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ และนายประพันธ์ คูณมี แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อ
ประชาธิปไตย โดยอ้างว่าควรจะดึงมืออาชีพเข้ามาร่วมงานในพรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ขณะนี้สมาชิกสามารถแสดงความคิดเห็นกันได้ แต่รายชื่อดังกล่าวไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะดูจากการพูดจาในช่วงที่ผ่านมา ตนคิดว่าสิ่งที่เคยพูดมาที่เกี่ยวกับพรรคบ้าง รัฐบาลบ้าง เป็นข้อมูลที่ไม่เป็นจริง และวันนี้จะมาอยู่ด้วย คงเป็นเรื่องแปลก
เมื่อถามว่าที่มีการทาบ นายบัณฑูร ล่ำซำ มาเป็นกรรมการบริหารนั้น เขาตอบรับมาหรือยัง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่ทราบ ใครก็ทาบทามได้ เพราะตามระบบหัวหน้าพรรคจะเป็นคนเสนอชื่อ
** พรรคเล็กลง-ใหญ่ขึ้นเรื่องปกติ
ส่วนที่นายนคร เสนอตัวเป็นรองหัวหน้าพรรคภาคเหนือ เพื่อต้องการตีกัน นายจุติ ไกรฤกษ์ ส.ส.พิษณุโลก หรือไม่นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า จะไปทราบได้อย่างไรว่าสมาชิก แต่ละคนคิดอย่างไร เพราะว่าครั้งนี้มีหลายคนที่แสดงตัวแล้วว่าจะลงสมัคร เช่น นายอลงกรณ์ พลบุตร นายวิรัช ร่มเย็น และตนมั่นใจว่าจะไม่ทำให้พรรคแตก
เมื่อถามว่า จะทำให้พรรคมีขนาดเล็กลง แทนที่จะใหญ่ขึ้นตามเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เป้าหมายของสมาชิก เชื่อว่าต้องการให้พรรคใหญ่ขึ้น แต่จะเป็นการเดินทางที่ไม่ง่าย อาจจะเป็นไปได้ที่จะเล็กลงบางช่วง หรือโตบางช่วง ถือเป็นเรื่องปกติ แต่สิ่งสำคัญคือ แนวทางการต้อสู่ที่มีความชัดเจน และมีความแน่วแน่ และที่สำคัญจะต้องสามารถรักษาความเป็นสถาบันได้
** "เทือก"ติง"พิเชษฐ์"พูดน้อยหน่อย
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รักษาการ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวยืนยันว่า พรรคจะไม่เสนอชื่อนายกรัฐมนตรีเข้าแข่งกับน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เพราะคะแนนระหว่าง 2 พรรคห่างกันชัดเจน ไม่จำเป็นต้องคาดหวังว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง
ส่วนการเลือกกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ชุดใหม่ ที่มีตัวแทนจากภาคต่างๆ เสนอตัวเข้าแข่งขันนั้น เชื่อว่าจะไม่ทำให้เกิดปัญหาภายใน เพราะวิถีทางประชาธิปไตย ไม่ใช่พรรคที่คนใดคนหนึ่งจะสั่งการแต่งตั้งตามใจชอบ และการแข่งขันแบบนี้คงไม่มีผลที่จะทำให้การทำงานของพรรคชะงัก
ส่วนกรณีที่มีรายงานข่าวว่า นายนคร มาฉิม ส.ส.พิษณุโลก ระบุว่าหากพรรคยังไม่เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น จะมีส.ส.ในพรรคกว่า 20 คนจะออกจากพรรค นายสุเทพ กล่าวว่า ไม่เป็นไร เรื่องส.ส.จะออกจากพรรค เป็นเรื่องธรรมดา ไม่เป็นไร คือถ้าอยู่ในพรรคก็ขอให้อยู่ด้วยความคิด ด้วยอุดมการณ์ ไม่ใช่การข่มขู่ และก็คงไม่ได้ทำให้พรรคเล็กลง เพราะเล็กแล้วก็โตได้อีก
