ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง เสียงสะท้อนของสาธารณชนต่อ การจัดตั้งรัฐบาลและนโยบาย ถ้าน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ เพชรบุรี สระบุรี นครปฐม ชลบุรี มหาสารคาม ร้อยเอ็ด นครราชสีมา เลย ขอนแก่น อุบลราชธานี สงขลา และนครศรีธรรมราช จำนวนทั้งสิ้น 2,178 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการในช่วง 18–23 กรกฎาคม 2554 โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น สุ่มจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ชุมชน ครัวเรือน และผู้ตอบแบบสอบถาม ที่ช่วงความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 7 ผลการสำรวจพบว่า
5 อันดับแรก ของสิ่งที่ “ไม่ชอบ” ต่อกระแสข่าวช่วงการจัดตั้งรัฐบาลและร่างนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ ถ้าน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะได้เป็นนายกรัฐมนตรี ( ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ ) ได้แก่
อันดับ 1 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.3 ระบุ เป็นข่าวรัฐบาลจะไม่ทำตามที่หาเสียงไว้ทันที / มีเงื่อนไขในสิ่งที่จะเป็นนโยบาย แต่ไม่บอกชาวบ้านช่วงเลือกตั้ง อันดับที่ 2 ร้อยละ 72.8 ระบุ เป็นข่าวการเอาคนที่มีภาพลักษณ์ไม่ดี หรือ “ยี้” มาเป็นรัฐมนตรี อันดับที่ 3 ร้อยละ 71.7 ระบุข่าวความวุ่นวายแย่งชิงตำแหน่งรัฐมนตรี
อันดับที่ 4 ร้อยละ 68.4 ระบุ ข่าวนโยบายต่างประเทศที่จะทำให้ประเทศชาติสูญเสียดินแดน และอันดับที่ 5 ร้อยละ 63.1 ระบุข่าวนักการเมืองและกลุ่มผู้สนับสนุนการเมืองใช้กฎหมู่เหนือกฎหมาย ไม่ทำตามระเบียบกฎเกณฑ์
นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบ 5 อันดับแรก ของสิ่งที่ “ชอบ” ต่อกระแสข่าว ช่วงการจัดตั้งรัฐบาล และร่างนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ ได้แก่
อันดับ 1 กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 76.9 ระบุชอบท่าทีของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต่อปัญหาการเมือง อันดับ 2 ร้อยละ 74.9 ระบุ การร่วมมือกันจัดตั้งรัฐบาลโดยไม่มีเหตุการณ์วุ่นวายรุนแรง อันดับ 3 ร้อยละ 70.7 ระบุ ชอบท่าทีของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต่อปัญหาการเมือง
อันดับ 4 ร้อยละ 64.4 ชอบข่าวตัวแทนต่างชาติเข้าสนับสนุน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และอันดับ 5 ร้อยละ 60.8 ชอบข่าวการปรับตัว ปรับปรุงการทำงานการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์
เมื่อถามถึงพฤติกรรม “ยอดแย่” หรือ “ยี้” ของกลุ่มรัฐมนตรี และที่ปรึกษา ผู้ติดตามรัฐมนตรี ที่ไม่ต้องการให้น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เลือกมาเป็นรัฐมนตรี ได้แก่ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 86.7 ระบุไม่เอาคนที่ คดโกง เก็บเกี่ยวผลประโยชน์ส่วนตัว ครอบครัว และพวกพ้อง รองลงมาคือ ร้อยละ 83.1 ระบุไม่เอาคนที่หลอกลวงชาวบ้าน ไม่ทำตามที่หาเสียงไว้ ร้อยละ 80.5 ไม่เอาคนที่ใช้เส้น ขี้เบ่ง กร่าง เจ้ายศ เจ้าอย่าง และรองๆ ลงไปคือ ร้อยละ 76.2 ไม่เอาคนที่ข่มขู่ คุกคาม แทรกแซง ร้อยละ 74.9 ไม่เอาคนที่ชอบกลั่นแกล้ง ล้างแค้น ทีใครทีมัน พวกใครพวกมัน ร้อยละ 66.3 ไม่เอาคนที่เลือกปฏิบัติมาเป็นรัฐมนตรี และร้อยละ 34.3 ระบุอื่นๆ เช่น เข้าถึงยาก หาตัวไม่เจอ แย่งชิงอำนาจ มีคดีติดตัว และก้าวร้าว เป็นต้น
นอกจากนี้ จากการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึกกลุ่มคนที่เลือกพรรคเพื่อไทย พบว่า ชาวบ้านบางคนฝากถึงน.ส.ยิ่งลักษณ์ ว่า "ถ้าได้เป็นนายกรัฐมนตรี ขอให้ลงพื้นที่ทันที อย่าอยู่แต่ในทำเนียบฯ อยากได้ ครม. สัญจรสู่ท้องถิ่นต่างๆ ของประเทศ" และบางคนเสริมว่า " อยากให้เปิดสำนักงานที่ทำงานของนายกรัฐมนตรีตามภูมิภาคต่างๆ ไม่ใช่อยู่แต่ที่กรุงเทพฯ คอยให้ชาวบ้านเดินทางไปหา" และส่วนใหญ่ฝากข้อความไปถึงน.ส.ยิ่งลักษณ์ ว่า " ถ้าได้เป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว ขอให้ดูแลคนยาก อย่ามองข้ามคนจน"
ดร.นพดล กล่าวว่า จำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐบาลชุดใหม่ โดยพรรคเพื่อไทย และว่าที่นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศ ต้องแสดงออกให้สาธารณชนเห็นประจักษ์ และวางใจได้ว่า ผู้ที่จะมาเป็นรัฐมนตรีใน "ครม. ยิ่งลักษณ์ 1" จะถูกใจใช่เลยกับความคาดหวังของทั้งผู้ที่ “เลือก” และ “ไม่เลือก” รัฐบาล เพราะ การขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ ของรัฐบาลต้องได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายการเมืองและภาคประชาชนทุกหมู่เหล่าเป็นส่วนใหญ่ของประเทศ จึงจะทำให้นโยบายเหล่านั้นสำเร็จบรรลุตามเป้าหมายในเสถียรภาพทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมโดยรวมได้
แต่ถ้าพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาลไม่สนใจ “เสียงสะท้อน” ของสาธารณชน เช่น เอาคนที่มีภาพลักษณ์ “ยี้” มาเป็นรัฐมนตรี หรือมีนโยบายต่างประเทศที่จะทำให้ประเทศไทยเสียดินแดน ก็อาจทำให้รัฐบาล"ยิ่งลักษณ์1 " เริ่มนับถอยหลังตั้งแต่ยังไม่เริ่มเข้าสู่ตำแหน่งอย่างเป็นทางการ เพราะการเมืองภาคประชาชนก็จะเข้ามามีพลังเป็นแรงเสียดทานต่อเสถียรภาพของรัฐบาลในเวลาอันสั้น และรวดเร็ว
ดังนั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ และรัฐบาลชุดใหม่จึงต้องใช้เวลานี้เลือกเฟ้นคนดี มีฝีมือเห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติ สุภาพถ่อมตัว เป็นกันเอง เข้าถึงประชาชนทุกหมู่เหล่าเหมือนช่วงหาเสียงเลือกตั้ง ผลที่ตามมาก็คือ แรงเชียร์และกำลังใจจากสาธารณชนที่จะให้โอกาสอย่างแท้จริงเพื่อช่วยผลักดันขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลให้สำเร็จลุล่วงตามเจตนารมณ์ของนางสาวยิ่งลักษณ์ที่ตั้งมั่นเอาไว้