เมื่อถามกรณีนายพิเชษฐ์ พันธุ์วิชาตกุล ส.ส.กระบี่ พรรคประชาธิปัตย์ ออกมาระบุว่า ที่ผ่านพรรคให้ความสำคัญกับสภาที่ปรึกษาน้อยเกินไป จนเป็นจุดอ่อนและส่งผลให้แพ้เลือกตั้ง นายสุเทพ กล่าวว่า "สภาที่ปรึกษาก็พูดให้มันน้อยๆหน่อย เด็กๆจะได้นับถือ"
** ดินสายล็อบบี้หนุน"หล่อเล็ก"
แหล่งข่าวในพรรคประชาธิปัตย์แจ้งว่า ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมานายสุเทพ ได้เดินสายหารือกับส.ส.บางกลุ่มโดยเฉพาะส.ส.ภาคใต้ โดยบอกว่าขอให้ทุกคนทำใจล่วงหน้าไว้เลยว่า เลขาธิการพรรค ครั้งนี้ ไม่ใช่คนใต้แน่นอน และขอให้ทุกคนอย่าเคลื่อนไหว กดดัน หากหัวหน้าพรรคเสนออะไรไป
ส่วนคนที่เหมาะสมในตำแหน่งเลขาธิการพรรคในสายสุเทพคือ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เพราะมีคุณสมบัติครบถ้วนเพียงแต่ติดคดี เรื่องการจัดซื้อรถและเรือดับเพลิงที่มาดังในช่วงเวลานี้ หากไม่ใช่ นายอภิรักษ์ คนที่เหมาะสมต่อมาน่าจะเป็น นายจุติ ไกรฤกษ์ ส.ส.พิษณุโลก และยังมี นายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าภาคกทม.และส.ส.สัดส่วน ที่เหมาะเพราะมีครบ ทั้งคุณสมบัติ และมีทุน แต่แนวความคิดแตกต่างไปจากสมาชิกพรรค จึงไม่ค่อยมีพรรคพวก
ขณะที่กลุ่มกทม. ก็พยายามผลักดันให้ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม.มาอยู่ในตำแหน่งนี้ และสุดท้ายคือ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รองหัวหน้าพรรคภาคกลาง ซึ่งนายสุเทพมองว่า ยังไม่ถึงเวลา แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนายอภิสิทธิ์ ว่าจะเสนอใคร
นอกจากนี้ นายสุเทพ ยังได้ร่วมรับประทานอาหารกลางวันโต๊ะจีนกับ ส.ส.กทม.ที่ รร.ดิเอ็มเมอร์รัลด์ และได้ขอร้อง ว่าอย่ากดดันต่อการคัดเลือกเลขาฯคนใหม่ ร่วมถึงกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ และการจะทำอะไรควรรักษาภาพพจน์พรรคด้วย เพราะสื่อกำลังจับจ้องอยู่ และขอให้ทุกคน เร่งทำพื้นที่ทำความเข้าใจกับประชาชน เพราะตนมีข้อมูลที่จะชี้แจงกับส.ส.ใหม่ คือเครือข่ายคนเสื้อแดงยังคงขยายฐาน สร้างมวลชนเพิ่มเติม ทั้งภาคอีสาน ภาคเหนือ และภาคกลาง ผ่านโรงเรียน นปช. แม้พรรคเพื่อไทย จะชนะการเลือกตั้งไปแล้ว จึงเป็นที่น่าสังเกตว่าการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง อาจจะซ่อนนัยยะเพื่อรอการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอย่างใดอย่างหนึ่ง
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในฐานะรักษาการหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการประชุมเปิดสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกประธานสภา และนายกรัฐมนตรีว่า เรื่องนี้จะเป็นเรื่องของที่ประชุมส.ส. คงจะกำหนดท่าทีกัน แต่ในความเห็นของตนนั้น เวลาที่มีพรรคการเมืองได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งของสภาไปแล้ว คงไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่จะต้องไปเสนอชื่อแข่งขัน อย่างไรก็ตาม คงจะมีการประชุมส.ส.เพื่อกำหนดท่าทีในเรื่องนี้ วันที่ 1 ส.ค.