**ปชช.ย้ำรัฐบาลต้องทำตามนโยบาย
การเมืองไทย ณ วันนี้ จะดีขึ้น หรือ แย่ลง ขึ้นอยู่กับนักการเมืองเป็นสำคัญ การพัฒนาระบอบประชาธิปไตยทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ประชาชนและประเทศชาติเข้มแข็ง เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นและความรู้สึกนึกคิดของประชาชนที่มีต่อการเมืองไทย “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สอบถามความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 2,286 คน ระหว่างวันที่ 18-23 กรกฎาคม 2554 สรุปผล ดังนี้
1. ปัจจัยใด / สิ่งใด ที่ทำให้ ความรู้สึกนึกคิด ทางการเมืองของประชาชนดีขึ้น
อันดับ 1 การบริหารประเทศของรัฐบาลเป็นไปตามนโยบายที่กำหนด มีผลงานเป็นรูปธรรม ชัดเจน31.05 %
อันดับ 2 สภาพเศรษฐกิจโดยรวมดีขึ้น มีสภาพคล่องทางการเงิน /ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น 24.74 %
อันดับ 3 ความสามัคคี ปรองดองของคนในชาติ รวมถึงประชาชนและนักการเมือง
23.68 %
อันดับ 4 การรักษา ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย ยึดประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นที่ตั้ง /ไม่ปกปิดข้อมูลข่าวสาร 20.53 %
2. ปัจจัยใด / สิ่งใด ที่ทำให้ ความรู้สึกนึกคิด ทางการเมืองของประชาชนแย่ลง
อันดับ 1 พฤติกรรมของนักการเมือง /การทุจริต คอรัปชั่น /ใช้อำนาจหน้าที่ในทางที่ผิด /เอื้อประโยชน์แก่พวกพ้อง 51.87 %
อันดับ 2 การขาดความสามัคคีของคนในชาติ แบ่งฝักแบ่งฝ่าย /มีการชุมนุม เรียกร้อง เคลื่อนไหวเป็นระยะ ๆ 30.01 %
อันดับ 3 สภาพเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนที่แย่ลง ราคาสินค้าของกิน ของใช้แพง /ว่างงาน 13.75%
อันดับ 4 ข่าวสารที่เผยแพร่จากสื่อต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศที่ทำให้ภาพลักษณ์ของประเทศเป็นไปในเชิงลบ 4.37 %
5 อันดับแรก ของสิ่งที่ “ไม่ชอบ” ต่อกระแสข่าวช่วงการจัดตั้งรัฐบาลและร่างนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ ถ้าน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะได้เป็นนายกรัฐมนตรี ( ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ ) ได้แก่
อันดับ 1 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.3 ระบุ เป็นข่าวรัฐบาลจะไม่ทำตามที่หาเสียงไว้ทันที / มีเงื่อนไขในสิ่งที่จะเป็นนโยบาย แต่ไม่บอกชาวบ้านช่วงเลือกตั้ง อันดับที่ 2 ร้อยละ 72.8 ระบุ เป็นข่าวการเอาคนที่มีภาพลักษณ์ไม่ดี หรือ “ยี้” มาเป็นรัฐมนตรี อันดับที่ 3 ร้อยละ 71.7 ระบุข่าวความวุ่นวายแย่งชิงตำแหน่งรัฐมนตรี
อันดับที่ 4 ร้อยละ 68.4 ระบุ ข่าวนโยบายต่างประเทศที่จะทำให้ประเทศชาติสูญเสียดินแดน และอันดับที่ 5 ร้อยละ 63.1 ระบุข่าวนักการเมืองและกลุ่มผู้สนับสนุนการเมืองใช้กฎหมู่เหนือกฎหมาย ไม่ทำตามระเบียบกฎเกณฑ์
นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบ 5 อันดับแรก ของสิ่งที่ “ชอบ” ต่อกระแสข่าว ช่วงการจัดตั้งรัฐบาล และร่างนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ ได้แก่
อันดับ 1 กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 76.9 ระบุชอบท่าทีของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต่อปัญหาการเมือง อันดับ 2 ร้อยละ 74.9 ระบุ การร่วมมือกันจัดตั้งรัฐบาลโดยไม่มีเหตุการณ์วุ่นวายรุนแรง อันดับ 3 ร้อยละ 70.7 ระบุ ชอบท่าทีของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต่อปัญหาการเมือง
อันดับ 4 ร้อยละ 64.4 ชอบข่าวตัวแทนต่างชาติเข้าสนับสนุน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และอันดับ 5 ร้อยละ 60.8 ชอบข่าวการปรับตัว ปรับปรุงการทำงานการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์
เมื่อถามถึงพฤติกรรม “ยอดแย่” หรือ “ยี้” ของกลุ่มรัฐมนตรี และที่ปรึกษา ผู้ติดตามรัฐมนตรี ที่ไม่ต้องการให้น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เลือกมาเป็นรัฐมนตรี ได้แก่ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 86.7 ระบุไม่เอาคนที่ คดโกง เก็บเกี่ยวผลประโยชน์ส่วนตัว ครอบครัว และพวกพ้อง รองลงมาคือ ร้อยละ 83.1 ระบุไม่เอาคนที่หลอกลวงชาวบ้าน ไม่ทำตามที่หาเสียงไว้ ร้อยละ 80.5 ไม่เอาคนที่ใช้เส้น ขี้เบ่ง กร่าง เจ้ายศ เจ้าอย่าง และรองๆ ลงไปคือ ร้อยละ 76.2 ไม่เอาคนที่ข่มขู่ คุกคาม แทรกแซง ร้อยละ 74.9 ไม่เอาคนที่ชอบกลั่นแกล้ง ล้างแค้น ทีใครทีมัน พวกใครพวกมัน ร้อยละ 66.3 ไม่เอาคนที่เลือกปฏิบัติมาเป็นรัฐมนตรี และร้อยละ 34.3 ระบุอื่นๆ เช่น เข้าถึงยาก หาตัวไม่เจอ แย่งชิงอำนาจ มีคดีติดตัว และก้าวร้าว เป็นต้น
นอกจากนี้ จากการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึกกลุ่มคนที่เลือกพรรคเพื่อไทย พบว่า ชาวบ้านบางคนฝากถึงน.ส.ยิ่งลักษณ์ ว่า "ถ้าได้เป็นนายกรัฐมนตรี ขอให้ลงพื้นที่ทันที อย่าอยู่แต่ในทำเนียบฯ อยากได้ ครม. สัญจรสู่ท้องถิ่นต่างๆ ของประเทศ" และบางคนเสริมว่า " อยากให้เปิดสำนักงานที่ทำงานของนายกรัฐมนตรีตามภูมิภาคต่างๆ ไม่ใช่อยู่แต่ที่กรุงเทพฯ คอยให้ชาวบ้านเดินทางไปหา" และส่วนใหญ่ฝากข้อความไปถึงน.ส.ยิ่งลักษณ์ ว่า " ถ้าได้เป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว ขอให้ดูแลคนยาก อย่ามองข้ามคนจน"
ดร.นพดล กล่าวว่า จำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐบาลชุดใหม่ โดยพรรคเพื่อไทย และว่าที่นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศ ต้องแสดงออกให้สาธารณชนเห็นประจักษ์ และวางใจได้ว่า ผู้ที่จะมาเป็นรัฐมนตรีใน "ครม. ยิ่งลักษณ์ 1" จะถูกใจใช่เลยกับความคาดหวังของทั้งผู้ที่ “เลือก” และ “ไม่เลือก” รัฐบาล เพราะ การขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ ของรัฐบาลต้องได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายการเมืองและภาคประชาชนทุกหมู่เหล่าเป็นส่วนใหญ่ของประเทศ จึงจะทำให้นโยบายเหล่านั้นสำเร็จบรรลุตามเป้าหมายในเสถียรภาพทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมโดยรวมได้