"เราหวังว่าจะได้ประธาน ซึ่งสามารถที่จะควบคุมการประชุมให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เพราะว่าเราอยากจะให้ภาพลักษณ์ของสภาเป็นที่ยอมรับของประชาชนให้มาก ถ้าหากมีแต่ความวุ่นวาย ก็จะเป็นปัญหา ซึ่งวิธีที่จะไม่ให้เกิดความวุ่นวายที่ดีที่สุดก็คือ การยึดถือข้อบังคับ และใช้ข้อบังคับอย่างเป็นกลาง และอยากให้ประธานนั้นมีบทบาทในการกระตุ้นให้ฝ่ายบริหารได้ให้ความสำคัญกับทางสภาด้วย" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
เมื่อถามว่า รายชื่อที่เป็นแคนดิเดตประธานสภา ล้วนแต่มีบทบาทอยู่กับคนเสื้อแดง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ใครดำรงตำแหน่งอะไรแล้ว ต้องแยกแยะให้ออก ในแง่บทบาทของตนเอง ความเห็นส่วนตัว พูดด้วยความเป็นธรรมว่า ตอนที่ พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย เป็นรองประธานสภา ก็ทำหน้าที่ได้ดี แต่บทบาทข้างนอก เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
" ถ้าประธานเข้มงวด กวดขันในเรื่องข้อบังคับ มารยาทการประชุม ก็จะช่วยได้เยอะ ปัญหาที่เกิด เพราะเริ่มปล่อยให้มีการกระทบกระทั่งต่างฝ่ายต่างทำ มันก็จะลุกลามออกไป ฉะนั้น ดีที่สุดคือ ส่งสัญญาณว่าจะเข้มงวดกวดขันกัน "
เมื่อถามว่า ที่ผ่านมาแม้คนเสื้อแดงไม่ได้เข้าไปอยู่ในสภา แต่วาระคนเสื้อแดงก็เข้าไปอยู่ในสภา เมื่อคนเสื้อแดงเข้าไปแล้วห่วงหรือไม่วาระในสภา จะเป็นวาระของคนเสื้อแดง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่ สภาเป็นเรื่องที่ผู้แทนคนทั้งประเทศ ต้องดูแลคนทั้งประเทศ ส่วนซีกรัฐบาลจะเป็นอย่างไรก็แล้วแต่ ขอยืนยันว่าในส่วนของฝ่ายค้าน จะทำหน้าที่ดูแลว่าวาระของสภา ต้องเป็นวาระของประชาชนทั้งประเทศ