แต่ถ้าพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาลไม่สนใจ “เสียงสะท้อน” ของสาธารณชน เช่น เอาคนที่มีภาพลักษณ์ “ยี้” มาเป็นรัฐมนตรี หรือมีนโยบายต่างประเทศที่จะทำให้ประเทศไทยเสียดินแดน ก็อาจทำให้รัฐบาล"ยิ่งลักษณ์1 " เริ่มนับถอยหลังตั้งแต่ยังไม่เริ่มเข้าสู่ตำแหน่งอย่างเป็นทางการ เพราะการเมืองภาคประชาชนก็จะเข้ามามีพลังเป็นแรงเสียดทานต่อเสถียรภาพของรัฐบาลในเวลาอันสั้น และรวดเร็ว
ดังนั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ และรัฐบาลชุดใหม่จึงต้องใช้เวลานี้เลือกเฟ้นคนดี มีฝีมือเห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติ สุภาพถ่อมตัว เป็นกันเอง เข้าถึงประชาชนทุกหมู่เหล่าเหมือนช่วงหาเสียงเลือกตั้ง ผลที่ตามมาก็คือ แรงเชียร์และกำลังใจจากสาธารณชนที่จะให้โอกาสอย่างแท้จริงเพื่อช่วยผลักดันขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลให้สำเร็จลุล่วงตามเจตนารมณ์ของนางสาวยิ่งลักษณ์ที่ตั้งมั่นเอาไว้
**ปชช.ย้ำรัฐบาลต้องทำตามนโยบาย
การเมืองไทย ณ วันนี้ จะดีขึ้น หรือ แย่ลง ขึ้นอยู่กับนักการเมืองเป็นสำคัญ การพัฒนาระบอบประชาธิปไตยทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ประชาชนและประเทศชาติเข้มแข็ง เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นและความรู้สึกนึกคิดของประชาชนที่มีต่อการเมืองไทย “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สอบถามความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 2,286 คน ระหว่างวันที่ 18-23 กรกฎาคม 2554 สรุปผล ดังนี้
1. ปัจจัยใด / สิ่งใด ที่ทำให้ ความรู้สึกนึกคิด ทางการเมืองของประชาชนดีขึ้น
อันดับ 1 การบริหารประเทศของรัฐบาลเป็นไปตามนโยบายที่กำหนด มีผลงานเป็นรูปธรรม ชัดเจน31.05 %
อันดับ 2 สภาพเศรษฐกิจโดยรวมดีขึ้น มีสภาพคล่องทางการเงิน /ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น 24.74 %
อันดับ 3 ความสามัคคี ปรองดองของคนในชาติ รวมถึงประชาชนและนักการเมือง
23.68 %
อันดับ 4 การรักษา ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย ยึดประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นที่ตั้ง /ไม่ปกปิดข้อมูลข่าวสาร 20.53 %
2. ปัจจัยใด / สิ่งใด ที่ทำให้ ความรู้สึกนึกคิด ทางการเมืองของประชาชนแย่ลง
อันดับ 1 พฤติกรรมของนักการเมือง /การทุจริต คอรัปชั่น /ใช้อำนาจหน้าที่ในทางที่ผิด /เอื้อประโยชน์แก่พวกพ้อง 51.87 %
อันดับ 2 การขาดความสามัคคีของคนในชาติ แบ่งฝักแบ่งฝ่าย /มีการชุมนุม เรียกร้อง เคลื่อนไหวเป็นระยะ ๆ 30.01 %
อันดับ 3 สภาพเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนที่แย่ลง ราคาสินค้าของกิน ของใช้แพง /ว่างงาน 13.75%
อันดับ 4 ข่าวสารที่เผยแพร่จากสื่อต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศที่ทำให้ภาพลักษณ์ของประเทศเป็นไปในเชิงลบ 4.37 %