**ไม่เอาพันธมิตรฯเป็นกก.บห.
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึงความเคลื่อนไหวภายในพรรคประชาธิปัตย์ เรื่องการเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ว่า เป็นเรื่องธรรมดาของพรรคที่เปิดกว้าง ใครอยากเสนอตัวอาสาเข้ามา ก็จะไปพบปะขอความสนับสนุนเป็นเรื่องปกติ
ส่วนเรื่องความเป็นไปได้หรือไม่ที่จะเอาคนนอกเข้ามาเป็นเลขาธิการพรรคนั้น คนที่เป็นหัวหน้าพรรค ต้องดูทางเลือกทั้งหมดเพราะถ้าเป็นคนนอก จะมีทั้งจุดแข็งหรือจุดอ่อน อยู่ที่สถานการณ์ การตั้งเป้าหมาย และการยอมรับของสมาชิก
" การหาคนนอกจะเป็นเรื่องยาก เพราะถ้าเป็นคนนอกแล้วไม่ได้คลุกคลีอยู่กับการต่อสู้ทางการเมืองในช่วงที่ผ่านมา ก็จะทำงานได้ลำบาก" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
เมื่อถามว่านายนคร มาฉิม ส.ส.พิษณุโลก เสนอชื่อนายบุญชัย เบญจรงคกุล และ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ และนายประพันธ์ คูณมี แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อ
ประชาธิปไตย โดยอ้างว่าควรจะดึงมืออาชีพเข้ามาร่วมงานในพรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ขณะนี้สมาชิกสามารถแสดงความคิดเห็นกันได้ แต่รายชื่อดังกล่าวไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะดูจากการพูดจาในช่วงที่ผ่านมา ตนคิดว่าสิ่งที่เคยพูดมาที่เกี่ยวกับพรรคบ้าง รัฐบาลบ้าง เป็นข้อมูลที่ไม่เป็นจริง และวันนี้จะมาอยู่ด้วย คงเป็นเรื่องแปลก
เมื่อถามว่าที่มีการทาบ นายบัณฑูร ล่ำซำ มาเป็นกรรมการบริหารนั้น เขาตอบรับมาหรือยัง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่ทราบ ใครก็ทาบทามได้ เพราะตามระบบหัวหน้าพรรคจะเป็นคนเสนอชื่อ
** พรรคเล็กลง-ใหญ่ขึ้นเรื่องปกติ
ส่วนที่นายนคร เสนอตัวเป็นรองหัวหน้าพรรคภาคเหนือ เพื่อต้องการตีกัน นายจุติ ไกรฤกษ์ ส.ส.พิษณุโลก หรือไม่นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า จะไปทราบได้อย่างไรว่าสมาชิก แต่ละคนคิดอย่างไร เพราะว่าครั้งนี้มีหลายคนที่แสดงตัวแล้วว่าจะลงสมัคร เช่น นายอลงกรณ์ พลบุตร นายวิรัช ร่มเย็น และตนมั่นใจว่าจะไม่ทำให้พรรคแตก
เมื่อถามว่า จะทำให้พรรคมีขนาดเล็กลง แทนที่จะใหญ่ขึ้นตามเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เป้าหมายของสมาชิก เชื่อว่าต้องการให้พรรคใหญ่ขึ้น แต่จะเป็นการเดินทางที่ไม่ง่าย อาจจะเป็นไปได้ที่จะเล็กลงบางช่วง หรือโตบางช่วง ถือเป็นเรื่องปกติ แต่สิ่งสำคัญคือ แนวทางการต้อสู่ที่มีความชัดเจน และมีความแน่วแน่ และที่สำคัญจะต้องสามารถรักษาความเป็นสถาบันได้
** "เทือก"ติง"พิเชษฐ์"พูดน้อยหน่อย
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รักษาการ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวยืนยันว่า พรรคจะไม่เสนอชื่อนายกรัฐมนตรีเข้าแข่งกับน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เพราะคะแนนระหว่าง 2 พรรคห่างกันชัดเจน ไม่จำเป็นต้องคาดหวังว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง
ส่วนการเลือกกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ชุดใหม่ ที่มีตัวแทนจากภาคต่างๆ เสนอตัวเข้าแข่งขันนั้น เชื่อว่าจะไม่ทำให้เกิดปัญหาภายใน เพราะวิถีทางประชาธิปไตย ไม่ใช่พรรคที่คนใดคนหนึ่งจะสั่งการแต่งตั้งตามใจชอบ และการแข่งขันแบบนี้คงไม่มีผลที่จะทำให้การทำงานของพรรคชะงัก
ส่วนกรณีที่มีรายงานข่าวว่า นายนคร มาฉิม ส.ส.พิษณุโลก ระบุว่าหากพรรคยังไม่เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น จะมีส.ส.ในพรรคกว่า 20 คนจะออกจากพรรค นายสุเทพ กล่าวว่า ไม่เป็นไร เรื่องส.ส.จะออกจากพรรค เป็นเรื่องธรรมดา ไม่เป็นไร คือถ้าอยู่ในพรรคก็ขอให้อยู่ด้วยความคิด ด้วยอุดมการณ์ ไม่ใช่การข่มขู่ และก็คงไม่ได้ทำให้พรรคเล็กลง เพราะเล็กแล้วก็โตได้อีก
เมื่อถามกรณีนายพิเชษฐ์ พันธุ์วิชาตกุล ส.ส.กระบี่ พรรคประชาธิปัตย์ ออกมาระบุว่า ที่ผ่านพรรคให้ความสำคัญกับสภาที่ปรึกษาน้อยเกินไป จนเป็นจุดอ่อนและส่งผลให้แพ้เลือกตั้ง นายสุเทพ กล่าวว่า "สภาที่ปรึกษาก็พูดให้มันน้อยๆหน่อย เด็กๆจะได้นับถือ"
** ดินสายล็อบบี้หนุน"หล่อเล็ก"
แหล่งข่าวในพรรคประชาธิปัตย์แจ้งว่า ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมานายสุเทพ ได้เดินสายหารือกับส.ส.บางกลุ่มโดยเฉพาะส.ส.ภาคใต้ โดยบอกว่าขอให้ทุกคนทำใจล่วงหน้าไว้เลยว่า เลขาธิการพรรค ครั้งนี้ ไม่ใช่คนใต้แน่นอน และขอให้ทุกคนอย่าเคลื่อนไหว กดดัน หากหัวหน้าพรรคเสนออะไรไป
ส่วนคนที่เหมาะสมในตำแหน่งเลขาธิการพรรคในสายสุเทพคือ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เพราะมีคุณสมบัติครบถ้วนเพียงแต่ติดคดี เรื่องการจัดซื้อรถและเรือดับเพลิงที่มาดังในช่วงเวลานี้ หากไม่ใช่ นายอภิรักษ์ คนที่เหมาะสมต่อมาน่าจะเป็น นายจุติ ไกรฤกษ์ ส.ส.พิษณุโลก และยังมี นายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าภาคกทม.และส.ส.สัดส่วน ที่เหมาะเพราะมีครบ ทั้งคุณสมบัติ และมีทุน แต่แนวความคิดแตกต่างไปจากสมาชิกพรรค จึงไม่ค่อยมีพรรคพวก
ขณะที่กลุ่มกทม. ก็พยายามผลักดันให้ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม.มาอยู่ในตำแหน่งนี้ และสุดท้ายคือ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รองหัวหน้าพรรคภาคกลาง ซึ่งนายสุเทพมองว่า ยังไม่ถึงเวลา แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนายอภิสิทธิ์ ว่าจะเสนอใคร
นอกจากนี้ นายสุเทพ ยังได้ร่วมรับประทานอาหารกลางวันโต๊ะจีนกับ ส.ส.กทม.ที่ รร.ดิเอ็มเมอร์รัลด์ และได้ขอร้อง ว่าอย่ากดดันต่อการคัดเลือกเลขาฯคนใหม่ ร่วมถึงกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ และการจะทำอะไรควรรักษาภาพพจน์พรรคด้วย เพราะสื่อกำลังจับจ้องอยู่ และขอให้ทุกคน เร่งทำพื้นที่ทำความเข้าใจกับประชาชน เพราะตนมีข้อมูลที่จะชี้แจงกับส.ส.ใหม่ คือเครือข่ายคนเสื้อแดงยังคงขยายฐาน สร้างมวลชนเพิ่มเติม ทั้งภาคอีสาน ภาคเหนือ และภาคกลาง ผ่านโรงเรียน นปช. แม้พรรคเพื่อไทย จะชนะการเลือกตั้งไปแล้ว จึงเป็นที่น่าสังเกตว่าการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง อาจจะซ่อนนัยยะเพื่อรอการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอย่างใดอย่างหนึ่ง